นิราศภูเขาทอง ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจและคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่อง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

นิราศภูเขาทองเป็นหนึ่งในนิราศที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีของสุนทรภู่ เป็นงานอันทรงคุณค่าที่ใช้เป็นแบบเรียนภาษาไทยในปัจจุบัน เรามาถอดคำประพันธ์ตัวบทที่น่าสนใจในนิราศภูเขาทองกันดีกว่าค่ะว่ามีบทไหนที่เด่น ๆ ควรศึกษาและจดจำไว้เพื่อไม่ให้พลาดในการทำข้อสอบ

ถอดคำประพันธ์ นิราศภูเขาทอง

 

เนื่องจากนิราศภูเขาทองมีหลายบท ในที่นี้จะเลือกเฉพาะบทที่เด่น ๆ มาศึกษากันนะคะ เราไปดูกันที่บทแรกเลยค่ะ

 

ถอดคำประพันธ์

บทนี้เป็นการเปรียบเทียบการดื่มเหล้ากับความรัก เหล้าเป็นอบายมุข เมื่อดื่มเข้าไปจะทำให้มีอาการมึนเมา สติสัมปชัญญะไม่ครบถ้วน แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาการมึนเมาเหล่านั้นก็จะหายไป แต่หากหลงมัวเมาอยู่กับความรัก ไม่ว่าจะใช้เวลาเท่าไหร่ก็หายไปง่าย ๆ

 

ถอดคำประพันธ์

บทนี้สอนเกี่ยวกับการพูดว่าหากเราพูดดีก็จะเป็นศรีแก่ตัว แต่หากเราพูดไม่ดีก็อาจจะสร้างความเดือดร้อนให้มาถึงตัวเราหรืออาจจะทำร้ายคนรอบข้างด้วย

 

นิราศภูเขาทอง

ถอดคำประพันธ์

ในบทนี้สุนทรภู่เปรียบคนที่ไม่ดีเป็นผลมะเดื่อ เนื่องจากว่าผลมะเดื่อที่สุกก็จะมีสีสันสดใสสวยงามแต่ข้างในกลับมีหนอนและแมลงหวี่อยู่ เปรียบได้กับคนที่ฉากหน้าเหมือนเป็นคนดีแต่ข้างในเลวร้าย

 

นิราศภูเขาทอง

ถอดคำประพันธ์

ในบทนี้เล่าถึงที่มาของอำเภอสามโคก ซึ่งในอดีตเป็นเมืองท่าสำคัญในการค้าขาย และชื่อของจังหวัดปทุมธานีที่มาจาก ปทุม(ดอกบัว) + ธานี(เมือง) จึงแปลได้ว่าเมืองแห่งดอกบัว

 

นิราศภูเขาทอง

ถอดคำประพันธ์

บทนี้กล่าวถึงตอนที่สุนทรภู่เดินทางไปถึงเจดีย์ภูเขาทองแล้วเห็นว่าฐานเจดีย์ร้าวและแตกออกหมดแล้ว เมื่อเห็นอย่างนั้นจึงเกิดความรู้สึกปลงว่าแม้แต่เจดีย์ที่สร้างด้วยปูนยังทรุดโทรมได้แล้วจะนับประสาอะไรกับชื่อเสียงและเกียรติยศที่ไม่มีความแน่นอน วันหนึ่งมี แต่วันหนึ่งอาจจะเสียไปทั้งหมด

 

คุณค่าที่อยู่ในเรื่อง

 

นิราศภูเขาทอง

 

นิราศภูเขาทองไม่เพียงแต่เป็นบทกลอนนิราศที่บันทึกการเดินทางเท่านั้นแต่ยังแฝงคุณค่าไว้ในเรื่องมากมาย

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

 

นิราศภูเขาทอง มีการใช้ภาพพจน์อุปมาเปรียบเทียบของสองสิ่ง มีการใช้ฉันทลักษณ์ที่งดงาม ทั้งสัมผัสสระ สัมผัสอักษร และการเล่นคำ

 

ตัวอย่างที่ 1

ดูน้่าวิ่งกลิ้งเชี่ยวเป็นเกลียวกลอก         กลับกระฉอกฉาดฉัดฉวัดเฉวียน
บ้างพลุ่งพลุ่งวุ้งวงเหมือนกงเกวียน      ดูเปลี่ยนเปลี่ยนคว้างคว้างเป็นหว่างวน

 

ตัวอย่างที่ 2

ไม่เห็นคลองต้องค้างอยู่กลางทุ่ง                พอหยุดยุงฉู่ชุมมารุมกัด
เป็นกลุ่มกลุ่มกลุ้มกายเหมือนทรายซัด        ต้องนั่งปัดแปะไปมิได้นอน

 

ตัวอย่างที่ 3

แสนวิตกอกเอ๋ยมาอ้างว้าง                    ในทุ่งกว้างเห็นแต่แขมแซมสลอน
จนดึกดาวพราวพร่างกลางอัมพร          กระเรียนร่อนร้องก้องเมื่อสองยาม
ทั้งกบเขียดเกรียดกรีดจังหรีดเรื่อย       พระพายเฉื่อยฉิวฉิววะหวิวหวาม
วังเวงจิตรคิดคะนึงร่าพึงความ               ถึงเมื่อยามยังอุดมโสมนัส

 

นิราศภูเขาทองโดดเด่นในเรื่องการเลือกใช้คำที่สวยมาก มีเนื้อหาลึกซึ้งกินใจได้โดยไม่ต้องใช้คำยาก ๆ อ่านแล้วเข้าใจได้ว่ากวีต้องการจะสื่อถึงอะไรโดยไม่ต้องตีความให้ซับซ้อน

 

คุณค่าด้านสังคม

 

นอกจากจะพรรณนาถึงสิ่งที่พบเจอแล้ว กวียังเลือกที่จะสอดแทรกข้อคิดต่าง ๆ ลงไปในเรื่องเป็นระยะ

 

ตัวอย่างที่ 1

ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์           มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต

แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร      จะชอบผิดในมนุชษย์เพราะพูดจา

จากตัวอย่าง เมื่อกวีเดินทางมาถึงบางพูด ก็แทรกข้อคิดสอนใจเกี่ยวกับการพูด

 

ตัวอย่างที่ 2

ถึงบางเดื่อโอ้มะเดื่อเหลือประหลาด        บังเกิดชาติแมลงหวี่มีในไส้

เหมือนคนพาลหวานนอกย่อมขมใน        อุปไมยเหมือนมะเดื่อเหลือระอา

จากตัวอย่าง เมื่อเดินทางมาถึงบางเดื่อ กวีก็ได้ยกเรื่องของผลมะเดื่อขึ้นมาเปรียบเทียบกับคนไม่ดีเพื่อเป็นข้อคิดและเตือนใจเรื่องการคบคน

 

ตัวอย่างที่ 3

งิ้วนรกสิบหกองคุลีแหลม     ดังขวากแซมเสี้ยมแทรกแตกไสว
ใครท่าชู้คู่ท่านครั้นบรรลัย     ก็ต้องไปปีนต้นน่าขนพอง

เมื่อถึงบ้านงิ้ว กวีกล่าวถึงเรื่องราวของบาปกรรมเกี่ยวกับการผิดศีลข้อ 3 ว่าเมื่อตกนรกไปก็จะต้องไปปีนต้นงิ้ว

 

คุณค่าด้านประวัติศาสตร์

 

ในบางครั้งเมื่อเดินทางอำเภอหรือย่านชุมชน กวีจะเล่าถึงประวัติศาสตร์และที่มาของเมืองนั้น ๆ เช่น ที่มาของชื่อเมืองปทุมธานี หรือวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในย่านชุมชนตลาดขวัญ ทำให้นอกจากจะได้เพลิดเพลินกับความสวยงามของภาษาแล้วยังได้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์เพิ่มอีกด้วย

 

ตัวอย่าง

โอ้คิดมาสารพัดจะตัดขาด          ตัดสวาทตัดรักมิยักไหว
ถวิลหวังนั่งนึกอนาถใจ               ถึงเกาะใหญ่ราชคราม พอยามเย็น
ดูห่างย่านบ้านช่องทั้งสองฝั่ง     ระวังทั้งสัตว์น้ำจะทำเข็ญ
เป็นที่อยู่ผู้ร้ายไม่วายเว้น             เที่ยวซ่อนเร้นตีเรือเหลือระอา

ในอดีตชาวบ้านเรียกตำบลท้ายเกาะในอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานีว่าเกาะใหญ่ เนื่องจากในบริเวณนั้นมีคลองเกาะใหญ่ แยกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ส่วนราชครามที่อยู่ในวรรคเดียวกันนั้นคือชื่อเดิมของอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันถูกเปลี่ยนเป็นตำบลราชครามแต่ยังอยู่ในอำเภอบางไทร

 

จากการศึกษาตัวบทเด่น ๆ และรู้ถึงคุณค่าของนิราศภูเขาทอง น้อง ๆ คงจะเห็นกันแล้วใช่ไหมคะว่านิราศภูเขาทองนอกจากจะแต่งด้วยถ้อยคำที่ไพเราะแล้วยังสอดแทรกเรื่องราว ๆ ต่างไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ ข้อคิดในการดำเนินชีวิต สุนทรภู่พรรณนาถึงสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างซาบซึ้งและเข้าใจง่าย โดยที่น้อง ๆ ไม่ต้องตีความในซับซ้อนเลย และสำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อยากจะฟังคำอธิบายเกี่ยวกับตัวบทให้เห็นภาพมากขึ้น ก็ไปชมกันได้ตามคลิปด้านล่างนี้เลยค่ะ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Profile

การตั้งประโยคคำถามแบบมีกริยาช่วยนำหน้าและ Wh-questions

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดู ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย มารู้จักกับกริยาช่วย   Helping verb หรือ Auxiliary verb กริยาช่วย หรือ ภาษาทางการเรียกว่า กริยานุเคราะห์  คือกริยาที่วางอยู่หน้ากริยาหลัก (Main verb) ในประโยค  ทำหน้าที่ช่วยกริยาอื่นให้มีความหมายตาม

สมบัติของจำนวนเต็ม

สมบัติของจำนวนเต็ม

ก่อนที่น้องๆจะได้เรียนรู้ในเรื่องสมบัติของจำนวนเต็ม น้องๆจำเป็นต้องเรียนเรื่อง การเปรียบเทียบจำนวนเต็ม และเรื่อง จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์  ซึ่งบทความนี้ได้รวบรวมสมบัติของจำนวนเต็ม ประกอบด้วย สมบัติเกี่ยวกับการบวกและคูณจำนวนเต็ม ได้แก่ สมบัติการสลับที่ สมบัติการเปลี่ยนหมู่ และสมบัติการแจกแจง  รวมไปถึงสมบัติของหนึ่งและศูนย์ เรามาศึกษาสมบัติแรกกันเลย สมบัติเกี่ยวกับการบวกและคูณจำนวนเต็ม สมบัติการสลับที่ สมบัติการสลับที่สำหรับการบวก ถ้า a และ b แทนจำนวนเต็มใดๆ แล้ว a + b =

เสียงสระในภาษาไทย

เสียงในภาษาไทยมีทั้งหมด 3  เสียงคือพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ จากที่เราได้ทำความเข้าใจในเรื่องเสียงพยัญชนะกันไปแล้ว วันนี้เราจะมาเรียนรู้อีกเสียงหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กันก็คือเรื่องเสียงสระนั่นเองค่ะ เสียงสระจะมีกี่ชนิด แบ่งเป็นชนิดใดบ้าง ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ     เสียงสระ เสียงสระเป็นเสียงที่เกิดจากลมภายในปอด เปล่งออกมาโดยใช้การเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปาก เสียงที่ได้จะแบ่งออกได้ดังนี้ค่ะ สระเดี่ยว สระเดี่ยวหรือสระแท้ มีทั้งหมด 18 เสียง เสียงสั้นและเสียงยาวจับกันได้ 9

NokAcademy_ ม.5 M6 Gerund

Gerund พร้อมแนวข้อสอบ ม.6

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง “Gerund” กันจร้า พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมายของ Gerund อธิบายแบบง่ายๆ เลยว่า Gerund หรือ Ing-form ในบริติชอิงลิช ที่จริงแล้ว มันก็คือ คำกริยาเติม ing (V-ing) แล้วหน้าที่เป็นคำนาม ในภาษาไทยถูกนำมาใช้ในไวยากรณ์เรียกว่า กริยานาม นั่นเองจร้า

ศัพท์บัญญัติ

ศัพท์บัญญัติ เรียนรู้การยืมคำและบัญญัติขึ้นใหม่

น้อง ๆ หลายคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกับคำว่า ศัพท์บัญญัติ สักเท่าไหร่ บทเรียนวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับศัพท์บัญญัติที่ว่านั่นกันค่ะว่าคืออะไร มีที่มาและมีหลักเกณฑ์ในการสร้างอย่างไรบ้าง ถ้าน้อง ๆ พร้อมที่จะเรียนรู้กันแล้ว ก็ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   การบัญญัติศัพท์คืออะไร     การบัญญัติศัพท์ คือการกำหนดคำศัพท์จากภาษาต่างประเทศขึ้นมาใหม่ในภาษาไทย เพื่อใช้สื่อความหมายบางอย่างโดยเฉพาะในศาสตร์แขนงใดแขนงหนึ่ง หรือเพื่อใช้ในการเขียนเอกสารของงานราชการ ตามเจตนาของผู้บัญญัติ ซึ่งคำศัพท์ที่เกิดจากวิธีการเช่นนี้จะเรียกว่า ศัพท์บัญญัติ โดยทั่วแล้วศัพท์บัญญัติมักจะมาจากภาษาอังกฤษ

การนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิวงกลม

การนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิวงกลม การนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิวงกลม เป็นการนำเสนอข้อมูลโดยการเเบ่งพื้นที่ของวงกลมออกเป็นส่วน ๆ เเละมีขนาดของสัดส่วนตามข้อมูลที่ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ การนำเสนอด้วยเเผนภูมิวงกลมเป็นการนำเสนอข้อมูลที่มีอยู่ได้อย่างน่าสนใจ สามารถวิเคราะห์เเละเเปรข้อมูลได้ง่ายขึ้น การสร้างแผนภูมิรูปวงกลมเพื่อนำเสนอข้อมูล การสร้างแผนภูมิวงกลม ทำได้โดยการเเบ่งมุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลมที่มีขนาด 360 องศา ออกเป็นส่วน ๆ ที่เรียกว่า มุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลม ตามขนาดที่ได้จากการเทียบส่วนกับปริมาณทั้งหมดในข้อมูล มุมที่จุดศูนย์กลาง = (จำนวนที่สนใจ/จำนวนทั้งหมด) x 360 องศา ตัวอย่างการสร้างแผนภูมิวงกลม จากข้อมูลการสำรวจที่ได้เก็บรวมรวบข้อมูลจากนักเรียนทั้งหมด 200

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1