ภาษาเขมรในภาษาไทย เรียนรู้ความเป็นมาและลักษณะภาษา

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ภาษาเขมร เป็นภาษาประจำชาติของประเทศกัมพูชา และยังเป็นภาษาที่คนไทยเชื้อสายเขมรใช้พูดกันอีกด้วย แต่นอกจากนั้นแล้ว น้อง ๆ ทราบไหมคะว่ายังมีคำที่มาจากภาษาเขมรปนอยู่ในชีวิตเรามากมายเลยทีเดียว เรียกได้ว่าถ้าหากภาษาบาลีสันสกฤตเป็นภาษาต่างประเทศที่ถูกหยิบยืมมาปรับใช้ในภาษาไทยมากที่สุดแล้ว ภาษาเขมรก็ถือว่าตามมาติด ๆ เลยทีเดียวค่ะ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แล้วคำไหนบ้างที่มาจากภาษาเขมร มีวิธีสังเกตอย่างไร ถ้าน้อง ๆ พร้อมแล้ว ไปเรียนรู้เรื่อง ภาษาเขมรในภาษาไทย พร้อมกันเลยค่ะ

 

จุดเริ่มต้นของภาษาเขมรในภาษาไทย

 

ภาษาเขมรในภาษาไทย

 

เนื่องจากเขตประเทศที่อยู่ติดกัน ทำให้ชนชาติเขมร หรือที่ในอดีตเรียกว่า ชนชาติขอม และชนชาติไทยมีการติดต่อสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนาน คำในภาษาเขมรที่นำมาใช้ในภาษาไทยมีมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย เพราะชนชาติเขมรเป็นชนชาติที่มีมาอยู่ก่อนแล้ว กระทั่งอาณาจักรขอมเสื่อมสลายลง คนไทยจึงรวมตัวกันเป็นปึกแผ่นแล้วประกาศเอกราช ตั้งสุโขทัยเป็นเมืองราชธานี ออกจากการปกครองโดยขอมอย่างสมบูรณ์ ผลจากการความสัมพันธ์ทั้งดีและร้ายระหว่างไทยกับเขมรที่มาตั้งแต่อดีตทำให้ไทยได้รับขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมและภาษามาด้วย ดังที่ปรากฏในศิลาจารึก ก็พบว่ามีคำจากภาษาเขมรอยู่มาก เช่น พนม จกอบ บำเรอ เป็นต้น นอกจากคำทั่วไปแล้ว ภาษาเขมรยังพบมากในคำราชาศัพท์ เนื่องจากเหตุที่ว่าเคยอยู่ใต้การปกครอง และประเทศไทยเองก็รับธรรมเนียมกษัตริย์คือสมมติเทพมาตามเขมร ทำให้คำราชาศัพท์หลาย ๆ คำ เป็นคำในภาษาเขมร

 

ประเภทภาษาเขมรที่นำมาใช้ภาษาไทย

 

ภาษาเขมรในภาษาไทย

 

แบ่งออกได้ 3 ประเภท

1. คำสามัญ หมายถึงคำที่ใช้พูดทั่วไป เช่น เกิด ตรง เดิน ฯลฯ

2. คำราชาศัพท์ มาจากคำราชาศัพท์เขมร

2.1 คำราชาศัพท์เขมรโดยตรง หมายถึง คำที่ยืมมาเป็นคำราชาศัพท์ของเขมรโดยตรง เช่น เสวย เสด็จ ทรง ทูล ถวาย ฯลฯ

2.2 คำราชาศัพท์เขมรโดยปริยาย หมายถึง คำยืมที่เป็นคำเขมรสามัญ แต่เติมคำว่าพระลงไปจึงกลายเป็นคำราชาศัพท์ของไทย เช่น พระเพลิง พระกลด พระขนน ฯลฯ

3. คำในวรรณคดีและศิลาจารึก เป็นคำโบราณที่ไม่ได้ใช้ในปัจจุบัน

 

ภาษาเขมรในภาษาไทย

 

 

สังเกตภาษาเขมรในภาษาไทย

1. สะกดด้วยพยัญชนะ จ ญ ร ล ส

ตัวอย่างคำ เผด็จ ผจญ ตรวจ ควาญ ตรัส บำเพ็ญ เสร็จ เจริญ สรรเสริญ

2. ออกเสียงแบบอักษรนำ อ่านคำแรกเป็นเสียงอะส่วนคำหนังให้ออกโดยใช้เสียง ห นำ

ตัวอย่างคำ อร่อย ต้องอ่านว่า อะ-หร่อย

3. เป็นศัพท์พยางค์เดียวที่ต้องแปลความหมาย

ตัวอย่างคำ

แข แปลว่า พระจันทร์

เฌอ แปลว่าต้นไม้

4. คำที่ขึ้นต้นด้วย กำ คำ ชำ ดำ ตำ ทำ สำ

ตัวอย่างคำ

สำราญ กำเนิด ตำนาน ทำเนียบ คำนับ

5. แผลงคำได้

คำภาษาเขมรที่แผลงมา

 

 

6. มีพยัญชนะประสม เช่น ผกา ขนม สนาม สนุก ถวาย เป็นต้น

 

คำภาษาเขมรในภาษาไทยที่ถูกเปลี่ยนความหมาย

 

คำภาษาเขมรในภาษาไทย มีทั้งความหมายเหมือนเดิม ความหมายแคบลง แต่ก็จะมีในกรณีที่ความหมายถูกเปลี่ยน

 

 

เป็นอย่างไรบ้างคะน้อง ๆ หลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะของภาษาเขมรที่ใช้ในภาษาไทยกันไปแล้ว จะเห็นได้เลยว่าสองภาษานี้มีความใกล้เคียงกันเพราะคนไทยรับเอาวัฒนธรรมเขมรมาตั้งแต่ยังไม่มีสมัยสุโขทัยเลยด้วยซ้ำ แต่ถึงทุกวันนี้จะไม่ใช่คนไทยที่ใช้ภาษาเขมรสื่อสารได้เหมือนคนในอดีต แต่คำศัพท์บางคำที่ยังคงหลงเหลือให้เราได้เห็นและได้ใช้ในชีวิตประจำวันก็ยังมีเยอะอยู่มากทีเดียวนะคะ ถ้าน้อง ๆ หมั่นสังเกตและทำแบบฝึกหัดทบทวน จะต้องมองปราดเดียวแล้วแยกออกแน่นอนว่าคำไหนคือคำที่มาจากภาษาเขมร สุดท้ายนี้ก่อนจากกัน อย่าลืมไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มนะคะ ครูอุ้มได้อธิบายเกี่ยวกับคำแผลงไว้แล้ว น้อง ๆ จะได้ฝึกทำโจทย์และฝึกคิดไปในตัว ไปชมกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

สำนวนไทยที่เราควรรู้ และตัวอย่างการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

น้อง ๆ เคยเป็นกันหรือเปล่าคะ เวลาที่อยากจะพูดอะไรสักอย่างแต่มันช่างยาวเหลือเกิน กว่าจะพูดออกมาหมดนอกจากคนฟังจะเบื่อแล้วยังอาจทำให้เขาไม่สนใจคำพูดของเราเลยก็เป็นไปได้ เพราะอย่างนั้นแหละค่ะในภาษาไทยของเราจึงต้องมีสิ่งที่เรียกว่าสำนวนขึ้นมาเพื่อใช้บอกเล่าเรื่องราวที่ถูกกลั่นกรองออกมาจนได้คำที่สละสลวย รวมใจความยาว ๆ ให้สั้นลง ทำให้เราไม่ต้องพูดอะไรให้ยืดยาวอีกต่อไป บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทบทวนความรู้เรื่อง สำนวนไทย รวมถึงตัวอย่างสำนวนน่ารู้ในชีวิตประจำวันเพิ่มเติมด้วยค่ะ จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย   ความหมายและลักษณะของ สำนวนไทย   สำนวน หมายถึง ถ้อยคำหรือสำนวนพูดหรือเขียนที่มีความหมายไม่ตรงกับรากศัพท์หรือตรงไปตรงมาตามพจนานุกรม แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมายเป็นอย่างอื่น

กลอนสุภาพ แต่งอย่างไรให้ไพเราะ

กลอนสุภาพ เป็นคำประพันธ์ที่หลาย ๆ คนคงจะรู้จักกันดีเพราะพบเจอในวรรณคดีได้ง่าย ใช้กันอย่างแผ่หลาย บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนมาสวมบทนักกวี ฝึกแต่งกลอนสุภาพกันอย่างง่าย ๆ จะมีวิธีและรูปฉันทลักษณ์อย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ   ความรู้ทั่วไปเที่ยวกับกลอนสุภาพ   กลอนสุภาพ หมายถึง กลอนเพลงยาว บางครั้งเรียก กลอนแปด กลอนตลาด กลอนสุภาพ เป็นกลอนประเภทหนึ่งที่เรียบเรียงเข้าเป็นคณะ ใช้ถ้อยคำและทำนองเรียบ ๆ

who what where

Who What Where กับ Verb to be

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกๆ คนนะครับ วันนี้เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ Who/What/Where ร่วมกับ Verb to be กันครับ ไปดูกันเลย

เรียนรู้ตัวบทเด่นของบทละครพูดคำฉันท์เรื่องดัง มัทนะพาธา

มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ที่ประพันธ์โดยรัชกาลที่ 6 ซึ่งพระองค์ทรงคิดขึ้นเองไม่ได้แปลหรือดัดแปลงมาจากเรื่องใด จากการศึกษาความเป็นมาในบทเรียนคราวที่แล้วทำให้เราได้รู้ที่มา ลักษณะคำประพันธ์รวมไปถึงเรื่องย่อของเรื่องกันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้เราจะศึกษาตัวบทเด่น ๆ ของเรื่องกันนะคะว่ามีบทใดที่ได้ชื่อว่าเป็นวรรคทอง ถอดความ พร้อมทั้งเรียนรู้คุณค่าของานประพันธ์ชิ้นนี้อีกด้วย ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ใน มัทนะพาธา     ถอดความ บทนี้เป็นคำพูดของฤษีกาละทรรศินที่กำลังอธิบายให้ศุภางค์ แม่ทัพของท้าวชัยเสนว่าเหตุใดพระฤษีจึงเห็นว่าการห้ามปรามความรักระหว่างพระชัยเสนกับมัทนาเป็นสิ่งไร้ประโยชน์ โดยบอกว่า

เมทริกซ์

เมทริกซ์ และเมทริกซ์สลับเปลี่ยน

เมทริกซ์ เมทริกซ์ (Matrix) คือตารางสี่เหลี่ยมที่บรรจุตัวเลขหรือตัวแปร สามารถนำมาบวก ลบ คูณกันได้ เราสามารถใช้เมทริกซ์ในการการแก้ระบบสมการเชิงเส้นได้ซึ่งจะสะดวกกว่าการแก้แบบกำจัดตัวแปรสำหรับสมการที่มากกว่า 2 ตัวแปร ตัวอย่างการเขียนเมทริกซ์ เรียกว่าเมทริกซ์มิติ 3×3 ซึ่ง 3 ตัวหน้าคือ จำนวนแถว 3 ตัวหลังคือ จำนวนหลัก ซึ่งเราจะเรียกแถวในแนวนอนว่า แถว และเรียกแถวในแนวตั้งว่า หลัก และจากเมทริกซ์ข้างต้นจะได้ว่า

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1