เปรียบเทียบเศษส่วนและจำนวนคละฉบับเข้าใจง่ายและเห็นภาพ

บทความนี้จะพาน้องๆ มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการเปรียบเทียบเศษส่วนและจำนวนคละ  เนื่องจากหลักการที่ใช้ในการเปรียบเทียบเศษส่วนนี้จะนำไปต่อยอดกับเรื่องต่อไปเช่นเรื่องการบวกและการลบเศษส่วน หลังจากอ่านบทความนี้จบสิ่งที่จะได้รับก็คือ หลักการเปรียบเทียบเศษส่วน วิธีเปรียบเทียบที่เห็นภาพและเข้าใจง่ายร่วมถึงเทคนิคที่จะช่วยให้น้อง ๆ สามารถเปรียบเทียบเศษส่วนได้เร็วยิ่งขึ้น

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สาระสำคัญของการเปรียบเทียบเศษส่วนและจำนวนคละนั้นอยู่ที่การทำตัวส่วนให้เท่ากัน หากเศษส่วนที่นำมาเปรียบเทียบมีตัวส่วนที่เท่ากันอยู่แล้วก็จะง่ายต่อการบอกได้ว่าเศษส่วนไหนมีค่ามากกว่าหรือเศษส่วนไหนมีค่าน้อยกว่า บทความนี้จึงจะแยกประเภทของการเปรียบเทียบเศษส่วนให้ดังนี้

การเปรียบเทียบเศษส่วนและจำนวนคละ

ประเภทของการเปรียบเทียบเศษส่วน

1.การเปรียบเทียบเศษส่วนที่ตัวส่วนเท่ากันและจำนวนคละ

“ส่วนเท่ากัน เศษมากจะมีค่ามากกว่า” ความหมายก็คือ กรณีที่เปรียบเทียบเศษส่วนที่มีตัวส่วนเท่ากัน ถ้าเศษมากกว่า เศษส่วนนั้นก็จะมีค่ามากกว่ายกตัวอย่างภาพข้างล่าง

เปรียบเทียบเศษส่วนป.5

เปรียบเทียบเศษส่วนจำนวนคละกับเศษส่วนจำนวนคละที่ตัวส่วนเท่ากัน “จำนวนเต็มมาก่อนเศษส่วนมาหลัง” ความหมายก็คือ เมื่อเปรียบเทียบจำนวนคละสองจำนวน จำนวนคละที่มีจำนวนเต็มมากกว่าจะมีค่ามากกว่าเสมอ แต่ถ้าจำนวนเต็มมีค่าเท่ากันเราจึงพิจารณาเศษส่วนเป็นลำดับถัดไปตัวอย่างภาพข้างล่าง

เปรียบเทียบจำนวนนอนคละ

จำนวนเต็มไม่เท่ากัน

เปรียบเทียบเศษส่วน

จำนวนเต็มเท่ากัน

2.การเปรียบเทียบเศษส่วนที่ตัวเศษเท่ากันและจำนวนคละ

“เศษเท่ากัน ส่วนจะมีค่าสวนทาง” ความหมายก็คือ กรณีที่เปรียบเทียบเศษส่วนที่มีตัวเศษเท่ากัน ตัวส่วนจะมีค่าสวนทางก็คือยิ่งส่วนมากเศษส่วนนั้นก็จะมีค่าน้อยยกตัวอย่างภาพข้างล่าง

เปรียบเทียบเศษส่วนที่ตัวส่วนไม่เท่ากัน

เปรียบเทียบเศษส่วนจำนวนคละกับเศษส่วนจำนวนคละที่ตัวเศษเท่ากัน ทำเช่นเดียวกับกรณีที่เปรียบเทียบจำนวนคละที่มีตัวส่วนเท่ากัน ก็คือให้พิจารณาจำนวนเต็มก่อนแล้วจึงพิจารณาเศษส่วน

เปรียบเทียบจำนวนคละสองจำนวน

จำนวนเต็มเท่ากัน

เปรียบเทียบจำนวนคละที่จำนวนเต็มไม่เท่ากัน

จำนวนเต็มไม่เท่ากัน

3.การเปรียบเทียบเศษส่วนที่ไม่เท่ากันและจำนวนคละ

“ตัวส่วนเท่ากันถึงจะเปรียบเทียบกันได้” ความหมายก็คือ กรณีที่เปรียบเทียบเศษส่วนที่ไม่เท่ากัน ต้องทำให้ตัวส่วนของเศษส่วนทั้งสองจำนวนเท่ากันก่อนเหมือนกับหัวข้อที่ 1 ข้างต้น

การหาค.ร.น.ของตัวส่วน

เปรียบเทียบเศษส่วนจำนวนคละกับเศษส่วนจำนวนคละที่เศษส่วนไม่เท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น

รูปการเปรียบเทียบเศษส่วน

4.การเปรียบเทียบเศษเกินกับจำนวนคละ

ทำได้สองวิธีคือ “เปลี่ยนเศษเกินเป็นจำนวนคละ” แล้วใช้หลักการเปรียบเทียบจำนวนคละกับจำนวนคละ และ “เปลี่ยนจำนวนคละเป็นเศษเกิน” แล้วใช้หลักการเปรียบเทียบเศษส่วนกับเศษส่วน ยกตัวอย่างทั้งสองวิธีตามภาพข้างล่าง

ตัวอย่างการเปรียบเทียบเศษส่วน

วิธีที่ 1 “เปลี่ยนเศษเกินเป็นจำนวนคละ”

การเปรียบเทียบเศษเกิน

วิธีที่ 2 ”เปลี่ยนจำนวนคละเป็นเศษเกิน”

สรุปเนื้อหาการเปรียบเทียบเศษส่วนมีทั้งหมด 4 ประเภทตามบทความข้างต้น และตัวอย่างที่ได้ยกมาสามารถนำไปแก้โจทย์ในเรื่องการเปรียบเทียบเศษส่วนได้อย่างเข้าใจและทำแบบฝึกหัดได้อย่างถูกต้อง ครั้งหน้ามีบทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่จะพาน้อง ๆ เข้าใจหลักการต่าง ๆได้ดียิ่งขึ้น หวังว่าจะชอบและติดตามกันต่อไปนะคะ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ฟังก์ชันลอการิทึม

ฟังก์ชันลอการิทึม ฟังก์ชันลอการิทึม คือฟังก์ชันผกผันของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล จากที่ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลคือ คู่อันดับ (x, y) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ส่งจากจำนวนจริงไปยังจำนวนจริงบวก โดยที่ ดังนั้นฟังก์ชันดังกล่าวซึ่งเป็นฟังก์ชันผกผันของเอกซ์โพเนนเชียล ก็คือ คู่อันดับ (y, x)  หรืออาจจะบอกได้อีกแบบคือ คู่อันดับ (x, y) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์จากจำนวนจริงบวกไปยังจำนวนจริง โดยที่ จัดรูปใหม่ ได้เป็น (อ่านว่าล็อก x ฐาน

เรียนรู้ที่มาของชาติกำเนิดอันยิ่งใหญ่ มหาเวสสันดรชาดก

หลายคนคงจะเคยได้ยินคำว่า มหาชาติชาดก หรือ มหาเวสสันดรชาดก กันมาบ้างแล้วผ่านสื่อต่าง ๆ แต่รู้หรือไม่คะว่าคำ ๆ นี้มีที่จากอะไร คำว่า มหาชาติ เป็นคำเรียก เวสสันดรชาดก ส่วนชาดกนั้นเป็นชื่อคัมภีร์หนึ่งของพุทธศาสนาที่กล่าวถึงอดีตชาติของพระพุทธเจ้า ดังนั้นมหาเวสสันดรชาดก จึงเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับชาติกำเนิดอันหยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า น้อง ๆ คงสงสัยใช่ไหมคะว่าทำไมเวสสันดรชาดกถึงได้ชื่อว่าเป็นชาดกที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ถ้าอยากรู้คำตอบแล้วล่ะก็ เราไปเรียนรู้ความเป็นของเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   มหาเวสสันดรชาดก   มหาชาติชาดก

โคลนติดล้อ บทความปลุกใจในรัชกาลที่ 6

เป็นที่รู้กันดีกว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ของเรานั้น ทรงโปรดงานด้านวรรณกรรมมาตั้งแต่ยังเยาว์ และเริ่มงานวรรณกรรมตั้งแต่ยังทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ทำให้มีผลงานในพระราชนิพนธ์มากมายหลายเรื่อง และแตกต่างกันออกไป ที่ผ่านมาน้อง ๆ คงจะได้เรียนมาหลายเรื่องแล้ว บทเรียนในวันนี้ก็จะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับผลงานของพระองค์อีกเรื่องหนึ่ง แตกต่างจากเรื่องก่อน ๆ ที่เคยเรียนมาอย่างแน่นอน เพราะเรากำลังพูดถึงโคลนติดล้อ ผลงานในพระราชนิพนธ์ที่อยู่ในรูปแบบของบทความ จะมีที่มา มีเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างไรบ้างนั้น เราไปติดตามกันเลยค่ะ   ที่มาของ โคลนติดล้อ

ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ

ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ

ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ ในบทความนี้จะกล่าวถึงฟังก์ชันที่เป็นส่วนกลับของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ และฟังก์ชันที่เกิดจากการดำเนินการของค่า cosθ sinθ ซึ่งก็คือ tanθ และ cotθ นอกจากนี้ยังจะกล่าวถึงโคฟังก์ชันของฟังก์ชันตรีโกณมิติอีกด้วย ในบทความนี้สิ่งที่น้องๆต้องรู้ก็คือ วิธีการหาค่า cosθ และ sinθ จตุภาคของพิกัดจุดปลายส่วนโค้ง ซึ่งสามารถอ่านได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้เลยค่ะ การวัดความยาวส่วนโค้ง ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ หลังจากที่น้องๆมีพื้นฐาน 2 เรื่องที่กล่าวมาแล้วเราจะเริ่มทำความรู้จักกับฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆกันค่ะ   ฟังก์ชันที่เป็นส่วนกลับของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์

ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง

ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง เป็นการส่งสมาชิกจากของเซตหนึ่งเรียกเซตนั้นว่าโดเมน ส่งไปให้สมาชิกอีกเซตหนึ่งเซตนั้นเรียกว่าเรนจ์ จากบทความก่อนหน้าเราได้พูดถึงฟังก์ชันและการส่งสมาชิกในเซตไปแล้วบางส่วน ในบทความนี้เราจะได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่งมากขึ้น จากที่เรารู้ว่าเซตของคู่อันดับเซตหนึ่งจะเป็นฟังก์ชันได้นั้น สมาชิกตัวหน้าต้องไปเหมือนกัน แต่ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่งเป็นการกำหนดขอบเขตให้ฟังก์ชันนั้นแคปลงกว่าเดิม เช่น {(1, a), (2, b), (3, a), (4, c)}  จากเซตของคู่อันดับเราสมารถตอบได้เลยว่าเป็นฟังก์ชัน เพราะสมาชิกตัวหน้าไม่เหมือนกัน แต่ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง คือการที่เรามีเซต 2 เซต แล้วเราส่งสมาชิกในเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1