ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม ถอดคำประพันธ์และเรียนรู้คุณค่าของวรรณคดี

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

จากที่บทเรียนคราวก่อนเราได้รู้ความเป็นมาและเรื่องย่อของตอนที่สำคัญอีกตอนหนึ่งของเรื่องอย่างตอน กำเนิดพลายงาม กันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกตัวบทที่น่าสนใจเพื่อถอดคำประพันธ์พร้อมทั้งศึกษาคุณค่าในเรื่อง น้อง ๆ จะได้รู้พร้อมกันว่าเหตุใดวรรณคดีเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ถึงมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ตัวบท ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม

 

 

ถอดคำประพันธ์ : เป็นคำสอนของนางวันทองที่ได้สอนพลายงามก่อนที่จะต้องจำใจส่งลูกไปอยู่กับย่าที่กาญจนบุรีว่าเกิดเป็นผู้ชายต้องลายมือสวย โตขึ้นจะได้รับราชการก่อนจะพาพลายงามมาส่งด้วยความรู้สึกที่เหมือนใจสลาย

 

ขุนช้างขุนแผน

 

ถอดคำประพันธ์ : นางวันทองกับพลายงามต่างหน้ากันด้วยความผูกพันและเศร้าโศกที่จะต้องแยกจากกัน สองแม่ลูกร้องไห้ขณะร่ำลาก่อนที่พลายงามจะแข็งใจเดินจากนางวันทองมา

 

ขุนช้างขุนแผน

 

ถอดคำประพันธ์ : เป็นตอนที่ขุนช้างสงสัยว่าพลายงามเป็นลูกของใคร หลังจากที่เคยเข้าใจว่าพลายงามเป็นลูกของตัวเอง แต่ยิ่งนานไป พลายงามโตขึ้นเรื่อย ๆ หน้าตากลับไปเหมือนขุนแผนที่เป็นพ่อ

 

ขุนช้างขุนแผน

 

ถอดคำประพันธ์ : ขุนช้างต่อว่านางวันทองว่าสองใจ ตั้งชื่อลูกว่าพลายงาม จงใจให้คล้ายกับชื่อขุนแผน (ชื่อเดิม พลายแก้ว)

 

คุณค่าของวรรณคดี

 

 

ด้านเนื้อหา

ความรักระหว่างแม่ลูก

เนื้อหาตอนกำเนิดพลายงามมีคุณค่าที่เด่นชัดที่สุดความรักระหว่างแม่กับลูก เมื่อมีเหตุให้ต้องจากกัน ความผูกพันระหว่างแม่ลูกก็ทำให้ทั้งนางวันทองและพลายงามเสียใจเป็นอย่างมากที่ต้องแยกกัน นางวันทองเลือกที่จะปกป้องลูกจากขุนช้างโดยให้ไปอยู่ที่อื่น พลายงามเองก็เข้าใจความรู้ของแม่ที่ต้องการปกป้องจึงไม่ได้คิดโกรธแค้นแต่อย่างใดที่ไม่ได้อยู่กับแม่

สะท้อนชีวิตคนธรรมดาสามัญ

ความดีเด่นของวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนที่ทำให้แตกต่างจากวรรณคดีเรื่องอื่นๆ คือตัวละครในเรื่องส่วนมากเป็นเรื่องราวความรักของคนธรรมดา ไม่ได้มีตัวละครเอกเป็นเจ้าเมือง โดยสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเชื่อ ภูมิปัญญาของคนในสังคมไทยสมัยก่อนอย่างละเอียดและมีความใกล้ชิดกับความเป็นจริงมากกว่าเรื่องอื่น ๆ

 

ด้านวรรณศิลป์

ตอนกำเนิดพลายงาม มีรสวรรณคดีคือสัลลาปังคพิไสย (บทโศก) และพิโรธวาทัง (บทตัดพ้อ โกรธ) หลายบท เช่น อารมณ์ของนางวันทองกับพลายงามที่เศร้าโศกเพราะต้องแยกจากกัน หรือเป็นที่ขุนช้างโกรธนางวันทองและขุนแผนเมื่อรู้ว่าพลายงามไม่ใช่ลูกของคน

 

ขุนช้างขุนแผนนี้ ถือว่าเป็นเพชรเม็ดงามเม็ดหนึ่งของวรรณกรรมไทย ด้วยอุดมไปด้วย คุณค่าทางวรรณศิลป์อย่างครบถ้วน ทั้งความประณีตบรรจงในการแต่ง กระบวนกลอนเล่นสัมผัสอย่างไพเราะและมีเนื้อความดีตลอดเรื่อง สอดแทรกแง่คิดเกี่ยวกับชีวิต และสามารถสร้างอารมณ์สะเทือนใจแก่ผู้อ่านให้เห็นภาพและซาบซึ้งไปกับตัวละครได้อย่างดีเยี่ยม สุดท้ายนี้น้อง ๆ อย่าลืมชมคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มเพื่อฟังสรุปความสำคัญของเรื่องทั้งหมดของเรื่องกันด้วยนะคะ ไปชมกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

นิทานเวตาล เรื่องเล่าที่สอดแทรกคติธรรมไว้มากมาย

นิทานเวตาล เป็นวรรณคดีอินเดียโบราณที่มีประวัติความเป็นมายาวนานนับพันปี มีเนื้อหาที่บันเทิงแต่ก็สอดแทรกปริศนาธรรมและคติธรรมคำสอนไว้เพื่อเป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อจากวรรณคดีเรื่องนี้กันค่ะว่าจะมีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมาของนิทานเวตาล     นิทานเวตาล หรือ เวตาลปัญจวิงศติ เป็นวรรณกรรมอินเดียโบราณ กวีคนแรกที่เป็นคนแต่งคือ ศิวทาส เมื่อ 2.500 ปี ต่อมาโสมเทวะ กวีชาวแคว้นกัษมีระได้นํามา

ระยะห่างของเส้นตรง

ระยะห่างของเส้นตรง

ระยะห่างของเส้นตรง ระยะห่างของเส้นตรง มีทั้งระยะห่างระหว่างจุดกับเส้นตรง และระหว่างเส้นตรงสองเส้นที่ขนานกัน ซึ่งจากบทความเรื่องเส้นตรง น้องๆพอจะทราบแล้วว่าเส้นตรงสองเส้นที่ขนานกันความชันจะเท่ากัน ในบทความนี้น้องๆจะทราบวิธีการหาระยะห่างของเส้นตรงที่ขนานกันด้วยซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการหาสมการเส้นตรงได้ด้วย ระยะห่างระหว่างเส้นตรงกับจุด จากรูปจะได้ว่า  โดยที่ A, B และ C เป็นค่าคงที่ และ A, B ไม่เป็นศูนย์พร้อมกัน ตัวอย่าง1  หาระยะห่างระหว่างจุด (1, 5) และเส้นตรง 2x

การนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิวงกลม

การนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิวงกลม การนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิวงกลม เป็นการนำเสนอข้อมูลโดยการเเบ่งพื้นที่ของวงกลมออกเป็นส่วน ๆ เเละมีขนาดของสัดส่วนตามข้อมูลที่ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ การนำเสนอด้วยเเผนภูมิวงกลมเป็นการนำเสนอข้อมูลที่มีอยู่ได้อย่างน่าสนใจ สามารถวิเคราะห์เเละเเปรข้อมูลได้ง่ายขึ้น การสร้างแผนภูมิรูปวงกลมเพื่อนำเสนอข้อมูล การสร้างแผนภูมิวงกลม ทำได้โดยการเเบ่งมุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลมที่มีขนาด 360 องศา ออกเป็นส่วน ๆ ที่เรียกว่า มุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลม ตามขนาดที่ได้จากการเทียบส่วนกับปริมาณทั้งหมดในข้อมูล มุมที่จุดศูนย์กลาง = (จำนวนที่สนใจ/จำนวนทั้งหมด) x 360 องศา ตัวอย่างการสร้างแผนภูมิวงกลม จากข้อมูลการสำรวจที่ได้เก็บรวมรวบข้อมูลจากนักเรียนทั้งหมด 200

สมมูลและนิเสธ

สมมูลและนิเสธของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ

“สมมูลและนิเสธ” ของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ สมมูลและนิเสธ เราเคยเรียนกันไปแล้วก่อนหน้านี้ แต่เป็นของประพจน์ p, q, r แต่ในบทความนี้จะเป็นสมมูลและนิเสธของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ ซึ่งก็จะเอาเนื้อหาก่อนหน้ามาปรับใช้กับประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ สิ่งที่เราจะต้องรู้และจำให้ได้ก็คือ การสมมูลกันของประพจน์ เพราะจะได้ใช้ในบทนี้แน่นอนน ใครที่ยังไม่แม่นสามารถไปอ่านได้ที่ บทความรูปแบบของประพจน์ที่สมมูลกัน  นิเสธของตัวบ่งปริมาณ เมื่อเราเติมนิเสธลงไปในประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ ข้อความต่อไปนี้จะสมมูลกัน กรณี 1 ตัวแปร ∼∀x[P(x)] ≡ ∃x[∼P(x)] ∼∃x[P(x)]

NokAcademy_ ม.6 Modlas in the Past

Modals in the Past

  สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Modals in the Past “ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยจร้า   ทบทวน Modal Verbs  Modal Auxiliaries คือ กริยาช่วยกลุ่ม  Modal verbs หรือ 

เรียนรู้เรื่องการสร้างคำประสมในภาษาไทย

การสร้างคำประสม   คำพูดที่เราพูดกันอยู่ทุกวันนั้น ๆ น้องรู้ไหมคะว่ามีที่มาอย่างไร ทำไมถึงเกิดเป็นคำนี้ให้เราเอามาพูดกันได้ นั่นก็เพราะว่าในภาษาไทยเรานั้นมีสิ่งที่เรียกว่าการสร้างคำอยู่นั่นเองค่ะ ซึ่งการสร้างคำก็มีทั้งคำที่ถูกสร้างขึ้นใหม่โดยเฉพาะ เป็นคำมูล คำไทยแท้ กับอีกลักษณะคือการสร้างคำจากคำมูลนั่นเองค่ะ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้การสร้างคำประสมในภาษาไทย คำประสมคือคำแบบใดบ้าง เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   คำประสม     คำประสม หมายถึงคำที่เกิดจากนำคำ 2

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1