การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญมากทางสถิติ เพื่อใช้ในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ โดยข้อมูลที่ได้มีหลากหลายรูปแบบ อาจจะเป็นตัวเลข ข้อความ หรือรูปภาพ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ตอบสนองวัตถุประสงค์หรือเป็นเรื่องที่เราสนใจ โดยสามารถจำแนกข้อมูลได้ตามลักษณะและแหล่งที่มาของข้อมูล ได้แก่

จำแนกตามลักษณะของข้อมูล แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) คือ ข้อมูลที่วัดค่าได้ แสดงเป็นตัวเลข ซึ่งสามารถนำมาใช้เปรียบเทียบกันได้โดยตรง เช่น จำนวนบุตรในครอบครัว, น้ำหนัก, ส่วนสูง, และอายุ เป็นต้น
  2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) คือ ข้อมูลที่ไม่สามารถวัด และแสดงเป็นตัวเลขไม่ได้โดยตรง แต่อธิบายลักษณะหรือคุณสมบัติเชิงคุณภาพได้ (เป็นข้อความหรือตัวเลข) เช่น เพศ, ศาสนา, และคุณภาพสินค้า เป็นต้น

ตัวอย่าง เรามีข้อมูลอะไรเกี่ยวกับน้องหมาตัวนี้บ้าง

ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data):

                          • น้องมี 4 ขา
                          • น้องมี 2 ตา
                          • น้องมี 2 หู

ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data):

                          • น้องมีสีดำและสีน้ำตาล
                          • น้องมีขนยาว
                          • น้องเป็นเพศผู้

จำแนกตามแหล่งที่มาของข้อมูล ได้แก่ บุคคล เช่นผู้ให้สัมภาษณ์, ผู้กรอกแบบสอบถาม, เอกสารทุกประเภท, และข้อมูลสถิติจากหน่วยงาน รวมไปถึงภาพถ่าย แผนที่ หรือแม้กระทั่งวัตถุ สิ่งของ ซึ่งโดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) คือ ข้อมูลที่ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมมาโดยตรงจากแหล่งของข้อมูล เช่น การสอบถาม, การสัมภาษณ์, การทดลอง เป็นต้น
  2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) คือ ข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งของข้อมูล แต่ได้จากการรวบรวมข้อมูลของผู้อื่นที่ได้มีการทำการเก็บข้อมูลไว้แล้ว เช่น เอกสาร, รายงาน, หนังสือ, ข้อมูลที่หน่วยงานได้จัดทำไว้ เป็นต้น

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

โดยทั่วไปสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้หลากหลายวิธี ได้แก่

  • การสำรวจ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลโดยตรง สามารถมีได้หลายรูปแบบ เช่น การสัมภาษณ์โดยตรง, การใช้แบบสอบถาม, การทำโพล (Poll) เป็นต้น
  • การทดลอง เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติจริงและสามารถกำหนดตัวแปรที่ควบคุมสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษาได้
  • การสังเกต เป็นการสังเกตและจดบันทึกในสิ่งที่เราสนใจเอาไว้
  • การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งที่รวบรวมข้อมูลไว้แล้ว เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่มีผู้รวบรวมไว้แล้ว เช่น หนังสือ, บทความ, เอกสารงานวิจัย เป็นต้น

การเลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของประเภทข้อมูลและคำถามทางสถิติที่เราสนใจ โดยต้องคำนึงถึงหลักสำคัญดังนี้

    1. ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปตอบคำถามทางสถิติที่ตั้งไว้ได้หรือไม่
    2. แหล่งข้อมูลเหมาะสมกับคำถามทางสถิติที่ตั้งไว้ได้ไหม
    3. จะดำเนินการเก็บข้อมูลอย่างไร

การตั้งคำถามทางสถิติที่ดีน้อง ๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ –> การตั้งคำถามทางสถิติ


ตัวอย่างการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อตอบคำถามทางสถิติ

คำถามที่ 1 เด็กนักเรียนในโรงเรียนสิงโตวิทยาเดินทางมาโรงเรียนด้วยวิธีใดบ้าง

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ตอบ   วิธีที่ 1.) การสังเกต และใช้แบบฟอร์มจดบันทึกในทุก ๆ เช้าด้านหน้าโรงเรียน

           ตัวอย่างเเบบฟอร์มจดบันทึก

 วิธีที่ 2.) การสำรวจ โดยทำแบบสอบถามเพื่อน ๆ ในโรงเรียนโดยการสุ่มเพื่อน ๆ ในโรงเรียน

 ตัวอย่างเเบบสำรวจ

คำถามที่ 2 ปริมาณของน้ำมีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของต้นถั่วหรือไม่

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ตอบ   วิธีที่ 1.) การทดลอง เช่น เราสามารถปลูกต้นถั่ว 3 ต้น โดยให้ปริมาณน้ำที่ต่างกันและบันทึกความสูงของต้นถั่วทุก ๆ สัปดาห์ เเล้วนำข้อมูลมาสรุปผลเพื่อตอบคำถามทางสถิติ

           วิธีที่ 2.) การเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่รวบรวมไว้แล้ว ในกรณีที่มีคนเคยทดลองและมีแหล่งข้อมูลแล้ว

คำถามที่ 3 นักเรียนห้อง A ชอบสีใดบ้าง

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ตอบ    วิธีที่ 1.) การสำรวจ โดยใช้การสัมภาษณ์ การสอบถามโดยตรงกับนักเรียนในห้อง A

            วิธีที่ 2.) การสำรวจ โดยใช้แบบสอบถาม ก็สามารถนำข้อมูลมาตอบคำถามทางสถิติที่เราตั้งไว้ได้

คำถามที่ 4 จำนวนผู้ใช้บริการห้องสมุดโรงเรียนในแต่ละวันเป็นเท่าไหร่

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ตอบ   วิธีที่ 1.) การเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่รวบรวมไว้แล้ว โดยการสอบถามบรรณารักษ์ของห้องสมุดโรงเรียน ในโรงเรียนส่วนใหญ่บรรณารักษ์จะมีการเก็บข้อมูลการใช้งานห้องสมุดด้วยวิธีการต่าง ๆ ไว้อยู่แล้ว เช่น การใช้แผงกั้นสำหรับนับจำนวน, การเขียนชื่อในสมุดก่อนเข้าใช้ห้องสมุด, การแสกนบัตรนักเรียนก่อนใช้งาน เป็นต้น

 วิธีที่ 2.) การสังเกต โดยการนับจำนวนผู้ใช้บริการห้องสมุดด้วยตนเองแล้วจดบันทึก

คำถามที่ 5 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ตอบ   การทำแบบสอบถาม โดยอาจจะมีการประเมินเป็นระดับเกณฑ์ 1 ถึง 5 หรืออาจจะใช้เป็นระดับความพึงพอใจเช่น น้อย, ปานกลาง, มาก เป็นต้น


สุดท้ายนี้การเลือกใช้วิธีการใดในการเก็บรวบรวมข้อมูลขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความพร้อมการเก็บรวบรวมข้อมูล ไม่มีวิธีใดผิด หากจะต้องเก็บข้อมูลความสูงของต้นไม้ เราคงไม่ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล แต่หากเราจะเก็บข้อมูลความสูงของเพื่อนในห้องเราก็สามาถใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งเป็นขั้นตอนทางสถิติที่มีความสำคัญมาก หากข้อมูลที่ได้รับเกิดความผิดพลาดน้อยก็จะส่งผลให้การนำข้อมูลไปนำเสนอและวิเคราะห์ต่อมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

คลิปวิดีโอ การเก็บรวบรวมข้อมูล

คลิปวิดีโอนี้ได้รวบรวมวิธี การเก็บรวบรวมข้อมูล ไว้อย่างละเอียด ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แฝงไปด้วยความรู้ เเละเทคนิครวมถึงการอธิบาย ตัวอย่าง เเละสอนวิธีคิดที่จะทำให้วิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆ จำนวน

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆ จำนวน

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้หลักการเขียนอัตราส่วนแทนการเปรียบเทียบปริมาณของสิ่งต่างๆที่มากกว่า 2 สิ่งขึ้นไปได้ โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วนของจํานวนหลายๆจํานวนในการแก้ปัญหาหรือสถานการณ์ต่าง ๆได้

แพทยศาสตร์สงเคราะห์ ศึกษาที่มาของมรดกทางวรรณคดีของชาติ

ในยุคสมัยที่การแพทย์ยังไม่เจริญก้าวหน้า ภาวะการเจ็บป่วยของประชาชนมีมากขึ้น แพทยศาสตร์สงเคราะห์ ถูกจัดทำขึ้นเพื่อให้แพทย์และประชาชนสามารถศึกษาเรื่องของโรคภัยได้ด้วยตนเอง เป็นภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณคดีของชาติที่สำคัญมาก ๆ อีกเรื่องหนึ่ง บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับวรรณคีเรื่องสำคัญที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ สืบทอดว่ามีที่มาและเนื้อหาอย่างใน คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์   ความเป็นมา แพทยศาสตร์สงเคราะห์   ตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ เป็นตำราแพทย์แผนโบราณฉบับหลวง มีที่มาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ทรงเห็นว่า บรรดาคัมภีร์แพทย์แผนโบราณและตำรายาพื้นบ้านของไทยนั้นมีความสำคัญ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การรักษาไว้

ช่วงของจำนวนจริง

ช่วงของจำนวนจริง ช่วงของจำนวนจริง เอาไว้บอกขอบเขตของตัวแปรตัวแปรหนึ่ง เช่น x เป็นตัวแปรที่ไม่ทราบค่า a, b เป็นค่าคงที่ใดๆ a < x < b หมายความว่า ค่าของ x อยู่ระหว่าง a ถึง b เป็นต้น ช่วงของจำนวนจริง ประกอบไปด้วย ช่วงเปิดและช่วงปิด

โคลงโลกนิติ

ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่แฝงอยู่ในโคลงโลกนิติ

หลังจากที่ได้เรียนรู้ความเป็นมาและเนื้อหาในโคลงโลกนิติกันแล้ว น้อง ๆ ก็คงจะอยากรู้กันแล้วใช่ไหมคะว่าตัวบทในโคลงโลกนิติที่มีอยู่มากมายนั้น มีตัวบทไหนที่เด่น ๆ กันบ้าง วันนี้เรามาศึกษาตัวบทที่น่าสนใจเพื่อทำความเข้าใจถึงคติธรรมและคุณค่าที่อยู่ในเรื่องกันค่ะ โคลงโลกนิติ โคลงโลกนิติเป็นบทประพันธ์ที่มีคำสอนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการคบเพื่อน การปฏิบัติตัวกับพ่อแม่ หรือแม้แต่การดำเนินชีวิตในแต่ละวัน เรามาดูตัวบทเด่น ๆ ที่ควรรู้กันทีละบทเลยนะคะว่าแต่ละบทสอนเรื่องอะไรบ้าง   ศึกษาตัวบท     ความหมาย กล่าวถึงปลาร้าที่มีกลิ่นเหม็น และใบคา แม้ใบคาจะเป็นใบไม้ที่ไม่มีกลิ่นเฉพาะตัว แต่เมื่อนำไปห่อปลาร้าก็จะทำให้มีกลิ่นเหม็นจากปลาร้าติดไปด้วย

รู้ไว้ไม่พลาด! คำที่มักเขียนผิด ในภาษาไทย มีคำว่าอะไรบ้าง?

ปัจจุบัน ปัญหาเรื่องการสะกดคำในภาษาไทยถือเป็นปัญหาใหญ่หลัก ๆ ของเด็กทุกคนในสมัยนื้ เนื่องจากว่าโลกของเรามีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ภาษามีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เพื่อให้สะดวกต่อการใช้ในโซเชี่ยลมีเดียพูดคุยกับเพื่อน โดยการจะตัดคำให้สั้นลงหรือเปลี่ยนตัวสะกด ลดการใช้ตัวการันต์ ทำให้เมื่อต้องมาเขียนคำที่ถูกต้องกันจริง ๆ ก็มีเด็ก ๆ หลายคนที่สะกดผิด ไม่รู้ว่าคำที่ถูกต้องเป็นอย่างไร น้อง ๆ อยากลองสำรวจตัวเองดูกันไหมคะว่าคำในภาษาไทยที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เราเขียนถูกกันมากน้อยแค่ไหน อยากถามรู้แล้วเราไปดูเรื่อง คำที่มักเขียนผิด พร้อมกันเลยค่ะ   การเขียนสะกดคำ  

วิชชุมมาลาฉันท์

เรียนรู้การแต่ง วิชชุมมาลาฉันท์ 8 ฉันท์ที่เปล่งสำเนียงยาวดุจสายฟ้า

ฉันท์ คือ ลักษณะถ้อยคำที่กวีได้ประพันธ์ขึ้นเพื่อให้เกิดความไพเราะ โดยกำหนดครุ ลหุ และสัมผัสไว้เป็นมาตรฐาน มีด้วยกันมากมายหลายชนิด จากที่บทเรียนครั้งก่อนเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับที่มาและพื้นฐานการแต่งฉันท์ไปแล้ว บทเรียนในวันนี้เราจะมาเจาะลึกให้ลึกขึ้นไปอีกด้วยการฝึกแต่ง วิชชุมมาลาฉันท์ 8 กันค่ะ ฉันท์ประเภทนี้จะเป็นอย่างไร ทำไมถึงเป็น 8  ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   คำประพันธ์ประเภท ฉันท์   ฉันท์ในภาษาไทยได้แบบแผนมาจากอินเดีย ในสมัยพระเวท แต่ลักษณะฉันท์ในสมัยพระเวทไม่เคร่งครัดเรื่องครุ ลหุ นอกจากจะบังคับเรื่องจำนวนคำในแต่ละบท

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1