การเขียนบรรยาย อธิบาย พรรณนา เรียนรู้ 3 การเขียนที่สำคัญในยุคปัจจุบัน

การเขียนบรรยาย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ทักษะการเขียนอธิบาย การเขียนบรรยาย และการเขียนพรรณนา ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน เพราะมนุษย์นั้นมีสัญชาตญาณในการอยากรู้และหาคำตอบ ดังนั้นเราจึงไม่อาจเลี่ยงตอบคำถามใครได้ ดังนั้นการตอบคำถามหรือทำให้ผู้รับสารเข้าใจตรงกันจึงเป็นสิ่งจำเป็น บทเรียนวันนี้เราจะมาเรียนรู้เทคนิคการเขียนทั้งสามแบบว่ามีวิธีการเขียนอย่างไร ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

การเขียน

 

การเขียนอธิบาย

 

การเขียนอธิบาย หมายถึง การทำให้บุคคลอื่นเข้าใจในความจริงที่เกิดขึ้น มีกลวิธีการเขียนดังนี้

กลวิธีการเขียนอธิบาย

1. การอธิบายตามลำดับขั้น เป็นอธิบายไปทีละขั้นตอน ใช้ในการเขียนอธิบายถึงกิจกรรมหรือวิธีทำบางสิ่งบางอย่าง

 

 

2. การใช้ตัวอย่าง การยกตัวอย่างนี้จะเหมาะกับการเขียนเพื่ออธิบายหลักการ วิธีการ หรือข้อความบางอย่างที่เข้าใจยาก มีคำจำกัดความที่ไม่ชัดเจนจึงต้องเขียนยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจง่ายมากขึ้น

 

 

3. การเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างกัน เหมาะกับการใช้อธิบายสิ่งที่ไม่เป็นที่คุ้นเคยหรือสิ่งแปลกใหม่ โดยนำสิ่งนั้นไปเปรียบเทียบกับสิ่งที่คุ้นเคยอยู่แล้วว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ตัวอย่าง

“ลูกอมนี้รสชาติเปรี้ยวเหมือนกินมะนาวเข้าไปทั้งลูก” การอธิบายเช่นนี้เพื่อให้ผู้ฟังที่อาจจะยังไม่เคยกิน เข้าใจถึงรสชาติของลูกอมอย่างคร่าว ๆ ว่ามีรสชาติเปรี้ยวมาก

 

4.การชี้สาหตุและผลลัพธ์สัมพันธ์กัน เหมาะกับการใช้เขียนอธิบายเรื่องที่มีความสัมพันธ์กับเหตุผล โดยอาจจะเขียนอธิบายจากสาเหตุไปสู่ผลลัพธ์ หรือเขียนจากผลลัพธ์ไปสู่สาเหตุ

ตัวอย่าง

“การปอกมะปรางริ้วเป็นศิลปะชั้นสูง เพราะมะปรางเป็นผลไม้ที่เนื้อนิ่มมาก ถ้าจับหนักมือก็จะทำให้ช้ำ”

 

5. การให้นิยาม เหมาะกับการอธิบายศัพท์ยาก หรือคำศัพท์ที่ยังเข้าใจไม่ตรงกันให้เป็นที่เข้าใจตรงกัน

 

 

การเขียนบรรยาย

 

การเขียนบรรยาย คือ การเล่าเรื่อง กล่าวถึงเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกันโดยชี้ให้เห็นฉาก สถานที่ เวลาเหตุการณ์สาเหตุที่ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อม บุคคลที่เกี่ยวข้องตลอดจนผลที่เกิดจากเหตุการณ์นั้น ๆ เนื้อหาที่เขียนบรรยายอาจมาจากเรื่องจริงเช่น ประวัติบุคคล เรื่องเล่าจากประสบการณ์หรือเป็นเรื่องสมมติ เช่น นิทาน นิยาย

 

กลวิธีการเขียนบรรยาย

 

การเขียนบรรยาย

 

1. การเลือกหัวข้อ เนื้อหาและความคิดรวบยอด ในการเขียนบรรยายควรเลือกหัวข้อ เนื้อหา และความคิดรวบยอดที่น่าสนใจ ให้ความรู้ ความบันเทิง และความจรรโลงใจแก่ผู้อ่านผู้ฟัง และตั้งชื่อเรื่องให้สอดคล้องกับเนื้อหา

2. การจัดเนื้อหา

– การเขียนบรรยายจะมีเนื้อหาเป็นเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยใช้หลัก 5W1H เพื่อดำเนินเรื่องว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร

– เลือกเฉพาะเหตุการณ์ที่สำคัญมาบรรยายเพื่อไม่ให้การบรรยายนั้นยืดยาวและน่าเบื่อ

– เรียงลำดับเหตุการณ์เพื่อไม่ให้สับสน

– เรียงเหตุการณ์ไม่ให้สับสน

3. การเสนอบทบรรยาย

– แทรกบทพรรณนา เพื่อให้การบรรยายมีชีวิตจิตใจ

– ขมวดเป็นคำถาม คลี่คลายเป็นคำตอบเพื่อให้น่าสนใจ

– ผูกเป็นบทสนทนา แทนที่จะบรรยายอย่างเดียว วิธีนี้จะช่วยให้การบรรยายน่าสนใจ

– นำตัวเองเข้าไปมีส่วนร่วมในการบรรยายโดยการใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้สื่อสารและผู้รับสาร

 

การเขียนพรรณนา

 

การเขียนพรรณนา คือ การให้รายละเอียดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สิ่งนั้นอาจจะเป็นบุคคล วัตถุ สถานที่หรือเหตุการณ์ช่วงใดช่วงหนึ่ง โดยยกการพรรณนาส่วนประกอบแต่ละส่วนให้ชัดเจน เพื่อให้เห็นลักษณะเด่นของสิ่งนั้น ๆ

กลวิธีการเขียนพรรณนา

1. วิเคราะห์สิ่งที่จะพรรณนา เพื่อให้เห็นรายละเอียดว่าสิ่งที่พรรณนาประกอบด้วยอะไรบ้าง

2. หาความสัมพันธ์ของสิ่งที่วิเคราะห์ได้ เพื่อนำมารวมให้เป็นภาพหรืออารมณ์เดียวกัน

3. พรรณนาโดยเน้นลักษณะเด่น เพื่อให้ผู้อ่านผู้ฟังทราบทันทีว่าเป็นภาพอะไรหรืออารมณ์ใดแต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงลักษณะประกอบด้วย เพื่อให้ได้ภาพหรืออารมณ์ที่ครบถ้วน

4. เลือกใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมทั้งเสียงและความหมาย เพื่อให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพหรืออารมณ์สะเทือนใจ โดยใช้ศิลปะการประพันธ์และโวหารภาพพจน์ที่เหมาะสม

 

การเขียนบรรยาย กับ การเขียนพรรณนาต่างกันอย่างไร

 

การบรรยายเน้นการแสดงเหตุการณ์ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ส่วนการพรรณนาเน้นการแสดงภาพ อารมณ์ ความรู้สึกอย่างละเอียด

 

การเขียนบรรยาย

 

ไม่ว่าจะเป็นการเขียนอธิบาย บรรยาย หรือพรรณนา ผู้เขียนก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงเรื่องที่จะเขียน เพียงเท่านี้น้อง ๆ ก็จะสามารถเขียนให้ผู้อ่านเข้าใจตรงกับตัวเองได้แล้วค่ะ และเพื่อให้น้อง ๆ ได้เห็นตัวอย่างของการเขียนทั้ง 3 แบบมากขึ้น น้อง ๆ ก็สามารถเข้าไปรับชมการสอนของครูอุ้มได้ตามคลิปด้านล่างนี้เพื่อทบทวนบทเรียนค่ะ

 

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

บวกเศษส่วนและจำนวนคละให้ถูกต้องตามหลักการ

การบวกคือพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ต้องเจอมาตั้งแต่ระดับอนุบาล แต่นั่นคือการบวกจำนวนเต็มโดยหลักการคือการนับรวมกัน แต่การบวกเศษส่วนและจำนวนคละนั้นเราไม่สามารถนับได้เพราะเศษส่วนไม่ใช่จำนวนนับ บทความนี้จึงจะพาน้อง ๆมาทำความเข้าใจกับหลักการบวกเศษส่วนและจำนวนคละ อ่านบทความนี้จบรับรองว่าน้อง ๆจะเข้าใจและสามารถบวกเศษส่วนจำนวนคละได้เหมือนกับที่เราสามารถหาคำตอบของ 1+1 ได้เลยทีเดียว

conjunctions

เรียนรู้การใช้คำสันธาน (Conjunctions) ในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม. 3 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ Conjuctions หรือคำสันธานในภาษาอังกฤษ พร้อมวิธีการใช้คำสันธานในประโยคแบบเข้าใจง่ายๆ กันครับ

Vtodo+Present Simple Tense

การใช้ V. to do ในรูปแบบของ Present Simple Tense

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้ V. to do ในรูปแบบของ Present Simple Tense หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ Let’s go! V. to do คืออะไร   ปรกติแล้วคำว่า do นั้นแปลว่าทำ แต่เมื่ออยู่ในประโยคแล้ว V. to do

ราชาศัพท์

ราชาศัพท์ คำใดบ้างที่เราควรรู้?

น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยได้ยินคำราชาศัพท์มาบ้างเวลาที่เปิดโทรทัศน์ดูข่าวช่วงหัวค่ำ แต่เคยสงสัยกันบ้างไหมคะว่า ราชาศัพท์ ที่นักข่าวในโทรทัศน์พูดกันบ่อย ๆ มีความหมายว่าอะไรบ้าง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับคำราชาศัพท์ เพื่อที่เวลาน้อง ๆ ฟังข่าว จะได้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น เราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ราชาศัพท์     การแบ่งลำดับขั้นของบุคคลในการใช้คำราชาศัพท์ แบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้

การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

บทความนี้จะเป็นการสอนวิธี การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ซึ่งสามารถทำได้โดยการจัดรูปของตัวแปรให้อยู่ด้านเดียวกันและตัวเลขอยู่อีกด้าน เพื่อหาค่าของตัวแปรนั้นๆ แต่ก่อนที่น้องๆจะได้เรียนรู้การแก้อสมการนั้น น้องๆสามารถทบทวน อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ⇐⇐ หลักการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ในการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จะทำคล้ายๆกับการแก้สมการ โดยมีหลักการ ดังนี้ จัดตัวแปรให้อยู่ข้างเดียวกัน และจัดตัวเลขไว้อีกฝั่ง (นิยมจัดตัวแปรไว้ด้านซ้ายของสัญลักษณ์อสมการ และจัดตัวเลขไว้ด้านขวาของสัญลักษณ์อสมการ) ถ้านำจำนวนลบ มาคูณ หรือ หาร สัญลักษณ์ของอสมการจะเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์ตรงกันข้าม ดังนี้

ลำดับ

ลำดับ

ลำดับ ลำดับ ( Sequence ) คือ เซตของจำนวนหรือตัวเลขที่เรียงกันเป็นระเบียบและมีเงื่อนไข เช่น ลำดับของจำนวนนับที่เพิ่มขึ้นทีละ 1 ก็จะสามารถเขียนได้เป็น 1, 2, 3, 4, … โดยตัวเลขเหล่านี้ เรียกว่า พจน์ ( Term ) เซตของลำดับจะเขีบยแทนด้วย และเราจะเรียก ว่าพจน์ที่

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1