การบวก ลบ คูณ หารจำนวนเต็ม

ารบวก-ลบ-คูณ-หารจำนวนเต็ม

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทความนี้จะทำให้น้องๆ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การบวก ลบ คูณ หารจำนวนเต็ม มากยิ่งขึ้น ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างไว้อย่างหลากหลายและอธิบายไว้อย่างละเอียด โดยก่อนที่น้องๆจะเรียนเรื่องนี้จะต้องเรียนรู้เรื่อง จำนวนตรงข้าม และ ค่าสัมบูรณ์ เพื่อใช้ในการบวก ลบ จำนวนเต็ม ซึ่งมีวิธีการดังตัวอย่างต่อไปนี้

การบวกจำนวนเต็ม

การบวกจำนวนเต็มบวก โดยใช้ค่าสัมบูรณ์ ให้น้องๆทบทวนการหาค่าสัมบูรณ์ ดังนี้

|-12|=   12

|4|=   4

เนื่องจาก   ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มบวก และ จำนวนเต็มลบ ถอดค่าสมบูรณ์ได้ จำนวนเต็มบวก เสมอ               

การบวกจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก          

ตัวอย่างที่ 1   จงหาผลบวกของจำนวนต่อไปนี้

1)   3 + 4

วิธีทำ      3 + 4 = | 3 | + | 4 |

      = 3 + 4

      = 7

ตอบ   7

2)   3 + 9

วิธีทำ      3 + 9  = | 3 | + | 9 |

       = 3 + 9

       = 12

ตอบ  12

        การบวกจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก ทำได้โดยการนำค่าสัมบูรณ์มาบวกกัน  ผลลัพธ์ที่ได้เป็นจำนวนเต็มบวก

การบวกจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มลบ

ตัวอย่างที่ 2   จงหาผลบวกของจำนวนต่อไปนี้  

1)   (-3) + (-4)  

วิธีทำ (-3) + (-4) = -7

ตอบ  -7

2)  (-4) + (-1)

วิธีทำ  (-4) + (-1)  =  -5

ตอบ   -5

          การบวกจำนวนเต็มลบกับจำนวนเต็มลบ  ผลลัพธ์ที่ได้เป็นจำนวนเต็มลบ

การบวกจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มลบ 

ตัวอย่างที่ 3  จงหาผลบวกของจำนวนต่อไปนี้

1)   6 + (-4)  

วิธีทำ   6 + (-4) = 2

ตอบ   2

2)   2 + (-6)

วิธีทำ  2 + (-6) = -4

ตอบ   -4

3)   3 + (-2)

วิธีทำ  3 + (-2) = 1

ตอบ   1

4)   7 + (-5)

วิธีทำ  7 + (-5) = 2

ตอบ   2

การบวกจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มบวก 

ตัวอย่างที่ 4  จงหาผลบวกของจำนวนต่อไปนี้

1)   (-2) + 5

วิธีทำ   (-2) + 5 = 3

ตอบ   3

2)  (-5) + 3

วิธีทำ   (-5) + 3 = -2

ตอบ   -2

3)  (-7) + 5

วิธีทำ   (-7) + 5 = -2

ตอบ   -2

4)  (-4) + 10

วิธีทำ   (-4) + 10 = 6

ตอบ   6

          การบวกจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มลบ ทำได้โดยการนำจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่าเป็นตัวตั้ง แล้วลบด้วยจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์น้อยกว่า ผลลัพธ์ที่ได้เป็นจำนวนเต็มบวกหรือจำนวนเต็มลบตามจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า

การลบจำนวนเต็ม

การลบจำนวนเต็มคือการบวกด้วยจำนวนตรงข้าม เช่น จำนวนตรงข้ามของ 2 คือ -2 , จำนวนตรงข้ามของ 8 คือ -8

ตัวอย่างที่ 5  จงหาผลลบของจำนวนต่อไปนี้

1)   7 – 12

วิธีทำ   7 – 12  =  7 + (-12)

                      =  -5

ตอบ       -5

2)  (-8) – 2

วิธีทำ    (-8) – 2  =  (-8) + (-2)

                         =  -10    

ตอบ       -10

3)   3 – (-5)

วิธีทำ    3 – (-5)       =  3 + 5

                               =  8

ตอบ       8

4)   (-3) – (-8)

วิธีทำ      (-3) – (-8)   =   (-3) + 8

                                =   5    

ตอบ       5

5)   8 – 5

วิธีทำ    8 – 5  =  8 + (-5)

                     =     3

ตอบ       3

6)   (-9) – 4

วิธีทำ        (-9) – 4   =  (-9) + (-4)

                              =  -13    

ตอบ       -13

7)   6 – (-4)

วิธีทำ    6 – (-4)       =  6 + 4

                               =  10

ตอบ       10

8)   (-8) – (-2)

วิธีทำ        (-8) – (-2)   =   (-8) + 2

                                  =   -6    

ตอบ       -6

9)   (-8) – 4

วิธีทำ   (-8) – 4  =  (-8) + (-4)

                         =  -12

ตอบ      -12

10)   (-9) – (-3)

วิธีทำ   (-9) – (-3)  =  (-9) + 3

                             =  -6

ตอบ      -6

การคูณจำนวนเต็ม

การคูณจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก

ตัวอย่างที่ 6  จงหาผลคูณของจำนวนเต็มต่อไปนี้

1)   3 x 2  

วิธีทำ        3 x 2  =   | 3 | x | 2 |

                         =   3 x 2

                         =   6

ตอบ     6

2)   4 x 7  

วิธีทำ        4 x 7  =   | 4 | x | 7 |

                         =   4 x 7

                         =   28

ตอบ     28

3)   4 x 10

วิธีทำ       4 x 10  =   | 4 | x | 10 |

                         =   4 x 10

                         =   40

ตอบ     40

4)   6 x 9  

วิธีทำ  6 x 9  =   | 6 | x | 9 |

                         =   6 x 9

                         =   54

ตอบ     54

       การคูณจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก  คำตอบที่ได้เป็นจำนวนเต็มบวกที่มี  ค่าสัมบูรณ์เท่ากับผลคูณของค่าสัมบูรณ์ของสองจำนวนนั้น (บวกคูณบวกได้บวก)

การคูณจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มลบ

ตัวอย่างที่ 7  จงหาผลคูณของจำนวนเต็มต่อไปนี้

1)   (-2)(-5) = 0

วิธีทำ   (-2)(-5)  =   | -2 | x | -5 |

                         =   2 x 5

                         =   10

ตอบ     10

(2)  (-7)(-3) = 0

วิธีทำ       (-7)(-3)   =  | -7 | x | -3 |

                              =   7 x 3

                              =   21

ตอบ     21

       การคูณจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มลบ คำตอบที่ได้เป็นจำนวนเต็มบวกที่มี  ค่าสัมบูรณ์เท่ากับผลคูณของค่าสัมบูรณ์ของสองจำนวนนั้น (ลบคูณลบได้บวก)

ตัวอย่างที่ 8  จงหาผลลัพธ์ของจำนวนต่อไปนี้

1)   [(-2)(4)](-9) 

วิธีทำ   [(-2)(4)](-9)  =  (-8) (-9)

                                =   72

ตอบ     72

2)    [ 5(-7)] 6 

วิธีทำ     [ 5(-7)]6   =  (-35) 6

                              =    -210

ตอบ     -210

3)   [ 2(-5)](-4) 

วิธีทำ     [ 2(-5)](-4)  =   (-10) (-4)

                                 =   40

ตอบ     40

4)   9[ (-5)(-4)]  

วิธีทำ   9[(-5)(-4)]   =  9 x 20

                               =   180

ตอบ     180

การหารจำนวนเต็ม

ตัวอย่างที่ 9  จงหาผลหารของจำนวนเต็มต่อไปนี้

1)   36 ÷ 6

หาจำนวนเต็มที่คูณกับ 6 แล้วได้ 36

เนื่องจาก 6 x 6 = 36 

ดังนั้นจำนวนที่ต้องการคือ 6

นั่นคือ 36 ÷ 6 = 6

2)   (-54) ÷ (-9)

หาจำนวนเต็มที่คูณกับ -9 แล้วได้ -54

เนื่องจาก (-9) x 6 = -54 

ดังนั้นจำนวนที่ต้องการคือ 6

นั่นคือ (-54) ÷ (-9) = 6

         การหารจำนวนเต็ม เมื่อตัวตั้งและตัวหารเป็นจำนวนเต็มบวกทั้งคู่ หรือจำนวนเต็มลบทั้งคู่ จะได้คำตอบเป็นจำนวนเต็มบวก (ลบหารด้วยลบ หรือ บวกหารด้วยบวก ได้บวกเสมอ)

ตัวอย่างที่ 10  จงหาผลหารของจำนวนเต็มต่อไปนี้

1)   72 ÷ (-9)

หาจำนวนเต็มที่คูณกับ -9 แล้วได้ 72

เนื่องจาก (-9) x (-8) = 72 

ดังนั้นจำนวนที่ต้องการคือ -8

นั่นคือ 72 ÷ (-9) = -8

2)   (-36) ÷ 6

หาจำนวนเต็มที่คูณกับ 6 แล้วได้ -36

เนื่องจาก 6 x (-6) = -36 

ดังนั้นจำนวนที่ต้องการคือ -6

นั่นคือ (-36) ÷ 6 = -6

         การหารจำนวนเต็ม เมื่อตัวตั้งและตัวหารตัวใดตัวหนึ่งเป็นจำนวนเต็มลบ โดยที่อีกตัวหนึ่งเป็นจำนวนเต็มบวก จะได้คำตอบเป็นจำนวนเต็มลบ (ลบหารด้วยบวก หรือ บวกหารด้วยลบ ได้ลบเสมอ)

ตัวอย่างที่ 11  จงหาผลหารของจำนวนเต็มต่อไปนี้

1)   14 ÷ (-7) = -2    (หาจำนวนที่คูณกับ -7 แล้วได้ 14 คือ -2)

2)   12 ÷ 3 = 4    (หาจำนวนที่คูณกับ 3 แล้วได้ 12 คือ 4)

3)   (-21) ÷ 3 = -7    (หาจำนวนที่คูณกับ 3 แล้วได้ -21 คือ -7)

4)   (-35) ÷ (-5) = 7    (หาจำนวนที่คูณกับ -5 แล้วได้ -35 คือ 7)

5)   40 ÷ 8 = 5    (หาจำนวนที่คูณกับ 8 แล้วได้ 40 คือ 5)

สรุป
  • การบวกจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก ได้เป็นจำนวนเต็มบวก
  • การบวกจำนวนเต็มลบกับจำนวนเต็มลบ ได้เป็นจำนวนเต็มลบ
  • การบวกจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มลบ ได้เป็นจำนวนเต็มบวกหรือจำนวนเต็มลบตามจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า    
  • การคูณจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก  ได้เป็นจำนวนเต็มบวก (บวกคูณบวกได้บวก)
  • การคูณจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มลบ ได้เป็นจำนวนเต็มบวก (ลบคูณลบได้บวก)
  •  การหารจำนวนเต็ม ลบหารด้วยลบ ได้บวก หรือ บวกหารด้วยบวก ได้บวก
  • การหารจำนวนเต็ม ลบหารด้วยบวก ได้ลบ หรือ บวกหารด้วยลบ ได้ลบ

คลิปวิดีโอ การบวก ลบ คูณ หารจำนวนเต็ม

        คลิปวิดีโอนี้ได้รวบรวมวิธี การบวก ลบ คูณ หารจำนวนเต็ม ไว้อย่างละเอียด ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แฝงไปด้วยสาระความรู้ และเทคนิค รวมถึงการอธิบาย ตัวอย่าง และสอนวิธีคิดที่จะทำให้วิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

โจทย์ปัญหาบวก ลบ ทศนิยม

บทความนี้จะยกตัวอย่างโจทย์ปัญหาการบวกลบทศนิยม เพื่อให้น้องๆได้ทำความเข้าใจและศึกษาการแสดงวิธีคิด หากต้องไปเจอการแก้โจทย์ปัญหาในห้องเรียนจะสามารถนำความรู้จากบทความนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

Suggesting Profile

สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุย “สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ พร้อมทั้งเทคนิคการพูดตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า สำนวนการเสนอ   ในชีวิตประจำวันของเรานั้น ล้วนจะต้องเจอกลุ่มประโยคคำถามในเชิงชักชวน และการเสนอแนะที่ใช้เป็นรูปแบบคำถามนั้นถือเป็นการเสนอแนะชักชวนทางอ้อม ถ้าเทียบกับนิสัยคนไทยแล้ว ก็เพื่อแสดงถึงความเกรงใจ ไม่พูดมาตรงๆ เพื่อจุดประสงคืบางอย่าง ซึ่งเป็นนิสัยที่คนไทยส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว ในภาษาอังกฤษการใช้ภาษาเหล่านี้จะทำให้การสนทนาดูเป็นธรรมชาติและคล่องมากขึ้น โดยที่บางครั้งผู้ถามนั้นหว่านล้อมผู้ฟังด้วยการ ชวนให้ทำ หรือแนะนำให้ทำนั่นเอง ประโยคคำถามที่ใช้มีดังนี้  

สังข์ทอง จากนิทานชาดกสู่วรรณคดีไทยอันเลื่องชื่อ

สังข์ทอง เป็นวรรณคดีที่แพร่หลายและโด่งดังอย่างมากในสังคมไทย ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่ร้อยปี ความนิยมของวรรณคดีเรื่องดังกล่าวนี้ก็ยังไม่เสื่อมคลาย ดูได้จากการที่ถูกผลิตซ้ำตั้งแต่เป็นกลอนบทละครจนถึงละครโทรทัศน์ ที่น้อง ๆ หลายคนก็คงจะเดินเห็นผ่านตากันมาแล้วบ้าง บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึงความเป็นมาของวรรณคดีเรื่องนี้ พร้อมเรื่องย่อหนึ่งตอนสำคัญที่เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมดอย่างตอน กำเนิดพระสังข์ กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยนะคะ   สังข์ทอง ความเป็นมา     สังข์ทอง มีที่มาจาก สุวรรณสังขชาดก

มารยาทในการอ่านที่นักอ่านทุกคนควรรู้

บทเรียนวันนี้เป็นเรื่องง่าย ๆ ที่มักจะถูกละเลย มองข้ามไป นั่นก็คือเรื่องมารยาทในการอ่านนั่นเองค่ะ น้อง ๆ หลายคนคงสงสัยว่ามารยาทในการอ่านนั้นสำคัญอย่างไร ทำไมเราถึงต้องเรียนรู้เรื่องนี้เช่นเดียวกับมารยาทในการฟังและมารยาทในการพูดด้วย เราไปเรียนรู้เรื่องนี้ไปพร้อม ๆ เลยดีกว่าค่ะ มารยาทในการอ่าน   ความหมายของมารยาทในการอ่าน มารยาท หมายถึง กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อยถูกกาลเทศะ ส่วนการอ่าน หมายถึง พฤติกรรมการรับสารอย่างหนึ่ง รับรู้เรื่องราวโดยการใช้ตามองแล้วใช้สมองประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ เกิดเป็นการรับรู้และความเข้าใจ มารยาทในการอ่านจึงหมายถึง

wh- question

Wh- Question ใน Past Simple และ Future Tense

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ Wh- Question ในประโยคที่เป็น Past Simple และ Future Tense จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยครับ

ขัตติยพันธกรณี อานุภาพของบทประพันธ์ที่พลิกเหตุร้ายให้กลายเป็นดี

ขัตติยพันธกรณี เป็นเรื่องราวการโต้ตอบด้วยบทประพันธ์ระหว่างรัชกาลที่ 5 ที่กำลังอยู่ในท้อแท้และประชวรอย่างหนักและกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่เขียนจดหมายตอบกลับมาเพื่อให้กำลังใจ จากบทเรียนคราวที่แล้ว น้อง ๆ ก็คงจะรู้ถึงสาเหตุแล้วว่าความทุกข์ใจของรัชกาลที่ 5 นั้นมาจากข้อพิพาทเรื่องดินแดนกับฝรั่งเศส บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับตัวบทกันบ้าง เพื่อถอดคำประพันธ์และศึกษาคุณค่าของวรรณคดีเรื่องนี้กันค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในขัตติยพันธกรณี     ถอดความ เพราะเกิดปัญหาเป็นข้อพิพาทเรื่องดินแดนกับฝรั่งเศสทำให้รัชกาลที่ 5 ทรงประชวรมาเป็นเวลานาน เพราะความไม่สบายกายและไม่สบายใจนี้เองที่ทำให้พระองค์มีความคิดจะเสด็จสวรรคต

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1