ที่มาและเรื่องย่อของ มหาชาติชาดก กัณฑ์มัทรี

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

มหาชาติชาดก หรือมหาเวสสันดรชาดก เป็นชาดกที่ได้ชื่อว่าเป็น มหาชาติ เพราะเป็นชาติสุดท้ายก่อนจะมาจุติเป็นพระพุทธเจ้า จากบทเรียนที่เคยเรียนรู้กันตอน ม.4 น้อง ๆ คงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่ามหาชาตินี้มีด้วยกันทั้งหมด 13 กัณฑ์ โดยเรื่องที่เราจะได้เรียนกันเจาะลึกกันไปอีกในวันนี้ คือ กัณฑ์มัทรี นั่นเองค่ะ ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่าเป็นอย่างไร ก็ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ความเป็นมา

 

มหาชาติชาดก

 

มหาชาติชาดกเป็นเรื่องราวในอดีตกาลของพระพุทธเจ้าที่เล่าให้กับเหล่าประยูรญาติฟังเมื่อครั้งเสด็จกลับเมืองและได้แสดงอภินิหาร ซึ่งขณะนั้นเกิดฝนโบกขรพรรษ พระองค์จึงเล่าว่าเคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นในอดีตกาล โดยมหาชาติชาดกนี้มีทั้งหมด 13 กัณฑ์ ในประเทศไทยมีการแต่งมากมายหลายสำนวน แต่นักปราชญ์ชาวไทยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นประโยชน์แก่การศึกษาและเพื่อให้เทศน์ภายในวันเดียวจบ จึงคัดเลือกสำนวนของมหาชาติที่ดีที่สุดมารวบรวมไว้ โดยมหาเวสสันดร ในตอนกัณฑ์มัทรีนี้ มีผู้แต่งคือ เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

แต่งด้วยคำประพันธ์ร่ายยาว ขึ้นต้นกัณฑ์ด้วย จุณณียบท เป็นคาถาบาลีสั้น ๆ สรุปเนื้อเรื่องของกัณฑ์นั้น ๆ

 

มหาชาติชาดก

 

มีลักษณะบังคับดังนี้

1. คณะ – ร่ายยาวบทหนึ่งจะมีกี่วรรคก็ได้ ส่วนมากมี 5 วรรคขึ้นไป คำในวรรคหนึ่ง ๆ มีตั้งแต่ 6 – 10 คำ หรือบางทีมากกว่านั้น

2. สัมผัส – ร่ายยาวมีบังคับเฉพาะสัมผัสระหว่างวรรค ให้คำสุดท้ายของวรรคต้นสัมผัสคำใดคำหนึ่งของวรรคต่อ ๆ ไป โดยไม่กำหนดว่าจะต้องเป็นคำใด แต่ไม่ควรให้อยู่ใกล้ชิดกับคำสุดท้าย

3. เอกโทและคำสร้อย – ร่ายยาวไม่มีการบังคับเอกโท และคำสร้อยอย่างร่ายสุภาพ ส่วนมากมีคำสร้อยเมื่อจบตอน เช่น นั้นแล นี้แล เป็นต้น

 

 

เรื่องย่อ มหาชาติชาดก กัณฑ์มัทรี

 

จากการที่ชูชกได้ไปขอกัณหา ชาลีกับพระเวสสันดรแล้วพระองค์ทรงยกให้ เมื่อชูชกพาสองกุมารไปแล้ว พระอินทร์จึงเห็นว่าถ้าพระนางมักทรีกลับมาแต่กลางวันจะตามไปทัน และจะไปขัดการให้ทานของพระเวสสันดร จึงให้เทวดา 3 องค์ แปลงกายเป็น เสือโคร่ง เสือเหลือง และราชสีห์ไปขวางทางไว้ พอพระนางมัทรีกลับมาก็ไม่เจอกับพระกุมารทั้ง 2 จึงไปถามพระเวสสันดร แต่ไม่ได้คำตอบ เนื่องจากพระเวสสันดรเห็นนางกลับมาเหนื่อย ๆ กลัวว่าจะเสียใจจนถึงแก่ชีวิต จึงบ่ายเบี่ยง ทำทีเป็นหึงหวงที่นางกลับช้า หาว่าไปมีชู้อยู่ในป่าและไม่ยอมเจรจากับนางอีกเลย นางมัทรีจึงออกตามหาพระกุมารตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้า ด้วยความอ่อนเพลียจึงสลบไป พระเวสสันดรมาเห็นก็ตกพระทัย คิดว่านางสิ้นใจ จึงเสียใจเป็นอย่างมาก แต่พอได้สติก็ทำให้รู้ว่านางแค่สลบไป จึงยกศีรษะของนางมาวางบนตักแล้วเอาน้ำรดที่หน้าผาก เมื่อพระนางฟื้นก็ถามถึงพระกุมาร พระเวสสันดรจึงบอกความจริง และขอให้ทานช่วยอนุโมทนาทาน

 

สรุปเนื้อเรื่อง

 

อานิสงส์ผู้ที่บูชา มหาชาติชาดก กัณฑ์มัทรี

 

ผู้บูชากัณฑ์มัทรี เกิดในโลกหน้าจะเป็นผู้มั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ เป็นผู้มีอายุยืนยาว มีรูปโฉมงดงามกว่าคนทั้งหลาย และจะได้ไปในที่ที่มีแต่ความสุขทุกแห่งหน

 

เรื่องราวของมหาชาติ ในกัณฑ์มัทรีนี้ถือเป็นตอนหนึ่งที่สำคัญของเรื่อง เพราะทำให้ได้เห็นความรักลูกของนางมัทรีและการปล่อยวาง สอดแทรกข้อคิดไว้ในตอนได้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งน้อง ๆ จะได้เรียนรู้ข้อคิดรวมไปถึงตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจในบทต่อไป แต่สุดท้ายนี้ก็อย่าลืมที่ทบทวนบทเรียนของวันนี้นะคะ โดยน้อง ๆ สามารถรับฟังคลิปการสอนของครูอุ้มไปพลางทำแบบฝึกหัดไปพลางได้เลยค่ะ จะได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อเรื่องมากขึ้น

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ป6การใช้ love, like, enjoy, hate ในการเเต่งประโยค

การใช้ love, like, enjoy, hate ในการเเต่งประโยค

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้  love, like, enjoy, hate ในการเเต่งประโยค หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ Let’s go!   โครงสร้าง: In my free time/ In my spare time,…     In my

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ประเมินคุณค่าและสรุปความรู้

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร   โคลงภาพพระราชพงศาวดาร เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาเกี่ยวโยงกับประวัติศาสตร์ จากบทเรียนครั้งก่อนที่เราได้ศึกษาที่มาและเนื้อเรื่องอย่างคร่าว ๆ กันไปแล้ว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ย้อนอดีตกลับไปอีกครั้งเพื่อศึกษาคุณค่าด้านต่าง ๆ ในโคลงภาพพระราชพงศาวดาร ไปเรียนรู้คุณค่าของวรรณคดีเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ตอน พระสุริโยทัยขาดคอช้าง     คุณค่าด้านเนื้อหา เนื้อหาในตอนพระสุริโยทัยขาดคอช้าง กล่าวถึงตอนที่พระสุริโยทัยแต่งตัวเป็นชายแล้วออกไปรบกับกองทัพของพระเจ้าบุเรนอง และตัดสินใจเข้าไปช่วยพระมหาจักรพรรดิหรือพระสวามีในตอนที่กำลังเสียทีให้กับพระเจ้าแปรจนสิ้นพระชนม์คาคอช้าง

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ ทำได้โดยนำตัวเลขแทนค่าตัวแปร แล้วจะได้กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปรเป็นกราฟเส้นตรง สังเกตกราฟที่ได้ว่าตัดกัน ขนานกัน หรือทับกัน ลักษณะกราฟจะบอกคำตอบของระบบสมการ ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆสามารถศึกษาเรื่อง กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ⇐⇐ สมการเชิงเส้นสองตัวแปร  คือ สมการที่มีตัวแปรสองตัว  เลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็น 1 และไม่มีการคูณกันของตัวแปร  เช่น 2x +

wh-questions + was, were

การใช้ Wh-questions  with  was, were

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง “การใช้ Wh-questions  with  was, were (Verb to be in the past)” ไปลุยกันเลยจร้า Sit back, relax, and enjoy the lesson! —นั่งพิงหลังชิวๆ ทำใจสบายๆ แล้วไปสนุกกับบทเรียนกันจร้า—  

สถิติ (ค่ากลางของข้อมูล/การกระจายของข้อมูล)

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง ค่ากลางของข้อมูลและการกระจายของข้อมูล ซึ่งค่ากลางของข้อมูลจะประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน และฐานนิยม ส่วนการวัดการกระจายของข้อมูลจะศึกษาในเรื่องการหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งน้องๆสามารถทบทวน การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ ได้ที่  ⇒⇒  การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ ⇐⇐ หมายเหตุ ค่าเฉลี่ยในทางคณิตศาสตร์มีหลายชนิด แต่ที่นิยมใช้คือค่าเฉลี่ยเลขคณิต การวัดค่ากลางของข้อมูล  เป็นการหาค่ากลางมาเป็นตัวแทนของข้อมูลแต่ละชุด ซึ่งมีวิธีการหาได้หลายวิธีที่นิยมกัน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน ฐานนิยม ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic

ความน่าเชื่อถือของสื่อที่ฟัง

ฟังอย่างไรให้ได้สาระประโยชน์ดี ๆ ด้วยวิธีวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากสื่อที่ฟัง

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนยินดีต้อนรับเข้าสู่เนื้อหาในบทเรียนภาษาไทยกันอีกครั้ง สำหรับบทเรียนในวันนี้ต้องบอกว่ามีประโยชน์มาก ๆ และเราควรจะต้องศึกษาไว้เพื่อนำไปใช้ในการฟัง หรือคัดกรองสิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่เรารับฟังมาให้มากขึ้น ซึ่งเราจะพาน้อง ๆ มาฝึกฝนการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากสื่อที่ฟังกัน เพราะในปัจจุบันเราสามารถรับสารได้หลากหลายรูปแบบมีทั้งประโยชน์ และโทษ ดังนั้น เราจึงต้องมีทักษะนี้ติดตัวไว้แยกแยะว่าสื่อนั้นมีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ถ้าน้อง ๆ พร้อมแล้วเรามาเริ่มเรียนกันเลย   ความหมายของความน่าเชื่อถือ และสื่อ ความน่าเชื่อถือ หมายถึง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1