สำนวนไทย เป็นสิ่งที่คนรุ่นก่อนใช้ความคิดและประสบการณ์สั่งสอนลูกหลาน เกิดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมด้านคติธรรมที่แสดงถึงความรุ่งเรืองทางภาษาของประเทศไทย บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้สำนวนไทยที่เห็นกันบ่อย ๆ แต่หลายคนอาจจะใช้ไม่ถูกต้อง ไม่รู้ความหมายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งเรียนรู้ที่มาของสำนวนด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้กันเลยค่ะ
สำนวนไทย
สำนวนไทย หมายถึง ถ้อยคำที่คมคายซึ่งเป็นถ้อยคำที่ใช้พูดสื่อสารกันโดยมีความหมายที่กว้างและลึกซึ้ง เป็นความหมายโดยนัย ไม่ได้แปลตรงตัวเพื่อใช้เป็นคำพูดในเชิงสั่งสอน เตือนสติ มุ่งสอนใจหรือชี้แนะให้ประพฤติปฏิบัติตาม
ที่มาของสำนวนไทย
สำนวนไทยมีมูลเหตุและที่มาของการเกิดหลายประการ ตามลักษณะของประเพณี วัฒนธรรม นิสัยการกินอยู่ของคนในสังคม รวมถึงสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ความเป็นมาจากศาสนา เหตุการณ์ในวรรณคดี ประวัติศาสตร์ ประเพณีต่าง ๆ ในสังคม การละเล่นพื้นบ้าน เป็นต้น
ตัวอย่างสำนวน
- ยาไส้
ตัวอย่างการใช้
เงินเดือนแค่นี้จะไปพอยาไส้อะไร
- เสียงนกเสียงกา
ตัวอย่างการใช้
ในที่ประชุมคุณควรจะฟังเสียงนกเสียงกาบ้าง ไม่ใช่เอาแต่ความเห็นตัวเองเป็นใหญ่
- ชักแม่น้ำทั้งห้า
ชักแม่น้ำทั้งห้า เป็นสำนวนที่มาจากวรรณคดีไทยเรื่อง มหาเวสสันดรชาดก ในตอนหนึ่ง ความว่า “เมื่อชูชกจะกล่าวขอสองกุมารต่อพระเวสสันดร ไม่ทูลขอตรง ๆ แต่นำเอาแม่น้ำทั้งห้ามาเปรียบ ว่าไหลแผ่สาขาเป็นประโยชน์แก่ฝูงชนอย่างไร ก็เหมือนน้ำพระทัยของพระเวสสันดรอย่างนั้น”
ตัวอย่างการใช้
ถ้าคุณต้องการอะไรก็พูดมาเลย อย่ามัวแต่ชักแม่น้ำทั้งห้า
นอกจากสำนวนที่ยกตัวอย่างมาแล้วก็ยังมีสำนวนไทยอีกมากมายเลยนะคะที่คนรุ่นก่อนใช้เป็นข้อคิดเพื่อเตือนใจจนเกิดเป็นวัฒนธรรมทางภาษาสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันในคนในยุคสมัยได้ศึกษาวิถีชีวิต ความเชื่อของคนสมัยก่อน แล้วก็ยังได้นำสำนวนเหล่านั้นไปปรับใช้ในชีวิตกันด้วย น้อง ๆ เอง เมื่อเรียนเรื่องสำนวนแล้วก็อย่าลืมนำสำนวนดี ๆ ไปยึดเป็นคติประจำใจในการดำเนินชีวิตนะคะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถตามไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อฟังคำอธิบายเกี่ยวกับสำนวนที่ครูอุ้มได้ยกตัวอย่างขึ้นมาให้เห็นภาพมากขึ้น รับรองว่าทั้งสนุกและได้ความรู้เลยค่ะ
อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy