ศึกษาตัวบทและข้อคิดที่แฝงอยู่ในสามัคคีเภทคำฉันท์

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สามัคคีคือพลัง เป็นคำกล่าวคุ้นหูที่หลายคนคงจะเคยได้ยินคนพูดให้ฟังอยู่บ่อย ๆ เพราะไม่ว่าเราจะทำสิ่งใดร่วมกับใคร เพื่อให้งานนั้นสำเร็จและเป็นไปอย่างราบรื่น เราก็ต้องอาศัยความสามัคคีของคนในกลุ่มช่วยกันขับเคลื่อนให้ทุกอย่างเดินไปข้างหน้าได้ แต่บางครั้งคนเราก็อาจปล่อยให้อารมณ์มาบดบังจนทำให้แตกความสามัคคีกันอยู่บ่อย ๆ สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นวรรณคดีที่ว่าด้วยผลของการแตกความสามัคคี บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ตัวบทเด่น ๆ ที่สำคัญ ถอดบทเรียนจากตัวละครและศึกษาคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่องกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องนี้พร้อมกันเลย

 

ตัวบทเด่น ๆ ใน สามัคคีเภทคำฉันท์

 

 

ถอดความ พระเจ้าอชาตศัตรู แห่ง แคว้นมคธต้องการจะยกทัพไปตีแคว้นวัชชีแต่เกิดความลังเล เพราะบรรดากษัตริย์แคว้นวัชชีทั้งหลายนั้นตั้งมั่นในธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม ไม่โกรธและไม่แตกร้าวกัน ทำให้การตีเมืองที่มีความสามัคคีหนักแน่นเช่นนี้เป็นไปได้ยาก

 

สามัคคีเภทคำฉันท์

 

ถอดความ พระเจ้าอชาตศัตรูได้ปรึกษากับวัสสการพราหมณ์ผู้เป็นที่ปรึกษาและอาจารย์เพื่อหาอุบายในการทำศึก วัสสการนั้นฉลาดหลักแหลม คิดอุบายออกมาได้ เมื่อทูลพระเจ้าอชาตศัตรูไปก็ทรงเห็นด้วยและนัดแนะกับวัสสการพราหมณ์ในการทำลายล้างความสามัคคี

 

สามัคคีเภทคำฉันท์

 

ถอดความ วัสสการพราหมณ์เริ่มออกอุบายเพื่อยุให้เหล่าโอรสแตกคอโดยเริ่มจากการที่เชิญพระกุมารลิจฉวีไปคุยในห้องส่วนตัวด้วยเรื่องที่ไม่ใช่ความลับอะไร อย่างถามว่า ชาวนาจูงโคมาเพื่อเทียบไถใช่หรือไม่ พระกุมารลิจฉวีก็ตอบเออออไปตามอาจารย์ว่าชาวบ้านคงจะทำดังนั้นจริง

 

 

ถอดความ เมื่อพระกุมารลิจฉวีออกมาจากห้องแล้ว พระกุมารองค์อื่นก็เกิดความสงสัยจึงเข้ามาซักถามถึงเรื่องที่คุยกับพระอาจารย์และขอให้บอกตามความจริง พระกุมารลิจฉวีก็ตอบไปตามจริงว่าพระอาจารย์ถามอะไร แต่พระกุมารองค์อื่นไม่เชื่อ ด้วยความที่เชื่อมั่นว่าวัสสการพราหมณ์เป็นผู้ที่เฉลียวฉลาด ไม่มีทางที่จะมาถามคำถามเหลวไหลไร้สาระ เป็นเหตุให้ทะเลาะกัน

 

 

ถอดความ หลังจากที่วัสสการพราหมณ์ใช้อุบายยุให้เหล่าพระกุมารแตกคอกันเองเป็นเหตุให้ลามไปถึงพวกผู้ใหญ่ด้วย เมื่อเห็นว่าตอนนี้แคว้นวัชชีกำลังอ่อนแอ จึงลองตีกลองนัดประชุม แต่ฝ่ายกษัตริย์แคว้นวัชชีไม่อยากไปและรับสั่งในเชิงประชดประชันว่า จะเรียกประชุมทำไม เราไม่ได้เป็นใหญ่ ใจก็ขลาด ไม่กล้าหาญ ผู้ใดเป็นใหญ่ มีความกล้าหาญ พอใจจะไปร่วมประชุมก็เชิญไป

 

คุณค่าที่อยู่ในเรื่อง

 

ด้านวรรณศิลป์

ใช้ฉันทลักษณ์ได้อย่างงดงามเหมาะสม โดยเลือกฉันท์ชนิดต่าง ๆ มาใช้สลับกันตามความเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง จึงเกิดความไพเราะสละสลวย มีการใช้โวหารภาพพจน์ต่าง ๆ ทำให้เนื้อเรื่องมีหลากหลายอารมณ์

 

 

ข้อคิดและคติสอนใจ

1. ความสามัคคี

สามัคคีเภทคำฉันท์เป็นเรื่องราวที่สะท้อนให้เห็นถึงโทษของความไม่สามัคคีของคนในสังคมได้อย่างชัดเจน จากเมืองที่เคยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ปรองดองเป็นปึกแผ่นจนไม่มีศัตรูที่ไหนบุกมาทำลายไปได้ แต่เมื่อเกิดความแตกแยก เชื่อคำยุยง ไม่ยึดตามหลักธรรม ความสามัคคีก็พังทลาย

2. การใช้ปัญญาแก้ปัญหา

การกระทำทุกอย่างต้องเป็นไปอย่างรอบคอบ มีการวางแผน คิดตริตรองเพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด ดังที่พระเจ้าอชาตศัตรูไม่บุ่มบ่ามทำอะไรตามใจ แต่รู้จักคิด วิเคราะห์เพื่อทำลายจุดแข็งของศัตรูจนในที่สุดก็ทำให้ได้รับชัยชนะ

 

 

ข้อคิดคติธรรมที่แฝงอยู่ในเรื่อง เป็นข้อคิดที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงได้ เพื่อให้เราใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ปล่อยให้อารมณ์และความขุ่นเคืองนำพาจนเป็นเหตุให้เกิดเสียหาย ชาติจะเจริญก้าวหน้าได้ ก็ต่อเมื่อเรามีสามัคคีกัน รักใคร่กลมเกลียวกันนะคะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถรับชมคลิปครูอุ้มเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับเกร็ดความรู้สนุกๆ เพิ่มเติมและอย่าลืมหมั่นทบทวนบทเรียนเพื่อไม่ให้พลาดเวาทำข้อสอบกันด้วยนะคะ

 

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

มงคลสูตรคำฉันท์ ตัวบท

ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจในวรรณคดีเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคนกลับมาพบกับบทเรียนภาษาไทยที่น่าสนใจกันอีกเช่นเคย ต่อจากครั้งก่อนที่เราได้เรียนประวัติความเป็นมา เรื่องย่อ และลักษณะคำประพันธ์ของวรรณคดีพระพุทธศาสนาเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ไปแล้ว วันนี้เราจะมาเรียนกันต่อในส่วนที่เป็นตัวบทสำคัญ โดยจะยกตัวบทที่มีความน่าสนใจพร้อมกับถอดความมงคลทั้ง 38 ประการว่ามีอะไรบ้าง  ดังนั้น ถ้าน้อง ๆ คนไหนพร้อมแล้วก็มาเข้าสู่เนื้อหาไปพร้อม ๆ กันเลย     ประวัติความเป็นมา สำหรับประวัติความเป็นมาของเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์มาจากการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 6 ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจึงได้ถอดความอุดมมงคล 38

เมทริกซ์

เมทริกซ์ และเมทริกซ์สลับเปลี่ยน

เมทริกซ์ เมทริกซ์ (Matrix) คือตารางสี่เหลี่ยมที่บรรจุตัวเลขหรือตัวแปร สามารถนำมาบวก ลบ คูณกันได้ เราสามารถใช้เมทริกซ์ในการการแก้ระบบสมการเชิงเส้นได้ซึ่งจะสะดวกกว่าการแก้แบบกำจัดตัวแปรสำหรับสมการที่มากกว่า 2 ตัวแปร ตัวอย่างการเขียนเมทริกซ์ เรียกว่าเมทริกซ์มิติ 3×3 ซึ่ง 3 ตัวหน้าคือ จำนวนแถว 3 ตัวหลังคือ จำนวนหลัก ซึ่งเราจะเรียกแถวในแนวนอนว่า แถว และเรียกแถวในแนวตั้งว่า หลัก และจากเมทริกซ์ข้างต้นจะได้ว่า

Daily Conversation P6

บทสนทนาในชีวิตประจำวันที่ควรรู้

  สวัสดีค่ะนักเรียนป. 6 ที่รักทุกคน เมื่อก่อนการคุยกันผ่านออนไลน์ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าในปัจจุบันที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยในสถานการณ์ยุคโควิด เป็นเรื่องที่น่าเศร้าเวลาที่เราออกไปไหนไม่ได้ บทสนทนาออนไลน์จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากแต่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงสักเท่าไหร่ วันนี้ครูจะพาไปดูบทสนทนาที่อัพเดทแล้วในปัจจุบันรวมทั้งประโยคและวลีที่เราเจอบ่อยในชีวิตประจำวันทั้งชีวิตจริงและบนโลกออนไลน์กันค่ะ ไปลุยกันเลยค่า      การเริ่มบทสนทนากับคนที่เราไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย     Hi/ Hello/ Is that …? = สวัสดี ที่นั่น ..(เบอร์/ สถานที่)… ใช่ไหม

โคลงโลกนิติ ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อ

โคลงโลกนิติ เป็นคำโคลงที่ถูกแต่งไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดูจากช่วงเวลาแล้ว น้อง ๆ หลายคนคงจะสงสัยว่าเหตุใดบทประพันธ์ที่มีมาตั้งแต่ยุคก่อนโน้น ยังถูกนำมาเป็นบทเรียนให้คนรุ่นหลังสมัยนี้ศึกษาอยู่ โคลงโลกนิติเป็นบทประพันธ์แบบใด ถึงได้รับการอนุรักษ์ไว้มาอย่างยาวนาน วันนี้เรามาเรียนรู้ถึงประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของโคลงโลกนิติกันค่ะ โคลงโลกนิติ ประวัติและความเป็นมา โคลงโลกนิติเป็นบทประพันธ์ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏนามผู้แต่งที่ชัดเจน เนื่องจากเป็นสุภาษิตเก่าที่ถูกนำมาร้อยเรียงเป็นคำโคลง ต่อมา เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธ์) และประสงค์ให้มีการนำโคลงโลกนิติมาจารึกลงแผ่นศิลาติดไว้เป็นธรรมทาน เพื่อที่ประชาชนจะได้ศึกษาคติธรรมจากบทประพันธ์   ผู้แต่งโคลงโลกนิติ เดิมทีไม่มีปรากฏชื่อผู้แต่งที่ชัดเจนและไม่มีหลักฐานยืนว่าโคลงโลกนิติถูกแต่งขึ้นเมื่อไหร่ แต่นักวรรณคดีศึกษาคาดว่าโคลงโลกนิติแพร่หลายในสมัยกรุงศรีอยุธยา

โคลงอิศปปกรณำ

โคลงอิศปปกรณำ วรรณคดีร้อยแก้วที่แปลมาจากนิทานตะวันตก

ในบทเรียนก่อนหน้า น้อง ๆ ได้เรียนรู้เรื่องโคลงโสฬสไตรยางค์กับโคลงนฤทุมนาการกันไปแล้ว แต่โคลงสุภาษิตที่น้อง ๆ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จะได้เรียนไม่ได้หมดแค่นั้นนะคะ เพราะยังมีอีกหนึ่งโคลงสุภาษิตที่สำคัญไม่แพ้กันเลยคือ โคลงอิศปปกรณำ นั่นเองค่ะ โคลงสุภาษิตที่ชื่อดูอ่านยากเรื่องนี้จะมีที่มาอย่างไร สอนเรื่องอะไรเราบ้าง มีเนื้อหาอย่างไร ให้ข้อคิดแบบไหน ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ความหมายของ โคลงอิศปปกรณำ     โคลงอิศปปกรณำ อ่านว่า โคลง-อิด-สะ-ปะ-ปะ-กะ-ระ-นำ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1