กระเช้าสีดา นิทานสอนใจที่สอดแทรกตำนานของพรรณไม้

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

น้อง ๆ รู้จัก กระเช้าสีดา กันไหมคะ พืชชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่อินเดีย และเป็นพรรณไม้ที่มีตำนานมาจากวรรณคดีที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ซึ่งก็คือเรื่อง รามเกียรติ์นั่นเองค่ะ แล้ววรรณคดีเรื่องกระเช้าสีดานี้จะมีความเป็นมาและเรื่องย่อที่เกี่ยวกับรามเกียรติ์อย่างไร ถ้าพร้อมแล้วเราไปหาคำตอบด้วยกันเลยค่ะ

 

ความเป็นมา กระเช้าสีดา

 

กระเช้าสีดา

 

กระเช้าสีดาเป็นนิทานเรื่องหนึ่งในหนังสือรวมนิทานของพระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) แต่เมื่อพ.ศ. 2485 มีลักษณะเป็นร้อยแก้ว เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะนิสัย ความเป็นอยู่ของพวกภูต คือ พรายน้ำและพรายไม้ ตามความเชื่อของคนไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ รวมทั้งตำนานการเกิดต้นกระเช้าสีดา นอกจากนั้นยังสอดแทรกข้อคิดคุณธรรมในเรื่องอีกด้วย

 

ประวัติผู้แต่ง

พระสารประเสริฐ เป็นบุตรของหลวงพิพิธวิรัชการ (เทียน นาคะประทีป) เกิดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 มีนามเดิมว่า ตรี นาคะประทีป พระสารประเสริฐเป็นผู้เชี่ยวชาญทางอักษรศาสตร์ ทั้งภาษาไทย บาลีและสันสกฤต นอกจากรับราชการแล้วยังเป็นอาจารย์วิชาภาษาบาลีอีกด้วย

 

ตัวละคร

 

กระเช้าสีดา

 

เนื้อเรื่อง

พรายไม้กับพรายน้ำเป็นภูติจำพวกหนึ่ง เป็นอมนุษย์ที่ไม่มีใครเห็นตัว มีตัวเล็กจิ๋ว แต่สามารถสำแดงให้คนเห็นเป็นคนหรืออะไรก็ได้ มีนิสัยชอบเล่นสนุก ร้องรำทำเพลง พรายไม้เป็นผู้ชาย ส่วนพรายน้ำเป็นผู้หญิง ทั้งพรายไม้และพรายน้ำชอบคนดี ขันทองอยากจะเห็นพรายไม้และพรายน้ำจึงตั้งใจประพฤติตนเป็นเด็กดีตามที่แม่สอนทุกประการ อยู่มาวันหนึ่งตรงกับคืนเดือนหงาย เหล่าพรายไม้กับพรายน้ำออกมาชุมนุมกันในถิ่นของพวกพรายไม้ บรรดาพรายน้ำมอบกระเช้าเล็กๆ ให้แก่พวกพรายไม้คนละใบ เพื่อเล่นเกมแข่งเก็บของใส่กระเช้า พรายไม้ผู้ชนะจะได้เต้นรำกับพรายน้ำเจ้าของกระเช้าผู้น่ารัก หลังจากการเล่นสนุกสนานผ่านไปจนได้เวลาสมควร พวกพรายไม้ก็พากันกลับไปยังที่พักของตน แต่เหล่าพรายน้ำนั้นยังคงช่วยกันเก็บกระเช้าที่ตกอยู่กระจัดกระจายมารวมไว้อย่างเป็นระเบียบ

ขันทองเดินออกมาเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจท่ามกลางแสงจันทร์คืนวันเพ็ญ ครั้นเห็นกระเช้าใบเล็กๆ น่ารักลอยไปรวมกันเป็นกองใหญ่ ขันทองก็ช่วยเก็บกระเช้าที่ยังเหลืออยู่มารวมไว้จนหมด บรรดาพรายน้ำพึงพอใจในความเอื้อเฟื้อ และซื่อสัตย์สุจริตจึงบันดาลให้ขันทองสามารถเห็นพวกเธอได้

ขันทองรู้สึกดีใจ ทั้งสองฝ่ายพูดคุยกันอย่างสนิทสนม พวกพรายน้ำได้เล่าเรื่องราวของกระเช้าใบเล็กๆ ให้ฟังว่ามันคือ กระเช้าสีดา ก่อนจากกันพรายน้ำได้มอบกระเช้าสีดาให้ขันทองไว้เป็นที่ระลึก โดยให้หยิบตามชอบ ขันทองเกรงใจจึงหยิบเพียงใบเดียว เหล่าพรายน้ำจึงหยิบกระเช้าสีดาให้ขันทองจนเต็มอุ้งมือ ก่อนที่จะเหล่าพรายน้ำจะหายไปจนหมด

 

 

สรุปคุณค่าและข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

 

สะท้อนความเชื่อเรื่องภูติพรายของคนไทย และนอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงผลของการกระทำว่าถ้าทำความดี เช่น เชื่อฟังคำสอนของผู้ใหญ่ มีน้ำใจ ซื่อสัตย์ มีความเกรงใจ และสุภาพอ่อนน้อม ก็จะมีผู้ใหญ่เอ็นดู ทำให้ได้สิ่งดี ๆ กลับมา

 

 

นิทานเรื่องกระเช้าสีดา มีเนื้อเรื่องสนุกสนานใช้ภาษาบรรยายได้สละสลวย ชัดเจน อ่านเข้าใจง่าย เหมาะสำหรับเด็ก เพราะในเรื่องได้แฝงแนวคิดเกี่ยวกับผลของการทำความดีเอาไว้ ความประพฤติที่ดีงามของหนูน้อยขันทองอย่างการเชื่อฟังผู้ใหญ่ ความมีน้ำใจ และความสุภาพอ่อนโยนนี้ถือเป็นแบบอย่างที่น้อง ๆ ควรยึดถือและนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน สุดท้ายนี้ น้อง ๆ อย่าลืมหมั่นทบทวนบทเรียน และชมคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อเพิ่มความเข้าใจ เป็นเด็กดีตั้งใจเรียนกันด้วยนะคะ เผื่อว่าเราจะได้เห็นภูติพรายที่สวยงามเหมือนหนูน้อยขันทอง

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

NokAcademy_ม5 Relative Clause

การเรียนเรื่อง Relative Clause

สวัสดีค่ะนักเรียนม. 5 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปดู Relative clause หรือ อนุประโยคในภาษาอังกฤษ ที่ทำหน้าที่เหมือนกันกับคำคุณศัพท์ (Adjective) ซึ่งมีหน้าที่ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า  และจะใช้ตามหลัง Relative Pronoun เช่น  who, whom, which, that, และ whose แต่สงสัยมั้ยคะว่าทำไมต้องเรียนเรื่องนี้ ลองดูตัวอย่างประโยคด้านล่างแล้วจะร้องอ๋อมากขึ้น พร้อมข้อสอบ Error

ตัวอย่างโจทย์ปัญหา + – × ÷ ระคนของเศษส่วนและจำนวนคละ

บทความนี้จะยกตัวอย่างของโจทย์ปัญหาบวก ลบ คูณ หารระคนของเศษส่วนและจำนวนคละพร้อมทั้งวิธีวิเคราะห์โจทย์ การแก้โจทย์ปัญหาและหาคำตอบออกมาได้อย่างสมเหตุสมผล หลังจากอ่านบทความนี้จบน้อง ๆ จะสามารถทำความเข้าใจกับโจทย์ปัญหาบวก ลบ คูณ หารระคนของเศษส่วนและจำนวนคละและแก้โจทย์ได้ดียิ่งขึ้น

เทคนิคอ่านจับใจความ Skim and Scan

เทคนิคอ่านเร็วจับใจความในภาษาอังกฤษ (Skimming and Scanning)

เคยเป็นมั้ยว่าเจอบทความภาษาอังกฤษทีไร ปวดหัวทุกที ทั้งเยอะและยาว เมื่อไหร่จะอ่านจบกว่าจะตอบได้หมดเวลากันพอดี สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ โดยใช้วิธีการที่เรียกว่า อ่านแบบเร็ว (จ๊วด …) หรือ Speed Reading (ภาษาอีสาน จ๊วด แปลว่า เร็วเหมือนเสียงปล่อยจรวด) ถ้าเราสามารถอ่านได้เร็วเหมือนจรวดคงเป็นสิ่งที่ดีมาก ไปจ๊วดกันเลยกับเทคนิคอ่านเร็วทุกคน ก่อนอื่นจะต้องรู้จักกับประเภทของ Speed Reading กันก่อนค่ะ การอ่านแบบจับใจความสำคัญส่วนใหญ่แล้วเราจะเจอ

ระยะห่างของเส้นตรง

ระยะห่างของเส้นตรง

ระยะห่างของเส้นตรง ระยะห่างของเส้นตรง มีทั้งระยะห่างระหว่างจุดกับเส้นตรง และระหว่างเส้นตรงสองเส้นที่ขนานกัน ซึ่งจากบทความเรื่องเส้นตรง น้องๆพอจะทราบแล้วว่าเส้นตรงสองเส้นที่ขนานกันความชันจะเท่ากัน ในบทความนี้น้องๆจะทราบวิธีการหาระยะห่างของเส้นตรงที่ขนานกันด้วยซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการหาสมการเส้นตรงได้ด้วย ระยะห่างระหว่างเส้นตรงกับจุด จากรูปจะได้ว่า  โดยที่ A, B และ C เป็นค่าคงที่ และ A, B ไม่เป็นศูนย์พร้อมกัน ตัวอย่าง1  หาระยะห่างระหว่างจุด (1, 5) และเส้นตรง 2x

บทนมัสการมาตาปิตุคุณ

บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ บทอาขยานที่ควรค่าแก่การจำ

จนถึงตอนนี้น้อง ๆ คงได้เรียนวรรณคดีกันมามากมายหลายเรื่อง แต่ละเรื่องก็อาจจะมีการใช้ลักษณะคำประพันธ์ที่ต่างกันออกไป หรือซ้ำกันบ้าง บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ ก็เป็นหนึ่งในวรรณคดีไทยที่อยู่ในแบบเรียนของน้อง ๆ แต่ความพิเศษคือลักษณะคำประพันธ์ที่น้อง ๆ อาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อนอย่าง อินทรวิเชียร์ฉันท์ 11 จะเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของบทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ   บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ เป็นบทร้อยกรองขนาดสั้น มีเนื้อหาแสดงคุณของบิดามารดาและครูอาจารย์ ประพันธ์ขึ้นโดย

การใช้ the

การใช้ The

  Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ม.2 ที่น่ารักทุกคนวันนี้ครูได้สรุปเรื่อง “การใช้ The” ซึ่งเป็น 1 ใน Articles ที่สำคัญมากๆ พร้อมเทคนิคการนำไปใช้ มาฝากกันค่ะ หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า Let’s go!   Articles คืออะไร   Articles เป็นคำคุณศัพท์อย่างหนึ่ง การเรียน

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1