การตั้งคําถามทางสถิติ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การตั้งคําถามทางสถิติ

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การตั้งคําถามทางสถิติ ไว้อย่างละเอียด ก่อนอื่นน้องมาทำความเข้าใจกับความหมายของ “คำถามทางสถิติ”

คำถามทางสถิติ  หมายถึง คำถามที่มีคำตอบหรือคาดว่าจะได้รับคำตอบมากกว่า 1 คำตอบ รวมถึงคำถามที่ต้องการคำตอบซึ่งได้มาจากการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานบางอย่างแล้วนำมาจำแนก  คำนวณ หรือวิเคราะห์เพื่อใช้ตอบคำถามนั้น

คำถามทางสถิติจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่

  1. ระบุสิ่งที่ต้องการศึกษาได้
  2. มีกลุ่มบุคคลหรือสิ่งที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลที่หลากหลาย
  3. สามารถคาดการณ์ได้ว่าคำตอบที่จะเกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน

ตัวอย่างคำถามทางสถิติ

คำถามต่อไปนี้เป็นคำถามทางสถิติ

  • อัตราส่วนที่เหมาะสมในการผสมสีทาบ้าน แต่ยี่ห้อควรเป็นอย่างไร
  • ประเทศไทยมีวงเงินงบประมาณรายจ่ายทั้งสิ้นเท่าไร
  • เดืือนธันวาคมในเขตกรุงเทพมหานครมีฝนตกปริมาณเท่าไร

ตัวอย่าง ข้อความต่อไปนี้เป็นคำถามทางสถิติหรือไม่ เพราะเหตุใด

1) ในหนึ่งสัปดาห์กิตติกรกินขนมหวานกี่ชาม

ตอบ ไม่เป็นคำถามทางสถิติ เพราะคำถามนี้มีคำตอบเพียงคำตอบเดียว นอกจากนี้กลุ่มที่จะเก็บข้อมูลด้วยมีเพียงกิตติกรเท่านั้น

2)  ใน พ.ศ.2560 รายได้เฉลี่ยของประชากรไทยเป็นเท่าใด

ตอบ เป็นคำถามทางสถิติ เพราะคำถามนี้มีสิ่งที่ต้องการศึกษา คือ รายได้เฉลี่ยของประชากรไทย  มีกลุ่มที่จะเก็บข้อมูลด้วย คือ ประชากรไทย ซึ่งหลากหลาย และคาดการณ์ได้ว่าคำาตอบที่อาจจะเกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน

3) นักเรียนในห้องนี้ เกิดเดือนไหนบ้าง

ตอบ เป็นคำถามทางสถิติ เพราะคำถามนี้มีสิ่งที่ต้องการศึกษา คือ เดือนที่นักเรียนเกิด มีกลุ่มที่จะเก็บข้อมูลด้วย คือ นักเรียนในห้อง ซึ่งหลากหลาย และคาดการณ์ได้ว่าคำาตอบที่อาจจะเกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง เดือนธันวาคม 

4) อายุการใช้งานของหลอดไฟตราจีน่าเป็นเท่าใด

ตอบ เป็นคำถามทางสถิติ เพราะคำถามนี้มีสิ่งที่ต้องการศึกษา คือ อายุการใช้งานของหลอดไฟตราจีน่า มีกลุ่มที่จะเก็บข้อมูลด้วย คือ หลอดไฟตราจีน่า ซึ่งหลากหลาย และคาดการณ์ได้ว่าคำาตอบที่อาจจะเกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน 

5) ครูอุ๊ชอบดอกไม้ชนิดไหนบ้าง

ตอบ ไม่เป็นคำถามทางสถิติ เพราะคำถามนี้มีคำตอบเพียงคำตอบเดียว นอกจากนี้กลุ่มที่จะเก็บข้อมูลด้วยมีเพียงครูอุ๊เท่านั้น

ประเภทของคำถามทางสถิติ

คำถามทางสถิติแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ คำถามพื้นฐาน คำถามเชิงสรุป คำถามเชิงเปรียบเทียบ คำถามเชิงความสัมพันธ์

คำถามพื้นฐาน

ตัวอย่างคำถาม : ดัชนีมวลกายของนักศึกษาในห้องนี้เป็นเท่าใด

เป็นคำถามที่ทำให้ได้ชุดของคำตอบ 1 ชุด ซึ่งเป็นคำตอบที่ผู้ตอบสามารถตอบได้ตามสภาพที่เป็นจริงหรือตามความคิดเห็นของตนเอง

คำถามเชิงสรุป

ตัวอย่างคำถาม : นักศึกษาในห้องนี้ มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ สมส่วนมีจำนวนกี่คน

เป็นคำถามเพื่อหาข้อสรุปเป็นภาพรวมที่ต้องใช้คำตอบต่อจากคำถาม ขั้นพื้นฐานมาจัดจำแนก คำนวณ หรือวิเคราะห์ก่อน จึงสรุปตอบเป็นภาพรวมได้

คำถามเชิงเปรียบเทียบ

ตัวอย่างคำถาม : จำนวนนักศึกษาในห้องนี้ ที่มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์อ้วนมากกว่าจำนวนนักศึกษาที่มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ผอมใช่หรือไม่

เป็นคำถามที่ต้องใช้คำตอบจากคำถามพื้นฐานอย่างน้อย 2 ชุด นำมาจัดจำแนก คำนวณ หรือวิเคราะห์เปรียบเทียบกันเพื่อหาข้อสรุป

คำถามเชิงความสัมพันธ์

ตัวอย่างคำถาม จำนวนนักศึกษาในห้องนี ที่มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติกับจำนวนนักศึกษาที่มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ผอม มีความสัมพันธ์กันหรือไม่

เป็นคำถามที่ต้องใช้คำตอบจากคำถามพื้นฐานอย่างน้อย 2 ชุด เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลนั้น ๆ

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การตั้งคําถามทางสถิติ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนสถิติในระดับชั้น ม.3 ซึ่งน้องๆ

สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ สถิติ (ค่ากลางของข้อมูล/การกระจายของข้อมูล) ⇐⇐

วิดีโอ การตั้งคําถามทางสถิติ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เตรียมสอบเข้า ม.1 โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย

มาเตรียมสอบเข้าสามเสนม.1 กันเถอะ เตรียมสอบเข้าสามเสนกันเถอะ! วันนี้ Nockacademy มีข้อมูลการสอบเข้าม.1 โรงเรียนสามเสนวิทยามาฝากกันค่า  น้อง ๆ คนไหนกำลังหาข้อมูลอยู่ต้องกดบุ๊คมาร์คไว้แล้วเพราะว่าเรารวบรวมข้อมูลมาแบบจัดเต็ม ไปดูกันเลยดีกว่าว่าต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง Let’s go! ก่อนอื่นต้องขอเกริ่นเกี่ยวกับโรงเรียนสามเสนวิทยาลัยก่อนเลยค่ะ ว่าทำไมโรงเรียนนี้ถึงเป็นที่มีชื่อเสียงมายาวนานแล้วก็มีอัตราการแข่งขันที่สูงมากที่สุดแห่งหนึ่ง เหตุผลก็เพราะว่าโรงเรียนสามเสนวิทยาลัยนั้นก่อตั้งมานานมากแล้วตั้งแต่ปีพ.ศ. 2494 มีการพัฒนาและยกระดับสถานศึกษามาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันก็ได้ขยายแผนการเรียนที่เฉพาะด้านมากยิ่งขึ้น จึงทำให้โรงเรียนสามารถผลิตนักเรียนที่มีความสามารถออกมาเป็นจำนวนมาก เด็ก ๆ จึงมีความต้องการที่จะสอบเข้าแข่งขันเพื่อเข้าศึกษาต่อกันอย่างล้นหลามนั้นเองค่ะ หลักสูตรสามเสนวิทยาลัยม.ต้น ก่อนอื่นต้องมาดูหลักสูตรกันก่อนเลยค่ะ ว่าหลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นแบ่งออกเป็นอะไรบ้าง

สัญลักษณ์แทนการบวก

สัญลักษณ์แทนการบวก

สัญลักษณ์แทนการบวก สัญลักษณ์แทนการบวก หรือ   เรียกว่า ซิกมา ( Sigma ) เราใช้เพื่อลดรูปการบวกกันของตัวเลข เนื่องจากว่าบางทีเป็นการบวกของจำนวนตัวเลข 100 พจน์ ถ้ามานั่งเขียนทีละตัวก็คงจะเยอะไป เราจึงจะใช้เครื่องหมายซิกมามาใช้เพื่อประหยัดเวลาในการเขียนนั่นเอง เช่น 1 + 2 + 3 + 4 +5  สามารถเขียนแทนด้วย

ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง

ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง เป็นการส่งสมาชิกจากของเซตหนึ่งเรียกเซตนั้นว่าโดเมน ส่งไปให้สมาชิกอีกเซตหนึ่งเซตนั้นเรียกว่าเรนจ์ จากบทความก่อนหน้าเราได้พูดถึงฟังก์ชันและการส่งสมาชิกในเซตไปแล้วบางส่วน ในบทความนี้เราจะได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่งมากขึ้น จากที่เรารู้ว่าเซตของคู่อันดับเซตหนึ่งจะเป็นฟังก์ชันได้นั้น สมาชิกตัวหน้าต้องไปเหมือนกัน แต่ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่งเป็นการกำหนดขอบเขตให้ฟังก์ชันนั้นแคปลงกว่าเดิม เช่น {(1, a), (2, b), (3, a), (4, c)}  จากเซตของคู่อันดับเราสมารถตอบได้เลยว่าเป็นฟังก์ชัน เพราะสมาชิกตัวหน้าไม่เหมือนกัน แต่ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง คือการที่เรามีเซต 2 เซต แล้วเราส่งสมาชิกในเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง

M6 Phrasal Verbs

Phrasal Verbs 

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.6 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “Phrasal Verbs“ กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด   ความหมาย Phrasal Verbs  Phrasal Verbs คือ คำกริยา โดยเป็นกริยาที่มีคำอื่นๆ อย่างเช่น คำบุพบท (Preposition) ร่วมกันส่วนใหญ่แล้ว Phrasal Verbs จะบอกถึงการกระทำ มักจะเจอในชีวิตประจำวันในสถานการณ์ทั่วไป ไม่เป็นทางการมาก ข้อดีคือจะทำให้ภาษาใกล้เคียงกับเจ้าของภาษามากขึ้นนั่นเองจ้า

NokAcademy_ม5 Relative Clause

การเรียนเรื่อง Relative Clause

สวัสดีค่ะนักเรียนม. 5 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปดู Relative clause หรือ อนุประโยคในภาษาอังกฤษ ที่ทำหน้าที่เหมือนกันกับคำคุณศัพท์ (Adjective) ซึ่งมีหน้าที่ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า  และจะใช้ตามหลัง Relative Pronoun เช่น  who, whom, which, that, และ whose แต่สงสัยมั้ยคะว่าทำไมต้องเรียนเรื่องนี้ ลองดูตัวอย่างประโยคด้านล่างแล้วจะร้องอ๋อมากขึ้น พร้อมข้อสอบ Error

present progressive

Present Progressive พร้อมโครงสร้าง และวิธีใช้

สวัสดีน้องๆ ม. 4 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่อง Present Progressive ซึ่งเป็นอีกหนึ่ง Tense ที่สำคัญเช่นกันในไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เราไปดูกันเลยดีกว่าครับ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1