บทนำ
สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งในบทเรียนวิชาภาษาไทย วันนี้จะเป็นการเรียนเรื่องระดับภาษา โดยจะมีการแบ่งเนื้อหาออกเป็นภาษาพูด และภาษาเขียน ซึ่งจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับระดับของภาษาพูดที่เราควรจะเลือกใช้ให้ถูกต้องตามบุคคล โอกาส และสถานที่ด้วย เป็นอีกหนึ่งบทเรียนในระดับชั้นมัธยมต้นที่น่าสนใจ ถ้าพร้อมแล้วเรามาเริ่มเรียนไปพร้อม ๆ กันเลย
ภาษาพูด คืออะไร
ภาษา เป็นตัวกลางในการสื่อความหมาย บนโลกนี้นอกจากจะมีหลากหลายภาษาแล้ว ในหนึ่งภาษานั้นก็ยังแบ่งการพูดออกเป็นหลายระดับให้เราได้เลือกใช้แตกต่างกันไป ภาษาพูด หรือภาษาปาก เป็นหนึ่งในภาษาที่ไม่เป็นทางการ มีคำสแลง หรือภาษาวัยรุ่นสอดแทรกมาด้วยในปัจจุบัน มักใช้พูดกันในหมู่เพื่อน พี่น้อง หรือครอบครัวเพื่อแสดงถึงความเป็นกันเอง
ลักษณะของภาษาพูด
เป็นภาษาที่ไม่ต้องคำนึงถึงหลักการใช้มาก
ลักษณะข้อแรกของภาษาพูด คือภาษาที่เราไม่ต้องคิดถึงเรื่องหลักการอะไรมาก เพียงแค่เราต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบุคคล หรือสถานที่ก็เท่านั้น เพราะเป็นเรื่องของระดับภาษา และภาษาพูดไม่สามารถใช้ได้ในทุกสถานการณ์ ในกรณีที่ไม่ใช่คนสนิท คุ้นเคย เราก็ไม่ควรใช้ภาษาปากในการเริ่มต้นบทสนทนากับบุคคลนั้น
เป็นภาษาวัยรุ่น หรือภาษาเฉพาะกลุ่ม
ในแต่ละภาษาถือว่ามีคุณสมบัติสำคัญคือความยืดหยุ่น ภาษาพูดสามารถขยายวงคำศัพท์ออกไปได้รวดเร็ว อีกทั้งยังได้รับอิทธิพลจากคำแสลงเข้ามาปะปน ซึ่งจะทำให้เรารู้สึกว่าภาษาเหล่านี้ให้มีอรรถรสในการพูดคุยมากขึ้น สื่ออารมณ์ความรู้สึกถึงสิ่งที่พูดอยู่ได้ชัดเจน โดยอาจจะใช้การแบ่งเป็นภาษาเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เราจะเห็นบ่อย ๆ คือภาษาวัยรุ่นที่มีดัดแปลงคำให้มีความเข้าใจเฉพาะในแวดวงวัยรุ่นด้วยกัน มีความเท่าทันโลก หรือตามกระแสมาก ๆ ตัวอย่างเช่น
เป็นภาษาที่มักใช้ในการโฆษณา
ด้วยความที่ภาษาพูดนั้น เป็นภาษาที่เข้าใจได้ง่าย และสามารเข้าถึงบุคคลทั่วไปได้อย่างดี ทำให้เราที่เป็นผู้เสพสื่อโฆษณาสามารถเข้าถึงตัวสินค้า และบริการได้ด้วยภาษาที่ไม่ต้องทางการมาก และช่วยให้เราจำสินค้าตัวนั้นได้จากสโลแกนสั้น ๆ ที่มาจากภาษาปากเหล่านี้ด้วย ตัวอย่างเช่น
มักเป็นภาษาที่สั้น กระชับ เข้าใจง่าย
ด้วยความที่เป็นภาษาปาก ภาษาที่เราใช้พูดกับคนรู้จัก คุ้นเคย สนิทสนม ดังนั้น การเลือกใช้คำที่สั้น ๆ ง่าย ๆ แต่ก็เข้าใจกัน ทำให้เราสามารถรับรู้ความต้องการของอีกฝ่ายได้ โดยไม่จำเป็นต้องพูดให้ยืดยาว ยกตัวอย่างเช่น
ภาษาพูดมักเปลี่ยนแปลงเสียง
เนื่องจากภาษาพูดไม่ได้มีหลักการใช้ หรือว่าหลักการสร้างคำที่เป็นขั้นเป็นตอนมากนัก เราอาจจะสังเกตภาษาปากเหล่านี้ได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงเสียงในบางคำศัพท์ที่มีความคล้ายคลึงกับคำเดิม หรือความหมายเดิม เพื่อให้คำนั้นสามารถแสดงถึงความรู้สึกที่มีต่อสิ่งนั้นได้อย่างชัดเจน หรือทำให้คำที่ดูรุนแรงฟังดูเบาลง ตัวอย่างเช่น
เป็นภาษาที่มักจะยืมคำมาจากภาษาต่างประเทศ
ลักษณะของภาษาพูดข้อสุดท้ายที่เราจะสังเกตได้ก็คือ การที่เรามักจะนำคำจากภาษาต่างประเทศมาใช้ร่วมด้วย ซึ่งอาจจะใช้แบบทับศัพท์ หรือตัดทอนเอาบางเสียงในคำนั้นมาใช้ ยกตัวอย่างเช่น
บทส่งท้าย
ภาษาพูด ถือเป็นภาษาที่เราแทบจะใช้ในชีวิตประจำวันอยู่ตลอดเวลา เพราะทำให้เราสามารถสนทนากับคนที่เรารู้จักได้อย่างเป็นกันเอง พูดคุยกันแบบสบาย ๆ ถึงบางคำศัพท์จะเป็นภาษาที่ดัดแปลงเสียง หรือรูปคำไปบ้าง แต่เมื่อพูดกับเพื่อน ๆ ด้วยภาษาปากแล้ว เราก็สามารถเข้าใจกันได้ผ่านบริบทของเรื่องที่กำลังคุยกันอยู่ในขณะนั้น หวังว่าหลังจากที่เรียนเรื่องนี้แล้ว น้อง ๆ จะได้สาระความรู้ และนำภาษาพูดไปใช้ได้ถูกกาลเทศะเหมาะกับบุคคล และสถานการณ์ด้วย