เปรียบเทียบเศษส่วนและจำนวนคละฉบับเข้าใจง่ายและเห็นภาพ

บทความนี้จะพาน้องๆ มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการเปรียบเทียบเศษส่วนและจำนวนคละ  เนื่องจากหลักการที่ใช้ในการเปรียบเทียบเศษส่วนนี้จะนำไปต่อยอดกับเรื่องต่อไปเช่นเรื่องการบวกและการลบเศษส่วน หลังจากอ่านบทความนี้จบสิ่งที่จะได้รับก็คือ หลักการเปรียบเทียบเศษส่วน วิธีเปรียบเทียบที่เห็นภาพและเข้าใจง่ายร่วมถึงเทคนิคที่จะช่วยให้น้อง ๆ สามารถเปรียบเทียบเศษส่วนได้เร็วยิ่งขึ้น

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สาระสำคัญของการเปรียบเทียบเศษส่วนและจำนวนคละนั้นอยู่ที่การทำตัวส่วนให้เท่ากัน หากเศษส่วนที่นำมาเปรียบเทียบมีตัวส่วนที่เท่ากันอยู่แล้วก็จะง่ายต่อการบอกได้ว่าเศษส่วนไหนมีค่ามากกว่าหรือเศษส่วนไหนมีค่าน้อยกว่า บทความนี้จึงจะแยกประเภทของการเปรียบเทียบเศษส่วนให้ดังนี้

การเปรียบเทียบเศษส่วนและจำนวนคละ

ประเภทของการเปรียบเทียบเศษส่วน

1.การเปรียบเทียบเศษส่วนที่ตัวส่วนเท่ากันและจำนวนคละ

“ส่วนเท่ากัน เศษมากจะมีค่ามากกว่า” ความหมายก็คือ กรณีที่เปรียบเทียบเศษส่วนที่มีตัวส่วนเท่ากัน ถ้าเศษมากกว่า เศษส่วนนั้นก็จะมีค่ามากกว่ายกตัวอย่างภาพข้างล่าง

เปรียบเทียบเศษส่วนป.5

เปรียบเทียบเศษส่วนจำนวนคละกับเศษส่วนจำนวนคละที่ตัวส่วนเท่ากัน “จำนวนเต็มมาก่อนเศษส่วนมาหลัง” ความหมายก็คือ เมื่อเปรียบเทียบจำนวนคละสองจำนวน จำนวนคละที่มีจำนวนเต็มมากกว่าจะมีค่ามากกว่าเสมอ แต่ถ้าจำนวนเต็มมีค่าเท่ากันเราจึงพิจารณาเศษส่วนเป็นลำดับถัดไปตัวอย่างภาพข้างล่าง

เปรียบเทียบจำนวนนอนคละ

จำนวนเต็มไม่เท่ากัน

เปรียบเทียบเศษส่วน

จำนวนเต็มเท่ากัน

2.การเปรียบเทียบเศษส่วนที่ตัวเศษเท่ากันและจำนวนคละ

“เศษเท่ากัน ส่วนจะมีค่าสวนทาง” ความหมายก็คือ กรณีที่เปรียบเทียบเศษส่วนที่มีตัวเศษเท่ากัน ตัวส่วนจะมีค่าสวนทางก็คือยิ่งส่วนมากเศษส่วนนั้นก็จะมีค่าน้อยยกตัวอย่างภาพข้างล่าง

เปรียบเทียบเศษส่วนที่ตัวส่วนไม่เท่ากัน

เปรียบเทียบเศษส่วนจำนวนคละกับเศษส่วนจำนวนคละที่ตัวเศษเท่ากัน ทำเช่นเดียวกับกรณีที่เปรียบเทียบจำนวนคละที่มีตัวส่วนเท่ากัน ก็คือให้พิจารณาจำนวนเต็มก่อนแล้วจึงพิจารณาเศษส่วน

เปรียบเทียบจำนวนคละสองจำนวน

จำนวนเต็มเท่ากัน

เปรียบเทียบจำนวนคละที่จำนวนเต็มไม่เท่ากัน

จำนวนเต็มไม่เท่ากัน

3.การเปรียบเทียบเศษส่วนที่ไม่เท่ากันและจำนวนคละ

“ตัวส่วนเท่ากันถึงจะเปรียบเทียบกันได้” ความหมายก็คือ กรณีที่เปรียบเทียบเศษส่วนที่ไม่เท่ากัน ต้องทำให้ตัวส่วนของเศษส่วนทั้งสองจำนวนเท่ากันก่อนเหมือนกับหัวข้อที่ 1 ข้างต้น

การหาค.ร.น.ของตัวส่วน

เปรียบเทียบเศษส่วนจำนวนคละกับเศษส่วนจำนวนคละที่เศษส่วนไม่เท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น

รูปการเปรียบเทียบเศษส่วน

4.การเปรียบเทียบเศษเกินกับจำนวนคละ

ทำได้สองวิธีคือ “เปลี่ยนเศษเกินเป็นจำนวนคละ” แล้วใช้หลักการเปรียบเทียบจำนวนคละกับจำนวนคละ และ “เปลี่ยนจำนวนคละเป็นเศษเกิน” แล้วใช้หลักการเปรียบเทียบเศษส่วนกับเศษส่วน ยกตัวอย่างทั้งสองวิธีตามภาพข้างล่าง

ตัวอย่างการเปรียบเทียบเศษส่วน

วิธีที่ 1 “เปลี่ยนเศษเกินเป็นจำนวนคละ”

การเปรียบเทียบเศษเกิน

วิธีที่ 2 ”เปลี่ยนจำนวนคละเป็นเศษเกิน”

สรุปเนื้อหาการเปรียบเทียบเศษส่วนมีทั้งหมด 4 ประเภทตามบทความข้างต้น และตัวอย่างที่ได้ยกมาสามารถนำไปแก้โจทย์ในเรื่องการเปรียบเทียบเศษส่วนได้อย่างเข้าใจและทำแบบฝึกหัดได้อย่างถูกต้อง ครั้งหน้ามีบทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่จะพาน้อง ๆ เข้าใจหลักการต่าง ๆได้ดียิ่งขึ้น หวังว่าจะชอบและติดตามกันต่อไปนะคะ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง เรียนรู้ตัวบทและคุณค่าในเรื่อง

จากที่ได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของอิเหนากันไปแล้ว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้เราจะยังอยู่กับอิเหนากันนะคะ เพราะนอกจากที่มาและเรื่องย่อแล้ว วรรณคดีเรื่องนี้ก็ยังมีเรื่องอื่นให้น่าสนใจและน่าศึกษาเช่นกัน ถ้าพร้อมแล้วเราไปศึกษาตัวบทและคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง   บทที่ 1    ถอดความ เป็นตอนที่ท้าวกะหมังกุหนิงให้ราชทูตนำสาส์นไปมอบให้ท้าวดาหาเพื่อสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกำ โดยบทนี้เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งที่ท้าวกะหมังกุหนิงเขียนถึงท้าวดาหา โดยเปรียบว่าตนเป็นเหมือนรองเท้าที่จะอยู่เคียงกับท้าวดาหา ดังนั้นจึงจะขอสู่ขอพระธิดาให้กับวิหยาสะกำ  

คำซ้ำคืออะไร เรียนรู้และเข้าใจหลักการสร้างคำอย่างง่าย

  จากที่ได้เรียนเรื่องการสร้างคำประสมและคำซ้อนไปแล้ว บทเรียนหลักภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้การสร้างคำอีกหนึ่งชนิดที่สำคัญไม่แพ้สองคำก่อนหน้า นั่นก็คือ คำซ้ำ นั่นเองค่ะ คำซ้ำคืออะไร มีวิธีสร้างคำได้อย่างไรบ้าง วันนี้เราไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   คำซ้ำ     คำซ้ำคืออะไร?   คำซ้ำ หมายถึง การสร้างคำขึ้นใหม่ โดยนำคำมูลซึ่งส่วนมากเป็นคำพยางค์เดียวมาซ้ำกันแล้วมีความหมายเปลี่ยนแปลงไป อาจเน้นหนักขึ้น หรือเบาลง

some any

การใช้ Some และ Any ตามด้วยคำนาม

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้การใช้ some และ any กันแบบเข้าใจง่ายๆ ถ้าพร้อมแล้วลองไปดูกันเลยครับ

การวัดความยาวส่วนโค้ง

การวัดความยาวส่วนโค้ง

การวัดความยาวส่วนโค้ง การวัดความยาวส่วนโค้ง ในบทความนี้จะเป็นการวัดความยาวของวงกลม 1 หน่วย วงกลมหนึ่งหน่วย คือวงกลมที่มีจุดศูนย์กลางที่จุดกำเนิด และมีรัศมียาว 1 หน่วย จากสูตรของเส้นรอบวง คือ 2r ดังนั้นวงกลมหนึ่งหน่วย จะมีเส้นรอบวงยาว 2 และครึ่งวงกลมยาว   จุดปลายส่วนโค้ง   จากรูป จะได้ว่าจุด P เป็นจุดปลายส่วนโค้ง   จากที่เราได้ทำความรู้จักกับวงกลมหนึ่งหน่วยและจุดปลายส่วนโค้งแล้ว

ทบทวนคำถาม V. to be, V. to do และ Wh- Questions กับคำศัพท์ในสวนสัตว์

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไป ทบทวนคำถาม V. to be, V. to do และ Wh- Questions กับคำศัพท์ในสวนสัตว์ กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย Verb to be     กริยาช่วยกลุ่มนี้ที่สามารถขึ้นต้นประโยคคำถามได้ ได้แก่ is, am, are,

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1