การเขียนเชิงวิชาการ อาจจะดูเป็นการเขียนที่ยากในความคิดของหลาย ๆ คน เพราะดันมีคำว่า วิชาการ อยู่ด้วยนั่นเอง แต่น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าที่จริงแล้วการเขียนเชิงวิชาการนั้นไม่ได้ยุ่งยากและซับซ้อนเลย แถมยังมีวิธีขั้นตอนการเขียนที่ง่าย ๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้น ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่ามันจะง่ายขนาดนั้นจริงหรือ? เราไปหาคำตอบของเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ
การเขียนเชิงวิชาการ คืออะไร?
คือ องค์ความรู้เชิงวิชาการที่ได้จากการตกผลึกทางความคิดของผู้เขียนที่ต้องการถ่ายทอดหรือสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ผ่านกระบวนการเรียบเรียง โดยอาศัยการศึกษาค้นคว้า สำรวจ รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลความรู้อย่างละเอียด ถี่ถ้วน มีเหตุผล เป็นระบบ และอ้างอิงหลักฐาน โดยอาศัยการผสมผสานระหว่างตัวอักษร รูปภาพ ตาราง และสัญลักษณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
การเขียนเชิงวิชาการมีความสำคัญอย่างไร
การเขียนเชิงวิชาการเป็นงานที่จะได้นำเสนอแนวคิดของตนได้อย่างอิสระโดยอยู่บนพื้นฐานของหลักวิชาการ
นอกจากนี้ตัวของผู้เขียนแล้ว การเขียนเชิงวิชาการยังมีความสำคัญต่อแวดวงของเรื่องราวที่นำมาเขียน มีความสำคัญต่อสังคม เพราะการเขียนนี้จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางสังคมนอกเหนือจากการเรียนการสอนในห้องเรียน
การเขียนเชิงวิชาการ
ในงานเขียนจะต้องมีแก่นสำคัญที่ผู้เขียนควรจะให้ความสำคัญไว้เสมอ ประกอบไปด้วย 3 สิ่งนี้
1.ผู้อ่าน การเขียนที่ดี เราจะต้องนึกถึงผู้อ่านด้วย ไม่ใช่ยึดตัวเองเป็นหลัก แม้ว่าแรกเริ่มเดิมทีการเขียนนี้จะมาจากความสนใจของเราก็ตาม เพราะถ้าไม่รู้ว่าจะเขียนให้ใครอ่าน ก็จะไม่เกิดประโยชน์ ไม่บรรลุเป้าหมายอย่างที่ตั้งใจ
2. เนื้อหาสาระ เนื้อหาที่จะเขียนนั้นจะต้องถูกเรียบเรียงอย่างดี และกลั่นกรองทางความคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ในการเขียนและเพื่อให้งานที่ได้นั้นเกิดประโยชน์
3. รูปแบบ รูปแบบของการเขียนเชิงวิชาการมีความสำคัญ เพราะผู้เขียนต้องคำนึงว่าจะเขียนแบบไหนให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกอยากอ่านและเกิดความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่ต้องการจะสื่อ
ขั้นตอนการเขียนเชิงวิชาการ
1. เลือกหัวข้อเรื่อง
การเลือกหัวข้อเรื่องนั้นสามารถเลือกได้ที่อาจารย์กำหนดให้ หรือเป็นเรื่องที่เราสนใจอยากจะค้นคว้า โดยเรื่องที่เลือกนั้นจะต้องเป็นเรื่องมีความรู้พื้นฐานอยู่พอสมควรเพื่อที่จะได้ต่อยอดการศึกษาได้ ไม่ไกลตัวจนเกิดไป เพราะอาจจะไม่ได้คำตอบที่ต้องการจะค้นคว้า
2. กำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่อง
เพื่อให้การเขียนเป็นไปอย่างราบรื่น ควรกำหนดจุดมุ่งหมายใหญ่ ๆ ไว้ก่อนจะเลือกประเด็นสำคัญเพื่อกำหนดขอบเขตจากจุดมุ่งหมายอีกที ก่อนจะนำขอบเขตนั้นมาขยายเพื่อทำการศึกษาแตกย่อยออกไปตามที่กำหนดไว้
3. ค้นคว้าและรวบรวมความรู้
ในการเขียนเชิงวิชาการควรมีแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้เป็นแหล่งอ้างอิง ดังนั้นก่อนอื่นเราจะต้องสำรวจแหล่งข้อมูลเสียก่อนว่ามีเพียงพอต่อการศึกษาหรือไม่ หรือเพราะไม่สามารถที่สร้างข้อมูลขึ้นมาใช้อ้างอิงเองได้ โดยการค้นคว้านั้นอาจจะใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลผ่านเอกสาร หนังสือออนไลน์ หรือจากห้องสมุดเพื่อหาหนังสืออ้างอิง
4. วางโครงเรื่อง
การวางโครงเรื่องนั้นมีความสำคัญเพราะต้องนำหัวข้อต่าง ๆ มาจัดเรียงให้เป็นลำดับว่าจะเขียนเรื่องไหนก่อนหรือหลัง และต้องทำควบคู่ไปกับการสืบค้นข้อมูลเพื่อที่จะได้ปรับ เพราะขณะที่หาข้อมูลเราอาจจะได้แนวคิดหรือแนวทางใหม่ ๆ ที่ชัดเจนขึ้น โดยในการวางโครงเรื่องจะต้องกำหนดสองสิ่งหลัก ๆ นี้
เป็นอย่างไรบ้างคะน้อง ๆ การเขียนเชิงวิชาการไม่ยากอย่างที่คิดเลยใช่ไหมคะ ถึงแม้จะฟังเหมือนยาก แต่แค่น้อง ๆ หาข้อมูล และรู้จักวางโครงเรื่องให้เป็น เมื่อเราลำดับความคิดตัวเองและรู้ว่าจะเขียนอะไรแล้วก็ไม่มีอะไรยากอีกต่อไปค่ะ สำหรับน้อง ๆ ที่อยากจะฟังคำอธิบายเพิ่มเติมก็สามารถไปดูในคลิปการสอนของครูอุ้ม ในคลิปครูได้ยกตัวอย่างการเขียนขึ้นมาเพื่อให้เราเข้าใจและเห็นภาพมากกว่าเดิมด้วยนะคะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลยค่ะ
อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy