กระเช้าสีดา นิทานสอนใจที่สอดแทรกตำนานของพรรณไม้

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

น้อง ๆ รู้จัก กระเช้าสีดา กันไหมคะ พืชชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่อินเดีย และเป็นพรรณไม้ที่มีตำนานมาจากวรรณคดีที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ซึ่งก็คือเรื่อง รามเกียรติ์นั่นเองค่ะ แล้ววรรณคดีเรื่องกระเช้าสีดานี้จะมีความเป็นมาและเรื่องย่อที่เกี่ยวกับรามเกียรติ์อย่างไร ถ้าพร้อมแล้วเราไปหาคำตอบด้วยกันเลยค่ะ

 

ความเป็นมา กระเช้าสีดา

 

กระเช้าสีดา

 

กระเช้าสีดาเป็นนิทานเรื่องหนึ่งในหนังสือรวมนิทานของพระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) แต่เมื่อพ.ศ. 2485 มีลักษณะเป็นร้อยแก้ว เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะนิสัย ความเป็นอยู่ของพวกภูต คือ พรายน้ำและพรายไม้ ตามความเชื่อของคนไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ รวมทั้งตำนานการเกิดต้นกระเช้าสีดา นอกจากนั้นยังสอดแทรกข้อคิดคุณธรรมในเรื่องอีกด้วย

 

ประวัติผู้แต่ง

พระสารประเสริฐ เป็นบุตรของหลวงพิพิธวิรัชการ (เทียน นาคะประทีป) เกิดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 มีนามเดิมว่า ตรี นาคะประทีป พระสารประเสริฐเป็นผู้เชี่ยวชาญทางอักษรศาสตร์ ทั้งภาษาไทย บาลีและสันสกฤต นอกจากรับราชการแล้วยังเป็นอาจารย์วิชาภาษาบาลีอีกด้วย

 

ตัวละคร

 

กระเช้าสีดา

 

เนื้อเรื่อง

พรายไม้กับพรายน้ำเป็นภูติจำพวกหนึ่ง เป็นอมนุษย์ที่ไม่มีใครเห็นตัว มีตัวเล็กจิ๋ว แต่สามารถสำแดงให้คนเห็นเป็นคนหรืออะไรก็ได้ มีนิสัยชอบเล่นสนุก ร้องรำทำเพลง พรายไม้เป็นผู้ชาย ส่วนพรายน้ำเป็นผู้หญิง ทั้งพรายไม้และพรายน้ำชอบคนดี ขันทองอยากจะเห็นพรายไม้และพรายน้ำจึงตั้งใจประพฤติตนเป็นเด็กดีตามที่แม่สอนทุกประการ อยู่มาวันหนึ่งตรงกับคืนเดือนหงาย เหล่าพรายไม้กับพรายน้ำออกมาชุมนุมกันในถิ่นของพวกพรายไม้ บรรดาพรายน้ำมอบกระเช้าเล็กๆ ให้แก่พวกพรายไม้คนละใบ เพื่อเล่นเกมแข่งเก็บของใส่กระเช้า พรายไม้ผู้ชนะจะได้เต้นรำกับพรายน้ำเจ้าของกระเช้าผู้น่ารัก หลังจากการเล่นสนุกสนานผ่านไปจนได้เวลาสมควร พวกพรายไม้ก็พากันกลับไปยังที่พักของตน แต่เหล่าพรายน้ำนั้นยังคงช่วยกันเก็บกระเช้าที่ตกอยู่กระจัดกระจายมารวมไว้อย่างเป็นระเบียบ

ขันทองเดินออกมาเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจท่ามกลางแสงจันทร์คืนวันเพ็ญ ครั้นเห็นกระเช้าใบเล็กๆ น่ารักลอยไปรวมกันเป็นกองใหญ่ ขันทองก็ช่วยเก็บกระเช้าที่ยังเหลืออยู่มารวมไว้จนหมด บรรดาพรายน้ำพึงพอใจในความเอื้อเฟื้อ และซื่อสัตย์สุจริตจึงบันดาลให้ขันทองสามารถเห็นพวกเธอได้

ขันทองรู้สึกดีใจ ทั้งสองฝ่ายพูดคุยกันอย่างสนิทสนม พวกพรายน้ำได้เล่าเรื่องราวของกระเช้าใบเล็กๆ ให้ฟังว่ามันคือ กระเช้าสีดา ก่อนจากกันพรายน้ำได้มอบกระเช้าสีดาให้ขันทองไว้เป็นที่ระลึก โดยให้หยิบตามชอบ ขันทองเกรงใจจึงหยิบเพียงใบเดียว เหล่าพรายน้ำจึงหยิบกระเช้าสีดาให้ขันทองจนเต็มอุ้งมือ ก่อนที่จะเหล่าพรายน้ำจะหายไปจนหมด

 

 

สรุปคุณค่าและข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

 

สะท้อนความเชื่อเรื่องภูติพรายของคนไทย และนอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงผลของการกระทำว่าถ้าทำความดี เช่น เชื่อฟังคำสอนของผู้ใหญ่ มีน้ำใจ ซื่อสัตย์ มีความเกรงใจ และสุภาพอ่อนน้อม ก็จะมีผู้ใหญ่เอ็นดู ทำให้ได้สิ่งดี ๆ กลับมา

 

 

นิทานเรื่องกระเช้าสีดา มีเนื้อเรื่องสนุกสนานใช้ภาษาบรรยายได้สละสลวย ชัดเจน อ่านเข้าใจง่าย เหมาะสำหรับเด็ก เพราะในเรื่องได้แฝงแนวคิดเกี่ยวกับผลของการทำความดีเอาไว้ ความประพฤติที่ดีงามของหนูน้อยขันทองอย่างการเชื่อฟังผู้ใหญ่ ความมีน้ำใจ และความสุภาพอ่อนโยนนี้ถือเป็นแบบอย่างที่น้อง ๆ ควรยึดถือและนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน สุดท้ายนี้ น้อง ๆ อย่าลืมหมั่นทบทวนบทเรียน และชมคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อเพิ่มความเข้าใจ เป็นเด็กดีตั้งใจเรียนกันด้วยนะคะ เผื่อว่าเราจะได้เห็นภูติพรายที่สวยงามเหมือนหนูน้อยขันทอง

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

บทเสภาสามัคคีเสวก

บทเสภาสามัคคีเสวก ที่มาของกลอนเสภาอันทรงคุณค่า

บทเสภาสามัคคีเสวก   เมื่อเห็น บทเสภาสามัคคีเสวก ครั้งแรก เชื่อว่าต้องมีน้อง ๆ หลายคนต้องเผลออ่านคำว่า เสวก เป็น (สะ-เหวก) แน่ ๆ เลยใช่ไหมคะ แต่ที่จริงแล้วคำว่าเสวกนั้นต้องอ่านให้ถูกต้องว่า (เส-วก) ที่มีความหมายถึงผู้ใกล้ชิด เป็นยศของข้าราชการในราชสำนักนั่นเองค่ะ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้ไม่เพียงแต่จะสอนอ่านให้ถูกต้อง แต่จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของเรื่องย่อวรรณคดีไทยอย่างบทเสภาสามัคคีเสวกกันอีกด้วย โดยจะเป็นเรื่องราวแบบไหน มีลักษณะคำประพันธ์และเรื่องย่ออย่างไรบ้าง เราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม

คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ พูดอย่างไรให้ถูกต้อง

  คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่น้อง ๆ หลายคนอาจจะต้องพบเจอถ้าหากว่านับถือศาสนาพุทธ เพราะว่าเราอาจมีโอกาสได้สนทนากับพระระหว่างทำบุญก็ได้ วันนี้เราจะมาเรียนรู้คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์กันนะคะว่าแตกต่างจากคำราชาศัพท์สำหรับราชวงศ์และสุภาพชนทั่วไปอย่างไร ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ใช้อย่างไร     แม้คำว่าราชาศัพท์ จะสามารถแปลตรงตัวได้ว่าเป็นถ้อยคำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ แต่ในปัจจุบันนี้คำราชาศัพท์ยังครอบคลุมไปถึงพระบรมวงศานุวงศ์ พระภิกษุสงฆ์ และสุภาพชน หรือเรียกอีกนัยว่าคำสุภาพ สำหรับคำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์จะต่างกับราชวงศ์และสุภาพชน และยังขึ้นอยู่กับสมณศักดิ์ของพระสงฆ์อีกด้วย โดยสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้

ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์

ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์

ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ จะเกี่ยวข้องกับ θ พิกัดของ จุด (x, y) ซึ่งในบทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่าง x, y กับ θ จากบทความที่ผ่านมาเราได้รู้จักวงกลมหนึ่งหน่วยและการวัดความยาวส่วนโค้ง ในบทความนี้น้องๆจะได้รู้จักกับฟังก์ชันไซน์ (sine function) และฟังก์ชันโคไซน์ (cosine function) และวิธีการหาค่าของฟังก์ชันทั้งสอง Sine function =

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

จากบทความที่ผ่านมาเราเรียนเรื่องการให้เหตุผลแบบนิรนัย บทความนี้เป็นเนื้อหาเรื่องการตรวจสอบความสมเหตุสมผลซึ่งมักจะออกสอบทั้งในโรงเรียนและ O-Net หลังจากน้องๆได้อ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะทำข้อสอบได้แน่นอนค่ะ

Daily Conversation P6

บทสนทนาในชีวิตประจำวันที่ควรรู้

  สวัสดีค่ะนักเรียนป. 6 ที่รักทุกคน เมื่อก่อนการคุยกันผ่านออนไลน์ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าในปัจจุบันที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยในสถานการณ์ยุคโควิด เป็นเรื่องที่น่าเศร้าเวลาที่เราออกไปไหนไม่ได้ บทสนทนาออนไลน์จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากแต่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงสักเท่าไหร่ วันนี้ครูจะพาไปดูบทสนทนาที่อัพเดทแล้วในปัจจุบันรวมทั้งประโยคและวลีที่เราเจอบ่อยในชีวิตประจำวันทั้งชีวิตจริงและบนโลกออนไลน์กันค่ะ ไปลุยกันเลยค่า      การเริ่มบทสนทนากับคนที่เราไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย     Hi/ Hello/ Is that …? = สวัสดี ที่นั่น ..(เบอร์/ สถานที่)… ใช่ไหม

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1