ศึกษาตัวบทและข้อคิดที่แฝงอยู่ในสามัคคีเภทคำฉันท์

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สามัคคีคือพลัง เป็นคำกล่าวคุ้นหูที่หลายคนคงจะเคยได้ยินคนพูดให้ฟังอยู่บ่อย ๆ เพราะไม่ว่าเราจะทำสิ่งใดร่วมกับใคร เพื่อให้งานนั้นสำเร็จและเป็นไปอย่างราบรื่น เราก็ต้องอาศัยความสามัคคีของคนในกลุ่มช่วยกันขับเคลื่อนให้ทุกอย่างเดินไปข้างหน้าได้ แต่บางครั้งคนเราก็อาจปล่อยให้อารมณ์มาบดบังจนทำให้แตกความสามัคคีกันอยู่บ่อย ๆ สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นวรรณคดีที่ว่าด้วยผลของการแตกความสามัคคี บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ตัวบทเด่น ๆ ที่สำคัญ ถอดบทเรียนจากตัวละครและศึกษาคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่องกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องนี้พร้อมกันเลย

 

ตัวบทเด่น ๆ ใน สามัคคีเภทคำฉันท์

 

 

ถอดความ พระเจ้าอชาตศัตรู แห่ง แคว้นมคธต้องการจะยกทัพไปตีแคว้นวัชชีแต่เกิดความลังเล เพราะบรรดากษัตริย์แคว้นวัชชีทั้งหลายนั้นตั้งมั่นในธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม ไม่โกรธและไม่แตกร้าวกัน ทำให้การตีเมืองที่มีความสามัคคีหนักแน่นเช่นนี้เป็นไปได้ยาก

 

สามัคคีเภทคำฉันท์

 

ถอดความ พระเจ้าอชาตศัตรูได้ปรึกษากับวัสสการพราหมณ์ผู้เป็นที่ปรึกษาและอาจารย์เพื่อหาอุบายในการทำศึก วัสสการนั้นฉลาดหลักแหลม คิดอุบายออกมาได้ เมื่อทูลพระเจ้าอชาตศัตรูไปก็ทรงเห็นด้วยและนัดแนะกับวัสสการพราหมณ์ในการทำลายล้างความสามัคคี

 

สามัคคีเภทคำฉันท์

 

ถอดความ วัสสการพราหมณ์เริ่มออกอุบายเพื่อยุให้เหล่าโอรสแตกคอโดยเริ่มจากการที่เชิญพระกุมารลิจฉวีไปคุยในห้องส่วนตัวด้วยเรื่องที่ไม่ใช่ความลับอะไร อย่างถามว่า ชาวนาจูงโคมาเพื่อเทียบไถใช่หรือไม่ พระกุมารลิจฉวีก็ตอบเออออไปตามอาจารย์ว่าชาวบ้านคงจะทำดังนั้นจริง

 

 

ถอดความ เมื่อพระกุมารลิจฉวีออกมาจากห้องแล้ว พระกุมารองค์อื่นก็เกิดความสงสัยจึงเข้ามาซักถามถึงเรื่องที่คุยกับพระอาจารย์และขอให้บอกตามความจริง พระกุมารลิจฉวีก็ตอบไปตามจริงว่าพระอาจารย์ถามอะไร แต่พระกุมารองค์อื่นไม่เชื่อ ด้วยความที่เชื่อมั่นว่าวัสสการพราหมณ์เป็นผู้ที่เฉลียวฉลาด ไม่มีทางที่จะมาถามคำถามเหลวไหลไร้สาระ เป็นเหตุให้ทะเลาะกัน

 

 

ถอดความ หลังจากที่วัสสการพราหมณ์ใช้อุบายยุให้เหล่าพระกุมารแตกคอกันเองเป็นเหตุให้ลามไปถึงพวกผู้ใหญ่ด้วย เมื่อเห็นว่าตอนนี้แคว้นวัชชีกำลังอ่อนแอ จึงลองตีกลองนัดประชุม แต่ฝ่ายกษัตริย์แคว้นวัชชีไม่อยากไปและรับสั่งในเชิงประชดประชันว่า จะเรียกประชุมทำไม เราไม่ได้เป็นใหญ่ ใจก็ขลาด ไม่กล้าหาญ ผู้ใดเป็นใหญ่ มีความกล้าหาญ พอใจจะไปร่วมประชุมก็เชิญไป

 

คุณค่าที่อยู่ในเรื่อง

 

ด้านวรรณศิลป์

ใช้ฉันทลักษณ์ได้อย่างงดงามเหมาะสม โดยเลือกฉันท์ชนิดต่าง ๆ มาใช้สลับกันตามความเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง จึงเกิดความไพเราะสละสลวย มีการใช้โวหารภาพพจน์ต่าง ๆ ทำให้เนื้อเรื่องมีหลากหลายอารมณ์

 

 

ข้อคิดและคติสอนใจ

1. ความสามัคคี

สามัคคีเภทคำฉันท์เป็นเรื่องราวที่สะท้อนให้เห็นถึงโทษของความไม่สามัคคีของคนในสังคมได้อย่างชัดเจน จากเมืองที่เคยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ปรองดองเป็นปึกแผ่นจนไม่มีศัตรูที่ไหนบุกมาทำลายไปได้ แต่เมื่อเกิดความแตกแยก เชื่อคำยุยง ไม่ยึดตามหลักธรรม ความสามัคคีก็พังทลาย

2. การใช้ปัญญาแก้ปัญหา

การกระทำทุกอย่างต้องเป็นไปอย่างรอบคอบ มีการวางแผน คิดตริตรองเพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด ดังที่พระเจ้าอชาตศัตรูไม่บุ่มบ่ามทำอะไรตามใจ แต่รู้จักคิด วิเคราะห์เพื่อทำลายจุดแข็งของศัตรูจนในที่สุดก็ทำให้ได้รับชัยชนะ

 

 

ข้อคิดคติธรรมที่แฝงอยู่ในเรื่อง เป็นข้อคิดที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงได้ เพื่อให้เราใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ปล่อยให้อารมณ์และความขุ่นเคืองนำพาจนเป็นเหตุให้เกิดเสียหาย ชาติจะเจริญก้าวหน้าได้ ก็ต่อเมื่อเรามีสามัคคีกัน รักใคร่กลมเกลียวกันนะคะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถรับชมคลิปครูอุ้มเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับเกร็ดความรู้สนุกๆ เพิ่มเติมและอย่าลืมหมั่นทบทวนบทเรียนเพื่อไม่ให้พลาดเวาทำข้อสอบกันด้วยนะคะ

 

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

นิทานเวตาล เรื่องเล่าที่สอดแทรกคติธรรมไว้มากมาย

นิทานเวตาล เป็นวรรณคดีอินเดียโบราณที่มีประวัติความเป็นมายาวนานนับพันปี มีเนื้อหาที่บันเทิงแต่ก็สอดแทรกปริศนาธรรมและคติธรรมคำสอนไว้เพื่อเป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อจากวรรณคดีเรื่องนี้กันค่ะว่าจะมีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมาของนิทานเวตาล     นิทานเวตาล หรือ เวตาลปัญจวิงศติ เป็นวรรณกรรมอินเดียโบราณ กวีคนแรกที่เป็นคนแต่งคือ ศิวทาส เมื่อ 2.500 ปี ต่อมาโสมเทวะ กวีชาวแคว้นกัษมีระได้นํามา

เรียนรู้ตัวบทเด่นของบทละครพูดคำฉันท์เรื่องดัง มัทนะพาธา

มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ที่ประพันธ์โดยรัชกาลที่ 6 ซึ่งพระองค์ทรงคิดขึ้นเองไม่ได้แปลหรือดัดแปลงมาจากเรื่องใด จากการศึกษาความเป็นมาในบทเรียนคราวที่แล้วทำให้เราได้รู้ที่มา ลักษณะคำประพันธ์รวมไปถึงเรื่องย่อของเรื่องกันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้เราจะศึกษาตัวบทเด่น ๆ ของเรื่องกันนะคะว่ามีบทใดที่ได้ชื่อว่าเป็นวรรคทอง ถอดความ พร้อมทั้งเรียนรู้คุณค่าของานประพันธ์ชิ้นนี้อีกด้วย ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ใน มัทนะพาธา     ถอดความ บทนี้เป็นคำพูดของฤษีกาละทรรศินที่กำลังอธิบายให้ศุภางค์ แม่ทัพของท้าวชัยเสนว่าเหตุใดพระฤษีจึงเห็นว่าการห้ามปรามความรักระหว่างพระชัยเสนกับมัทนาเป็นสิ่งไร้ประโยชน์ โดยบอกว่า

comparison of adjectives

Comparison of Adjectives

สวัสดีน้องๆ ม. 1 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเรื่องของ Comparison of Adjectives ซึ่งจะคืออะไรและเอาไปใช้อะไรได้บ้าง เราลองไปดูกันเลยครับ

Present Perfect

Present Perfect ในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม.​ 4 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง Present Perfect ในภาษาอังกฤษ จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยดีกว่าครับ

การบวกและการลบเอกนาม

การบวกและการลบเอกนาม บทความนี้จะทำให้น้องๆ รู้จักเอกนามและเข้าใจวิธีการบวกลบเอกนามได้อย่างง่ายดาย ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างการบวกและการลบเอกนามมานำเสนออกในรูปแบที่เข้าใจง่าย ทำให้น้องๆสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งเนื้อหาในบทความนี้เป็นเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เอกนาม เอกนาม คือ นิพจน์ที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปการคูณของค่าคงตัวกับตัวแปรตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป โดยเลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็นศูนย์หรือจำนวนเต็มบวก ค่าคงตัว คือ ตัวเลข ตัวแปร คือ สัญลักษณ์ของข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงได้ มักเขียนอยู่ในรูปสัญลักษณ์ x, y เอกนาม ประกอบด้วย 2

รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก ศึกษาตัวบทและคุณค่า

หลังได้เรียนรู้ความเป็นมาและเรื่องย่อของบทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก กันไปแล้ว ในบทนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจในเรื่อง พร้อมทั้งจะได้ตามไปดูคุณค่าของเรื่องว่ามีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ศึกษาตัวบทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก     เหลือบเห็นสตรีวิไลลักษณ์       พิศพักตร์ผ่องเพียงแขไข

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1