มารยาทในการพูดที่ดีมีอะไรบ้างที่เราควรรู้

มารยาทในการพูด

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

 

สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน กลับเข้ามาสู่เนื้อหาสาระดี ๆ อีกครั้ง โดยวันนี้จะเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับมารยาทในการพูด และจะต่อจากเนื้อหาเมื่อครั้งที่แล้วอย่างเรื่องมารยาทในการฟัง ซึ่งถือเป็นบทเรียนที่มีประโยชน์มาก ๆ เมื่อเราต้องไปพูดต่อหน้าที่สาธารณะ หรือพูดคุยสนทนากับเพื่อน ๆ คุณครู พ่อแม่ของเรา เพื่อให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ เราก็ควรเรียนรู้มารยาทที่ดีในการพูดไปด้วย
ถ้าน้อง ๆ ทุกคนพร้อมแล้วมาดูกันว่าวันนี้จะมีเนื้อหาอะไรมาฝากกันบ้าง

 

มารยาทในการพูด

 

การพูด คือ อะไร

 

การพูดเป็นอีกวิธีหนึ่งที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสาร เพื่อบ่งบอกถึงความต้องการ ความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง ผ่านการใช้อวัยวะอย่างกล่องเสียง และปาก เพื่อเปล่งเสียงพูดออกมา การพูดจะมีตัวกลางคือ ภาษา ซึ่งเป็นตัวสื่อความหมายออกในรูปแบบของน้ำเสียง หรือถ้อยคำ การพูดจึงถือว่าเป็นลักษณะเฉพาะที่มนุษย์สามารถเรียนรู้ ฝึกฝน เลียนแบบ หรือถ่ายทอดให้สู่รุ่นต่อ ๆ ไปได้

 

มารยาทในการพูด

 

จุดมุ่งหมายของการพูด

 

1.การพูดเพื่อให้ความรู้ 

เป็นการพูดเพื่อให้สาระความรู้ เป็นการพูดที่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวผู้ฟัง เช่น การนำเสนอรายงานที่เราไปสืบค้นมาให้เพื่อนฟัง การที่คุณครูสอนในห้องเรียน หรือการที่เราพูดให้ความรู้บางอย่างกับผู้อื่นก็เช่นกัน

2.การพูดเพื่อให้ความบันเทิง

สำหรับจุดมุ่งหมายนี้เป็นการพูดที่เน้นความเพลิดเพลิน สนุกสนาน อย่างเรื่องตลกขบขันต่าง ๆ ซึ่งจะไม่ต้องใช้หลักการอะไรมาก หรือไม่ต้องใช้การเตรียมตัวก่อนพูด เช่น การพูดเรื่องตลกให้เพื่อน ๆ ฟัง การเล่าเรื่องผี เล่าเรื่องที่เราประสบพบเจอมาให้คนที่เรารู้จักฟัง ผู้ฟังก็จะได้รู้สึกสนุก ตื่นเต้นไปกับเรื่องที่เราพูดไปด้วย

3.การพูดเพื่อความจรรโลงใจ 

ต่อมาเป็นการพูดเพื่อทำให้ผู้ฟังได้คติเตือนใจ ได้แนวทางในการใช้ชีวิต พูดเพื่อให้คนฟังมีจิตใจที่สูงขึ้นอยากกระทำแต่ความดี  เช่น การพูดสุนทรพจน์ การขับเสภา หรือการเล่านิทานสอนใจ ซึ่งจะทำให้ผู้ฟังได้รับข้อคิดจากเรื่องที่ฟังด้วย

4.การพูดเพื่อโน้มน้าวจิตใจ

สำหรับจุดมุ่งหมายในการพูดข้อนี้ถือว่าเป็นความสามารถเฉพาะบุคคลก็ว่าได้ เพราะเป็นการพูดที่ต้องมีหลักการ มีแหล่งข้อมูล
ผู้พูดต้องมีความน่าเชื่อถือพอสมควร การพูดในลักษณะนี้จะต้องพูดเพื่อเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นของผู้ฟังให้คล้อยตามเรา
เช่น การพูดโต้วาที การพูดชักชวนเพื่อให้ทำบางสิ่งบางอย่างตามที่เราต้องการ การพูดเชิญชวน รณรงค์ หรือที่เราจะเห็นการพูดเพื่อโฆษณาสรรพคุณของสินค้าให้คนสนใจอยากจะซื้อตาม

 

มารยาทในการพูด

 

มารยาทในการพูด

 

1.มารยาทการพูดระหว่างบุคคล

การพูดระหว่างบุุคคล หมายถึง การที่คนสองคนพูดคุยกัน หรือการสนทนากันภายในกลุ่ม ซึ่งจะมีมารยาทในวงสนทนาที่เราต้องเรียนรู้ เพื่อไม่เป็นการทำให้ผู้ฟังของเรารู้สึกไม่ดี หรือไม่สบายใจได้ โดยจะมีมารยาทที่เราควรรู้ ดังนี้

  • ผู้พูด และผู้ฟังต้องมีความพึงพอใจในเรื่องที่จะพูดร่วมกัน

มารยาทในข้อแรกคือการที่เรากับคู่สนทนาจะต้องมีความพึงพอใจในเรื่องที่จะพูดร่วมกัน เพราะถ้าเราพูดเรื่องที่ตนเองอยากพูดอยู่ฝ่ายเดียวโดยไม่สนใจอีกฝ่ายก็จะดูเป็นการเสียมารยาท เช่น ถ้าเราอยากพูดถึงหนังที่เราเพิ่งจะไปดูมา แต่เพื่อนของเราเป็นคนที่ไม่ชอบดูหนังเราก็อาจจะหลีกเลี่ยงเรื่องนี้ แล้วเปลี่ยนไปคุยเรื่องที่เรา และเพื่อนสนใจร่วมกันจะดีกว่า

  • เปลี่ยนจากสถานะผู้พูด มาเป็นผู้ฟังบ้าง

หลังจากที่เราได้เรื่องที่จะพูดคุยร่วมกันแล้ว มารยาทข้อต่อมาที่ควรทำ คือ การเปลี่ยนเป็นคนฟังบ้าง เราไม่ควรพูดเรื่องของตัวเองมากจนเกินไป หรือพูดเรื่องนั้นอยู่เพียงฝ่ายเดียว ควรเว้นจังหวะให้เพื่อนของเราได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนั้นด้วย และเราก็ต้องรับฟังอย่างตั้งใจเช่นกัน

  • เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น

เมื่อเราได้รับบทเป็นผู้ฟังแล้วสิ่งที่ต้องทำคือ การเคารพความคิดเห็นของผู้ที่คุยกับเราด้วย เช่น ถ้าเรากับเพื่อน ๆ กำลังพูดคุยกันเรื่องวิชาที่เรารู้สึกว่าเรียนยาก หรือเรียนง่าย แล้วมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เราก็ต้องเคารพความคิดเห็นของเพื่อน และไม่ควรไปบังคับให้เพื่อนคิด หรือรู้สึกเหมือนกับเราอยู่ฝ่ายเดียว

  • ไม่พูดออกนอกเรื่อง หรือนอกประเด็น

มารยาทข้อต่อมาเราควรจะพูดให้ตรงประเด็น หรือพูดให้สอดคล้องกับหัวข้อที่เรากำลังคุยกันอยู่  เช่น ถ้าเพื่อน ๆ ของเรากำลังพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องการไปทัศนศึกษา แต่เรากลับพูดออกนอกเรื่องก็อาจจะทำให้เพื่อน ของเรารู้สึกไม่พอใจ หรือหลุดออกจากประเด็นที่คุยกันอยู่ก็เป็นได้

  • ไม่พูดแทรกในระหว่างที่คนอื่นกำลังพูด

มารยาทข้อนี้เป็นสิ่งที่ควรมี และพึงปฏิบัติทั้งการพูด และการฟัง เพราะถ้าเราพูดแทรกขึ้นมาในขณะที่อีกฝ่ายยังพูดไม่จบ จะถือว่าเสียมารยาทมาก ๆ และอาจทำให้ผู้ที่กำลังพูดอยู่เสียสมาธิจนไม่สามารถพูดต่อได้ ดังนั้น เราควรรอให้อีกฝ่ายพูดจบแล้วเราจึงค่อยพูดขึ้นมาแทน

 

2. มารยาทการพูดในที่สาธารณะ

สำหรับการพูดในที่สาธารณะจำเป็นที่จะต้องรักษามารยาทให้มากกว่าการพูดระหว่างบุคคล เนื่องจากเป็นการพูดในสถานที่ที่เปิดกว้าง มีผู้ฟังที่แตกต่างกันทั้งทางอายุ ระดับการศึกษา ไปจนถึงมีความรู้ ความเข้าในเรื่องที่เราจะพูดไม่เท่ากัน โดยจะมีมารยาทที่เราควรรู้ ดังนี้

  • การแต่งกายให้สุภาพ ถูกกาลเทศะ

เมื่อเราต้องไปพูดตามสถานที่ต่าง ๆ นอกจากที่เราจะต้องศึกษากฎระเบียบ หรือข้อปฏิบัติของสถานที่นั้น ๆ แล้ว ก็ยังต้องศึกษาลักษณะของงานที่เราจะไปพูด เพื่อจะได้แต่งตัวตามรูปแบบงาน ตามความเหมาะสมของสถานที่ หรือเหมาะสมกับช่วงเวลาที่พูดด้วย

  • ควรแสดงความเคารพต่อผู้ฟังก่อนจะเริ่มพูด

การเริ่มกล่าวทักทายผู้ฟัง หรือเกริ่นนำผู้ฟังเข้าสู่เรื่องที่เรากำลังจะพูดนั้นนับว่าเป็นมารยาทสากลที่ผู้พูดควรจดจำ และปฏิบัติทุกครั้ง เช่น เวลาที่เราจะนำเสนองานหน้าชั้นเรียนเราควรยกมือไหว้คุณครู สวัสดีเพื่อน ๆ หรือเรามักจะได้ยินคำกล่าวตอนเริ่มนำเสนอรายงานว่า เรียนคุณครูที่เคารพ และสวัสดีเพื่อน ๆ ที่น่ารักทุกคน ซึ่งเป็นวิธีที่ถูกต้อง และแสดงถึงมารยาทที่ดี

  • พูดให้พอดีกับเวลาที่กำหนด

เมื่อเราต้องพูดในงานที่มีระยะเวลากำหนดไว้ เราควรจะฝึกซ้อม และพยายามพูดเนื้อหาของเราให้พอดีกับเวลาที่กำหนด เป็นข้อที่สำคัญมากเมื่อเราต้องไปพูดในงานที่มีคนอื่นรอพูดต่อจากเรา หรือมีพิธีการอื่น ๆ ทีต้องดำเนินไปตามเวลา ถ้าเราพูดเลยเวลาที่กำหนดก็จะไปกระทบกับเวลาของผู้อื่นด้วย

  • ไม่พูดพาดพิงถึงบุคคลอื่น

มารยาทในการพูดข้อต่อมา เวลาที่เรากำลังพูดเนื้อหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งอยู่เราไม่ควรกล่าวพาดพิง หรือกล่าวถึงเรื่องของผู้อื่น เพราะจะถือเป็นการไม่ให้เกียรติบุคคลที่เรากำลังกล่าวถึง

  • อย่าแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเมื่อต้องพูดในที่สาธารณะ

พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมสำหรับผู้พูดในที่นี้จะหมายถึง การกระทำที่จะส่งผลให้คนฟังรู้สึกไม่ดี หรือไม่พอใจกับสิ่งที่เรากำลังทำ เช่น การตะโกนใส่ผู้ฟัง  การแสดงท่าทางไม่พอใจกับเรื่องที่กำลังพูด หรือด่าทอผู้ฟังขณะที่พูด เพราะเป็นพฤติกรรมไม่สุภาพ และไม่สมควรทำอย่างยิ่งเมื่อต้องออกไปพูดต่อหน้าผู้คนจำนวนมาก

  • ไม่พูดคำหยาบคาย หรือพูดจาไม่สุภาพ

มารยาทข้อนี้ก็สำคัญไม่แพ้ข้ออื่น ๆ เลย นั่นคือการควรควบคุมถ้อยคำ หรือสำนวนที่เราจะใช้พูดต่อหน้าที่สาธารณะไม่ให้มีคำหยาบคาย หรือคำพูดที่ไม่สุภาพ เพราะจะทำให้คนที่ฟังรู้สึกไม่ดี และทำให้เรื่องที่เราพูดดูไม่น่าฟังขึ้นมาทันที

 

มารยาทในการพูด

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

who what where

Who What Where กับ Verb to be

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกๆ คนนะครับ วันนี้เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ Who/What/Where ร่วมกับ Verb to be กันครับ ไปดูกันเลย

ฉันท์

ฉันท์ เรียนรู้การแต่งคำประพันธ์โบราณที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย

จากที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับวรรณคดีกันมามากมายหลายเรื่อง น้อง ๆ หลายคนคงจะพอจะคุ้นหูและผ่านตากันมาบ้างแล้วกับคำประพันธ์ประเภท ฉันท์ แต่เมื่อเห็นครั้งแรก ด้วยความที่ไม่คุ้นเคยก็อาจจะทำให้น้อง ๆ คิดว่าคำประพันธ์ประเภทนี้แต่งยาก เพราะรู้สึกไม่คุ้นเคยเหมือนอย่างพวกกาพย์หรือกลอน แต่รู้หรือไม่คะ ว่าจริง ๆ แล้วการแต่งฉันท์ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิดเลยค่ะ บทเรียนในวันนี้นอกจากจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ความเป็นมาของฉันท์ รวมไปถึงลักษณะบังคับต่าง ๆ ที่จำเป็นเพื่อฝึกแต่งกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้กันเลยดีกว่า   ความเป็นมาของ ฉันท์  

พระอภัยมณี ความเป็นมาและเรื่องย่อของวรรณคดีที่ดีที่สุดตลอดกาล

น้อง ๆ หลายคนคงจะรู้จักวรรณคดีเรื่อง พระอภัยมณี กันอยู่แล้วใช่ไหมคะ เพราะวรรณคดีที่แต่งโดยสุนทรภู่เรื่องนี้ถือว่าเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก ๆ เป็นต้นแบบในการเขียนกลอนและยังถูกไปนำดัดแปลงเป็นละคร ภาพยนตร์ และเพลงอีกมากมาย แต่ทราบไหมคะว่าเรื่องพระอภัยมณีนั้นแท้จริงแล้วมีที่มาอย่างไร ถ้าอยากรู้แล้วเราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   พระอภัยมณี ความเป็นมา     พระอภัยมณีเป็นเรื่องที่สุนทรภู่แต่งขึ้นขณะติดคุกเพราะเมาสุราในสมัยรัชกาลที่ 2 ราว ๆ ปี พ.ศ.

ภาษาชวา มลายู ในภาษาไทย มีลักษณะอย่างไร?

น้อง ๆ สงสัยกันไหมคะว่าในภาษาที่เราใช้พูดและใช้เขียนกันอยู่นี้ มีคำไหนบ้างที่ถูกหยิบยืมมาจากต่างประเทศ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและศึกษาลงลึกถึงภาษาชวาและมลายู เป็นอีกหนึ่งภาษาที่เข้ามามีอิทธิพลกับภาษาไทยมาตั้งแต่สมัยอดีต ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้ด้วยกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของการยืมคำจากภาษาชวา มลายู     ทางตอนใต้ของประเทศไทยติดต่อกับประเทศมาเลเซีย จึงทำให้มีการติดต่อค้าขายสานสัมพันธ์ไมตรีกันมาตั้งแต่สมัยอดีต โดยเดิมทีชาวชวาและชาวมลายูเคยใช้ภาษามลายูร่วมกัน ต่อว่าชาวชวามีภาษาเป็นของชนชาติตัวเอง แต่ก็ยังมีบางคำที่คล้ายคลึงกับภาษามลายูอยู่ 1. คำยืมภาษาชวา เพราะอิทธิพลของวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลายเรื่องดาหลังและอิเหนา วรรณคดีเรื่องนี้เป็นที่นิยมถูกนำมาปรับปรุงและประพันธ์เป็นบทละคร โดยในเรื่องมีภาษาชวาอยู่เยอะมาก ทำให้เป็นที่รู้จักและถูกหยิบยืมมาใช้ในการประพันธ์เรื่อยมา

การใช้ไวยากรณ์ Past Simple ในการตั้งคำถาม

เกริ่นนำ เกริ่นใจ อดีต ปัจจุบันและอนาคต ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วได้รับความสำคัญในหลักไวยากรณ์ของภาษาอังกฤษ เอาเข้าจริง ภาษาไทยของเราเองก็มีอะไรในลักษณะนี้เหมือนกันนะ แต่จะไม่เด่นชัดในรูปประโยคจนรู้สึกว่าซับซ้อนเหมือนภาษาอังกฤษที่เรากำลังเรียน ตัวอย่างเช่น เมื่อวานไปไหนมา….หรือ ฉันไป…มา ในขณะที่ภาษาอังกฤษจะต้องมีการปรับโครงสร้างให้เป็นรูปอดีตด้วยการเปลี่ยนคำกริยาเป็นช่องที่ 2 ตัวอย่างเช่น Where “did” you go yesterday? หรือ I “went to…” เป็นต้น อย่างไรก็ดี

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1