การวัดและความเป็นมาของการวัด

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้ความเป็นมาของการวัดในหลายๆมิติ จนกระทั่งวิวัฒนาการที่ทำให้ได้ความแม่นยำในการวัดอย่างเป็นมาตรฐานมากขึ้นเรื่อยๆ
การวัด

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

เนื่องจากในสมัยโบราณยังไม่มีเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานในการวัดจึงได้มีการสื่อสารกันโดยอาศัยสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติการสื่อความหมายต่างๆ และได้มีวิวัฒนาการเครื่องมือและหลักการของการวัดอย่างเป็นมาตรฐานมาเรื่อยๆ

ความหมายของการวัด

เนื่องจากในสมัยโบราณยังไม่มีเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานในการวัดไม่ว่าจะเป็นระยะทาง เวลาพื้นที่ หรือปริมาตร จึงได้มีการสื่อสารกันโดยอาศัยสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติการสื่อความหมายต่างๆ หลังจากนั้นได้มีวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ ตามยุคสมัย สำหรับการวัดความยาวมีวิวัฒนาการดังนี้ การวัดระยะทางจะใช้การบอกทางใกล้-ไกลโดยเปรียบเทียบกับธรรมชาติเช่น ไปอีกประมาณคุ้งน้ำ ต่อมาก็พัฒนามาเรื่อยๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจกันมากยิ่งขึ้นโดยใช้ส่วนของร่างกายเป็นเกณฑ์ เช่น นิ้ว ศอก คืบ วา แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนเพราะคืบ วา ศอก ของแต่ละคน แต่ละชุมชนนั้นมีความยาวไม่เท่ากัน

ความเป็นมาของการวัด

วิวัฒนาการการวัดและเครื่องมือวัดเป็นมาตรฐานสากล

 

2.1 ระบบอังกฤษ กำหนดหน่วยความยาวเป็น นิ้ว ฟุต หลา และไมล์

2.2 ระบบเมตริก กำเนิดขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศสกำหนดความยาวเป็นเซนติเมตร เมตร กิโลเมตรเป็นต้น

ประเทศไทยก็ได้ประกาศพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด ขึ้นในปี พ.ศ. 2466 โดยใช้ระบบเมตริกร่วมกับการวัดของไทยโดยเทียบเข้าหาระบบเมตริกดังนี้

 2 ศอก = 1 เมตร

1วา      =  2 เมตร

ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ได้กำหนดระบบวัดขึ้นมาใหม่เรียกว่าระบบหน่วยระหว่างประเทศหรือเรียกย่อ ๆ ว่าหน่วย SI เพื่อใช้ในการวัดทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหน่วย SI ได้กำหนดหน่วยรากฐานที่ใช้วัดปริมาณมูลฐาน 7 หน่วยคือ

เมตร (m) เป็นหน่วยที่ใช้วัดความยาว

กิโลกรัม (kg) เป็นหน่วยที่ใช้วัดมวล

วินาที (s) เป็นหน่วยที่ใช้วัดเวลา

แอมแปร์ (A) เป็นหน่วยที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้า

เคลวิน (K) เป็นหน่วยที่ใช้วัดอุณหภูมิ

แคนเดลา (d) เป็นหน่วยที่ใช้วัดความเข้มของการส่องสว่าง

โมล (mol) เป็นหน่วยที่ใช้วัดปริมาตรของสาร

สำหรับหน่วยวัดความยาวจากหน่วยรากฐานคือ เมตร จะสามารถเพิ่มหน่วยการวัดได้โดยการนำคำมาเพิ่มข้างหน้าเพื่อเพิ่มหน่วยวัดให้มากขึ้นเช่น เซนติเมตร (cm) กิโลเมตร (km) เท่ากับ 1,000 เมตรเป็นต้น นอกจากการมีหน่วยวัดที่เป็นมาตรฐานแล้วในการวัดยังมีสิ่งสำคัญอีก 2 อย่างคือเครื่องมือที่ใช้วัดและคนวัด กล่าวคือถ้าเครื่องมือวัดได้มาตรฐานและคนวัดมีความแม่นยำ ค่าที่วัดได้ทุกครั้งก็มีความเที่ยงตรง

อย่างไรก็ตามในชีวิตประจำวันของเราไม่อาจนำเครื่องมือวัดติดตามไปได้ทุกที่เมื่อมีความจำเป็นต้องการทราบความยาวหรือปริมาณของสิ่งต่างๆก็ต้องใช้การคาดคะเน การคาดคะเน คือการบอกประมาณของปริมาณของสิ่งต่างๆโดยไม่ได้วัดจริงค่าที่ได้จากการคาดคะเนจะใกล้เคียงความเป็นจริมมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และทักษะของผู้คาดคะเน

คลิปตัวอย่างการวัดและความเป็นมาของการวัด

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ป6 การใช้ประโยคคำสั่งในชีวิตประจำวัน

การใช้ประโยคคำสั่งในชีวิตประจำวัน

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาเรียนรู้เกี่ยวกับ “การใช้ประโยคคำสั่งในชีวิตประจำวัน (Imperative sentence in daily life)” กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด ประเภทของประโยค ” Imperative sentence “     Imperative sentence ในรูปแบบประโยคบอกเล่าจะ ใช้ Verb base

past simple tense

Past Simple Tense

สวัสดีน้องๆ ม. 4 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง Past Simple Tense ในภาษาอังกฤษ จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยดีกว่าครับ

ฟังก์ชันและกราฟของฟังก์ชัน

ฟังก์ชันและกราฟของฟังก์ชัน ฟังก์ชันและกราฟของฟังก์ชัน มีความเกี่ยวข้องกันเนื่องจากฟังก์ชันที่เราเขียนในรูป y = f(x) สามารถนำไปเขียนกราฟในระบบพิกัดฉากได้ ซึ่งกราฟในระบบพิกัดฉากก็คือ กราฟที่ประกอบไปด้วยแกน x และ แกน y   ก่อนที่เราจะเริ่มบทเรียนของฟังก์ชัน อยากให้น้องๆได้ศึกษารูปต่อไปนี้ก่อนนะคะ จากรูป คือการส่งสมาชิกในเซต A ไปยังสมาชิกในเซต B เซต A จะถูกเรียกว่า โดเมน

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล   แบบฝึกหัดการให้เหตุผล ประกอบไปด้วยการให้เหตุผลแบบอุปนัยและการให้เหตุผลแบบนิรนัย ซึ่งแบบฝึกหัดนี้จะช่วยให้น้องๆได้ฝึกฝนการทำโจทย์จนน้องๆเชี่ยวชาญและส่งผลให้น้องๆทำข้อสอบได้แบบไม่ผิดพลาด ถ้าเรารู้เฉยๆเราอาจจะทำข้อสอบได้แต่การที่เราฝึกทำโจทย์ด้วยจะทำให้เราทำข้อสอบได้แน่นอนค่ะ แบบฝึกหัดเพิ่มเติมและข้อสอบ O-Net ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นข้อสอบ O-Net ของปีก่อนๆ   1.) พิจารณาการอ้างเหตุผลต่อไปนี้ ก. เหตุ 1. ถ้าฝนไม่ตกแล้วเดชาไปโรงเรียน   2. ฝนตก      ผล   

ข้อสอบO-Net เรื่องจำนวนจริง

ข้อสอบO-Net ข้อสอบO-Net ในบทความนี้จะคัดเฉพาะเรื่องจำนวนจริงมาให้น้องๆทุกคนได้ดูว่าที่ผ่านมาแต่ละปีข้อสอบเรื่องจำนวนจริงออกแนวไหนบ้าง โดยบทความนี้พี่ได้นำข้อสอบย้อนหลังของปี 49 ถึงปี 52 มาให้น้องๆได้ดูพร้อมเฉลยอย่างละเอียด เมื่อน้องๆได้ศึกษาโจทย์ทั้งหมดและลองฝึกทำด้วยตัวเองแล้ว น้องๆจะสามารถทำข้อสอบทั้งของในโรงเรียนและข้อสอบO-Net ได้แน่นอนค่ะ ข้อสอบO-Net เรื่องจำนวนจริง ปี 49   1.   มีค่าเท่ากับข้อในต่อไปนี้     60      

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1