หลักการคูณทศนิยม พร้อมตัวอย่างที่เข้าใจง่าย

บทความนี้จะพาน้อง ๆมาทำความเข้าใจกับหลักการคูณทศนิยมในแต่ละรูปแบบ พร้อมทั้งอธิบายหลักการและยกตัวอย่างวิธีคิดในแต่ละรูปแบบของการคูณทศนิยม ให้น้อง ๆสามารถนำไปปรับใช้กับการหาคำตอบจากแบบฝึกหัดในห้องเรียนได้จริง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ทศนิยมมีค่าประจำหลักเป็นเศษส่วน ซึ่งเมื่อนำทศนิยมคูณด้วยทศนิยมผลลัพธ์ที่ได้ออกจะมีจะตำแหน่งของทศนิยมที่เปลี่ยนไป ตามหลักการคูณทศนิยมที่กล่าวไว้ดังนี้ “จำนวนตำแหน่งของทศนิยมของผลคูณต้องเท่ากับตำแหน่งของทศนิยมของตั้วตั้งและตัวคูณรวมกัน”

รูปแบบการคูณทศนิยม มีทั้งหมด 2 รูปแบบ

1.การคูณทศนิยมกับจำนวนเต็ม

หลักการคูณทศนิยมกับจำนวนเต็มนั้นสามารถทำได้ 2 วิธี

1.1 วิธีตั้งคูณ

สิ่งสำคัญของการตั้งคูณคือ ต้องว่างจุดทศนิยมที่ตำแหน่งเดิมและทำการคูณตัวเลขตามหลักการคูณของจำนวนเต็มปกติ

คูณทศนิยมกับจำนวนเต็ม

1.2 วิธีแปลงทศนิยมให้เป็นเศษส่วน

วิธีนี้ใช้หลักการคูณเศษส่วนในการคำนวณ โดยเมื่อทำทศนิยมให้เป็นเศษส่วนแล้ว ต้องทำให้จำนวนเต็มเป็นเศษส่วนด้วย ซึ่งตัวส่วนของจำนวนเต็มจะมีค่าเป็น 1 เสมอ จากนั้นก็ทำการคูณโดยนำตัวเศษคูณด้วยตัวเศษ และตัวส่วนคูณด้วยตัวส่วน เมื่อได้ผลลัพธ์แล้วต้องแปลงกลับเป็นเป็นทศนิยมอีกครั้ง

ตัวอย่างคูณทศนิยม

 

2.การคูณทศนิยมกับทศนิยม

หลักการคูณทศนิยมกับทศนิยมนั้นสามารถทำได้ 2 วิธี

2.1 วิธีตั้งคูณ

  • ตัวตั้งเป็นทศนิยม 1 ตำแหน่งและตัวคูณเป็นทศนิยม 1 ตำแหน่ง รวมเป็นทศนิยม 2 ตำแหน่ง ดังนั้นผลคูณที่ได้จะต้องตอบเป็นทศนิยม 2 ตำแหน่ง
  • ตัวตั้งเป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งและตัวคูณเป็นทศนิยม 1 ตำแหน่ง รวมเป็นทศนิยม 3 ตำแหน่ง ดังนั้นผลคูณที่ได้จะต้องตอบเป็นทศนิยม 3 ตำแหน่ง แต่จะมีบางกรณีที่ผลคูณมีตัวเลข 0 เป็นเลขสุดท้าย จะทำให้ตำแหน่งของทศนิยมลดลงได้
  • ตัวตั้งเป็นทศนิยม 3 ตำแหน่งและตัวคูณเป็นทศนิยม 2 ตำแหน่ง รวมเป็นทศนิยม 5 ตำแหน่ง ดังนั้นผลคูณที่ได้จะต้องตอบเป็นทศนิยม 5 ตำแหน่ง แต่จะมีบางกรณีที่ผลลัพธ์ที่ได้อาจจะไม่ถึง 5 ตัวเลข ต้องทำการเติมเลข 0 ข้างหน้าผลลัพธ์ เพื่อทำให้ครบ 5 ตำแหน่ง

ทศนิยม

2.2 วิธีแปลงทศนิยมให้เป็นเศษส่วน

วิธีนี้ใช้หลักการคูณเศษส่วนในการคำนวณ โดยเมื่อทำทศนิยมของตัวตั้ง และตัวคูณให้เป็นเศษส่วนแล้ว จากนั้นก็ทำการคูณโดยนำตัวเศษคูณด้วยตัวเศษ และตัวส่วนคูณด้วยตัวส่วน เมื่อได้ผลลัพธ์แล้วต้องแปลงกลับเป็นเป็นทศนิยมอีกครั้ง โดยตำแหน่งของทศนิยมสามารถดูจากจำนวน 0 ที่เป็นผลลัพธ์ของการคูณตัวส่วน

คูณเศษส่วน

 

คลิปตัวอย่างการคูณทศนิยม

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

M5 การใช้ Phrasal Verbs

การใช้ Phrasal Verbs

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง ” การใช้ Phrasal Verbs“ กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด Phrasal Verbs คืออะไร   Phrasal Verbs คือ คำกริยา โดยเป็นกริยาที่มีคำอื่นๆ อย่างเช่น คำบุพบท (Preposition) ร่วมกันส่วนใหญ่แล้ว Phrasal Verbs จะบอกถึงการกระทำ มักจะเจอในชีวิตประจำวันในสถานการณ์ทั่วไป

ดีเทอร์มิแนนต์

ดีเทอร์มิแนนต์ ดีเทอร์มิแนนต์ (Determinant) คือ ค่าของตัวเลขที่สอดคล้องกับเมทริกซ์จัตุรัส ถ้า A เป็นเมทริกซ์จัตุรัส จะเขียนแทนดีเทอร์มิแนนต์ของ A ด้วย det(A) หรือ โดยทั่วไปการหาค่าดีเทอร์มิแนนต์ที่เจอในข้อสอบจะไม่เกินเมทริกซ์ 3×3 เพราะถ้ามากกว่า 3 แล้ว จะเริ่มมีความยุ่งยาก **ค่าของดีเทอร์มิแนนต์จะเป็นจำนวนจริงและมีเพียงค่าเดียวเท่านั้นที่จะสอดคล้องกับเมทริกซ์จัตุรัส เช่น เมทริกซ์ B ก็จะมีค่าดีเทอร์มิแนนต์เพียงค่าเดียวเท่านั้น**  

นิราศภูเขาทอง ประวัติความเป็นมาของวรรณคดีที่แต่งโดยสุนทรภู่

นิราศภูเขาทอง   เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนคงจะเคยได้ยินเรื่องนิราศภูเขาทองผ่านหูกันมาบ้างไม่มากก็น้อย แต่น้อง ๆ ทราบหรือเปล่าคะว่านิราศภูเขาทองคืออะไร และมีที่มาอย่างไร ก่อนอื่นมาดูความหมายของนิราศกันก่อนนะคะ นิราศ คือวรรณคดีที่แต่งขึ้นเพื่อเล่าถึงการเดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง โดยระหว่างการเดินทาง กวีก็จะนำสิ่งต่าง ๆ ที่ได้พบเห็น ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ วิวทิวทัศน์หรือความเป็นอยู่ของผู้คนมาพรรณนา   หลังจากเข้าใจความหมายของนิราศแล้วก็ไปเริ่มเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของนิราศภูเขาทอง หนึ่งในกลอนนิราศที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีที่สุดของสุนทรภู่กันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมา   สุนทรภู่แต่งนิราศภูเขาทองขึ้นมาในสมัยรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่เจ้าหัว

อยากเขียนเก่ง เขียนได้ดี ต้องเรียนรู้วิธีใช้ภาษาเขียนให้ถูกต้อง

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน สำหรับวันนี้เราจะมาเข้าสู่บทเรียนภาษาไทยในเรื่องของระดับภาษา แต่จะเฉพาะเจาะจงไปที่การใช้ภาษาเขียนให้ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อให้น้อง ๆ ทุกคนนำไปใช้ในการเขียนข้อสอบ หรือเขียนรายงานเรื่องต่าง ๆ ได้เหมาะสมมากขึ้น เพราะด้วยความที่ภาษาเขียนเป็นภาษาที่มีแบบแผน มีหลักในการเลือกใช้ เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาเขียนอย่างละเอียด ถ้าน้อง ๆ ทุกคนอยากรู้แล้วว่าวันนี้มีบทเรียนอะไรที่น่าสนใจบ้างต้องมาดูไปพร้อม ๆ กัน   ภาษาเขียน คืออะไร?  

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การแจกแจงความถี่ของข้อมูล (Frequency distribution)              การแจกแจงความถี่ของข้อมูล  เป็นวิธีการทางสถิติอย่างหนึ่งที่ใช้ในการจัดข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการนำเสนอและการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น  มี 2 ลักษณะ คือ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น และ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การสร้างตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีค่าจาการสังเกตไม่มากนักหรือไม่ซับซ้อน  1.

การใช้สำนวนภาษาเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ร่วมกับ Wh-questions ที่ใช้ใน Past Simple Tense + Future Simple Tense

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุยการใช้สำนวนภาษาเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ร่วมกับ Wh-questions ที่ใช้ใน Past Simple tense + Future Simple tense  หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า   Wh-Questions คืออะไร      เมื่อต้องถามคำถามอะไรก็ตามที่ไม่ต้องการคำตอบ Yes หรือ No แบบตรงประเด็น เราจะเรียกคำถามประเภทนี้ว่า

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1