การวัดและความเป็นมาของการวัด

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้ความเป็นมาของการวัดในหลายๆมิติ จนกระทั่งวิวัฒนาการที่ทำให้ได้ความแม่นยำในการวัดอย่างเป็นมาตรฐานมากขึ้นเรื่อยๆ
การวัด

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

เนื่องจากในสมัยโบราณยังไม่มีเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานในการวัดจึงได้มีการสื่อสารกันโดยอาศัยสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติการสื่อความหมายต่างๆ และได้มีวิวัฒนาการเครื่องมือและหลักการของการวัดอย่างเป็นมาตรฐานมาเรื่อยๆ

ความหมายของการวัด

เนื่องจากในสมัยโบราณยังไม่มีเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานในการวัดไม่ว่าจะเป็นระยะทาง เวลาพื้นที่ หรือปริมาตร จึงได้มีการสื่อสารกันโดยอาศัยสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติการสื่อความหมายต่างๆ หลังจากนั้นได้มีวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ ตามยุคสมัย สำหรับการวัดความยาวมีวิวัฒนาการดังนี้ การวัดระยะทางจะใช้การบอกทางใกล้-ไกลโดยเปรียบเทียบกับธรรมชาติเช่น ไปอีกประมาณคุ้งน้ำ ต่อมาก็พัฒนามาเรื่อยๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจกันมากยิ่งขึ้นโดยใช้ส่วนของร่างกายเป็นเกณฑ์ เช่น นิ้ว ศอก คืบ วา แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนเพราะคืบ วา ศอก ของแต่ละคน แต่ละชุมชนนั้นมีความยาวไม่เท่ากัน

ความเป็นมาของการวัด

วิวัฒนาการการวัดและเครื่องมือวัดเป็นมาตรฐานสากล

 

2.1 ระบบอังกฤษ กำหนดหน่วยความยาวเป็น นิ้ว ฟุต หลา และไมล์

2.2 ระบบเมตริก กำเนิดขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศสกำหนดความยาวเป็นเซนติเมตร เมตร กิโลเมตรเป็นต้น

ประเทศไทยก็ได้ประกาศพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด ขึ้นในปี พ.ศ. 2466 โดยใช้ระบบเมตริกร่วมกับการวัดของไทยโดยเทียบเข้าหาระบบเมตริกดังนี้

 2 ศอก = 1 เมตร

1วา      =  2 เมตร

ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ได้กำหนดระบบวัดขึ้นมาใหม่เรียกว่าระบบหน่วยระหว่างประเทศหรือเรียกย่อ ๆ ว่าหน่วย SI เพื่อใช้ในการวัดทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหน่วย SI ได้กำหนดหน่วยรากฐานที่ใช้วัดปริมาณมูลฐาน 7 หน่วยคือ

เมตร (m) เป็นหน่วยที่ใช้วัดความยาว

กิโลกรัม (kg) เป็นหน่วยที่ใช้วัดมวล

วินาที (s) เป็นหน่วยที่ใช้วัดเวลา

แอมแปร์ (A) เป็นหน่วยที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้า

เคลวิน (K) เป็นหน่วยที่ใช้วัดอุณหภูมิ

แคนเดลา (d) เป็นหน่วยที่ใช้วัดความเข้มของการส่องสว่าง

โมล (mol) เป็นหน่วยที่ใช้วัดปริมาตรของสาร

สำหรับหน่วยวัดความยาวจากหน่วยรากฐานคือ เมตร จะสามารถเพิ่มหน่วยการวัดได้โดยการนำคำมาเพิ่มข้างหน้าเพื่อเพิ่มหน่วยวัดให้มากขึ้นเช่น เซนติเมตร (cm) กิโลเมตร (km) เท่ากับ 1,000 เมตรเป็นต้น นอกจากการมีหน่วยวัดที่เป็นมาตรฐานแล้วในการวัดยังมีสิ่งสำคัญอีก 2 อย่างคือเครื่องมือที่ใช้วัดและคนวัด กล่าวคือถ้าเครื่องมือวัดได้มาตรฐานและคนวัดมีความแม่นยำ ค่าที่วัดได้ทุกครั้งก็มีความเที่ยงตรง

อย่างไรก็ตามในชีวิตประจำวันของเราไม่อาจนำเครื่องมือวัดติดตามไปได้ทุกที่เมื่อมีความจำเป็นต้องการทราบความยาวหรือปริมาณของสิ่งต่างๆก็ต้องใช้การคาดคะเน การคาดคะเน คือการบอกประมาณของปริมาณของสิ่งต่างๆโดยไม่ได้วัดจริงค่าที่ได้จากการคาดคะเนจะใกล้เคียงความเป็นจริมมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และทักษะของผู้คาดคะเน

คลิปตัวอย่างการวัดและความเป็นมาของการวัด

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

บทความนี้ได้แนะนำการเขียน กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว  ซึ่งจะเชื่อมโยงกับสัญลักษณ์ของอสมการทั้ง 5 สัญลักษณ์ คือ มากกว่า (>), น้อยกว่า (<), มากกว่าหรือเท่ากับ (≥), น้อยกว่าหรือเท่ากับ (≤) และ ไม่ท่ากับ(≠) โดยเขียนแสดงบนเส้นจำนวน จุดทึบและจุดโปร่ง เราจะเลือกใช้จุดทึบ (•) และจุดโปร่ง (°) แทนสัญลักษณ์อสมการ ดังนี้ มากกว่า

เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมีความสำคัญอย่างไร

  เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมีความสำคัญไม่แพ้เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์เลยค่ะ น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยเรานั้นเป็นเหมือนตัวกำหนดความหมายของคำเลยก็ว่าได้ ทำไมถึงเป็นแบบนั้น วันนี้เรามีคำตอบให้แล้วค่ะ เราไปเรียนรู้เกี่ยวเสียงวรรณยุกต์พร้อมๆ กันเลยค่ะว่าทำไมถึงมีความสำคัญ   เสียงวรรณยุกต์คืออะไร   เสียงวรรณยุกต์ หมายถึง เสียงที่ใช้บอกระดับสูงต่ำของคำ มี 4 รูป 5 เสียง   รูปวรรณยุกต์   รูปวรรณยุกต์มี 4

NokAcademy_Infinitives after verbs

Infinitives after verbs

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนม.5 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปดูการใช้ Infinitives after verbs กันเด้อ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดจร้า Let’s go!   ทบทวนความหมายของ “Infinitive”   Infinitive คือ   กริยารูปแบบที่ไม่ผัน ไม่เติมอะไรใดๆเลย ที่นำหน้าด้วย to (Infinitive with “to” หรือ

กาพย์พระไชยสุริยา ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจและคุณค่าที่อยู่ในเรื่อง

กาพย์พระไชยสุริยา   กาพย์พระไชยสุริยาเป็นวรรณคดีที่ทรงคุณค่า เป็นแบบเรียนภาษาไทยที่มีมาแต่โบราณ นอกจากนี้ยังสอนเรื่องราวต่าง ๆ อีกมากมาก หลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์และเนื้อเรื่องกันไปแล้ว เรื่องต่อไปที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้ก็คือตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจในเรื่องกาพย์พระไชยสุริยาค่ะ เรามาดูกันดีกว่านะคะว่าในกาพย์พระไชยสุริยาจะมีตัวบทไหนเด่น ๆ และมีคุณค่าอย่างไรบ้าง   ตัวบทที่น่าสนใจในกาพย์พระไชยสุริยา   ลักษณะคำประพันธ์ : กาพย์สุรางคนางค์ 28  

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

บทความนี้น้องๆจะได้เรียนรู้กี่ยวกับการพิสูจน์ที่ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ระหว่างด้านทั้งสามของสามเหลี่ยมมุมฉาก กำลังสองของด้านตรงข้ามมุมฉากเท่ากับผลรวมของกำลังสองของอีกสองด้านที่เหลือในแง่ของพื้นที่

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1