เทคนิคการเขียนเรียงความง่าย ๆ ที่จะช่วยถ่ายทอดความคิดให้เป็นขั้นตอน

การเขียนเรียงความ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การเขียนเรียงความ เป็นทักษะการเขียนที่มีสำคัญมาก เพราะเป็นการถ่ายทอดความคิดให้ออกมาอยู่ในรูปของตัวอักษร จะมีวิธีเขียนอย่างไรบ้างนั้น บทเรียนในวันนี้จะทำให้น้อง ๆ มีความรู้ความเข้าใจถึงวิธีการเขียนเรียงมากขึ้น จะเป็นอย่างไรนั้น ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ความหมายและความสำคัญของการเขียนเรียงความ

 

เรียงความ เป็นทักษะการเขียนที่แสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด ความเห็น ความเข้าใจของผู้เขียน มีรูปแบบและวิธีการเขียนที่มีแบบแผน เพื่อถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นตัวอักษรให้น่าอ่าน และยังเป็นพื้นฐานของการเขียนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบทความหรือนวนิยายอีกด้วย โดยประเภทของการเขียนเรียงความมีดังนี้

1. เรื่องที่เขียนเพื่อความรู้

2. เรื่องที่เขียนเพื่อความเข้าใจ

3. เรื่องที่เพื่อโน้มน้าวใจ

 

การเขียนเรียงความ

 

องค์ประกอบของ การเขียนเรียงความ

 

องค์ประกอบเรียงความ

 

1. ส่วนนำ เป็นส่วนหนึ่งของเรียงความที่เป็นการเปิดประเด็นเข้าสู่เนื้อเรื่อง ตรงส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ทำให้ผู้อ่านรับรู้ว่าผู้เขียนนั้นจะเขียนเรื่องอะไร โดยเนื้อหาที่ใช้ในการเขียนเปิดต้องมีความน่าสนใจเพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านอยากจะอ่านต่อไป แต่ไม่ควรเปิดเผยเนื้อหาทั้งหมด

 

2. เนื้อหา ส่วนสำคัญที่สุดของเรียงความ เพราะจะเป็นส่วนที่นำเสนอความรู้ความคิดความเข้าใจทรรศนะหรือความรู้สึกของผู้เขียน

ขั้นตอนการเรียบเรียงเนื้อหา

  • วางแผนลำดับขั้นตอนและโครงเรื่องที่จะเขียนว่ามีแนวทางอย่างไร
  • เขียนเนื้อหาตามโครงเรื่องที่วางไว้
  • แต่ละย่อหน้าต้องมีใจความสำคัญ
  • ไม่เขียนออกนอกเรื่อง

 

การวางโครงเรื่อง

 

การเขียนเรียงความ ไม่ควรมีแค่ย่อหน้าเดียว นอกจากนี้การใช้ภาษาในการเขียนยังเป็นสิ่งสำคัญมากกว่า น้อง ๆ จะต้องพิถีพิถันในการเลือกคำมาเขียนให้ลื่นไหลและต้องเป็นภาษาแบบทางการ ถูกต้องตามหลักการเขียน

3. สรุป ส่วนสำคัญที่สุดของการเขียนเรียงความ เพราะจะเป็นการนำสิ่งที่เขียนไปทั้งหมดมาสรุปอีกทีหนึ่ง เนื้อหาที่สรุปออกมานั้นต้องเป็นประเด็นที่สำคัญ เพราะจะช่วยส่งเสริมให้งานเขียนดียิ่งขึ้น ไม่จบแบบห้วน ๆ อย่างไร้ข้อสรุป

การตั้งชื่อเรียงความ

  • กระชับ น่าสนใจ การตั้งชื่อเรียงความไม่ควรยาวเกินไป เพราะจะทำให้อ่านยาก คนไม่จำ อีกทั้งชื่อเรื่องที่ยาวเกินไป อาจจะทำให้ผู้อ่านสับสนว่าประเด็นของเรียงความคืออะไรกันแน่
  • ตรงประเด็นกับเนื้อหา เมื่อเขียนถึงเรื่องอะไรก็ควรจะตั้งชื่อเรื่องให้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขียน ผู้อ่าน อ่านแล้วรู้ว่าเขียนเรื่องอะไร
  • ชื่อเรื่องต้องน่าสนใจ ทำให้อยากอ่าน การตั้งชื่ออย่างเหมาะสม มีความน่าสนใจ ไม่สั้นและไม่ยาวเกินไป เพราะอาจจะทำให้ไม่น่าดึงดูด ผู้อ่านไม่อยากอ่าน

 

ลักษณะของเรียงความที่ดี

 

ลักษณะของเรียงความที่ดี

 

ลักษณะของการเขียนเรียงความที่ดีนั้น จะต้องมีประมวลข้อคิดที่สำคัญ ๆ เพื่อกำหนดเป้าหมายในการเขียน โดยที่ต้องแบ่งสัดส่วนการเล่าเรื่องให้เหมาะสม เป็นลำดับขั้นตอนตามโครงเรื่องที่ได้วางไว้ และที่สำคัญคือการใช้ภาษา ที่จะต้องใช้ให้ถูกหลักภาษา ใช้คำเป็นทางการ ตรวจทานคำผิดเพื่อนให้ผู้อ่านสามารถอ่านได้อย่างลื่นไหล และสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามจุดประสงค์ของผู้เขียน

 

การเขียนเรียงความนั้นถึงจะมีหลายขั้นตอน เพราะการจะเขียนเรียงความต้องสามารถฟัง พูด คิด และจับใจความเพื่อให้เขียนออกมาได้ดี อีกทั้งผู้เขียนยังต้องรู้จักศึกษาและค้นคว้าหาความรู้ด้วย แต่ก็ไม่มีอะไรยากเกินความตั้งใจของเราหรอกค่ะ ถ้าน้อง ๆ หมั่นฝึกเขียนเรียงความบ่อย ๆ ตามเทคนิคการเขียนที่ได้เรียนไปก็จะสามารถเขียนได้อย่างลื่นไหลเอง สุดท้ายนี้อย่าลืมชมคลิปของครูระหว่างฝึกนะคะ จะได้ช่วยให้เข้าใจมากขึ้น ไปชมเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

conjunctions

เรียนรู้การใช้คำสันธาน (Conjunctions) ในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม. 3 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ Conjuctions หรือคำสันธานในภาษาอังกฤษ พร้อมวิธีการใช้คำสันธานในประโยคแบบเข้าใจง่ายๆ กันครับ

การอ่านบทร้อยแก้ว อ่านอย่างไรให้น่าฟัง

หลังจากที่เราได้เรียนรู้เรื่องการบทร้อยกรองไปแล้ว วันนี้เราจะมาพูดถึงบทร้อยแก้วกันบ้าง ซึ่งน้อง ๆ หลายคนคงจะรู้จักบทร้อยแก้วกันดีอยู่แล้ว เพราะเป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวัน แต่น้อง ๆ ทราบไหมคะว่า การอ่านบทร้อยแก้ว ก็มีวิธีอ่านที่ถูกต้องเหมือนกัน เพราะการที่เราอ่านไม่ถูกต้องนั้นก็อาจจะทำให้ไม่น่าฟัง น่าเบื่อ รวมไปถึงอาจทำให้ใจความที่ผู้แต่งต้องการจะสื่อสารคลาดเคลื่อนได้อีกด้วย ถ้าอยากรู้แล้วว่ามีหลักเกณฑ์และวิธีอ่านอย่างไร ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ร้อยแก้วคืออะไร ?   บทข้อความทั่วๆ ไป ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน โดยต้องเขียนเป็นประโยค ข้อความติดต่อกัน

Direct Object

Direct and Indirect Objects

สวัสดีน้องๆ ม. 5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเรื่อง Direct และ Indirect Objects กันครับว่าคืออะไร ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

เรียนรู้กลวิธีการสรรคำ ความสวยงามทางภาษา

ในการแต่งบทประพันธ์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะบทร้อยกรอง การสรรคำ จะช่วยทำให้บทประพันธ์นั้น ๆ มีความไพเราะมากขึ้น บทเรียนเรื่องการเสริมสร้างความรู้ทางภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปศึกษาเกี่ยวกับการสรรคำ ว่ามีความหมายและวิธีการเลือกคำมาใช้อย่างได้บ้าง ไปดูกันเลยค่ะ   การสรรคำ ความหมายและความสำคัญ     การสรรคำ คือ การเลือกใช้คำให้สื่อความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึก และอารมณ์ได้อย่างงดงาม โดยคำนึงถึงความงามด้านเสียง โวหาร

ความรู้เกี่ยวกับ การสื่อสาร มีอะไรบ้างที่เราควรรู้?

ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสาร เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากในปัจจุบัน แม้ว่าเราจะสื่อสารกับผู้คนอยู่แล้วทุกวัน แต่จะทำอย่างไรให้ตนเองสามารถสื่อสารได้อย่างถูกต้อง มีเรื่องไหนที่ควรรู้และควรระวัง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องการสื่อสารให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ถ้าอยากรู้แล้วว่าจะเป็นอย่างไรก็ไปดูกันเลยค่ะ   การสื่อสาร คืออะไร?   เป็นกระบวนการถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนความคิด ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ ความรู้สึก จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง ให้มีความเข้าใจตรงกัน     การสื่อสารสำคัญอย่างมากตั้งแต่ในชีวิตประจำวันไปจนถึงอุตสาหกรรม การปกครอง การเมืองและเศรษฐกิจ

รากที่สาม

รากที่สาม

ในบทตวามนี้เราจะได้เรียนรู้การหารากที่สามของจำนวนจริงใดๆ ซึ่งทำได้หลายวิธีเช่นเดียวกับการหารากที่สอง อาจใช้การแยกตัวประกอบ การประมาณ การเปิดตาราง และการใช้เครื่องคำนวณ แต่เนื่องจากการประมาณเป็นวิธีที่ยุ่งยาก ในที่นี้จึงจะกล่าวเฉพาะการหารากที่สามโดยการแยกตัวประกอบ การเปิดตาราง และการใช้เครื่องคำนวณ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1