เรียนรู้กลวิธีการสรรคำ ความสวยงามทางภาษา

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ในการแต่งบทประพันธ์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะบทร้อยกรอง การสรรคำ จะช่วยทำให้บทประพันธ์นั้น ๆ มีความไพเราะมากขึ้น บทเรียนเรื่องการเสริมสร้างความรู้ทางภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปศึกษาเกี่ยวกับการสรรคำ ว่ามีความหมายและวิธีการเลือกคำมาใช้อย่างได้บ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

 

การสรรคำ ความหมายและความสำคัญ

 

การสรรคำ

 

การสรรคำ คือ การเลือกใช้คำให้สื่อความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึก และอารมณ์ได้อย่างงดงาม โดยคำนึงถึงความงามด้านเสียง โวหาร และรูปแบบคำประพันธ์ การสรรคำเป็นกลวิธีทางวรรณศิลป์ที่กวีเลือกสรรคำมาใช้ในการแต่งกวีนิพนธ์ ผู้แต่งมักสรรคำต่าง ๆ มาเรียงร้อยให้เกิดความไพเราะ ให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพและเกิดความรู้สึกคล้อยตา สามารถทำได้ดังนี้

 

1. เลือกใช้คำให้ถูกต้องตรงตามความหมายที่ต้องการ

2. เลือกใช้คำที่เหมาะสมแก่เนื้อเรื่องและฐานะของบุคคล

3. เลือกใช้คำให้เหมาะสมกับคำประพันธ์ บางคำสามารถใช้ได้ทั้งในร้อยแก้วและร้อยกรอง แต่ก็จะมีบางคำที่ไม่เหมาะกับการนำมาเขียนแบบร้อยแก้ว ส่วนมากจะเป็นคำที่ยากเกินไป บทร้อยแก้วไม่มีกำหนดสัมผัสเหมือนร้อยกรอง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่จะต้องใช้คำยากเกินความจำเป็น

 

กลวิธีการสรรคำ

 

การสรรคำ

 

1. การเล่นคำ คือ การนำคำที่มีรูปหรือเสียงพ้องกันหรือใกล้เคียงกันมาเล่น มีหลายวิธี เช่น การเล่นคำพ้อง การเล่นคำหลายความหมาย เป็นต้น

  • คำพ้องเสียง ในบทประพันธ์หลายเรื่อง มักใช้การคำพ้องเสียงที่ออกเสียงเหมือนแต่คนละความหมาย ดังตัวอย่างในบทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ที่มีการเล่นคำที่ออกเสียงเหมือนกัน “เบญจวรรณจับวัลย์มาลี   เหมือนวันเจ้าวอนพี่ให้ตามกวาง” วรรณ วัลย์ และวัน ออกเสียงว่า วัน เหมือนกัน
  • คำพ้องรูป เป็นการเล่นคำที่ใช้คำที่เขียนเหมือนกัน แต่มีความหมายแตกต่างกันให้มาอยู่ในวรรคเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่นในนิราศพระบาทของสุนทรภู่ ที่มีการใช้คำว่า รอ ใน 3 ความหมายแต่อ่านออกเสียงเหมือนกัน “เห็นรอหักเหมือนหนึ่งรักพี่รอรา แต่รอท่ารั้งทุกข์มาตามทาง” รอ คำแรก คือ หลักปักกั้นกระแสน้ำ ส่วน รอรา คือหยุด และในคำว่า รอท่า หมายถึง คอย

2. การซ้ำคำ คือ การนำคำคำเดียวมาซ้ำในที่ใกล้กัน เพื่อย้ำความหมาย

 

การสรรคำ

 

3. นาฏการ คือ การใช้คำที่แสดงการเคลื่อนไหวที่สวยงาม

 

 

4. คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน ตรงกัน หรือคล้ายกันมาก แต่เขียนและออกเสียงต่างกัน

 

 

ในบทประพันธ์นี้มีคำไวพจน์คือคำว่า แก้วตา เยาวมาลย์ นฤมล หมายถึง ผู้หญิง ส่วนคำว่า ดำริ ตริ หมายถึง คิด

 

นอกจากจะทำให้บทประพันธ์นั้นมีความไพเราะยิ่งขึ้นแล้ว การสรรคำยังเหมือนเป็นเครื่องแสดงถึงคลังความรู้ของผู้แต่งอีกด้วยค่ะ ผู้แต่งที่แต่งวรรณคดีดัง ๆ หลายเรื่องจึงเลือกใช้คำที่สวยงามและไพเราะเพื่อให้เห็นว่ามีคลังคำศัพท์มากมายให้หัว สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถดูคลิปการสอนของครู้อุ้มย้อนหลังเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการสรรคำให้มากขึ้นได้ ไปดูกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การเปลี่ยนแปลงของประโยค

การเปลี่ยนแปลงของประโยค ศึกษาธรรมชาติของภาษาที่ยังไม่ตาย

ภาษาเป็นกลไกสำคัญที่จะต้องเปลี่ยนแปลงควบคู่ไปกับสังคมมนุษย์ คำและประโยคในทุกภาษาอาจเปลี่ยนแปลงหรือหายไปพร้อมกับความเจริญและเสื่อมของสังคมตามยุคสมัย ภาษาที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจะถูกนับเป็นภาษาที่ตายแล้ว ภาษาไทยเป็นอีกภาษาหนึ่งที่ยังคงมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของประโยค หนึ่งในเรื่องราวที่น่าสนใจของเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางภาษา จะมีอะไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   การเปลี่ยนแปลงทางภาษา     ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษา   1. เกิดจากปัจจัยทางสังคม   2. ลักษณะการออกเสียงของผู้พูด ในบางครั้งผู้พูดจะไม่สามารถออกเสียงคำได้อย่างถูกต้องทุกคำ

วิธีพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังและดูอย่างง่ายๆ

การพูดสรุปความสำคัญอย่างไร ? น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยประสบปัญหาเวลาที่ต้องออกไปนำเสนองานหน้าชั้นเรียนแล้วไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไรให้เพื่อนกับครูเข้าใจ เพราะเนื้อหาที่เราจำมามันก็เยอะเสียเหลือเกิน บทเรียนภาษาไทยวันนี้จะช่วยให้น้อง ๆ รับมือกับปัญหาเหล่านั้นได้ เพียงแค่น้อง ๆ มีความเข้าใจในเรื่องการพูดสรุปความ วันนี้เรามาดูไปพร้อม ๆ กันเลยนะคะว่าการพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังหรือดูจะมีวิธีใดบ้าง   การพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังและดู   การพูดคืออะไร   องค์ประกอบของการพูด   ผู้พูด คือผู้ที่มีจุดมุ่งหมายสำคัญที่จะนำเสนอความรู้ความคิดเห็นให้ผู้ฟังได้รับรู้และเข้าใจ เนื้อเรื่อง

ตัวผกผันของความสัมพันธ์

ตัวผกผันของความสัมพันธ์

ตัวผกผันของความสัมพันธ์ ตัวผกผันของความสัมพันธ์ r คือความสัมพันธ์ใหม่ที่เกิดจากการสลับตำแหน่งของสมาชิกตัวหน้ากับสมาชิกตัวหลังของคู่อันดับทุกคู่ในความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย   ซึ่ง = {(y, x) : (x, y ) ∈ r} เช่น r = {(1, 2), (3, 4), (5,

ม3 เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did_ Was_Were_

Short question เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did, Was, Were

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง “Short question เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did, Was, Were” ไปลุยกันโลดเด้อ   ทำไมต้องเรียนเรื่อง Did, Was, Were Did, Was, Were ใช้ถามคำถามใน Past Simple Tense กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงไปแล้วในอดีต หรือ ถามเพื่อให้แน่ใจว่าได้ทำสิ่งนั้นๆไปแล้ว

โจทย์ปัญหา ห.ร.ม. และค.ร.น.

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ ห.ร.ม. และ ค.ร.น.

บทความนี้เป็นเรื่องการแก้ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ ห.ร.ม. และ ค.ร.น ซึ่งโจทย์ที่ได้นำมาเป็นตัวอย่างจะประกอบด้วยการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา การเลือกใช้วิธีการแก้โจทย์ปัญหา รวมไปถึงการแสดงวิธีทำอย่างละเอียด หวังว่าน้องๆจะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ได้จริงกับโจทย์ปัญหาในห้องเรียน ซึงเป็นเเรื่องย่อยของ ห.ร.ม. และ ค.ร.น. ป.6

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1