สถิติ (เส้นโค้งความถี่)

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง สถิติ (เส้นโค้งความถี่)  ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆจะต้องมีความรู้ในเรื่อง    ค่ากลางของข้อมูล และการวัดการกระจายของข้อมูล สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ สถิติ (ค่ากลางของข้อมูล/การกระจายของข้อมูล) ⇐⇐

เส้นโค้งของความถี่ จะมีอยู่ 3 แบบ คือ เส้นโค้งปกติ เส้นโค้งเบ้ขวา และเส้นโค้งเบ้ซ้าย ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับค่ากลางของข้อมูล  ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (μ)   มัธยฐาน (Med) และฐานนิยม (Mode)  อีกทั้งยังมีความสัมพันธ์กับการกระจายของข้อมูลอีกด้วย

เส้นโค้งปกติหรือรูประฆัง

เส้นโค้งปกติหรือรูประฆัง เป็นเส้นโค้งของความถี่ของข้อมูลที่มีค่าเฉลี่ยเลขคณิต  มัธยฐาน และฐานนิยมเท่ากัน  หรืออยู่ที่จุดเดียวกันคือจุดที่มีความถี่สูงสุด  ดังรูป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ สถิติ (เส้นโค้งความถี่)

เส้นโค้งปกติ แนะนำ

 

ค่าเฉลี่ยเลขคณิต = มัธยฐาน = ฐานนิยม

เส้นโค้งเบ้ทางขวาหรือทางบวก

เส้นโค้งเบ้ทางขวาหรือทางบวก เป็นเส้นโค้งของความถี่ของข้อมูลที่มีค่ากลางเรียงจากน้อยไปหามาก ฐานนิยม  มัธยฐาน  และค่าเฉลี่ยเลขคณิต  ดังรูป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ สถิติ (เส้นโค้งความถี่)

เส้นโค้งเบ้ขวา

 

ฐานนิยม  <  มัธยฐาน  <  ค่าเฉลี่ยเลขคณิต

เส้นโค้งเบ้ทางซ้ายหรือทางลบ

เส้นโค้งเบ้ทางซ้ายหรือทางลบ เป็นเส้นโค้งของความถี่ของข้อมูลที่มีค่ากลางเรียงจากน้อยไปหามาก   ค่าเฉลี่ยเลขคณิต  มัธยฐาน  และฐานนิยม  ดังรูป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ สถิติ (เส้นโค้งความถี่)

เส้นโค้งเบ้ซ้าย

ค่าเฉลี่ยเลขคณิต  <  มัธยฐาน  <  ฐานนิยม

สรุป

  • เส้นโค้งปกติ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต = มัธยฐาน = ฐานนิยม
  • เส้นโค้งเบ้ทางขวา ฐานนิยม  <  มัธยฐาน  <  ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (ค่าเฉลี่ยเลขคณิตมากที่สุด)
  • เส้นโค้งเบ้ทางซ้าย ค่าเฉลี่ยเลขคณิต  <  มัธยฐาน  <  ฐานนิยม (ฐานนิยมมากที่สุด)
การกระจายของข้อมูลเส้นโค้งปกติ

สำหรับการกระจายของข้อมูลนั้น  เมื่อเขียนเป็น เส้นโค้งความถี่  ซึ่งเป็นโค้งปกติ ข้อมูลชุดใดมีการกระจายมาก  เส้นโค้งปกติจะมีความโด่งน้อยหรือค่อนข้างแบน  แต่ถ้าข้อมูลใดมีการกระจายน้อย  เส้นโค้งปกติจะมีความโด่งมาก  ดังรูป

เส้นโค้งปกติ การกระจาย

เส้นโค้งที่มีค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากัน แต่การกระจายต่างกัน

เส้นโค้งปกติ มิว1 2

เส้นโค้งที่มีค่าเฉลี่ยเลขคณิตต่างกัน แต่การกระจายเท่ากัน

เส้นโค้งปกติ 1

 

µ  คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (µ อ่านว่า มิว)

σ คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ อ่านว่า ซิกมา)

โดยที่ พื้นที่ใต้เส้นโค้งปกติจะเป็นดังรูปด้านบนเสมอ คือ 0.1%, 2.2%, 13.6% และ 34.1% ซึ่งพื้นที่ใต้เส้นโค้งปกติครึ่งหนึ่ง จาก µ ไปทางซ้าย หรือจาก µ ไปทางขวา จะมีพื้นที่ใต้เส้นโค้งเท่ากับ 50%

พิจารณาข้อความที่กำหนดให้ต่อไปนี้

กำหนดให้ µ = 30, σ = 4 จงหา μ – 1σ ,  μ – 2σ ,  μ – 3σ ,  μ + 1σ , μ + 2σ , μ + 3σ  และเติมลงในเส้นโค้งปกติ

หา μ – 1σ = 30 – 1(4) = 30 – 4 = 26

หา μ – 2σ = 30 – 2(4) = 30 – 8 = 22

หา μ – 3σ = 30 – 3(4) = 30 – 12 = 18

หา μ + 1σ = 30 + 1(4) = 30 + 4 = 34

หา μ + 2σ = 30 + 2(4) = 30 + 8 = 38

หา μ + 3σ = 30 + 3(4) = 30 + 12 = 42

เขียนเส้นโค้งปกติ ได้ดังนี้

เส้นโค้งปกติ 2

ตัวอย่างที่ 1

ตัวอย่างที่ 1  ในการตรวจสอบอายุการใช้งานของแบตเตอรี่มือถือยี่ห้อหนึ่งต่อการชาร์จไฟหนึ่งครั้ง พบว่ามีการแจกแจงปกติ มีค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 100 ชั่วโมง และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 12 ชั่วโมง  จงหาค่าของข้อมูล

1)  แบตเตอรี่มือถือที่มีอายุการใช้งานระหว่าง 112 – 124 ชั่วโมงมีกี่เปอร์เซ็นต์

2)  แบตเตอรี่มือถือที่มีอายุการใช้งานน้อยกว่า 88 ชั่วโมงมีกี่เปอร์เซ็นต์

3)  แบตเตอรี่มือถือที่มีอายุการใช้งานระหว่าง  88 – 112 ชั่วโมงมีกี่เปอร์เซ็นต์

วิธีทำ     เนื่องจากแบตเตอรี่มือถือมีการแจกแจงปกติค่าเฉลี่ยเลขคณิต เท่ากับ 100 ชั่วโมง  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 12 ชั่วโมง

อธิบายเพิ่มเติม : μ = 100, σ = 12 (เนื่องจากเส้นโค้งปกติเราจะเขียน μ = 100 ไว้ตรงกลาง ตามรูปด้ายล่าง)

หา μ – 1σ = 100 – 1(12) =100 – 12 = 88

หา μ – 2σ = 100 – 2(12) =100 – 24 = 76

หา μ – 3σ = 100 – 3(12) =100 – 36 = 64

หา μ + 1σ = 100 + 1(12) =100 + 12 = 112

หา μ + 2σ = 100 + 2(12) =100 + 24 = 124

หา μ + 3σ = 100 + 3(12) =100 + 36 = 136

เส้นโค้งปกติ ตย.1

 

1)  แบตเตอรี่มือถือที่มีอายุการใช้งานระหว่าง 112 – 124 ชั่วโมง มี 13.6 %

2)  แบตเตอรี่มือถือที่มีอายุการใช้งานน้อยกว่า 88 ชั่วโมงมี 50% – 34.1% = 15.9% หรือ 0.1% + 2.2% + 13.6% = 15.9%

3)  แบตเตอรี่มือถือที่มีอายุการใช้งานระหว่าง  88 – 112 ชั่วโมงมี 34.1% + 34.1% = 68.2%

ตัวอย่างที่ 2

ตัวอย่างที่ 2  ในการแข่งขันตอบคำถามคณิตศาสตร์ระดับประเทศระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีนักเรียนเข้าร่วมแข่งขัน 1,200 คน ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนสอบเป็น 49 และ 7 คะแนน ตามลำดับ จงหา

1)  นักเรียนที่สอบได้คะแนนน้อยกว่า 56 คะแนน คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์และมีประมาณกี่คน

2)  นักเรียนที่สอบได้คะแนนระหว่าง 35 และ 56 คะแนน คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์และมีประมาณกี่คน

3)  นักเรียนที่สอบได้คะแนนมากกว่า 42 คะแนน คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์และมีประมาณกี่คน

วิธีทำ     เนื่องจากค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนสอบเป็น 45 และ 7คะแนน ตามลำดับ

อธิบายเพิ่มเติม : μ = 49, σ = 7 (เนื่องจากเส้นโค้งปกติเราจะเขียน μ = 49 ไว้ตรงกลาง ตามรูปด้ายล่าง)

หา μ – 1σ = 49 – 1(7) = 49 – 7 = 42

หา μ – 2σ = 49 – 2(7) = 49 – 14 = 35

หา μ – 3σ = 49 – 3(7) = 49 – 21 = 28

หา μ + 1σ = 49 + 1(7) = 49 + 7 = 56

หา μ + 2σ = 49 + 2(7) = 49 + 14 = 63

หา μ + 3σ = 49 + 3(7) = 49 + 21 = 70

เส้นโค้งปกติ ตย.2

1)  นักเรียนที่สอบได้คะแนนน้อยกว่า 56 คะแนน คิดเป็น 50% + 34.1% = 84.1%  มีประมาณ  \frac{84.1}{100}  x 1,200 ≈ 1,010  คน

2)  นักเรียนที่สอบได้คะแนนระหว่าง 35 และ 56 คะแนน คิดเป็น 13.6% + 34.1% + 34.1%  = 81.8%

และมีประมาณ \frac{81.8}{100}  x 1,200 ≈ 982  คน

3)  นักเรียนที่สอบได้คะแนนมากกว่า 42 คะแนน คิดเป็น 34.1% + 50% = 84.1% มีประมาณ  \frac{84.1}{100}  x 1,200 ≈ 1,010  คน

เมื่อน้องๆเรียนรู้เรื่อง สถิติ (เส้นโค้งความถี่) จะทำให้น้องๆสามารถตอบเขียนเส้นโค้งปกติและตอบคำถามได้ถูกต้อง โดยสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนเรื่องเส้นโค้งความถี่ มาประยุกต์ใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาและหาคำตอบได้อย่างถูกต้อง

วิดีโอ เส้นโค้งปกติ

        คลิปวิดีโอนี้ได้รวบรวม วิธีแก้ปัญหาโดยใช้เส้นโค้งปกติ และนอกจากนี้ยังได้แนะนำให้รู้จักกับเส้นโค้งเบ้ขวา และเส้นโค้งเบ้ซ้าย ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แฝงไปด้วยสาระความรู้ และเทคนิค ที่จะทำให้น้องๆมองวิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Relative Clause Profile II

Relative Clause

สวัสดีค่ะนักเรียนม. 3 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปดู Relative clause หรือ อนุประโยคในภาษาอังกฤษ ที่ทำหน้าที่เหมือนกันกับคำคุณศัพท์ (Adjective) ซึ่งมีหน้าที่ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า  และจะใช้ตามหลัง Relative Pronoun เช่น  who, whom, which, that, และ whose แต่สงสัยมั้ยคะว่าทำไมต้องเรียนเรื่องนี้ ลองดูตัวอย่างประโยคด้านล่างแล้วจะร้องอ๋อ   Relative

ที่มาของขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม

​ขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณกรรมที่เชื่อว่ามีเค้าเรื่องจริงในสมัยอยุธยา มีมากมายหลายตอน แต่ตอนที่ถูกนำมาให้เด็กได้เรียนกันมีด้วยกันสองตอนคือกำเนิดพลายงามและขุนช้างถวายฎีกา สำหรับตอนที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้กันในวันนี้คือตอน กำเนิดพลายงาม ซึ่งคือว่าเป็นตอนที่สำคัญอย่างมากเพราะเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมดของเรื่อง ตอนนี้จะมีความเป็นมา เรื่องย่อ และมีความดีเด่นอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมา   ขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีที่มีมาอย่างยาวนาน แต่ในสมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้ชำระเสภาขุนช้างขุนแผน ได้ทรงประชุมกวีเอกสมัยนั้น ช่วยกันแต่งคนละตอนสองตอน สุนทรภู่ก็ได้รับมอบหมายให้ร่วมแต่งด้วย และท่านคงต้องแต่งอย่างสุดฝีมือทำให้ตอน

เทคนิคการใช้ Yes, No Questions M.1

เทคนิคการใช้ Yes, No Questions ในภาษาอังกฤษ

  สวัสดีค่ะนักเรียน ม.  1 ที่น่ารักทุกคนวันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคและวิธีการอย่างง่ายในการใช้ประโยค Yes/No questions กันค่ะไปลุยกันเลยค่า Yes, No Questions คืออะไร คือ ประโยคคำถามที่ต้องการคำตอบรับ (Yes) หรือปฏิเสธ (No) เป็นการถามที่ผู้ถามอาจจะมีข้อมูลอยู่บ้างว่า ว่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ หรือผู้ถามอาจจะถามเพื่อให้มั่นใจว่าเป็นจริงตามที่เข้าใจหรือเปล่า ในที่นี้ครูจึงแยกออกเป็น 3 ชนิดค่ะ คือ ประโยคคำถามที่ขึ้นต้นด้วย

ม3 เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did_ Was_Were_

Short question เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did, Was, Were

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง “Short question เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did, Was, Were” ไปลุยกันโลดเด้อ   ทำไมต้องเรียนเรื่อง Did, Was, Were Did, Was, Were ใช้ถามคำถามใน Past Simple Tense กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงไปแล้วในอดีต หรือ ถามเพื่อให้แน่ใจว่าได้ทำสิ่งนั้นๆไปแล้ว

nokAcademy Profile_Asking and telling time by

การบอกเวลาในภาษาอังกฤษ (Telling time in English)

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูวีการ “บอกเวลาในภาษาอังกฤษ หรือ Telling time in English กันค่ะ” ไปลุยกันเลย   บทนำ   ในบทเรียนนี้ครูขอยกตัวอย่างการบอกเวลาที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปใน 2 รูปแบบ ตามที่มาของ Native English หรือ ภาษาอังกฤษของเจ้าของภาษานะคะ 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1