ภาษาเขมรในภาษาไทย เรียนรู้ความเป็นมาและลักษณะภาษา

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ภาษาเขมร เป็นภาษาประจำชาติของประเทศกัมพูชา และยังเป็นภาษาที่คนไทยเชื้อสายเขมรใช้พูดกันอีกด้วย แต่นอกจากนั้นแล้ว น้อง ๆ ทราบไหมคะว่ายังมีคำที่มาจากภาษาเขมรปนอยู่ในชีวิตเรามากมายเลยทีเดียว เรียกได้ว่าถ้าหากภาษาบาลีสันสกฤตเป็นภาษาต่างประเทศที่ถูกหยิบยืมมาปรับใช้ในภาษาไทยมากที่สุดแล้ว ภาษาเขมรก็ถือว่าตามมาติด ๆ เลยทีเดียวค่ะ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แล้วคำไหนบ้างที่มาจากภาษาเขมร มีวิธีสังเกตอย่างไร ถ้าน้อง ๆ พร้อมแล้ว ไปเรียนรู้เรื่อง ภาษาเขมรในภาษาไทย พร้อมกันเลยค่ะ

 

จุดเริ่มต้นของภาษาเขมรในภาษาไทย

 

ภาษาเขมรในภาษาไทย

 

เนื่องจากเขตประเทศที่อยู่ติดกัน ทำให้ชนชาติเขมร หรือที่ในอดีตเรียกว่า ชนชาติขอม และชนชาติไทยมีการติดต่อสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนาน คำในภาษาเขมรที่นำมาใช้ในภาษาไทยมีมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย เพราะชนชาติเขมรเป็นชนชาติที่มีมาอยู่ก่อนแล้ว กระทั่งอาณาจักรขอมเสื่อมสลายลง คนไทยจึงรวมตัวกันเป็นปึกแผ่นแล้วประกาศเอกราช ตั้งสุโขทัยเป็นเมืองราชธานี ออกจากการปกครองโดยขอมอย่างสมบูรณ์ ผลจากการความสัมพันธ์ทั้งดีและร้ายระหว่างไทยกับเขมรที่มาตั้งแต่อดีตทำให้ไทยได้รับขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมและภาษามาด้วย ดังที่ปรากฏในศิลาจารึก ก็พบว่ามีคำจากภาษาเขมรอยู่มาก เช่น พนม จกอบ บำเรอ เป็นต้น นอกจากคำทั่วไปแล้ว ภาษาเขมรยังพบมากในคำราชาศัพท์ เนื่องจากเหตุที่ว่าเคยอยู่ใต้การปกครอง และประเทศไทยเองก็รับธรรมเนียมกษัตริย์คือสมมติเทพมาตามเขมร ทำให้คำราชาศัพท์หลาย ๆ คำ เป็นคำในภาษาเขมร

 

ประเภทภาษาเขมรที่นำมาใช้ภาษาไทย

 

ภาษาเขมรในภาษาไทย

 

แบ่งออกได้ 3 ประเภท

1. คำสามัญ หมายถึงคำที่ใช้พูดทั่วไป เช่น เกิด ตรง เดิน ฯลฯ

2. คำราชาศัพท์ มาจากคำราชาศัพท์เขมร

2.1 คำราชาศัพท์เขมรโดยตรง หมายถึง คำที่ยืมมาเป็นคำราชาศัพท์ของเขมรโดยตรง เช่น เสวย เสด็จ ทรง ทูล ถวาย ฯลฯ

2.2 คำราชาศัพท์เขมรโดยปริยาย หมายถึง คำยืมที่เป็นคำเขมรสามัญ แต่เติมคำว่าพระลงไปจึงกลายเป็นคำราชาศัพท์ของไทย เช่น พระเพลิง พระกลด พระขนน ฯลฯ

3. คำในวรรณคดีและศิลาจารึก เป็นคำโบราณที่ไม่ได้ใช้ในปัจจุบัน

 

ภาษาเขมรในภาษาไทย

 

 

สังเกตภาษาเขมรในภาษาไทย

1. สะกดด้วยพยัญชนะ จ ญ ร ล ส

ตัวอย่างคำ เผด็จ ผจญ ตรวจ ควาญ ตรัส บำเพ็ญ เสร็จ เจริญ สรรเสริญ

2. ออกเสียงแบบอักษรนำ อ่านคำแรกเป็นเสียงอะส่วนคำหนังให้ออกโดยใช้เสียง ห นำ

ตัวอย่างคำ อร่อย ต้องอ่านว่า อะ-หร่อย

3. เป็นศัพท์พยางค์เดียวที่ต้องแปลความหมาย

ตัวอย่างคำ

แข แปลว่า พระจันทร์

เฌอ แปลว่าต้นไม้

4. คำที่ขึ้นต้นด้วย กำ คำ ชำ ดำ ตำ ทำ สำ

ตัวอย่างคำ

สำราญ กำเนิด ตำนาน ทำเนียบ คำนับ

5. แผลงคำได้

คำภาษาเขมรที่แผลงมา

 

 

6. มีพยัญชนะประสม เช่น ผกา ขนม สนาม สนุก ถวาย เป็นต้น

 

คำภาษาเขมรในภาษาไทยที่ถูกเปลี่ยนความหมาย

 

คำภาษาเขมรในภาษาไทย มีทั้งความหมายเหมือนเดิม ความหมายแคบลง แต่ก็จะมีในกรณีที่ความหมายถูกเปลี่ยน

 

 

เป็นอย่างไรบ้างคะน้อง ๆ หลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะของภาษาเขมรที่ใช้ในภาษาไทยกันไปแล้ว จะเห็นได้เลยว่าสองภาษานี้มีความใกล้เคียงกันเพราะคนไทยรับเอาวัฒนธรรมเขมรมาตั้งแต่ยังไม่มีสมัยสุโขทัยเลยด้วยซ้ำ แต่ถึงทุกวันนี้จะไม่ใช่คนไทยที่ใช้ภาษาเขมรสื่อสารได้เหมือนคนในอดีต แต่คำศัพท์บางคำที่ยังคงหลงเหลือให้เราได้เห็นและได้ใช้ในชีวิตประจำวันก็ยังมีเยอะอยู่มากทีเดียวนะคะ ถ้าน้อง ๆ หมั่นสังเกตและทำแบบฝึกหัดทบทวน จะต้องมองปราดเดียวแล้วแยกออกแน่นอนว่าคำไหนคือคำที่มาจากภาษาเขมร สุดท้ายนี้ก่อนจากกัน อย่าลืมไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มนะคะ ครูอุ้มได้อธิบายเกี่ยวกับคำแผลงไว้แล้ว น้อง ๆ จะได้ฝึกทำโจทย์และฝึกคิดไปในตัว ไปชมกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

อสมการ

อสมการ

จากบทความที่ผ่านมาได้พูดถึงเรื่องช่วงของจำนวนจริงไปแล้ว บทความนี้เราจะนำความรู้เกี่ยวกับช่วงของจำนวนจริงมาใช้ในการแก้อสมการเพื่อหาคำตอบกันนะคะ ถ้าน้องๆได้อ่านบทความนี้แล้วรับรองว่าพร้อมทำข้อสอบแน่นอนค่ะ

การใช้ Auxiliary Verb: can, can’t

การใช้ Auxiliary Verb: can, can’t  บทนำแสนแซ่บ สวัสดีครับพ่อแม่พี่น้องสุดปังทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันเรื่องของคำกริยาช่วยที่ทำให้เรารู้ว่าคนนั้น ๆ สิ่งนั้น หรืออันนั้นมีความสามารถในการทำอะไรได้บ้างกันดีกว่า  ในภาษาไทยเอง เวลาเราจะอธิบายว่าเรามีความสามารถอะไรเราก็มักจะพูดว่า “เรา… ทำได้” หรือ “เราสามารถ….ทำได้” โดยภาษาอังกฤษสุดที่รักของเราเองก็มีอะไรแบบนั้นเหมือนกัน โดยเค้าใช้คำว่า Can มาช่วย โดยเราจะเรียกคำกริยาช่วยเหลือนี้ว่า Auxiliary verb หรือ

Vtodo+Present Simple Tense

การใช้ V. to do ในรูปแบบของ Present Simple Tense

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้ V. to do ในรูปแบบของ Present Simple Tense หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ Let’s go! V. to do คืออะไร   ปรกติแล้วคำว่า do นั้นแปลว่าทำ แต่เมื่ออยู่ในประโยคแล้ว V. to do

โคลงอิศปปกรณำ

โคลงอิศปปกรณำ วรรณคดีร้อยแก้วที่แปลมาจากนิทานตะวันตก

ในบทเรียนก่อนหน้า น้อง ๆ ได้เรียนรู้เรื่องโคลงโสฬสไตรยางค์กับโคลงนฤทุมนาการกันไปแล้ว แต่โคลงสุภาษิตที่น้อง ๆ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จะได้เรียนไม่ได้หมดแค่นั้นนะคะ เพราะยังมีอีกหนึ่งโคลงสุภาษิตที่สำคัญไม่แพ้กันเลยคือ โคลงอิศปปกรณำ นั่นเองค่ะ โคลงสุภาษิตที่ชื่อดูอ่านยากเรื่องนี้จะมีที่มาอย่างไร สอนเรื่องอะไรเราบ้าง มีเนื้อหาอย่างไร ให้ข้อคิดแบบไหน ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ความหมายของ โคลงอิศปปกรณำ     โคลงอิศปปกรณำ อ่านว่า โคลง-อิด-สะ-ปะ-ปะ-กะ-ระ-นำ

การวัดเวลา

การวัดเวลา

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้ความเป็นมาของการวัดเวลาและหน่วยในการวัดเวลาที่มีความหลากหลาย

หลักการใช้คำราชาศัพท์ รู้ไว้ไม่สับสน

เมื่อได้รู้ความหมาย ที่มาและความสำคัญของคำราชาศัพท์ รวมถึงคำศัพท์หมวดร่างกายไปแล้ว น้อง ๆ ก็คงจะสงสัยใช่ไหมคะ ว่าหลักการใช้คำราชาศัพท์ มีอะไรบ้าง และใช้อย่างไร ต้องใช้แบบไหนถึงจะถูก บทเรียนในวันนี้เราจะมาเรียนรู้หลักการใช้คำราชาศัพท์ที่ถูกต้องกันค่ะ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันแลย   หลักการใช้คำราชาศัพท์ กับราชวงศ์ไทย     ลำดับพระอิสริยศักดิ์ของพระบรมราชวงศ์สามารถลำดับอย่างคร่าว ๆ ได้ดังนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระราชินี,

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1