โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ ห.ร.ม. และ ค.ร.น.

บทความนี้เป็นเรื่องการแก้ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ ห.ร.ม. และ ค.ร.น ซึ่งโจทย์ที่ได้นำมาเป็นตัวอย่างจะประกอบด้วยการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา การเลือกใช้วิธีการแก้โจทย์ปัญหา รวมไปถึงการแสดงวิธีทำอย่างละเอียด หวังว่าน้องๆจะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ได้จริงกับโจทย์ปัญหาในห้องเรียน ซึงเป็นเเรื่องย่อยของ ห.ร.ม. และ ค.ร.น. ป.6
โจทย์ปัญหา ห.ร.ม. และค.ร.น.

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

น้องๆ หลายคนมักมีปัญหากับการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ใช่หรือไม่คะ บทความนี้ได้รวบรวม โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ ห.ร.ม. และ ค.ร.น. พร้อมทั้งแสดงวิธีทำอย่างละเอียด ซึ่งจะทำให้น้องๆมองโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์์เป็นเรื่องง่ายดาย ทั้งนี้ น้องๆอย่าลืมทบทวนวิธีการหา ห.ร.ม. และ ค.ร.น. ป.6 กันด้วยนะคะ รวมถึงทบทวน ตัวประกอบของจำนวนนับ ด้วยนะคะ แต่ก่อนจะไปวิเคราห์โจทย์ปัญหาเรามาทบทวนวิธีการหา ห.ร.ม. กันก่อนคะ

ตัวหารร่วมที่มากที่สุด (ห.ร.ม.) ของจำนวนนับตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไป คือ ตัวประกอบร่วมที่มีค่ามากที่สุดที่สามารถหารจำนวนทั้งหมดเหล่านั้นได้ลงตัว มีวิธีการหา ห.ร.ม. 3 วิธี ด้วยกัน คือ การพิจารณาตัวประกอบ การแยกตัวประกอบ และการตั้งหาร  ห.ร.ม. สามารถนำไปใช้ในการทอนเศษส่วนให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ และนำไปใช้แบ่งสิ่งของที่มีจำนวนไม่เท่ากันออกเป็นส่วนที่เท่ากันและให้มีค่ามากที่สุด

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ ห.ร.ม. 

โจทย์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการนำความรู้เรื่อง ห.ร.ม. ไปใช้แก้ปัญหา

ตัวอย่างที่ 1 ทหาร 3 กอง กองละ 78, 91 และ 104 คน  ตามลำดับ  ถ้าแบ่งทหารออกเป็นหมู่ ๆ ละเท่ากัน  จะได้ทหารมากที่สุดหมู่ละกี่คน

(มีคีย์เวิร์ด คำว่า มากที่สุด ตัวอย่างที่ 1 จึงแก้ปัญหาโดยใช้ ห.ร.ม.)

วิธีทำ  แบ่งทหารออกเป็นหมู่ๆ ละเท่า ๆ กันและให้ได้ทหารมากที่สุด  นั่นคือหา  ห.ร.ม. ของ 78, 91 และ 104

 หา ห.ร.ม. ของ  78, 91 และ 104 จะได้

 13 )  78       91        104

           6         7           8

ห.ร.ม.  ของ  78, 91 และ 104   คือ  13

ดังนั้น จะแบ่งทหารได้มากที่สุดหมู่ละ  13  คน


ตัวอย่างที่ 2  มีฝรั่ง 48 ผล ชมพู่ 84 ผล และส้ม 60 ผล ต้องการแบ่งผลไม้ออกเป็นกอง ๆ ละเท่า ๆ กัน ให้แต่ละกองมีจำนวนมากที่สุดและไม่เหลือเศษ โดยที่ผลไม้แต่ละชนิดไม่ปะปนกัน จะแบ่งผลไม้เหล่านี้ได้ทั้งหมดกี่กอง

(มีคีย์เวิร์ด คำว่า มากที่สุด ตัวอย่างที่ 2 จึงแก้ปัญหาโดยใช้ ห.ร.ม.)

วิธีทำ มีฝรั่ง 48 ผล ชมพู่ 84 ผล และส้ม 60 ผลต้องการแบ่งผลไม้ออกเป็นกอง ๆ ละเท่าๆ กัน ให้แต่ละกองมีจำนวนมากที่สุดและไม่เหลือเศษ นั่นคือหา ห.ร.ม. ของ  48, 84 และ 60

หา ห.ร.ม. ของ  48, 84 และ 60 จะได้

3 )48    84      60

2 ) 16     28     20              

2 )   8    14     10

        4     7      5

นั่นคือ ห.ร.ม. ของ  48, 84 และ 60  คือ 3 x 2 x 2 = 12

ดังนั้น จะต้องแบ่งผลไม้ออกเป็นกอง กองละ  12 ผล เท่า ๆ กัน

จะแบ่งฝรั่งที่มี 48 ผล ออกเป็นกอง ๆ ละ 12 ผล เท่า ๆ กันได้  48 ÷ 12 = 4  กอง

จะแบ่งชมพู่ที่มี 84 ผลออกเป็นกอง ๆ ละ 12 ผล เท่า ๆ กันได้  84 ÷ 12 = 7  กอง

จะแบ่งส้มที่มี 60 ผลออกเป็นกอง ๆ   ละ 12 ผล เท่า ๆ กันได้  60 ÷ 12 = 5  กอง

เพราะฉะนั้นจะแบ่งผลไม้แต่ละชนิดโดยไม่ปะปนกันได้ทั้งหมด 4 + 7 + 5 = 16 กอง


ตัวอย่างที่ 3 จงหาจำนวนนับที่มากที่สุดที่หาร  267,  168  และ  201  แล้วเหลือเศษ 3 เท่ากัน

(มีคีย์เวิร์ด คำว่า มากที่สุด ตัวอย่างที่ 3 จึงแก้ปัญหาโดยใช้ ห.ร.ม.)

วิธีทำ  จำนวนที่หาร 267 แล้วเหลือเศษ 3 คือจำนวนที่หาร 267 – 3 = 264 ลงตัว

          จำนวนที่หาร  168  แล้วเหลือเศษ 3  คือจำนวนที่หาร 168 – 3 = 165 ลงตัว

          จำนวนที่หาร 201 แล้วเหลือเศษ 3 คือจำนวนที่หาร 201 – 3 = 198 ลงตัว

          หา  ห.ร.ม.  ของ  264,  165  และ  198 

) 264    165   198

 11 )  88      55     66

                                   8        5       6

ดังนั้น  ห.ร.ม.  ของ  264,  165  และ  198  คือ 3 x 11 = 33 

นั่นคือ จำนวนนับที่มากที่สุดที่หาร  267,  168 และ 201 แล้วเหลือเศษ 3 เท่ากัน คือ 33


ตัวอย่างที่ 4  กระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแผ่นหนึ่ง กว้าง 45 เซนติเมตร  ยาว 72 เซนติเมตร  ต้องการตัดกระดาษแผ่นนี้ออกเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดเท่า ๆ กันให้มีพื้นที่มากที่สุด  จะได้รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีด้านยาวด้านละกี่เซนติเมตร  และจะได้รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสทั้งหมดกี่รูป 

(มีคีย์เวิร์ด คำว่า มากที่สุด ตัวอย่างที่ 4 จึงแก้ปัญหาโดยใช้ ห.ร.ม.)

วิธีทำ กระดาษสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง  45  เซนติเมตร   ยาว  72  เซนติเมตร

ดังนั้นกระดาษมีพื้นที่ 45 x 72 ตารางเซนติเมตร

ต้องการตัดกระดาษแผ่นนี้ออกเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดเท่า ๆ กัน นั่นคือการหา ห.ร.ม. ของด้านกว้างและด้านยาวของกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

หา ห.ร.ม. ของ 45 และ 72 จะได้

 3)  45           72

 3)  15           24

                                 5             8

ห.ร.ม. ของ 45 และ 72 คือ 3 x 3 = 9

นั่นคือ  ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสได้ยาวด้านละ 9  เซนติเมตร

ดังนั้น รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสแต่ละรูปที่ตัดได้มีพื้นที่ 9 x 9 ตารางเซนติเมตร

         และจะตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสได้ทั้งหมด \frac{45 \times 72}{9 \times 9}=40 แผ่น

น้องๆทราบหรือไม่ว่า โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ ห.ร.ม. มักมีคำว่า “มากที่สุด” หรือ “ยาวที่สุด” ปรากฎอยู่ในโจทย์ ซึ่งเป็นคีย์เวิร์ดสำคัญในการแก้ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ ห.ร.ม. ต่อไปน้องๆมาดูโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ ค.ร.น. กันนะคะ

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ ค.ร.น. 

         ในการหาตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.) ของจำนวนนับตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไปนั้น เป็นการหาตัวตั้งร่วมหรือพหุคูณร่วมที่มีค่าน้อยที่สุดของจำนวนนับเหล่านั้น 3 วิธีที่สามารถนำไปใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาได้ 

การหาตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)  ของจำนวนนับตั้งแต่ 2 จำนวนขึ้นไปซึ่งมี  3 วิธีดังนี้

  1. โดยการพิจารณาตัวตั้งร่วมหรือพหุคูณร่วมที่มีค่าน้อยที่สุด
  2. โดยการแยกตัวประกอบ
  3. โดยการตั้งหาร

โจทย์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการนำความรู้เรื่อง ค.ร.น. ไปใช้แก้ปัญหา

ตัวอย่างที่ 5   ระฆังสามใบ ๆ ที่หนึ่งตีทุก ๆ  8 นาที ใบที่สองตีทุก ๆ  14 นาทีและใบที่สามตีทุก ๆ 20 นาที เมื่อระฆังเริ่มตีพร้อมกันครั้งแรกในเวลา 08.00 น.จงหาเวลาที่จะตีพร้อมกันอีกเป็นครั้งที่สอง

(มีคีย์เวิร์ด คำว่า พร้อมกัน ตัวอย่างที่ 5 จึงแก้ปัญหาโดยใช้ ค.ร.น.)

วิธีทำ ระฆังสามใบ ๆ ที่หนึ่งตีทุก ๆ  8 นาที ใบที่สองตีทุก ๆ  14 นาทีและใบที่สามตีทุก ๆ 20 นาที จะหาเวลาที่จะตีพร้อมกันอีกเป็นครั้งที่สอง

โดยหา ค.ร.น. ของ 8, 14 และ 20

        2)   8        14        20

2 )   4         7        10

      2         7          5

ค.ร.น.  ของ 8, 14 และ 20 คือ  2 x 2 x 2 x 7 x 5 = 280

นั่นคือ เมื่อเวลาผ่านไป 280 นาที  หรือคิดเป็น 4 ชั่วโมง 40 นาที ระฆังจะตีพร้อมกันรอบที่สอง

ดังนั้น ระฆังทั้งสามใบ จะตีพร้อมกันอีกเป็นครั้งที่สอง เมื่อเวลา 12.40 น.


ตัวอย่างที่ 6  จงหาจำนวนนับที่น้อยที่สุดซึ่งหารด้วย 6, 8 และ 10 แล้วเหลือเศษ 3 ทุกจำนวน

(มีคีย์เวิร์ด คำว่า น้อยที่สุด ตัวอย่างที่ 6 จึงแก้ปัญหาโดยใช้ ค.ร.น.)

วิธีทำ จำนวนนับที่น้อยที่สุดที่หารด้วย 6, 8 และ 10 ได้ลงตัว  คือ  ค.ร.น. ของ  6, 8  และ 10

หา ค.ร.น. ของ 6, 8 และ 10 ได้ดังนี้

2)   6            8            10

      3            4             5

ค.ร.น.  ของ 6, 8  และ 10 คือ 2 x 3 x 4 x 5 = 120

ดังนั้น จำนวนนับที่น้อยที่สุดซึ่งหารด้วย 6, 8 และ 10 แล้วเหลือเศษ 3 คือ 120 + 3 = 123


ตัวอย่างที่ 7 จิ้งหรีด 3 ตัวใช้เวลา  10, 15 และ 20  วินาที  จึงจะร้องครั้งหนึ่งตามลำดับ ถ้าจิ้งหรีดร้องพร้อมกันครั้งหนึ่งแล้วอีกนานเท่าใดจึงจะร้องพร้อมกันอีกเป็นครั้งที่สอง

(มีคีย์เวิร์ด คำว่า พร้อมกัน ตัวอย่างที่ 7 จึงแก้ปัญหาโดยใช้ ค.ร.น.)

   วิธีทำ ตัวที่  1  ใช้เวลา  10  วินาที

         ตัวที่  2  ใช้เวลา  15  วินาที

              ตัวที่  3  ใช้เวลา  20  วินาที

      จิ้งหรีด 3 ตัวจะร้องพร้อมกันอีกกี่นาทีต่อไป  โดยการหา  ค.ร.น.  ของ  10,  15  และ  20

      หา  ค.ร.น.  ของ  10 ,  15  และ 20

5)   10            15            20

        2)   2               3              4

               1               3              2

ค.ร.น. ของ 10 , 15 และ 20 คือ 5 x 2 x 1 x 3 x 2  =  60

ดังนั้น  อีก  60  วินาที  หรืออีก  1  นาที  จิ้งหรีดทั้ง  3  ตัวจึงจะร้องพร้อมกันเป็นครั้งที่สอง

น้องๆทราบหรือไม่ว่า โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ ค.ร.น. มักมีคำว่า “น้อยที่สุด” หรือ “พร้อมกัน” ปรากฎอยู่ในโจทย์ ซึ่งเป็นคีย์เวิร์ดสำคัญในการแก้ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ ห.ร.ม.

สรุปวิธีการแก้ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ ห.ร.ม. และ ค.ร.น.

วิธีการแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ ห.ร.ม. และ ค.ร.น. ง่ายนิดเดียว เพียงแค่น้องๆจำคีย์เวิร์ดสำคัญได้ เช่น  “น้อยที่สุด” หรือ “พร้อมกัน” จะปรากฎอยู่ในโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ ค.ร.น.  ส่วนคีย์เวิร์ดสำคัญคำว่า “มากที่สุด” หรือ ยาวที่สุด” จะปรากฎอยู่ในโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ ห.ร.ม. เมื่อน้องวิเคราห์โจทย์ปัญหาได้แล้วว่าจใช้ ค.ร.น. หรือ ห.ร.ม. ในการแก้โจทย์ปัญหา ลำดับต่อไปคือ น้องๆจะต้องใช้ความรู้ในเรื่อง ห.ร.ม. และ ค.ร.น. ป.6 ที่ได้เรียนผ่านมาแล้ว

วิดีโอ โจทญ์ปัญหา ห.ร.ม. และ ค.ร.น.

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การใช้ไวยากรณ์ Past Simple ในการตั้งคำถาม

เกริ่นนำ เกริ่นใจ อดีต ปัจจุบันและอนาคต ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วได้รับความสำคัญในหลักไวยากรณ์ของภาษาอังกฤษ เอาเข้าจริง ภาษาไทยของเราเองก็มีอะไรในลักษณะนี้เหมือนกันนะ แต่จะไม่เด่นชัดในรูปประโยคจนรู้สึกว่าซับซ้อนเหมือนภาษาอังกฤษที่เรากำลังเรียน ตัวอย่างเช่น เมื่อวานไปไหนมา….หรือ ฉันไป…มา ในขณะที่ภาษาอังกฤษจะต้องมีการปรับโครงสร้างให้เป็นรูปอดีตด้วยการเปลี่ยนคำกริยาเป็นช่องที่ 2 ตัวอย่างเช่น Where “did” you go yesterday? หรือ I “went to…” เป็นต้น อย่างไรก็ดี

อิศรญาณภาษิต

อิศรญาณภาษิต ศึกษาวรรณคดีคำสอนของไทย

อิศรญาณภาษิต เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาสอนให้ผู้อ่านรู้จักลักษณะของกลอนเพลงยาวและยังสอดแทรกข้อคิดต่าง ๆ ไว้อีกมากมาย บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงประวัติความความเป็นมา ผู้แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ของกลอนเพลงยาว และตัวบทที่น่าสนใจ ๆ ในเรื่อง ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่าวรรณคดีเรื่องนีมีความเป็นมาและความสำคัญอย่างไร เหตุใดจึงอยู่ในแบบเรียนภาษาไทยในเราได้ศึกษากันอยู่ตอนนี้ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ     ความเป็นมาของ   อิศรญาณภาษิต (อ่านว่า

Profile-Have has got P.5

ทบทวนการใช้ ” Have/has got “

สวัสดีค่ะนักเรียนป. 5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปทบทวนการใช้  Have/has got ในภาษาอังกฤษกันค่ะ ซึ่งก่อนอื่นต้อง มาทำความรู้จักกับ Verb to have กันก่อนซึ่ง เจ้า Verb to have ที่เราอาจจะคุ้นหูบ่อยๆ เช่น  Have a wonderful day. ขอให้มีวันที่ดีนะ เมื่อเราต้องการจบบทสนทนา

ถอดคำประพันธ์ กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พร้อมศึกษาคุณค่าในเรื่อง

  ในบทเรียนก่อนหน้าเราได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์และเรื่องย่อกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าไปแล้ว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะต่อเนื่องกับครั้งก่อนโดยการพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องตัวบทเด่น ๆ ถอดคำประพันธ์ กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พร้อมทั้งศึกษาคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม เนื้อหา หรือด้านวรรณศิลป์ ถ้าน้อง ๆ พร้อมจะเรียนวรรณคดีเรื่องนี้ต่อไปแล้ว ก็ไปลุยพร้อมกันเลยค่ะ     ถอดคำประพันธ์ กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า   สกุลเอ๋ยสกุลสูง ชักจูงจิตชูศักดิ์ศรี อำนาจนำความสง่าอ่าอินทรีย์

การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์

การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์

การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ บทความนี้ได้รวมรวมเนื้อหาและตัวอย่างเกี่ยวกับ การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ ไว้อย่างหลากหลายและแสดงวิธีทำอย่างละเอียด  แต่ก่อนที่น้องๆจะได้เรียนรู้เรื่องนี้น้องสามารถทบทวน การเขียนเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก และ การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก (กดลิ้งค์ที่ข้อความได้เลยค่ะ)  ซึ่งจะทำให้น้องๆ ได้เรียนรู้เรื่องต่างๆอย่างง่ายดาย ซึ่งได้นำเสนออกมาในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ทำให้น้องๆสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ฝึกการเขียนจำนวนในรูปเลขยกกำลังที่มีฐานเป็น 10 ดังนี้ 10 = 10 = 10¹ 100 = 10

ระบบสมการเชิงเส้น

ระบบสมการเชิงเส้น

ระบบสมการเชิงเส้น ระบบสมการเชิงเส้น คือระบบสมการที่มีดีกรีเป็นหนึ่ง ซึ่งก็คือเลขชี้กำลังของตัวแปรเป็นหนึ่งนั่นเอง ซึ่งในตอนมัธยมต้นน้องๆได้เรียนระบบสมการเชิงเส้น 2 ตัวแปรไปแล้ว ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร เช่น แล้วเราก็แก้สมการหาค่า x, y  (ซึ่งอาจจะมีคำตอบหรือไม่มีก็ได้) แต่ในบทความนี้น้องๆจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบสมการเชิงเส้น n ตัวแปร นั่นก็คือน้องๆจะต้องหาคำตอบของตัวแปร n ตัวตัว ซึ่งการหาคำตอบนั้นมีหลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการใช้เมทริกซ์ (ซึ่งน้องๆจะได้เรียนในบทความถัดๆไป) หรือการแก้สมการธรรมดาและในข้อสอบส่วนใหญ่จะเน้นให้น้องๆหาคำตอบในระบบสมการเชิงเส้นที่ไม่เกิน 3 ตัวแปร เพราะถ้าเกินกว่านั้นอาจจะใช้เวลาในการหาคำตอบมาก

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1