วิธีเขียน คำขวัญ ให้ถูกใจคนอ่าน

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

น้อง ๆ หลายคนคงจะคุ้นเคยกับคำขวัญกันเป็นอย่างนี้ เพราะในวันสำคัญต่าง ๆ อย่างวันเด็ก นายกรัฐมนตรีของประเทศในแต่ละสมัยก็จะให้คำขวัญแก่เด็ก ๆ ทุกปี แต่ทราบหรือไม่คะว่า คำขวัญ นั้นคืออะไรกันแน่ มีจุดมุ่งหมาย ลักษณะ และวิธีการเขียนอย่างไร บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องราวทั้งหมดนั้นของคำขวัญ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

คำขวัญ คืออะไร

 

คำขวัญ คือ ข้อความที่เรียบเรียงขึ้นด้วยถ้อยคำที่กะทัดรัดแต่สละสลวยเพื่อจุดประสงค์ต่าง ๆ เช่น โน้มน้าวใจ เพื่อเป็นสิริมงคล หรือเนื่องในโอกาสสำคัญต่าง ๆ เช่น วันเด็ก วันแม่ วันพ่อ เป็นต้น

 

จุดมุ่งหมายของ คำขวัญ

 

1. เพื่อเตือนใจหรือให้ข้อคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้อ่าน เพื่อประพฤติในสิ่งที่ถูกต้อง

2. เพื่อโน้มน้าวใจให้ผู้อ่านสนใจ ตระหนักในคุณค่า และปฏิบัติตามในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งผู้เขียนเล็งเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อสังคม

3. เพื่อยึดถือเป็นแนวปฏิบัติทั้งของบุคคลและสถาบัน เช่น คำขวัญประจำจังหวัด คำขวัญประจำโรงเรียน เป็นต้น

 

ลักษณะของคำขวัญ

 

คำขวัญที่ดีจะต้องมีเนื้อหาสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายเฉพาะของสิ่งนั้น ๆ

 

คำขวัญ

 

1. โน้มน้าวใจให้ปฏิบัติตาม

ตัวอย่าง

ประหยัดน้ำคนละนิด ชุบชีวิตคนทั้งชาติ (ประกวดคำขวัญโครงการโรงเรียนประหยัดน้ำ ของการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2555)

 

2. โน้มน้าวใจให้ละเว้น

ตัวอย่าง

รักในหลวง ห่วงลูกหลาน ช่วยกันต้าน ยาเสพติด (คำขวัญต่อต้านยาเสพติดใน พ.ศ. 2542-2543)

 

3. แสดงข้อคิดหรือปรัชญาในการปฏิบัติงานและดำเนินชีวิต

ตัวอย่าง

ไม่ประพฤติชั่ว ไม่ทำลายผู้อื่น

มุ่งทำความดี เจริญด้วยศักดิ์ศรี

ตั้งจิตผ่องใส ผูกไมตรี

มีมารยาทต่อทุกคน

(คติประจำใจชาวนครศรีธรรมราช)

 

4. ข้อคิดในวันสำคัญ

ตัวอย่าง

เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส

(คำขวัญวันเด็ก ปี พ.ศ. 2545)

 

5. คำขวัญแสดงจุดเด่น

ตัวอย่าง

 

คำขวัญ

 

วิธีเขียนคำขวัญ

 

การเขียนคำขวัญ มีเขียน 3 แบบ

 

 

1. การเขียนแบบคำคล้องจอง คือ การเขียนที่ใช้สระเดียวกัน หรือคำสัมผัสเดียวกัน

 

2. การเขียนคำขวัญแบบร้อยกรอง คือ การเขียนคำตามแบบบังคับ ของคำประพันธ์ชนิดนั้นๆ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน

 

3. การเขียนคำขวัญแบบร้อยแก้ว คือการเขียนที่เรียบเรียงขึ้นอย่างไพเราะ โดยไม่มีข้อบังคับในเรื่องการสัมผัส เอก โท เขียนง่าย

 

หลักการเขียนคำขวัญ

 

1. รู้จุดมุ่งหมายของสิ่งที่ต้องการเขียน เช่น คำขวัญจังหวัด ก็จะดึงจุดที่เด่น ๆ ของจังหวัดนั้นออกมาเขียน

ตัวอย่าง

 

คำขวัญ

 

คำขวัญเชียงใหม่ ดึงจุดเด่นของจังหวัดเชียงใหม่ออกมาทั้งสถานที่สำคัญของจังหวัดอย่างดอยสุเทพ เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของล้านนาทำให้มีประเพณีที่หลากหลาย นอกจากนี้ด้วยความที่เป็นเมืองหนาวทำให้มีดอกไม้นานาพันธุ์ ส่วนนครพิงค์ (พิงค์ หรือ ระมิง แปลว่า แม่น้ำของชาวรามัญ) มาจากชื่อ แม่น้ำปิง ที่ไหลผ่านเมืองเชียงใหม่ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นจุดเด่นของเมืองเชียงใหม่ที่ได้ถูกนำมารวมกันอยู่เป็นคำขวัญประจำจังหวัด

 

2. หาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะเขียน ทั้งความรู้ด้านเนื้อหาและความรู้ด้านศิลปะในการเขียน อย่างเช่น กลวิธีถ่ายทอดความคิดตลอดจนการใช้ภาษาให้น่าสนใจ

 

3. เสริมความคิด เพื่อให้มีความชัดเจน ทำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาอย่างละเอียด

 

4. คิดถ้อยคำให้เหมาะสม เพื่อมาเรียงร้อยกันให้เป็นคำขวัญที่น่าสนใจตามจุดประสงค์ของการเขียน

 

การเขียนคำขวัญนั้นไม่ใช่เรื่องยาก เราไม่จำเป็นต้องแต่งยาว ๆ เหมือนบทร้อยกรอง เพียงแต่ต้องเลือกคำที่เหมาะสม กระชับ อ่านแล้วเข้าใจได้ทันทีว่าคำขวัญนี้ต้องการจะสื่อถึงเรื่องใด เป็นการเขียนที่เรียกได้ว่าง่ายมาก ๆ อีกประเภทหนึ่งเลยก็ว่าได้ สุดท้ายนี้น้อง ๆ อย่าลืมทบทวนบทเรียนโดยการชมคลิปการสอนของครูอุ้ม และอย่าลืมติดตามบทเรียนเรื่องการเขียนต่าง ๆ ในครั้งต่อไปกันด้วยนะคะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

อสมการ

อสมการ

จากบทความที่ผ่านมาได้พูดถึงเรื่องช่วงของจำนวนจริงไปแล้ว บทความนี้เราจะนำความรู้เกี่ยวกับช่วงของจำนวนจริงมาใช้ในการแก้อสมการเพื่อหาคำตอบกันนะคะ ถ้าน้องๆได้อ่านบทความนี้แล้วรับรองว่าพร้อมทำข้อสอบแน่นอนค่ะ

เทคนิคอ่านจับใจความ Skim and Scan

เทคนิคอ่านเร็วจับใจความในภาษาอังกฤษ (Skimming and Scanning)

เคยเป็นมั้ยว่าเจอบทความภาษาอังกฤษทีไร ปวดหัวทุกที ทั้งเยอะและยาว เมื่อไหร่จะอ่านจบกว่าจะตอบได้หมดเวลากันพอดี สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ โดยใช้วิธีการที่เรียกว่า อ่านแบบเร็ว (จ๊วด …) หรือ Speed Reading (ภาษาอีสาน จ๊วด แปลว่า เร็วเหมือนเสียงปล่อยจรวด) ถ้าเราสามารถอ่านได้เร็วเหมือนจรวดคงเป็นสิ่งที่ดีมาก ไปจ๊วดกันเลยกับเทคนิคอ่านเร็วทุกคน ก่อนอื่นจะต้องรู้จักกับประเภทของ Speed Reading กันก่อนค่ะ การอ่านแบบจับใจความสำคัญส่วนใหญ่แล้วเราจะเจอ

พระบรมราโชวาท จดหมายของร.5ที่เขียนถึงพระโอรส

พระบรมราโชวาท เป็นจดหมายร้อยแก้วที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เขียนให้พระโอรสทั้ง 4 พระองค์ก่อนจะไปศึกษาต่างประเทศ เหตุใดเนื้อความในจดหมายถึงกลายเป็นวรรณคดีอันทรงคุณค่าให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา บทเรียนในวันนี้จะพาไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเนื้อหาโดยรวมของเนื้อความเพื่อให้เข้าใจถึงคำสอนและข้อคิดจากพระบรมราโชวาทของพระมหากษัตริย์ในแง่มุมของพ่อสอนลูก จะเป็นอย่างไรไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมา     วรรณคดีเรื่องพระบรมราโชวาท เป็นคำสั่งสอนของรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีต่อพระราชโอรสทั้ง 4 พระองค์ที่กำลังจะเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ พระองค์จึงมีพระบรมราโชวาทเพื่อสั่งสอนและตักเตือนพระราชโอรส ซึ่งในการส่งไปศึกษาต่อในครั้งนี้ พระองค์ทรงเล็งเห็นว่า การศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาประชาชนและประเทศชาติ    

เรียนรู้ตัวบทเด่นของบทละครพูดคำฉันท์เรื่องดัง มัทนะพาธา

มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ที่ประพันธ์โดยรัชกาลที่ 6 ซึ่งพระองค์ทรงคิดขึ้นเองไม่ได้แปลหรือดัดแปลงมาจากเรื่องใด จากการศึกษาความเป็นมาในบทเรียนคราวที่แล้วทำให้เราได้รู้ที่มา ลักษณะคำประพันธ์รวมไปถึงเรื่องย่อของเรื่องกันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้เราจะศึกษาตัวบทเด่น ๆ ของเรื่องกันนะคะว่ามีบทใดที่ได้ชื่อว่าเป็นวรรคทอง ถอดความ พร้อมทั้งเรียนรู้คุณค่าของานประพันธ์ชิ้นนี้อีกด้วย ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ใน มัทนะพาธา     ถอดความ บทนี้เป็นคำพูดของฤษีกาละทรรศินที่กำลังอธิบายให้ศุภางค์ แม่ทัพของท้าวชัยเสนว่าเหตุใดพระฤษีจึงเห็นว่าการห้ามปรามความรักระหว่างพระชัยเสนกับมัทนาเป็นสิ่งไร้ประโยชน์ โดยบอกว่า

กาพย์พระไชยสุริยา เรียนรู้ความเป็นมาของแบบเรียนภาษาไทยอันทรงคุณค่า

กาพย์พระไชยสุริยา   กาพย์พระไชยสุริยาเป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่น้อง ๆ ทุกคนจะได้ศึกษากัน แต่รู้ไหมคะว่าคำกาพย์ที่แต่งโดยสุนทรภู่นี้เป็นกาพย์แบบไหน มีประวัติความเป็นมาอย่างไร เหตุใดถึงมาอยู่ในแบบเรียนวิชาภาษาไทยได้ วันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับประวัติความเป็นมาของกาพย์พระไชยสุริยา รวมถึงเรื่องลักษณะคำประพันธ์และสรุปเนื้อเรื่องโดยย่อ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมาของกาพย์พระไชยสุริยา     กาพย์พระไชยสุริยา เป็นวรรณคดีคำกาพย์ที่สุนทรภู่แต่ง มีความยาว 1 เล่มสมุดไทย นักวรรณคดีและนักวิชาการสันนิษฐานว่าสุนทรภู่แต่งขึ้นขณะบวชอยู่ที่วัดเทพธิดาระหว่าง

การพูดอภิปราย

การพูดอภิปรายอย่างง่าย ทำได้ไม่ยาก

การพูดอภิปราย เป็นแบบการพูดซึ่งมีลักษณะคล้ายการสนทนาทั่วไป แต่ก็มีจุดที่แตกต่างกันอยู่ น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าคืออะไร แล้วสรุปว่าการพูดอภิปรายคืออะไร มีหลักในการพูดอย่างไรได้บ้าง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและฝึกพูดให้คล่อง เพื่อที่เมื่อถึงเวลาอภิปราย จะได้ผ่านกันแบบฉลุยไร้กังวล ถ้าอยากเรียนรู้แล้วล่ะก็ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความหมายของการพูดอภิปราย   การพูดอภิปราย หมายถึง การพูดเพื่อแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1