เรียนรู้เทคนิคที่จะช่วยให้การเขียน ผังมโนภาพ เป็นเรื่องง่ายๆ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

ผังมโนภาพ เป็นเทคนิคที่พัฒนาขึ้นจากจดบันทึกความคิด ความรู้ ความเข้าใจ น้อง ๆ หลายคนก็คงจะเคยได้รับโจทย์จากคุณครูให้เขียนแผนผังมโนภาพเพื่อทดสอบความเข้าใจ หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องยากที่จะเขียนออกมา แต่ทราบไหมคะว่าที่จริงแล้วมีวิธีการเขียนที่ง่ายมากแถมยังมีประโยชน์อีกด้วย จะเป็นอย่างไรไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ความหมายของผังมโนภาพ

 

ผังมโนภาพเป็นแผนผังหรือแผนภาพที่แสดงความสัมพันธ์ของมโนทัศน์หรือความคิดรวบยอด ที่เริ่มจากความคิดหลัก ซึ่งทำหน้าที่เป็นชื่อเรื่อง แล้วแตกแขนงไปสู่ความคิดย่อย ๆ กระจายออกไปโดยรอบ ทำให้เกิดภาพเชื่อมโยงขององค์ความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งในทุกแง่มุม

 

วิธีเขียนแผนผังมโนภาพ

 

ผังมโนภาพ

ผังมโนภาพเป็นผังที่แสดงความสัมพันธ์ของสาระหรือความคิดต่าง ๆ ให้เห็นเป็นโครงสร้างในภาพรวมโดยใช้เส้น คำ ระยะห่างจากจุดศูนย์กลาง สี เครื่องหมาย รูปทรงเรขาคณิต และภาพแสดงความหมาย และความเชื่อมโยงของความคิดย่อย ๆ จะใช้สัญลักษณ์เป็นตัวแทนความหมายของความคิดและความรู้ต่าง ๆ ได้ แล้วสร้างผังความคิดให้สมบูรณ์ตามความเข้าใจของผู้เขียน

 

การเขียนผังมโนภาพให้น่าสนใจ

 

ผังมโนภาพ

 

ตัวอย่างการเขียน ผังมโนภาพ

 

 

 

 ประโยชน์ในการเขียนผังมโนภาพ

 

1. สําหรับข้อมูลที่ซับซ้อนหากเขียนด้วยแผนผังความคิดจะช่วยทําให้เกิดความรวดเร็วมากกว่าการ

เขียนเป็นคําหรือเป็นประโยค

2. เนื่องจากแผนผังความคิดเป็นวิธีการคิดที่ต้องใช้สมองทั้งสองข้างซึ่งสมองซีกซ้ายจะทําหน้าที่ในการวิเคราะห์คํา ภาษา สัญลักษณ์ ระบบ ลําดับ ความเป็นเหตุเป็นผล ตรรกวิทยา ส่วนสมองซีกขวาจะทําหน้าที่สังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ความงาม ศิลปะ จังหวะ

3. ช่วยทําให้ระลึกถึงข่าวสารที่เคยคิดวาดไว้ได้ง่าย เพราะแผนผังข้อมูลได้ถูกบันทึกในความทรงจํา

อย่างมีโครงสร้างเป็นระบบ

4. ช่วยจัดการกับข่าวสารต่าง ๆ ในรูปของโครงสร้างความสัมพันธ์

5. สมองด้านขวาที่เกี่ยวข้องกับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์หรือแนวคิดใหม่ๆ จะถูกพัฒนาและใช้งาน

มากขึ้น

 

การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

การเขียนผังมโนภาพ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย ทั้งการทำงานเป็นทีม ผังมโนภาพจะช่วยระดมความคิด มีประโยชน์ในการนำเสนอข้อมูล อีกทั้งยังช่วยจัดระบบความคิดให้เป็นขั้นเป็นตอน ช่วยสรุปใจความสำคัญ วิเคราะห์เนื้อหาหลังจากที่อ่านหรือฟังออกมาให้เข้าใจง่าย และยังช่วยให้คนอื่นเข้าใจเหมือนเราโดยที่ไม่ต้องเสียเวลาอธิบายอะไรยาว ๆ ให้เสียเวลาเลยค่ะ

 

 

การเขียนผังมโนภาพเป็นการเขียนสรุปความรู้อีกรูปแบบหนึ่งที่ได้จากการอ่านจับใจความ จะช่วยสรุปความรู้ความเข้าใจของเราที่มีต่อเรื่องต่าง ๆ ได้ง่ายมากขึ้น น้อง ๆ สามารถนำแผนผังที่สรุปแล้วมาอ่านก่อนสอบก็ช่วยให้จำง่ายขึ้นไปอีก น้อง ๆ อย่าลืมนำบทเรียนการเขียนผังมโนภาพในวันนี้ไปประยุกต์ใช้นะคะ และในระหว่างที่ฝึกเขียนนี้ก็อย่าลืมรับคลิปของครูอุ้มเพื่อให้เข้าใจการเขียนผังมโนภาพให้ละเอียดมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างการเขียน ที่จะทำให้น้อง ๆ เข้าใจได้อย่างรวดเร็ว สามารถทำตามไปพร้อม ๆ กันได้ ไปชมกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

สมบัติของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก

สมบัติของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก

ในบทความนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้สมบัติของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากที่ทำให้เข้าใจง่ายและมีวิธีในการวิเคราะห์โจทย์ที่หลากหลาย

โจทย์ปัญหาบวก ลบ ทศนิยม

บทความนี้จะยกตัวอย่างโจทย์ปัญหาการบวกลบทศนิยม เพื่อให้น้องๆได้ทำความเข้าใจและศึกษาการแสดงวิธีคิด หากต้องไปเจอการแก้โจทย์ปัญหาในห้องเรียนจะสามารถนำความรู้จากบทความนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

NokAcademy_ม6 Relative Clause

ทบทวนเรื่อง Relative clause + เทคนิค Error Identification

สวัสดีค่ะนักเรียนม. 6 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปดู Relative clause หรือ อนุประโยคในภาษาอังกฤษ ที่ทำหน้าที่เหมือนกันกับคำคุณศัพท์ (Adjective) ซึ่งมีหน้าที่ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า  และจะใช้ตามหลัง Relative Pronoun เช่น  who, whom, which, that, และ whose แต่สงสัยมั้ยคะว่าทำไมต้องเรียนเรื่องนี้ ลองดูตัวอย่างประโยคด้านล่างแล้วจะร้องอ๋อมากขึ้น พร้อมข้อสอบ Error

จุด

จุด : เรขาคณิตวิเคราะห์

จุด จุด เป็นตัวบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ เช่น ตำแหน่งของสถานที่ต่างๆ ในเรื่องเรขาคณิตวิเคราะห์ จุดใช้บอกตำแหน่งในระนาบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ เช่น   ระยะทางระหว่างจุดสองจุด เราสามารถหาระยะทางระหว่างจุดสองจุดได้ โดยใช้สูตร โดยจะกำหนดให้  และ  เป็นจุดในระนาบ เราจะได้ว่าระยะห่างระหว่างจุดทั้งสองหาได้จาก ตัวอย่าง ระยะห่างระหว่าง A(1,1) และ

causatives

Causatives: Have and Get Something Done

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้ไวยากรณ์เรื่อง Causatives หรือการใช้ Have/Get Something Done ที่น้องๆ บางคนอาจจะสงสัยว่าคืออะไร ลองไปดูกันเลยครับ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1