หลักการคูณทศนิยม พร้อมตัวอย่างที่เข้าใจง่าย

บทความนี้จะพาน้อง ๆมาทำความเข้าใจกับหลักการคูณทศนิยมในแต่ละรูปแบบ พร้อมทั้งอธิบายหลักการและยกตัวอย่างวิธีคิดในแต่ละรูปแบบของการคูณทศนิยม ให้น้อง ๆสามารถนำไปปรับใช้กับการหาคำตอบจากแบบฝึกหัดในห้องเรียนได้จริง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ทศนิยมมีค่าประจำหลักเป็นเศษส่วน ซึ่งเมื่อนำทศนิยมคูณด้วยทศนิยมผลลัพธ์ที่ได้ออกจะมีจะตำแหน่งของทศนิยมที่เปลี่ยนไป ตามหลักการคูณทศนิยมที่กล่าวไว้ดังนี้ “จำนวนตำแหน่งของทศนิยมของผลคูณต้องเท่ากับตำแหน่งของทศนิยมของตั้วตั้งและตัวคูณรวมกัน”

รูปแบบการคูณทศนิยม มีทั้งหมด 2 รูปแบบ

1.การคูณทศนิยมกับจำนวนเต็ม

หลักการคูณทศนิยมกับจำนวนเต็มนั้นสามารถทำได้ 2 วิธี

1.1 วิธีตั้งคูณ

สิ่งสำคัญของการตั้งคูณคือ ต้องว่างจุดทศนิยมที่ตำแหน่งเดิมและทำการคูณตัวเลขตามหลักการคูณของจำนวนเต็มปกติ

คูณทศนิยมกับจำนวนเต็ม

1.2 วิธีแปลงทศนิยมให้เป็นเศษส่วน

วิธีนี้ใช้หลักการคูณเศษส่วนในการคำนวณ โดยเมื่อทำทศนิยมให้เป็นเศษส่วนแล้ว ต้องทำให้จำนวนเต็มเป็นเศษส่วนด้วย ซึ่งตัวส่วนของจำนวนเต็มจะมีค่าเป็น 1 เสมอ จากนั้นก็ทำการคูณโดยนำตัวเศษคูณด้วยตัวเศษ และตัวส่วนคูณด้วยตัวส่วน เมื่อได้ผลลัพธ์แล้วต้องแปลงกลับเป็นเป็นทศนิยมอีกครั้ง

ตัวอย่างคูณทศนิยม

 

2.การคูณทศนิยมกับทศนิยม

หลักการคูณทศนิยมกับทศนิยมนั้นสามารถทำได้ 2 วิธี

2.1 วิธีตั้งคูณ

  • ตัวตั้งเป็นทศนิยม 1 ตำแหน่งและตัวคูณเป็นทศนิยม 1 ตำแหน่ง รวมเป็นทศนิยม 2 ตำแหน่ง ดังนั้นผลคูณที่ได้จะต้องตอบเป็นทศนิยม 2 ตำแหน่ง
  • ตัวตั้งเป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งและตัวคูณเป็นทศนิยม 1 ตำแหน่ง รวมเป็นทศนิยม 3 ตำแหน่ง ดังนั้นผลคูณที่ได้จะต้องตอบเป็นทศนิยม 3 ตำแหน่ง แต่จะมีบางกรณีที่ผลคูณมีตัวเลข 0 เป็นเลขสุดท้าย จะทำให้ตำแหน่งของทศนิยมลดลงได้
  • ตัวตั้งเป็นทศนิยม 3 ตำแหน่งและตัวคูณเป็นทศนิยม 2 ตำแหน่ง รวมเป็นทศนิยม 5 ตำแหน่ง ดังนั้นผลคูณที่ได้จะต้องตอบเป็นทศนิยม 5 ตำแหน่ง แต่จะมีบางกรณีที่ผลลัพธ์ที่ได้อาจจะไม่ถึง 5 ตัวเลข ต้องทำการเติมเลข 0 ข้างหน้าผลลัพธ์ เพื่อทำให้ครบ 5 ตำแหน่ง

ทศนิยม

2.2 วิธีแปลงทศนิยมให้เป็นเศษส่วน

วิธีนี้ใช้หลักการคูณเศษส่วนในการคำนวณ โดยเมื่อทำทศนิยมของตัวตั้ง และตัวคูณให้เป็นเศษส่วนแล้ว จากนั้นก็ทำการคูณโดยนำตัวเศษคูณด้วยตัวเศษ และตัวส่วนคูณด้วยตัวส่วน เมื่อได้ผลลัพธ์แล้วต้องแปลงกลับเป็นเป็นทศนิยมอีกครั้ง โดยตำแหน่งของทศนิยมสามารถดูจากจำนวน 0 ที่เป็นผลลัพธ์ของการคูณตัวส่วน

คูณเศษส่วน

 

คลิปตัวอย่างการคูณทศนิยม

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ไตรภูมิพระร่วง เรียนรู้วรรณคดีเก่าแก่จากสมัยสุโขทัย

ไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณคดีเก่าแก่ที่แต่งขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าทำไมวรรณคดีที่เก่าแก่ขนาดนี้ถึงยังมีให้เห็น ให้เราได้เรียนกันมาจนถึงปัจจุบัน บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปไขข้องใจทั้งประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์ รวมไปถึงเรื่องย่อในตอน มนุสสภูมิ กันด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของเรื่อง   ไตรภูมิพระร่วง เดิมเรียกว่า เตภูมิกถา หรือ ไตรภูมิกถา แต่สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเปลี่ยนชื่อให้เพื่อเป็นเกียรติแก่พญาลิไท กษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงผู้พระราชนิพนธ์เรื่องนี้เมื่อปี

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ถอดความหมายพร้อมเรียนรู้คุณค่าในเรื่อง

ศิลาจารึกหลักที่ 1มีความเป็นมาอย่างไร น้อง ๆ ก็คงจะได้เรียนรู้กันไปแล้ว วันนี้เรื่องที่เราจะมาศึกษากันต่อก็คือเนื้อหาเด่น ๆ ที่น่าสนใจและคุณค่าที่อยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 1 กันค่ะ ไปดูพร้อมๆ กันเลยว่าในศิลาจารึกจะบันทึกเรื่องเล่าอะไรไว้บ้าง และมีคุณค่าด้านใด   ศิลาจารึกหลักที่ 1 : ตัวบทที่น่าสนใจ       พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูมีพี่น้องท้องเดียวห้าคน

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ บทความนี้จะทำให้น้องๆ รู้จัก จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ  น้องๆหลายคนคุ้นเคยกับจำนวนเฉพาะมาบ้างแล้ว แต่น้องๆทราบหรือไม่ว่า ตัวประกอบเฉพาะคืออะไร ซึ่งน้องๆจะได้เรียนรู้จากตัวอย่างที่ได้รวบรวมไว้ในบทความนี้ โดยได้นำเสนออกมาในรูปแบที่เข้าใจง่าย ทำให้น้องๆสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งเนื้อหาในบทความนี้เป็นเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับความหมายของ ตัวประกอบ  ตัวประกอบของจำนวนเต็มใด ๆ  คือ จำนวนที่หารจำนวนนั้นได้ลงตัว  ถ้าจำนวนที่ 2 หารได้ลงตัว เรียกว่า จำนวนคู่  ส่วนจำนวนที่

การใช้ Auxiliary Verb: can, can’t

การใช้ Auxiliary Verb: can, can’t  บทนำแสนแซ่บ สวัสดีครับพ่อแม่พี่น้องสุดปังทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันเรื่องของคำกริยาช่วยที่ทำให้เรารู้ว่าคนนั้น ๆ สิ่งนั้น หรืออันนั้นมีความสามารถในการทำอะไรได้บ้างกันดีกว่า  ในภาษาไทยเอง เวลาเราจะอธิบายว่าเรามีความสามารถอะไรเราก็มักจะพูดว่า “เรา… ทำได้” หรือ “เราสามารถ….ทำได้” โดยภาษาอังกฤษสุดที่รักของเราเองก็มีอะไรแบบนั้นเหมือนกัน โดยเค้าใช้คำว่า Can มาช่วย โดยเราจะเรียกคำกริยาช่วยเหลือนี้ว่า Auxiliary verb หรือ

สำนวนภาษาอังกฤษสำหรับการให้ความช่วยเหลือ และการให้คำแนะนำผู้อื่น

สำนวนภาษาอังกฤษสำหรับการให้ความช่วยเหลือและการให้คำแนะนำผู้อื่น

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไป เรียนรู้สำนวนภาษาอังกฤษสำหรับการให้ความช่วยเหลือและการให้คำแนะนำผู้อื่น ( Idioms for helping and giving advice to others) กันนะคะ ไปลุยกันเลย   บทนำ     สำนวนที่ใช้ในการถามและการให้คำแนะนำ นั้น คำศัพท์ที่เจอส่วนใหญ่มักจะมีคำว่า “advise” แปลว่า แนะนำ

ฟังก์ชันประกอบ

ฟังก์ชันประกอบ

ฟังก์ชันประกอบ ฟังก์ชันประกอบ คือฟังก์ชันที่เกิดจากการหาค่าฟังก์ชันที่ส่งจากเซต A ไปเซต C โดยที่ f คือฟังก์ชันที่ส่งจาก A ไปยัง B และ g เป็นฟังก์ชันที่ส่งจาก B ไปยัง C เราเรียกฟังก์ชันที่ส่งจาก A ไป C นี้ว่า gof  จากรูป

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1