เรียนรู้การแต่ง วิชชุมมาลาฉันท์ 8 ฉันท์ที่เปล่งสำเนียงยาวดุจสายฟ้า

วิชชุมมาลาฉันท์

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ฉันท์ คือ ลักษณะถ้อยคำที่กวีได้ประพันธ์ขึ้นเพื่อให้เกิดความไพเราะ โดยกำหนดครุ ลหุ และสัมผัสไว้เป็นมาตรฐาน มีด้วยกันมากมายหลายชนิด จากที่บทเรียนครั้งก่อนเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับที่มาและพื้นฐานการแต่งฉันท์ไปแล้ว บทเรียนในวันนี้เราจะมาเจาะลึกให้ลึกขึ้นไปอีกด้วยการฝึกแต่ง วิชชุมมาลาฉันท์ 8 กันค่ะ ฉันท์ประเภทนี้จะเป็นอย่างไร ทำไมถึงเป็น 8  ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

คำประพันธ์ประเภท ฉันท์

 

ฉันท์ในภาษาไทยได้แบบแผนมาจากอินเดีย ในสมัยพระเวท แต่ลักษณะฉันท์ในสมัยพระเวทไม่เคร่งครัดเรื่องครุ ลหุ นอกจากจะบังคับเรื่องจำนวนคำในแต่ละบท จนกระทั่งอีกสองพันปีต่อมาซึ่งอยู่ในสมัยมหากาพย์ฉันที่เรียกว่า โศลก ได้พัฒนารูปแบบขึ้นมาใหม่ โดยมีบาทที่ 1 เหมือนกับบาทที่ 3 และบาทที่ 2 เหมือนกับบาทที่ 4

 

วิชชุมมาลาฉันท์

 

ฉันท์บาลีแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ฉันท์วรรณพฤติ กับฉันมาตราพฤติ โดยฉันท์วรรณพฤติกับฉันท์มาตราพฤติมีข้อแตกต่างกันดังนี้

  1. ฉันท์วรรณพฤติ เป็นฉันท์ที่กำหนด เสียงหนักเบาที่เรียกว่าครุ ลหุ
  2. ฉันท์มาตราพฤติ กำหนดด้วยมาตรา คือวางจังหวะสั้นยาวของมาตราเสียงเป็นสำคัญ นับคำครุเป็น 2 มาตรา นับคำลหุเป็น 1 มาตรา ไม่กำหนดตัวอักษร ซึ่งแตกต่างจากฉันท์วรรณพฤติ

ส่วนฉันท์ที่คนไทยนิยมนำมาแต่งเป็นพื้นฐานคือ ฉันท์วรรณพฤติ

 

หลักการแต่งฉันท์

 

วิชชุมมาลาฉันท์

 

1. จำคำลหุ (คำที่ออกเสียงเบา เร็ว สั้น) ให้แม่นยำ มีลักษณะดังนี้

  • คำที่มีสระอะ อิ อุ ฤ ฦ เอะ แอะ โอะ เอาะ อัวะ อำ(เฉพาะที่เป็นคำยืมเขมร เช่น ตำบล(ตำ เป็น ลหุ บล เป็น ครุ))
  • คำที่มีไม้เอก เช่น บ่ ไป่ ไม่ จุ่ง
  • คำควบกล้ำ เช่น พระ ประ
  • คำลหุที่ติดมากับครุ เช่น เกษม กะ เป็นลหุ ส่วน เษม เป็น ครุ

2. จำคำครุ (คำที่ออกเสียงหนัก ยาว) ให้แม่นยำ หากจำคำลหุได้ ที่เหลือก็ถือเป็นคำครุทั้งหมด แต่จะมีบางคำที่แม้จะเป็นสระที่ออกเสียงคล้ายเสียงสั้น แต่จะจัดอยู่ในคำครุ คือ ไอ ใอ สระ 2 ตัวนี้ในฉันท์ภาษาไทยอนุโลมเป็นคำครุ

 

วิชชุมมาลาฉันท์

 

3. แต่งให้ตรงตามลักษณะบังคับของฉันท์

ฉันท์แต่ประเภทมีลักษณะการแต่งที่ไม่เหมือนกัน มีจำนวนบาทไม่เท่ากัน เช่น วิชชุมมาลาฉันท์ ที่บาทหนึ่งมี 8 คำ จึงนับเป็นฉันท์ 8

 

วิชชุมมาลาฉันท์ 8

 

วิชชุมมาลาฉันท์ เป็นชื่อที่เรียกตามแบบไทย แต่ในคัมภีร์วุตโตทัย เรียกว่า วิชชุมมาลาคาถา

วิชชุมมาลาฉันท์ (วิด-ชุม-มา-ลา-ฉัน) แปลว่า ฉันท์ที่เปล่งสำเนียงยาวดุลสายฟ้าแลบที่มีรัศมียาว

 

 

ตัวอย่าง

 

ลักษณะบังคับ

1.คณะและพยางค์

  • บทหนึ่งมี 4 บาท
  • บาทหนึ่งมี 4 วรรค
  • วรรคหนึ่งมี 4 คำ
  • บาทหนึ่งมี 8 คำ จึงเรียกว่าฉันท์ 8
  • รวมบทหนึ่งมี 8 วรรค 32 คำ

2. ครุ-ลหุ

  • ประกอบด้วยคณะฉันท์ มะ มะ ครุลอย 2
  • เป็นคำครุทั้งหมด ไม่มีลหุอยู่เลย

3. สัมผัส ส่งสัมผัสแบบกลอนสุภาพ

สัมผัสใน

  • คำสุดท้ายของวรรคที่ 1 ส่งสัมผัสกับคำที่ 2 ของวรรคที่2
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 3
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ 4 ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 6
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ 6 ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 7

สัมผัสระหว่างบท

คำสุดท้ายของบท ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 4 ในบทต่อไป

 

นอกจากจะใช้แต่งเรื่องราวที่ยืดยาว มีบทพรรณนา บทสนทนาและคติธรรมแล้ว ฉันท์ยังใช้แต่งบทประพันธ์ขนาดสั้นได้ รวมไปถึงแต่งเป็นบทสดุดี บทบูชาพระคุณครูบาอาจารย์ บิดามารดา และบทอวยพรเนื่องในโอกาสพิเศษต่าง ๆ เรียกได้ว่าเป็นคำที่ประพันธ์ที่สามารถใช้ได้อย่างหลากหลาย ถ้าหากเราแต่งให้ตรงฉันท์ลักษณ์และเลือกสรรคำที่งดงาม ก็จะทำให้บทประพันธ์มีความไพเราะได้ไม่ยากเลยค่ะ สุดท้ายนี้เพื่อทบทวนความเข้าใจ น้อง ๆ อย่าลืมรับชมคลิปการสอนของครูอุ้มระหว่างฝึกแต่งและทำแบบฝึกหัดไปพร้อม ๆ กันนะคะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

สัดส่วน

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง สัดส่วน รวมทั้งโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสัดส่วน ซึ่งได้รวบรวมเนื้อหาและเขียนอธิบายไว้อย่างชัดเจน รวมถึงมีคลิปวิดีโอการสอน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับน้องๆ สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา แต่ก่อนจะเรียนรู้เรื่องสัดส่วนนั้น น้องๆจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน ⇐⇐ สัดส่วน สัดส่วน คือ ประโยคที่แสดงการเท่ากันของอัตราส่วนสองอัตราส่วน อัตราส่วนทั้งสองมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันหรือในทิศทางตรงกันข้ามก็ได้ ชนิดของสัดส่วน สัดส่วนมี 2 ชนิด คือ สัดส่วนตรง และ สัดส่วนผกผัน  

เรียนรู้ความเหมือนที่แตกต่างของคำพ้อง

  น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยเห็นฝาแฝดกันมาบ้างใช่ไหมคะ แล้วรู้หรือเปล่าคะว่าในภาษาไทยเรานั้นก็มีฝาแฝดเหมือนกัน แต่ฝาแฝดนั้นถูกเรียกว่า คำพ้อง นั่นเองค่ะ หลายคำในภาษาไทยมีจุดที่เหมือนกันแต่ก็มีส่วนที่ต่างกันออกไปด้วย เพื่อไม่ให้สับสนว่าคำไหนคือคำไหน อ่านอย่างไร หมายความว่าอะไรกันแน่ วันนี้เราไปเรียนรู้เรื่องคำพ้องพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   คำพ้อง   ความหมายของคำพ้อง     ประเภทของคำพ้อง     คำพ้องเสียง

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่อยู่ใน บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก เป็นบทละครพูดเรื่องแรกของไทยที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ประพันธ์ โดยมุ่งหวังให้ละครเป็นตัวช่วยกล่อมเกลาจิตใจประชาชน แต่นอกจากตัวบทจะมีความโดดเด่นจนได้รับความนิยมอย่างมากแล้ว ยังแฝงแนวคิดมากมายไว้ในเรื่อง จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปเรียนรู้เรื่องพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ใน บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก     ตัวบทที่ 1    พระยาภักดี : ใครวะ อ้ายคำ : อ้างว่าเป็นเกลอเก่าของใต้เท้า

พญาช้างผู้เสียสละ

ทำความรู้จักกับพญาช้างผู้เสียสละนิทานธรรมะจรรโลงใจ

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งในวิชาภาษาไทยแสนสนุก ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนมาเปลี่ยนบรรยากาศกันด้วยการมาอ่านนิทานชาดกเรื่อง พญาช้างผู้เสียสละ เป็นเรื่องราวของพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่ได้ลงมาเกิดเป็นพญาช้างรูปร่างงดงาม ต้องบอกว่าเรื่องราวในนิทานชาดกเรื่องนี้นอกจากจะทำให้น้อง ๆ สนุกไปกับเนื้อเรื่องแล้วก็ยังมอบคติสอนใจให้กับน้อง ๆ ได้ไม่น้อยเลย เพราะฉะนั้นถ้าทุกคนพร้อมแล้วไปเข้าสู่บทเรียนกันเลย ภูมิหลังตัวละคร สำหรับเรื่อง พญาช้างผู้เสียสละ อย่างที่ได้บอกไปว่าเป็นนิทานชาดกที่จัดเป็น 1 ใน 500 ชาติที่พระพุทธเจ้าเคยได้เสวยชาติ ซึ่งชาดกเรื่องนี้จะเล่าถึงพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่ได้ลงมาเกิดเป็นพญาช้างสีลวะ ด้วยความที่พระองค์ทรงบำเพ็ญทานบารมีมานานจึงได้เกิดเป็นพญาช้างร่างใหญ่กำยำผิวขาวเผือกผ่อง มีงวงและงาสวยงามและมีบริวารรายล้อม

should have

I Should Have Done It! โครงสร้างประโยค “รู้งี้”

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับหลักไวยากรณ์เล็กๆ น้อยๆ ที่ได้ใช้ประโยชน์มากๆ นั่นคือเรื่องการใช้ should have + past participle นั่นเองครับ จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยครับ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1