โคลงนฤทุมนาการ โคลงสุภาษิตสอนใจรู้ไว้ไม่เป็นทุกข์

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

หลังจากได้ศึกษาเรื่องโคลงโสฬสไตรยางค์ไปแล้ว น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าในโครงสุภาษิตยังมีเรื่องอื่นอีกด้วย และในบทเรียนที่น้อง ๆ จะได้เรียนต่อไปนี้ก็คือเรื่อง โคลงนฤทุมนาการ เป็นโคลงสุภาษิต ที่ใช้โคลงสี่สุภาพในการประพันธ์เหมือนโคลงโสฬสไตรยางค์ แต่จะมีความหมาย และเนื้อหาอย่างไรบ้าง ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

โคลงนฤทุมนาการ คืออะไร

 

โคลงนฤทุมนาการ

 

ก่อนที่จะไปเรียนรู้ว่าในโคลงนฤทุมนาการมีอะไรบ้างนั้น เรามาดูกันที่ความหมายก่อนเลยค่ะ คำว่า นฤทุมนาการ มาจากคำศัพท์ต่าง ๆ ดังนี้

นฤ หมายถึง ปราศจาก

ทุ หมายถึง ไม่ดี

มน หมายถึง ใจ

อาการ หมายถึง สภาพกิริยา

เมื่อนำ นฤ + ทุ + มน + อาการ มารวมกันจะได้ นฤทุมนาการ ที่แปลว่า ไม่มีอาการเสียใจ

 

ที่มาและความสำคัญของโคลงนฤทุมนาการ

 

โคลงนฤทุมนาการ

 

โคลงนฤทุมนาการ เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แปลมาจากสุภาษิตอังกฤษในปี พ.ศ. 2423 แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ มีบทนำเรื่อง 1 บท เนื้อเรื่องอีก 10 และสรุป 1 บท ซึ่งแนวทางที่ควรปฏิบัติทั้ง 10 นั้น เรียกว่า ทศนฤทุมนาการ เป็นโคลงสุภาษิตที่มีความสำคัญ เพราะมีเนื้อหาที่สั่งสอน และเตือนใจคน สอนให้คิดรอบคอบก่อนที่จะพูดหรือทำสิ่งใดลงไป

 

จุดประสงค์ในการแต่ง

จากชื่อ นฤทุมนาการ ที่มีความหมายว่าไม่มีอาการเสียใจนั้น จุดมุ่งหมายของแต่งโคลงสุภาษิตนี้จึงมีขึ้นมาเพื่อเป็นข้อเตือนใจแก่ผู้ที่ปฏิบัติตาม ให้บุคคลนั้นไม่เสียใจกับการกระทำของตัวเอง

 

ลักษณะคำประพันธ์

โคลงสี่สุภาพ

 

โคลงนฤทุมนาการสอนเรื่องอะไรบ้าง?

 

 

กล่าวถึงกิจ 10 ประการที่ผู้ประพฤติจะไม่เสียใจหากได้ทำลงไป มีดังนี้

1. ทำดีโดยทั่วไป

2. ไม่พูดร้ายต่อผู้อื่น

3. ถามและฟังความก่อนตัดสิน

4. คิดก่อนพูด

5. ไม่พูดในเวลาโกรธ

6. กรุณาต่อให้คนที่อับจน

7. ขอโทษเมื่อทำผิด

8. อดกลั้นต่อผู้อื่น

9. ไม่ฟังคำนินทา

10. ไม่หลงเชื่อข่าวร้าย

 

 

ตัวอย่างบทประพันธ์ใน โคลงนฤทุมนาการ

 

บทนำ

บัณฑิตวินิจแล้ว          แถลงสาร สอนเอย

ทศนฤทุมนาการ         ชื่อชี้

เหตุผู้ประพฤติปาน     ดังกล่าว นั้นนอ

โทมนัสเพราะกิจนี้     ห่อนได้เคยมี

ถอดคำประพันธ์ เป็นการกล่าวนำว่าโคลงนฤทุมนาการทั้ง 10 ข้อนั้นมีประโยชน์ ผู้ใดที่ประพฤติตามคำสอนนี้จะไม่มีเสียใจกับการกระทำของตัวเองแน่นอน

 

กิจที่ 2 ไม่พูดร้ายต่อผู้อื่น

เหินห่างโมหะร้อน         ริษยา

สละส่อเสียดมารษา      ใส่ร้าย

ตำหยาบจาบจ้วงอา-    ฆาตขู่ เข็ญเฮย

ไปหมิ่นนินทาบ้าย        โทษให้ผู้ใด

ถอดคำประพันธ์ หมายถึง การไม่พูดร้ายต่อผู้อื่น จะทำให้อยู่ห่างกับความโมโหและความอิจฉาริษยา ดังนั้นจึงไม่ควรพูดจาให้ร้าย หยาบคายจาบจ้วง อาฆาตหรือนินทาผู้อื่น

 

 

ข้อคิดและคุณค่าที่อยู่ในโคลงนฤทุมนาการ

 

โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ อธิบายสิ่งที่เป็นนามธรรมให้ชัดเจนมากขึ้น ทั้งด้านการคิด การพูด และการกระทำ ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ครอบคลุมการดำเนินชีวิตของทุกคนอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมีคุณค่าด้านวรรณศิลป์ที่โดดเด่นด้านการใช้ถ้อยคำภาษาในบทประพันธ์ จะเห็นได้ว่าคำในแต่ละบทไม่ใช่คำยาก แต่เป็นคำที่สละสลวยอยู่ ทำให้ภาษาในวรรณคดีมีความงดงาม แต่ไม่ยากเกินกว่าจะทำความเข้าใจ

 

 

จบไปแล้วนะคะกับอีกหนึ่งบทเรียนจากโคลงสุภาษิต สำหรับ โคลงนฤทุมนาการ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่ไม่ได้สอนเราแค่ด้านวรรณศิลป์ ภาษาที่สวยงาม แต่ยังสอนเราให้รู้จักคิดก่อนจะทำสิ่งใดลงไป ถือว่ามีประโยชน์มาก ๆ เลยนะคะ ไม่ว่าเวลาจะผ่านมานานแค่ไหน คำสอนของโคลงสุภาษิตก็ยังคงนำมาประยุกต์ใช้ได้อยู่ น้อง ๆ ได้เรียนรู้เรื่องนี้กันไปแล้วก็อย่าลืมนำไปปรับใช้กับตัวเองกันนะคะ สุดท้ายแล้ว อย่าลืมหมั่นทบทวนบทเรียนและขยันทำแบบฝึกหัด ระหว่างที่ทำก็เปิดคลิปการสอนของครูอุ้มฟังไปด้วยเพลิน ได้ทั้งความสนุกและความรู้ดี ๆ อีกเพียบเลยนะคะ ไปชมกันเลยค่ะ

 

อย่าพลาดการติดตามบทความวิชาภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การเปลี่ยนแปลงคำ เรียนรู้วิวัฒนาการทางภาษาที่ไม่เคยหยุดนิ่ง

ภาษาเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ใช้สื่อสารกัน แต่ในเมื่อสังคมมนุษย์ไม่สามารถหยุดนิ่งได้ และมีความเจริญทางวิทยาการใหม่ ๆ เข้ามาอยู่เสมอ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษามากมาย การเปลี่ยนแปลงคำ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในธรรมชาติของมนุษย์ จากครั้งที่แล้วที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของประโยคกันไป บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ เจาะลึกอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงซึ่งก็คือการเปลี่ยนแปลงคำว่ามีอะไรกันบ้าง และมีคำใดที่เคยใช้ในสมัยโบราณแต่ปัจจุบันเลิกใช้ไปแล้ว ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   การเปลี่ยนแปลงคำ   เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดและเขียนเมื่อถูกใช้ต่อกันมาเรื่อย ๆ ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงคำต่าง ๆ สามารถแบ่งได้ดังนี้     1.

ขัตติยพันธกรณี อานุภาพของบทประพันธ์ที่พลิกเหตุร้ายให้กลายเป็นดี

ขัตติยพันธกรณี เป็นเรื่องราวการโต้ตอบด้วยบทประพันธ์ระหว่างรัชกาลที่ 5 ที่กำลังอยู่ในท้อแท้และประชวรอย่างหนักและกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่เขียนจดหมายตอบกลับมาเพื่อให้กำลังใจ จากบทเรียนคราวที่แล้ว น้อง ๆ ก็คงจะรู้ถึงสาเหตุแล้วว่าความทุกข์ใจของรัชกาลที่ 5 นั้นมาจากข้อพิพาทเรื่องดินแดนกับฝรั่งเศส บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับตัวบทกันบ้าง เพื่อถอดคำประพันธ์และศึกษาคุณค่าของวรรณคดีเรื่องนี้กันค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในขัตติยพันธกรณี     ถอดความ เพราะเกิดปัญหาเป็นข้อพิพาทเรื่องดินแดนกับฝรั่งเศสทำให้รัชกาลที่ 5 ทรงประชวรมาเป็นเวลานาน เพราะความไม่สบายกายและไม่สบายใจนี้เองที่ทำให้พระองค์มีความคิดจะเสด็จสวรรคต

พระบรมราโชวาท

พระบรมราโชวาท ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่อยู่ในวรรณคดี

พระบรมราโชวาท เป็นวรรณคดีไทยที่ทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่ง ที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากที่ได้เรียนเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อกันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้ก็จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงตัวบทเด่น ๆ ว่ามีใจความอย่างไร รวมถึงศึกษาคุณค่าที่สอดแทรกอยู่ในเรื่องอีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในพระบรมราโชวาท   ถอดความ ความตอนนี้กล่าวถึงพระประสงค์ของรัชกาลที่ 5 ที่ไม่ต้องการให้พระโอรสใช้คำนำหน้าเป็นเจ้า แต่ให้ใช้คำนำหน้าเป็นนายหรืออาจให้ใช้คำลงท้ายแบบขุนนางชั้นสูงได้เท่านั้น เพราะเมื่อประกาศให้คนรู้ว่าเป็นใครสิ่งที่จะตามมาก็คือการต้องรักษายศไว้

ศึกษาตัวบทและคุณค่า คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์

จากบทเรียนครั้งที่แล้วที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวความเป็นมาและเนื้อหาโดยสังเขปของ คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ กันไปแล้ว เราได้รู้ถึงที่มาความเป็นไปของวรรณคดีที่เป็นตำราแพทย์ในอดีตรวมถึงเนื้อหา ฉะนั้นบทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกเกี่ยวกับตัวบทเพื่อให้รู้จักกับวรรณคดีเรื่องนี้กันมากขึ้น ว่าเหตุใดจึงเป็นตำราแพทย์ที่ได้มาอยู่ในแบบเรียนภาษาไทย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์     ถอดความ เปรียบร่างกายของหญิงและชายเป็นกายนคร จิตใจเปรียบเหมือนกษัตริย์ซึ่งเป็นผู้ครอบครองสมบัติอันยิ่งใหญ่หรือก็คือร่างกาย ข้าศึกเปรียบได้กับโรคที่ทำลายร่างกายเรา พทย์เปรียบได้กับทหาร มีความชำนาญ เวลาที่ข้าศึกมาหรือเกิดโรคภัยขึ้นก็อย่างวางใจ แผ่ลามไปทุกแห่ง

การใช้ There is และ There are ในประโยคคำถาม

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ม.2 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง “การใช้ There is There are ในประโยคคำถาม ” กันจ้า ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยเด้อ   There is/There are คืออะไร   There is และ There are แปลว่า

กาพย์พระไชยสุริยา เรียนรู้ความเป็นมาของแบบเรียนภาษาไทยอันทรงคุณค่า

กาพย์พระไชยสุริยา   กาพย์พระไชยสุริยาเป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่น้อง ๆ ทุกคนจะได้ศึกษากัน แต่รู้ไหมคะว่าคำกาพย์ที่แต่งโดยสุนทรภู่นี้เป็นกาพย์แบบไหน มีประวัติความเป็นมาอย่างไร เหตุใดถึงมาอยู่ในแบบเรียนวิชาภาษาไทยได้ วันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับประวัติความเป็นมาของกาพย์พระไชยสุริยา รวมถึงเรื่องลักษณะคำประพันธ์และสรุปเนื้อเรื่องโดยย่อ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมาของกาพย์พระไชยสุริยา     กาพย์พระไชยสุริยา เป็นวรรณคดีคำกาพย์ที่สุนทรภู่แต่ง มีความยาว 1 เล่มสมุดไทย นักวรรณคดีและนักวิชาการสันนิษฐานว่าสุนทรภู่แต่งขึ้นขณะบวชอยู่ที่วัดเทพธิดาระหว่าง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1