เรียนรู้ที่มาของชาติกำเนิดอันยิ่งใหญ่ มหาเวสสันดรชาดก

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

หลายคนคงจะเคยได้ยินคำว่า มหาชาติชาดก หรือ มหาเวสสันดรชาดก กันมาบ้างแล้วผ่านสื่อต่าง ๆ แต่รู้หรือไม่คะว่าคำ ๆ นี้มีที่จากอะไร คำว่า มหาชาติ เป็นคำเรียก เวสสันดรชาดก ส่วนชาดกนั้นเป็นชื่อคัมภีร์หนึ่งของพุทธศาสนาที่กล่าวถึงอดีตชาติของพระพุทธเจ้า ดังนั้นมหาเวสสันดรชาดก จึงเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับชาติกำเนิดอันหยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า น้อง ๆ คงสงสัยใช่ไหมคะว่าทำไมเวสสันดรชาดกถึงได้ชื่อว่าเป็นชาดกที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ถ้าอยากรู้คำตอบแล้วล่ะก็ เราไปเรียนรู้ความเป็นของเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ

 

มหาเวสสันดรชาดก

 

มหาชาติชาดก หรือ มหาเวสสันดรชาดก เป็นหนึ่งใน นิบาตชาดก ที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ พระเจ้า 550 ชาติ เป็นเรื่องที่เล่าถึงการเสวยพระชาติในอดีตของพระพุทธเจ้าในแต่ละชาติว่าเกิดเป็นอะไรบ้างและได้ทำคุณงามความดีหรือที่เรียกว่าบำเพ็ญบารมีอะไรในชาตินั้น ๆ มาบ้าง ซึ่งจาก 550 ชาติ มี 10 ชาติ หรือที่เรียกว่า ทศชาติ เป็นการบำเพ็ญบารมีที่โดดเด่นที่สุด

 

มหาชาติชาดก

 

มหาเวสสันดรชาดกในประเทศไทย

 

มหาชาติชาดกหรือมหาเวสสันดรนั้น มีสันนิษฐานว่าพบหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเล่มแรกที่นำมาแปลเป็นภาษาไทยชื่อ มหาชาติคำหลวง ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ได้โปรดเกล้าฯให้นักปราชญ์เรียบเรียงมหาเวสสันดรชาดกขึ้นใหม่เรียกว่ากาพย์มหาชาติ และยังถูกนำไปแต่งอีกหลายสำนวน หลายภาษาถิ่น กระทั่งในปี พ.ศ. 2453 กรมศึกษาธิการจึงได้รวบรวมนักปราชญ์ให้ช่วยกันคัดเลือกสำนวนที่เด่นที่สุดในแต่ละกัณฑ์จนครบทั้ง 13 กัณฑ์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความคลาดเคลื่อนและเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา

 

มหาชาติชาดก

 

ลักษณะเด่นของมหาชาติชาดกในท้องถิ่นต่าง ๆ

 

มหาชาติทุกภาคมีเนื้อหาเหมือนกัน แต่จะมีความแตกต่างกันเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างในเรื่องของวัฒนธรรมของแต่ละภาคที่ต่างกันอย่างเป็นเอกลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือสภาพภูมิประเทศ เช่น ของภาคอีสาน กวีจะกล่าวถึงอาหารคาวและหวานของภาคตนเองอย่าง ข้าวจี่ เป็นต้น ส่วนภาคใต้ก็จะบรรยายถึงสภาพภูมิประเทศที่ติดกับทะเล และต้นไม้ที่มีแค่ในเฉพาะภาคใต้ นอกจากนี้ วรรณศิลป์และการใช้คำก็ยังแตกต่างกันอีกด้วย เพราะในภาคกลางจะใช้คำยาก ส่วนภาคเหนือและภาคอีสาน รวมถึงภาคใต้ จะใช้คำไม่ยากเท่า แต่ก็ยังมีความงดงามของภาษาที่ไม่ต่างกันมากนัก ส่วนลักษณะคำประพันธ์ ทุกภาคจะเป็นร่ายยาว มีแค่ภาคใต้เท่านั้นที่แต่งเป็นกาพย์และมาลินีฉันท์

 

 

ผู้แต่งมหาชาติชาดกฉบับภาคกลาง

 

สำนักวัดถนน – กัณฑ์ทานกัณฑ์

สำนักวัดสังข์ขจาย – กัณฑ์ชูชก

พระเทพโมลี (กลิ่น) – กัณฑ์มหาพน

เจ้าพระยาคลัง (หน) – กัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี

กรมพระปรมานุชิตชิโนรส – กัณฑ์ทศพร กัณฑ์หิมพานต์ กัณฑ์มหาราช กัณฑ์ฉกษัตริย์ และนครกัณฑ์

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว – กัณฑ์วนประเวศน์ กัณฑ์จุลพน และกัณฑ์สักรบรรพ

 

อานิสงส์การฟังเทศน์มหาชาติ

 

มหาเวสสันดรชาดก

 

ความเป็นมาในการเล่าเรื่อง มหาเวสสันดรชาดก

 

เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ พระประยูรญาติ มีพระเจ้าสุทโธนะเป็นประธานเสด็จมาต้อนรับ แต่มีทิฐิมานะแรงกล้าไม่ยอมอ่อนน้อม เพราะเห็นว่ามีอายุน้อยกว่า พระพุทธเจ้าจึงแสดงอภินิหารเสด็จลอยขึ้นไปจงกรมอยู่บนอากาศแล้วปล่อยธุรีละอองพระบาทหล่นลงมาบนพระเศียรของเหล่าประยูรญาติ ทำให้ทุกคนละทิ้งทิฐิแล้วถวายบังคมพระพุทธเจ้า ขณะนั้นฝนโบกขรพรรษมีน้ำเป็นสีแดงครั่งก็ตกลงมา เกิดเป็นความอัศจรรย์ต่อผู้ที่พบเห็น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าฝนชนิดนี้เคยตกมาแล้วในอดีต แล้วจึงทรงแสดงธรรมเรื่องมหาเวสสันดรชาดก หรือเรื่องมหาชาติให้แก่พระภิกษุและพระประยูรญาติฟังทั้ง 13 กัณฑ์

 

มหาเวสสันดรชาดก

 

บทเรียนในวันนี้คงจะทำให้น้อง ๆ หลายคลายข้อข้องใจกันไปแล้วนะคะ ว่าทำไมมหาเวสสันดรชาดกถึงสำคัญ นอกจากจะได้ชื่อว่าเป็นมหาชาติแล้ว เนื้อหาของเรื่องก็ยังแฝงไปด้วยคติธรรมสอนใจ แต่จะมีอะไรบ้างนั้น น้อง ๆ จะได้เรียนรู้กันในตัวบทของมหาเวสสันดรชาดก ที่จะพาไปเจาะลึกเรื่องย่อของทั้ง 13 กัณฑ์เลยค่ะ สุดท้ายนี้เพื่อทบทวนบทเรียน น้อง ๆ อย่าลืมชมคลิปการสอนของครูอุ้มและหมั่นทำแบบฝึกหัดกันด้วยนะคะ

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ประโยคความเดียวและประโยคความรวมในภาษาอังกฤษ

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน เจอกันอีกแล้วจร้ากับไวยากรณ์การเขียนภาษาอังกฤษและวันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคการการใช้ประโยคความเดียว และประโยคความรวมในภาษาอังกฤษกันค่ะ ซึ่งเป็นไม้เบื่อไม้เมามากกับคนที่ไม่ชอบเขียน  ครูเอาใจช่วยทุกคนค่า ไปลุยกันเลย 3 โครงสร้างประโยคในภาษาอังกฤษ การจะเป็นประโยคสมบูรณ์ได้นั้น ประโยคจะต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำคัญดังนี้ กริยา หรือ verb (ภาคขยาย) ภาคขยาย จะมีหรือไม่มีก็ได้ การใส่ภาคขยายเข้ามาเพื่อให้ประโยคสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ประธาน subject  + กริยา หรือ

ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์

ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์

ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ จะเกี่ยวข้องกับ θ พิกัดของ จุด (x, y) ซึ่งในบทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่าง x, y กับ θ จากบทความที่ผ่านมาเราได้รู้จักวงกลมหนึ่งหน่วยและการวัดความยาวส่วนโค้ง ในบทความนี้น้องๆจะได้รู้จักกับฟังก์ชันไซน์ (sine function) และฟังก์ชันโคไซน์ (cosine function) และวิธีการหาค่าของฟังก์ชันทั้งสอง Sine function =

สถิติ (เส้นโค้งความถี่)

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง สถิติ (เส้นโค้งความถี่)  ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆจะต้องมีความรู้ในเรื่อง    ค่ากลางของข้อมูล และการวัดการกระจายของข้อมูล สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ สถิติ (ค่ากลางของข้อมูล/การกระจายของข้อมูล) ⇐⇐ เส้นโค้งของความถี่ จะมีอยู่ 3 แบบ คือ เส้นโค้งปกติ เส้นโค้งเบ้ขวา และเส้นโค้งเบ้ซ้าย ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับค่ากลางของข้อมูล  ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (μ)   มัธยฐาน (Med) และฐานนิยม

หลักการใช้คำราชาศัพท์ รู้ไว้ไม่สับสน

เมื่อได้รู้ความหมาย ที่มาและความสำคัญของคำราชาศัพท์ รวมถึงคำศัพท์หมวดร่างกายไปแล้ว น้อง ๆ ก็คงจะสงสัยใช่ไหมคะ ว่าหลักการใช้คำราชาศัพท์ มีอะไรบ้าง และใช้อย่างไร ต้องใช้แบบไหนถึงจะถูก บทเรียนในวันนี้เราจะมาเรียนรู้หลักการใช้คำราชาศัพท์ที่ถูกต้องกันค่ะ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันแลย   หลักการใช้คำราชาศัพท์ กับราชวงศ์ไทย     ลำดับพระอิสริยศักดิ์ของพระบรมราชวงศ์สามารถลำดับอย่างคร่าว ๆ ได้ดังนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระราชินี,

ศึกษาตัวบทในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีที่มีเค้าจากเรื่องจริงในสมัยอยุธยา จากนิทานชาวบ้านสู่วรรณคดีราชสำนักตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 ในตอน ขุนข้างถวายฎีกา เป็นหนึ่งในตอนที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งได้ดีที่สุด จากที่เราได้เรียนรู้ที่มาและเรื่องย่อกันไปแล้ว บทเรียนในนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปศึกษาตัวบทเด่น ๆ ที่อยู่ในเรื่องนี้เพื่อถอดความกันค่ะ รวมไปถึงคุณค่าที่ซ่อนอยู่ในเรื่อง ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจ   ตัวบทที่ 1     ถอดความ มาจากตอนที่จมื่นไวยบุกมาหานางวันทองผู้เป็นแม่ที่เรือนขุนช้างแล้วพยายามจะพานางกลับไปอยู่ด้วยกัน

สามัคคีเภทคำฉันท์

สามัคคีเภทคำฉันท์ วรรณคดีขนาดสั้นที่ว่าด้วยความสามัคคี

สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นนิทานสุภาษิตขนาดสั้นว่าด้วยเรื่องความสามัคคี เป็นอีกหนึ่งวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ทั้งด้านการประพันธ์และเนื้อหา เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปทำความรู้จักกับวรรณคดีเรื่องดังกล่าวเพื่อศึกษาที่มา จุดประสงค์ รวมไปถึงเรื่องย่อ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ   ที่มาของเรื่องและจุดประสงค์ในการแต่ง   สามัคคีเภทคำฉันท์ ดำเนินเรื่องโดยอิงประวัติศาสตร์ครั้งพุทธกาล เป็นนิทานสุภาษิตในมหาปรินิพพานสูตรและอรรถกถาสุมังคลวิลาสินี     ในสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดวิกฤตการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่น เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1