สมบัติของจำนวนเต็ม

สมบัติของจำนวนเต็ม

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ก่อนที่น้องๆจะได้เรียนรู้ในเรื่องสมบัติของจำนวนเต็ม น้องๆจำเป็นต้องเรียนเรื่อง การเปรียบเทียบจำนวนเต็ม และเรื่อง จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์  ซึ่งบทความนี้ได้รวบรวมสมบัติของจำนวนเต็ม ประกอบด้วย สมบัติเกี่ยวกับการบวกและคูณจำนวนเต็ม ได้แก่ สมบัติการสลับที่ สมบัติการเปลี่ยนหมู่ และสมบัติการแจกแจง  รวมไปถึงสมบัติของหนึ่งและศูนย์ เรามาศึกษาสมบัติแรกกันเลย

สมบัติเกี่ยวกับการบวกและคูณจำนวนเต็ม

สมบัติการสลับที่

  1. สมบัติการสลับที่สำหรับการบวก

ถ้า a และ b แทนจำนวนเต็มใดๆ แล้ว a + b = b + a

เช่น 3 + 5 = 5 + 3

จะเห็นว่า 3 + 5 = 8 และ  5 + 3 = 8

ดังนั้น ไม่ว่าสลับที่ของการบวกอย่างไร ผลลัพธ์ที่ได้จะมีค่าเท่ากัน (ไม่มีสมบัติการสลับที่การลบ เพราะเมื่อสลับที่แล้วได้ค่าไม่เท่ากัน)

ตัวอย่างที่ 1  จงหาผลบวกต่อไปนี้
1)  13 + 5 = 5 + 13 = 18
2)  2 + (-8) = (-8) + 2 = -6
3)  (-10) + 3 = 3 + (-10) = -7
4)  (-9) + (-4) = (-4) + (-9) = -13

  1. สมบัติการสลับที่สำหรับการคูณ

ถ้า a และ b แทนจำนวนเต็มใดๆ แล้ว a x b = b x a

เช่น 3 x 5 =  5 x 3

จะเห็นว่า 3 x 5 = 15 และ  5 x 3 = 15

ดังนั้น ไม่ว่าสลับที่ของการคูณอย่างไร ผลที่ได้จะมีค่าเท่ากัน (ไม่มีสมบัติการสลับที่การหาร เพราะเมื่อสลับที่แล้วได้ค่าไม่เท่ากัน)

ตัวอย่างที่ 2  จงหาผลคูณต่อไปนี้
1)  5 x 4 = 4 x 5 = 20
2)  (-10) x 3 = 3 x (-10) = -30 (ลบคูณบวกได้ลบ)
3)  5 x (-8) = (-8) X 5 = -40 (บวกคูณลบได้ลบ)

4)  (-7) x (-5) = (-5) x (-7) = 35 (ลบคูณลบได้บวก)

ในทางคณิตศาสตร์ สมบัติการสลับที่ของจำนวนเต็ม คือ การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของจำนวนเต็ม โดยไม่ทำให้ผลลัพธ์สุดท้ายเปลี่ยนแปลง

สรุป  เครื่องหมายเหมือนกันคูณกันได้บวก  เครื่องหมายต่างกันคูณกันได้ลบ

สมบัติการเปลี่ยนหมู่

  1. สมบัติการเปลี่ยนหมู่สำหรับการบวก

ถ้า a, b และ c แทนจำนวนเต็มใดๆ แล้ว (a + b) + c = a + (b + c)

เช่น (53) + 2 = 5(3 + 2)

จะเห็นว่า (53) + 2 = 10 และ   5 + (3 + 2) = 10

ดังนั้น ไม่ว่าจะเปลี่ยนหมู่ของการบวกอย่างไร ผลที่ได้จะมีค่าเท่ากัน

ตัวอย่างที่ 3  จงหาผลบวกต่อไปนี้
1)  (15 + 5) + 8 = 15 + (5 + 8) = 28
2)  [10 + (-7)] + 9 = 10 + [(-7) + 9] = 12
3)  [(-16) + 6] + 5 = (-16) + (6+5) = -5
4)  [15 + (-3)] + (-8) = 15 + [(-3) + (-8)] = 4
5)  [(-20) + (-10)] + 5 = (-20) + [(-10) + 5] = -25                                                                     

2. สมบัติการเปลี่ยนหมู่สำหรับการคูณ

ถ้า a, b และ c แทนจำนวนเต็มใดๆ แล้ว (a x b) x c = a x (b x c)

เช่น (53) x 2 = 30 = 5(3 x 2)

จะเห็นว่า (53) x 2 = 30  และ  5 x (3 x 2) = 30

ดังนั้น ไม่ว่าจะเปลี่ยนหมู่ของการคูณอย่างไร ผลที่ได้จะมีค่าเท่ากัน

ตัวอย่างที่ 4  จงหาผลคูณต่อไปนี้
1)  (10 x 2) x 3 = 10 x (2 x 3) = 60
2)  [(-8) x 5] x 2 = (-8) x (5 x 2) = -80
3)  [4 x (-5)] x 5 = 4 x [(-5) x 5 = -100
4)  [3 x (-4)] x (-2) = 3 x [(-4) x (-2)] = 24
5)  [(-4) x (-2)] x 5=(-4) x [(-2) x 5] = 40

สมบัติการเปลี่ยนหมู่ของจำนวนสามจำนวนที่นำมาคูณกัน จะคูณจำนวนที่หนึ่งกับจำนวนที่สอง หรือคูณ
จำนวนที่สองกับจำนวนที่สามก่อน แล้วจึงคูณกับจำนวนที่เหลือ ผลคูณย่อมเท่ากัน

สมบัติการแจกแจง

ถ้า a, b และ c แทนจำนวนเต็มใดๆ แล้ว a x (b + c) = (a x b) + (a x c) และ  

( b + c) x a = (b x a) + (c x a

เช่น 2 x (53) = 16 = (2 x 5) + (2 x 3)

จะเห็นว่า 2 x (53) = 16 และ (2 x 5) + (2 x 3) = 16 

ดังนั้น สมบัติการแจกแจงจึงเป็นความสัมพันธ์ระหว่างการบวกและการคูณ

ตัวอย่างที่ 5  จงหาผลคูณต่อไปนี้
1)   2 x (5 + 7)
= (2 x 5) + (2 x 7)
= 10 + 14
= 24
2)  (-3) x (4 + 6)
= [(-3) x 4] + [(-3) × 6]
= (-12) + (-18)
= -30
3)  (-5) x [(-2) + 8)=[(-5) x (-2)] + [(-5) x 8]
= 10 + (-40)
= -30
4)  (7+3) x 5
= (7X5) + (3×5)                                                                                                                                                                           = 35 + 15                                                                                                                                                                                     = 50                                                                                                                             
5)  [(-9) + 3)] x (-3)                                                                                                                                                                    = [(-9) x (-3)] + [3 x (-3)]
= 27 + (-9)
= 18

สมบัติการแจกแจงจะเป็นการคูณแจงแจงจำนวนเข้าไปในวงเล็บ ซึ่งจะต้องคูณจำนวนทุกจำนวนที่อยู่ในวงเล็บ

สมบัติของหนึ่งและศูนย์

สมบัติของหนึ่ง

–  การคูณจำนวนใดๆ ด้วยหนึ่ง หรือหนึ่งคูณจำนวนใดๆ จะได้ผลคูณเท่ากับจำนวนนั้นเสมอ

เช่น 87 x 1 = 87

หรือ 1 x 87 = 87

ตัวอย่างที่ 6 จงหาผลลัพธ์ต่อไปนี้
1)   1 x 14 = 14
2)   (-5) x 1 = -5
3)   (-1) x 1 = -1
4)   1 x (-16) = -16
5)   27x (-1) = -27
6)   (-34) x 1 = -34

–  การหารจำนวนใดๆ ด้วยหนึ่งจะได้ผลหารเท่ากับจำนวนนั้นเสมอ

เช่น 45 ÷ 1 = 45

หรือ  \frac{45}{1}  = 45

สมบัติของศูนย์

–  การบวกจำนวนใดๆ ด้วยศูนย์ หรือการบวกศูนย์ด้วยจำนวนใดๆ จะได้ผลบวก เท่ากับจำนวนนั้นเสมอ

เช่น 87 + 0 = 87

หรือ  0 + 87  = 87

ตัวอย่างที่ 7  จงหาผลบวกต่อไปนี้
1)  12 + 0 = 12
2)  0 + (-23) = -23
3)  (-27) + 0 = -27
4)  0 + 0 = 0

–  การคูณจำนวนใดๆ ด้วยศูนย์ หรือการคูณศูนย์ด้วยจำนวนใดๆ จะได้ผลคูณเท่ากับจำนวนศูนย์ (ศูนย์คูณอะไรก็ได้ศูนย์)

เช่น 235 x 0 = 0

หรือ  0 x 235  = 0

ตัวอย่างที่ 8 จงหาผลคูณต่อไปนี้
1)  12 X 0 = 0
2)  0 x (-23) = 0
3)  (-27) × 0 = 0
4)  0 x 0 = 0

–  การหารศูนย์ด้วยจำนวนใดๆ ที่ไม่ใช่ศูนย์ จะได้ผลหารเท่ากับศูนย์

เช่น 0 ÷ 95 = 0

หรือ \frac{0}{95}  = 45

ตัวอย่างที่ 9 จงหาผลหารต่อไปนี้
1)  0 ÷ 23 = 0
2)  0 ÷ (-23) = 0

–  ถ้าผลคูณของสองจำนวนใดเท่ากับศูนย์ จำนวนใดจำนวนหนึ่งอย่างน้อยหนึ่งจำนวนต้องเท่ากับศูนย์

เช่น a x b = 0

จะได้ว่า a  = 0 หรือ b = 0

ตัวอย่างเพิ่มเติม

ตัวอย่างที่ 10 จงหาผลคูณของ (-5)(6)(-2)
วิธีทำ (-5)(6)(-2) = [(-5)x6] x (-2)
                          =(-30) x (-2)
                          = 60                                                                                                                                                                        ดังนั้น  (-5)(6)(-2) = 60

ตัวอย่างที่ 11 จงหาผลคูณของ 999 X 5
วิธีทำ 999 x 5 = (1000 – 1) x 5
                       = [1000 + (-1)] x 5
                       = (1000 x 5)+[(-1) x 5]
                       = 5000 + (-5)
                        = 4,995
ดังนั้น  999 x 5 = 4,995

จากตัวอย่างทั้งหมด น้องๆจะเห็นว่ามีสมบัติการบวกและการคูณ แต่จะไม่มีสมบัติการลบและการหาร เพราะว่า การลบจำนวนเต็มก็คือ การบวกด้วยจำนวนเต็มลบ ซึ่งเราจะเรียกว่าสมบัติการบวก ส่วนการหารจำนวนเต็มคือ การนำเศษส่วนมาคูณ เราเรียกว่าสมบัติการคูณ

เมื่อน้องได้เรียนรู้เรื่อง สมบัติของจำนวนเต็ม ซึ่งสมบัติเหล่านี้จะนำมาใช้ในการบวก ลบ คูณ และหาร จำนวนเต็ม ซึ่งน้องๆจะต้องฝึกทำโจทย์อย่างสมำ่เสมอ จึงจะทำให้น้องๆสามารถคำนวณค่าต่างๆได้อย่างรวดเร็วและเป็นระบบ

คลิปวิดีโอ สมบัติของจำนวนเต็ม

        คลิปวิดีโอนี้ได้รวบรวมวิธี สมบัติของจำนวนเต็ม  ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แฝงไปด้วยสาระความรู้ และเทคนิค รวมถึงการอธิบาย สมบัติของจำนวนเต็ม และสอนวิธีคิดที่จะทำให้วิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Relative Clause Profile II

Relative Clause

สวัสดีค่ะนักเรียนม. 3 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปดู Relative clause หรือ อนุประโยคในภาษาอังกฤษ ที่ทำหน้าที่เหมือนกันกับคำคุณศัพท์ (Adjective) ซึ่งมีหน้าที่ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า  และจะใช้ตามหลัง Relative Pronoun เช่น  who, whom, which, that, และ whose แต่สงสัยมั้ยคะว่าทำไมต้องเรียนเรื่องนี้ ลองดูตัวอย่างประโยคด้านล่างแล้วจะร้องอ๋อ   Relative

_ม2 Present Continuous Tense Profile

Present Continuous Tense

สวัสดีนักเรียนชั้นม.3 ที่น่ารักทุกคนค่า วันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง ” Present Continuous Tense” พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัว และข้อสอบวัดความเข้าใจหลังเรียนแบบปังๆกันจร้า หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย เริ่มกับการใช้ Present Continuous Tense   อธิบายสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนั้น เช่น Danniel is playing a football at the moment.

M5 การใช้ Phrasal Verbs

การใช้ Phrasal Verbs

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง ” การใช้ Phrasal Verbs“ กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด Phrasal Verbs คืออะไร   Phrasal Verbs คือ คำกริยา โดยเป็นกริยาที่มีคำอื่นๆ อย่างเช่น คำบุพบท (Preposition) ร่วมกันส่วนใหญ่แล้ว Phrasal Verbs จะบอกถึงการกระทำ มักจะเจอในชีวิตประจำวันในสถานการณ์ทั่วไป

การหารเศษส่วนและจำนวนคละ

เทคนิคการหารเศษส่วนและจำนวนคละ

บทความที่แล้วเราได้พูดถึงหลักการคูณเศษส่วนและจำนวนคละไปแล้ว บทความนี้จะเป็นเรื่องต่อยอดจากการคูณก็คือเรื่องการหารเศษส่วนและจำนวนคละ ถ้าใครอ่านบทความการคูณเศษส่วนและจำนวนคละเข้าใจแล้วรับรองว่าเรื่องนี้จะยิ่งง่ายมากกว่าเดิมแน่นอน เพราะต้องใช้เรื่องการคูณเศษส่วนและจำนวนคละในการคำนวณหาคำตอบเช่นกัน สิ่งที่บทความนี้จะมอบให้กับน้อง ๆก็คือขั้นตอนการแสดงวิธีทำที่เห็นภาพและเข้าใจง่ายเหมือนกันบทความที่แล้วมา

ภาษาเขมรในภาษาไทย เรียนรู้ความเป็นมาและลักษณะภาษา

ภาษาเขมร เป็นภาษาประจำชาติของประเทศกัมพูชา และยังเป็นภาษาที่คนไทยเชื้อสายเขมรใช้พูดกันอีกด้วย แต่นอกจากนั้นแล้ว น้อง ๆ ทราบไหมคะว่ายังมีคำที่มาจากภาษาเขมรปนอยู่ในชีวิตเรามากมายเลยทีเดียว เรียกได้ว่าถ้าหากภาษาบาลีสันสกฤตเป็นภาษาต่างประเทศที่ถูกหยิบยืมมาปรับใช้ในภาษาไทยมากที่สุดแล้ว ภาษาเขมรก็ถือว่าตามมาติด ๆ เลยทีเดียวค่ะ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แล้วคำไหนบ้างที่มาจากภาษาเขมร มีวิธีสังเกตอย่างไร ถ้าน้อง ๆ พร้อมแล้ว ไปเรียนรู้เรื่อง ภาษาเขมรในภาษาไทย พร้อมกันเลยค่ะ   จุดเริ่มต้นของภาษาเขมรในภาษาไทย     เนื่องจากเขตประเทศที่อยู่ติดกัน

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1