ที่มาและเรื่องย่อของวรรณคดียิ่งใหญ่ตลอดกาล รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

นับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีผู้นำรามเกียรติ์มาแต่งมากมายหลายฉบับ ด้วยเนื้อหาที่เข้มข้นและสนุกเกินบรรยาย แต่ฉบับที่สมบูรณ์ที่สุดคือฉบับที่ประพันธ์โดยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือก็คือรัชกาลที่ 1 นั่นเองค่ะ รามเกียรติ์ฉบับนี้มีความพิเศษและมีจุดประสงค์ที่ต่างจากฉบับก่อนหน้า บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึงพระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 1 ผ่านความเป็นมาของวรรณคดีรวมไปถึงเรื่องย่อในตอนสำคัญอย่างตอน ศึกไมยราพ กันค่ะ ไปดูพร้อมกันเลยค่ะว่า รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ จะสนุกแค่ไหน

 

ประวัติความเป็นมา

 

 

รามเกียรติ์ มาจากวรรณคดีของอินเดียที่มีอายุเก่าแก่กว่า 2,000 ปี ส่วนการเข้ามาของวรรณคดีในประเทศไทย สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยในสมัยนั้นมักนำมาแต่งเป็นบทพากย์โขน พากย์หนัง และบทละครซึ่งใช้ในการแสดงละครรำ แต่รามเกียรติ์ที่มีเนื้อหาสมบูรณ์ที่สุด คือรามเกียรติ์ที่เป็นผลงานพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือ รัชกาลที่ 1 จุดประสงค์ในการประพันธ์เรื่องนี้มาจากการที่พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะฟื้นฟูและรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ตั้งแต่สมัยอยุธยาและใช้เล่นละครในพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ระหว่าง พ.ศ. 2328 – 2329

 

รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ

 

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เป็นบทละครใน มีคนแสดงเป็นผู้หญิงทั้งหมด คำประพันธ์ที่ใช้แต่งเป็นกลอนบทละคร

 

 

รามกียรติ์ เป็นเรื่องราวของพระนารายณ์ที่อวตารลงมาเป็นพระราม อภิเษกสมรสกับนางสีดา ต่อมานางสีดาถูกทศกัณฐ์ลักพาตัวมาไว้ที่กรุงลงกา พระรามออกตามหานางสีดา โดยระหว่างนั้นก็ได้พบทหารที่มีฝีมือมากมายและมีหนุมานเป็นทหารเอก สำหรับตอนที่เราจะได้เรียนรู้กันในวันนี้คือ ตอน ศึกไมยราพ ซึ่งเป็นอีกตอนหนึ่งที่สำคัญและสนุกเข้มข้นที่สุด เราไปดูเรื่องย่อของตอนนี้กันค่ะ

 

เรื่องย่อ รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ

 

ไมยราพได้รับบัญชาจากทศกัณฐ์ให้มาช่วยรบกับพระราม แต่ก่อนไปทำศึก ไมยราพฝันเป็นลางว่ามีดาวดวงน้อยเปล่งรัศมีมาบดบังดวงจันทร์ โหรทำนายว่าพระญาติ (ไวยวิก) จะได้ขึ้นครองเมืองแทน ไมยราพจึงหาทางป้องกันมิให้เป็นไปตามคำทำนายโดยการจับไวยวิกและนางพิรากวนผู้เป็นมารดาของไวยวิกและเป็นพี่สาวของไมยราพ ไปขังไว้ ฝ่ายพระรามก็ฝันว่าราหูมาบดบังพระอาทิตย์ พิเภกทำนายว่าพระรามจะถูกลักพาตัวไปแต่จะรอดกลับมาได้ เมื่อใดที่พระอาทิตย์ขึ้น พระรามจะพ้นเคราะห์ หนุมานจึงหาทางป้องกันไม่ให้พระรามถูกลักพาตัวโดยการเนรมิตกายให้ใหญ่แล้วอมพลับพลาที่ประทับของพระรามเอาไว้

 

รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ

 

ไมยราพซึ่งปลอมตัวเป็นพลทหารลิงแอบล่วงรูปความลับนี้จึงเหาะขึ้นไปบนอากาศแล้วทำให้เกิดความสว่าง เหล่าทหารที่คิดว่าเช้าแล้วก็เข้าใจว่าพระรามพ้นเคราะห์ จึงละเลยต่อหน้าที่ ไมยราพจึงได้โอกาสเข้าไปเป่ายาสะกดให้ทุกคนหลับใหลแล้วก็แบกพระรามแทรกแผ่นดินกลับไปเมืองบาดาลและสั่งให้ทหารนำพระรามไปขังไว้ในกรงเหล็กที่ดงตาลท้ายเมืองบาดาลและสั่งให้นางพิรากวนตักน้ำใส่กระทะใหญ่เพื่อเตรียมต้มพระรามกับไวยวิกในวันรุ่งขึ้น เมื่อหนุมานรู้เรื่องก็รีบตามมาช่วยที่เมืองบาดาล ระหว่างทางหนุมานได้พบกับด่านต่าง ๆ กระทั่งเจอกับมัจฉานุ ผู้เป็นลูก จึงขอให้ช่วยบอกทางไปยังเมืองบาดาลให้ หนุมานไปถึงเมืองบาดาลและพบกับนางพิรากวนที่ออกมาตักน้ำตามคำสั่งของไมยราพ จึงขอให้นางพิรากวนพาเข้าเมืองบาดาลโดยการแปลงเป็นใบบัวติดสไบนางเข้าไป หนุมานหาพระรามจนพบแล้วพาตัวออกมาแล้วย้อนกลับไปสู้กับไมยราพจนได้รับชัยชนะในที่สุด

 

 

รามเกียรติ์เป็นวรรณคดีสำคัญของไทย มีชื่อเสียงและโด่งดัง ถูกนำไปสร้างทั้งการ์ตูนและภาพยนตร์ ในตอนศึกไมยราพนี้เป็นอีกตอนหนึ่งที่มีความสนุกมากที่สุด เพราะนอกจากจะได้เห็นความจงรักภักดีของหนุมานที่มีต่อพระรามแล้ว ยังได้เห็นความรักระหว่างพ่อลูกที่ไม่เคยเจอกันมาก่อน รวมไปถึงความสามารถของหนุมานที่สามารถเอาชนะยักษ์อย่างไมยราพได้ ใบบทต่อไปเราจะได้ศึกษาเรื่องนี้กันต่อในส่วนของตัวบทที่เด่น ๆ และคุณค่าในเรื่อง แต่ก่อนไป น้อง ๆ อย่าลืมทบทวนความรู้โดยการชมคลิปการสอนของครูอุ้มกันด้วยนะคะ

 

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ที่มาของวรรณคดีเชิงสารคดี

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นวรรณคดีที่สำคัญในฐานะสารคดี เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปหาคำตอบของวรรณคดีเรื่องดังกล่าวว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร ใครเป็นผู้แต่ง พร้อมเรียนรู้ความหมายของกาพย์ห่อโคลงและเนื้อเรื่องโดยสรุปของเรื่องด้วย ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของ กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง     กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงเป็นบทชมธรรมชาติที่แต่งเพื่อความเพลิดเพลินระหว่างการเดินทางของกระบวนเสด็จทางสถลมารคจากท่าเจ้าสนุกถึงธารทองแดง ซึ่งธารทองแดงในที่นี้ เป็นชื่อลำน้ำที่เขาพระพุทธบาท ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งของพระตำหนักธารเกษมที่มีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงพระนิพนธ์วรรณคดีเรื่องนี้ขึ้นเมื่อครั้งตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไปนมัสการพระพุทธบาท ที่จังหวัดสระบุรี   ประวัติเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร   เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร

ขัตติยพันธกรณี อานุภาพของบทประพันธ์ที่พลิกเหตุร้ายให้กลายเป็นดี

ขัตติยพันธกรณี เป็นเรื่องราวการโต้ตอบด้วยบทประพันธ์ระหว่างรัชกาลที่ 5 ที่กำลังอยู่ในท้อแท้และประชวรอย่างหนักและกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่เขียนจดหมายตอบกลับมาเพื่อให้กำลังใจ จากบทเรียนคราวที่แล้ว น้อง ๆ ก็คงจะรู้ถึงสาเหตุแล้วว่าความทุกข์ใจของรัชกาลที่ 5 นั้นมาจากข้อพิพาทเรื่องดินแดนกับฝรั่งเศส บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับตัวบทกันบ้าง เพื่อถอดคำประพันธ์และศึกษาคุณค่าของวรรณคดีเรื่องนี้กันค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในขัตติยพันธกรณี     ถอดความ เพราะเกิดปัญหาเป็นข้อพิพาทเรื่องดินแดนกับฝรั่งเศสทำให้รัชกาลที่ 5 ทรงประชวรมาเป็นเวลานาน เพราะความไม่สบายกายและไม่สบายใจนี้เองที่ทำให้พระองค์มีความคิดจะเสด็จสวรรคต

วิธีพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังและดูอย่างง่ายๆ

การพูดสรุปความสำคัญอย่างไร ? น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยประสบปัญหาเวลาที่ต้องออกไปนำเสนองานหน้าชั้นเรียนแล้วไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไรให้เพื่อนกับครูเข้าใจ เพราะเนื้อหาที่เราจำมามันก็เยอะเสียเหลือเกิน บทเรียนภาษาไทยวันนี้จะช่วยให้น้อง ๆ รับมือกับปัญหาเหล่านั้นได้ เพียงแค่น้อง ๆ มีความเข้าใจในเรื่องการพูดสรุปความ วันนี้เรามาดูไปพร้อม ๆ กันเลยนะคะว่าการพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังหรือดูจะมีวิธีใดบ้าง   การพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังและดู   การพูดคืออะไร   องค์ประกอบของการพูด   ผู้พูด คือผู้ที่มีจุดมุ่งหมายสำคัญที่จะนำเสนอความรู้ความคิดเห็นให้ผู้ฟังได้รับรู้และเข้าใจ เนื้อเรื่อง

passive modals

Passive Modals: It can be done!

สวัสดีน้องๆ ม. 5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเรื่อง Passive Voice ในกริยาจำพวก Modals กันครับ ถ้าพร้อมแล้วเราลองไปดูกันเลย

สมบัติการคูณจำนวนจริง

การให้เหตุผลแบบอุปนัย

การให้เหตุผลแบบอุปนัย การให้เหตุผลแบบอุปนัย คือ การนำประสบการณ์มาสรุปผล เช่น เราไปซื้อผลไม้แล้วเราชิมผลไม้ 2-3 ลูก ปรากฏว่า มีรสหวาน เราเลยสรุปว่าผลไม้ทั้งกองนั้นหวาน เป็นต้น ซึ่งการสรุปผลอาจจะเป็นจริงหรือเท็จก็ได้ อาจจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้สรุป ดังนั้น ผลสรุปไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น เหตุ เมื่อวานแป้งตั้งใจเรียน วันนี้แป้งตั้วใจเรียน ผลสรุป  พรุ่งนี้แป้งจะตั้งใจเรียน การให้เหตุผลแบบนี้ เหมือนเป็นการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป ซึ่งการคาดคะเนนี้อาจจะจริงหรือเท็จก็ได้

Present Perfect

Present Perfect ในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม.​ 4 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง Present Perfect ในภาษาอังกฤษ จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยดีกว่าครับ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1