เรียนรู้และประเมินคุณค่าบทประพันธ์ อิศรญาณภาษิต

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

หลังจากครั้งที่แล้ว ที่เราได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์ และตัวบทที่สำคัญในเรื่องกันแล้ว ครั้งนี้เรื่องที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้ต่อไปก็คือคุณค่าที่อยู่ใน อิศรญาณภาษิต นั่นเองค่ะ อย่างที่รู้กันว่าวรรณคดีเรื่องนี้อัดแน่นไปด้วยคำสอนและข้อคิดเตือนใจต่าง ๆ มากมาย เพราะงั้นเราไปเรียนรู้กันให้ลึกขึ้นดีกว่านะคะว่าคุณค่าในเรื่องนี้จะมีด้านใดบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

 

คุณค่าในเรื่องอิศรญาณภาษิต

 

อิศรญาณภาษิต

 

คุณค่าด้านเนื้อหา

 

อิศรญาณภาษิต มีเนื้อหาที่เป็นคำสอน ข้อคิดเตือนใจ เพื่อให้คนในสังคมได้ตระหนักถึงการกระทำของตน ว่าทำอย่างไรจึงจะอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเป็นปกติสุขได้ เป็นเทศนาโวหารที่มีทั้งการประชดประชัน เสียดสี และบอกอย่างตรงไปตรงมา

 

อิศรญาณภาษิต

 

ตัวอย่างสุภาษิตที่ปรากฏในเรื่อง

 

ในอิศรญาณภาษิตแต่ละบท ไม่ได้สอนเพียงแค่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่ยังสอดแทรกคำสอนอย่างพวกสุภาษิตไว้ด้วย น้อง ๆ อ่านแล้วดูออกเลยไหมคะว่ามีสุภาษิตอะไรบ้างที่ซ่อนอยู่ในบทต่าง ๆ ถ้าดูไม่ออกเราไปดูตัวอย่างกันเลยค่ะ

 

อิศรญาณภาษิต

 

ฆ่าควายเสียดายพริก หมายถึง ทำการใหญ่ไม่ควรตระหนี่

ปลาหมอแตกเหงือก หมายถึง กระเสือกกระสนดิ้นรน

 

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

 

อิศรญาณภาษิตมีความโดดเด่นในด้านการใช้ภาษาที่คมคาย อ่านแล้วต้องตีความ แต่ก็ยังมีวรรณศิลป์ในบทประพันธ์ด้านการใช้โวหารเพื่อการเปรียบเทียบ และมีการใช้สำนวน เช่น การเลือกใช้สำนวน ชายข้าวเปลือกหญิงข้าวสาร เป็นสำนวนโบราณที่สอนเรื่องรักนวลสงวนตัวโดยใช้คำเปรียบเปรยง่าย ๆ ว่าผู้ชายเหมือนข้าวเปลือกที่ไม่ว่าจะไปหว่านตรงไหนก็งอกงามได้ แต่ผู้หญิงเหมือนข้าวสารที่ถ้าเอาไปหว่านก็มีแต่จะเสียกับเสีย มีการใช้ความหมายแฝง เช่น คน สามขามีปัญญาไว้หาทัก คนสามขาในที่นี้หมายถึงผู้ที่อาวุโส โดยขาที่สามที่กวีหมายถึงคือไม้เท้าที่ผู้สูงอายุมักจะชอบถือกันนั่นเองค่ะ นอกจากนี้ที่โดดเด่นอีกเรื่องหนึ่งการเล่นเสียง เพื่อให้เกิดสัมผัสคล้องจองภายในวรรค ทำให้บทประพันธ์นี้มีความไพเราะมากยิ่งขึ้น

 

 

คุณค่าด้านวัฒนธรรม

 

ในอิศรญาณภาษิตมีการสอดแทรกข้อคิดเตือนใจต่าง ๆ เกี่ยวกับดำรงชีวิต แน่นอนว่าในคำสอนย่อมสะท้อนภาพสังคมและวัฒนธรรมในสมัยนั้นออกมาได้อย่างชัดเจน ว่าอะไรคือสิ่งที่คนส่วนใหญ่ในยุคนั้นเห็นว่าเป็นสิ่งสมควร ตัวอย่างเช่น

  1. ให้ความสำคัญกับผู้อาวุโส สอนให้ทำตามผู้ใหญ่และไม่อกตัญญู
  2. สอนให้สำรวจจิตใจตัวเองและประมาณตนอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้ทำอะไรเกินกำลัง
  3. สอนให้รู้จักขยันหมั่นเพียร ไม่เกียจคร้าน
  4. สอนการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม ควรพึ่งพาอาศัยกัน
  5. สอนเรื่องการทำบุญทำทานและสะท้อนความเชื่อเรื่องผีสาง

จะเห็นว่าวัฒนธรรมของคนในอดีตจะไม่ได้ต่างกับสมัยปัจจุบันมากนัก เพราะไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่ร้อยปี วัฒนธรรมและความเชื่ออันดีงามของไทยก็ยังคงถูกส่งต่อมายังลูกหลานให้สืบต่อไปจากการร่ำเรียนและศึกษาวรรณคดีในสมัยก่อนเพื่อซึมซับและปฏิบัติให้อยู่ในระเบียบสังคม

 

การนำไปใช้ในชีวิตจริง

อิศรญาณภาษิต เป็นวรรณคดีที่มีคำสอนแสนจะทรงคุณค่า มีข้อคิดที่ลึกซึ้งและเข้าใจได้ไม่ยาก อีกทั้งยังร่วมสมัย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตได้ เพื่อทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่น่าอยู่มากขึ้น

 

 

วรรณคดีที่แต่งโดยหม่อมเจ้าอิศรญาณและเป็นที่รู้จักในชื่อเดียวกันนั้น ถือเป็นอีกหนึ่งวรรณคดีไทยเรื่องที่สำคัญและโดดเด่นอย่างมาก จากบทเรียนที่ผ่านมาเกี่ยวกับวรรณคดีไทย น้อง ๆ จะเห็นได้เลยว่าสำหรับแบบเรียนภาษาไทยของเรานั้นมักจะเลือกเรื่องที่มีคุณค่า มีข้อคิด ร่วมสมัย เรียนแล้วไม่เพียงแต่มีความรู้ด้านภาษาแต่ยังได้แง่คิดดี ๆ อีกด้วย สุดท้ายนี้ เพื่อไม่ให้พลาดความรู้ดี ๆ น้อง ๆ สามารถทบทวนบทเรียนได้ด้วยตัวเองทุกที่ทุกเวลา ในบทที่แล้วเราได้เรียนเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและตัวบทกันไปแล้ว วันนี้เราก็อย่าลืมดูคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อทบทวนบทเรียนเรื่องคุณค่าของวรรณคดีเรื่องนี้กันด้วยนะคะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

some any

การใช้ Some และ Any ตามด้วยคำนาม

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้การใช้ some และ any กันแบบเข้าใจง่ายๆ ถ้าพร้อมแล้วลองไปดูกันเลยครับ

ศึกษาตัวบทในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีที่มีเค้าจากเรื่องจริงในสมัยอยุธยา จากนิทานชาวบ้านสู่วรรณคดีราชสำนักตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 ในตอน ขุนข้างถวายฎีกา เป็นหนึ่งในตอนที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งได้ดีที่สุด จากที่เราได้เรียนรู้ที่มาและเรื่องย่อกันไปแล้ว บทเรียนในนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปศึกษาตัวบทเด่น ๆ ที่อยู่ในเรื่องนี้เพื่อถอดความกันค่ะ รวมไปถึงคุณค่าที่ซ่อนอยู่ในเรื่อง ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจ   ตัวบทที่ 1     ถอดความ มาจากตอนที่จมื่นไวยบุกมาหานางวันทองผู้เป็นแม่ที่เรือนขุนช้างแล้วพยายามจะพานางกลับไปอยู่ด้วยกัน

เทคนิคอ่านจับใจความ Skim and Scan

เทคนิคอ่านเร็วจับใจความในภาษาอังกฤษ (Skimming and Scanning)

เคยเป็นมั้ยว่าเจอบทความภาษาอังกฤษทีไร ปวดหัวทุกที ทั้งเยอะและยาว เมื่อไหร่จะอ่านจบกว่าจะตอบได้หมดเวลากันพอดี สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ โดยใช้วิธีการที่เรียกว่า อ่านแบบเร็ว (จ๊วด …) หรือ Speed Reading (ภาษาอีสาน จ๊วด แปลว่า เร็วเหมือนเสียงปล่อยจรวด) ถ้าเราสามารถอ่านได้เร็วเหมือนจรวดคงเป็นสิ่งที่ดีมาก ไปจ๊วดกันเลยกับเทคนิคอ่านเร็วทุกคน ก่อนอื่นจะต้องรู้จักกับประเภทของ Speed Reading กันก่อนค่ะ การอ่านแบบจับใจความสำคัญส่วนใหญ่แล้วเราจะเจอ

วัฒนธรรมกับภาษา

วัฒนธรรมกับภาษา ความสัมพันธ์ของสองสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

มนุษย์ก่อให้เกิดภาษา และภาษาก็ก่อให้เกิดวัฒนธรรม น้อง ๆ สงสัยกันหรือไม่คะว่ามนุษย์ วัฒนธรรมกับภาษา เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันได้อย่างไร บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงเรื่องราวที่ว่านี่กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้กันเลยค่ะ   มนุษย์ วัฒนธรรมกับภาษา   วัฒนธรรม คืออะไร วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น รากศัพท์ในภาษาละตินมีความหมายว่าการเพาะปลูก แต่ไม่ได้ใช้แค่ในเชิงเกษตรกรรม แต่จะรวมไปถึงการปลูกฝังในด้านต่าง ๆ ทั้งให้การศึกษา ความเคารพ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง เรียนรู้ตัวบทและคุณค่าในเรื่อง

จากที่ได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของอิเหนากันไปแล้ว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้เราจะยังอยู่กับอิเหนากันนะคะ เพราะนอกจากที่มาและเรื่องย่อแล้ว วรรณคดีเรื่องนี้ก็ยังมีเรื่องอื่นให้น่าสนใจและน่าศึกษาเช่นกัน ถ้าพร้อมแล้วเราไปศึกษาตัวบทและคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง   บทที่ 1    ถอดความ เป็นตอนที่ท้าวกะหมังกุหนิงให้ราชทูตนำสาส์นไปมอบให้ท้าวดาหาเพื่อสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกำ โดยบทนี้เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งที่ท้าวกะหมังกุหนิงเขียนถึงท้าวดาหา โดยเปรียบว่าตนเป็นเหมือนรองเท้าที่จะอยู่เคียงกับท้าวดาหา ดังนั้นจึงจะขอสู่ขอพระธิดาให้กับวิหยาสะกำ  

การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบกราฟเส้น

ในบทคาวมนี้จะนำเสนอเนื้อของบทเรียนเรื่องกราฟเส้น นักเรียนจะสามารถเข้าในหลักการอ่านและการวิเคราะห์ข้อมูลจากกราฟเส้น รวมไปถึงสามารถมองความสัมพันธ์ของข้อมูลในแกนแนวตั้งและแนวนอนของกราฟเส้นได้อย่างถูกต้อง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1