ส่วนต่างๆ ของวงกลม

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ส่วนต่างๆ ของวงกลม

ก่อนที่เราจะมารู้จักส่วนต่างๆ ของวงกลม เรามาเริ่มรู้จักวงกลมกันก่อน จากคำนิยามของวงกลมที่กล่าวว่า “วงกลมเกิดจากชุดของจุดที่มาเรียงต่อกันบนระนาบเดียวกัน โดยทุกจุดอยู่ห่างจากจุดจุดหนึ่งซึ่งเป็นจุดคงที่ในระยะทางที่เท่ากันทุกจุด”

 

โดยเรียกจุดคงที่นี้ว่า จุดศูนย์กลางของวงกลม
เรียกระยะทางที่เท่ากันนี้ว่า รัศมีของวงกลม

 

 

 

วงกลม คือ รูปทรงเรขาคณิตที่มีสองมิติเเละจะมีมุมภายในของวงกลมที่มีขนาด 360 องศา โดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน เราจะเห็นสิ่งที่มีลักษณะเป็นวงกลมอยู่รอบ ๆ ตัวเราอยู่เยอะเเยะมากมาย เช่น ล้อรถ, จาน, ลูกบอล, ส้ม, ลูกเเก้ว, นาฬิกา เป็นต้น

ซึ่งส่วนประกอบของวงกลมมีดังนี้

  • จุดศูนย์กลางของวงกลม (Center) คือ จุดที่อยู่ตรงกลางวงกลมพอดี และมีระยะห่างจากเส้นรอบวงเท่ากันโดยตลอด ซึ่งเราสามารถวัดมุมที่จุดศูนย์กลางได้ 360 องศา
  • รัศมีของวงกลม (Radius) คือ เส้นที่ลากจากจุดศูนย์กลางของวงกลมไปยังเส้นรอบวงของวงกลม
  • เส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลม (Diameter) คือ เส้นที่ตัดผ่านจุดศูนย์กลางของวงกลมและปลายทั้งสองด้านของเส้นผ่านศูนย์กลางจะสัมผัสกับเส้นรอบวง โดยเส้นผ่านศูนย์กลางนี้จะมีความยาวเป็น 2 เท่าของรัศมี เช่น ถ้ารัศมีของวงกลมยาว 10 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมเดียวกันนี้จะยาว 20 เซนติเมตร
  • เส้นรอบวง (Circumference) คือ ความยาวของเส้นรอบวงกลม เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของวงกลมเพราะถ้าไม่มีเส้นรอบวง ก็จะไม่มีวงกลมสามารถคำนวณได้ ดังนี้
    C = 2πr
    โดย:
    C      คือ ความยาวของเส้นรอบวง (หน่วย)
    π      คือ อัตราส่วนระหว่างเส้นรอบวงกับรัศมี มีค่าประมาณ 22/7 หรือ 3.14
    r      คือ รัศมีของวงกลม (หน่วย)
  • พื้นที่วงกลม (Area of Circle) คือ พื้นที่ทั้งหมดที่อยู่ภายในขอบเขตของเส้นรอบวงสามารถคำนวณได้ดังนี้
    A = \pi r^{2}
    โดย:
    A    คือ พื้นที่ของวงกลม (หน่วย)π    คือ อัตราส่วนระหว่างเส้นรอบวงกับรัศมี มีค่าประมาณ 22/7 หรือ 3.14
    r     คือ รัศมีของวงกลม (หน่วย)
  • คอร์ด (Cord) คือ ส่วนของเส้นตรงที่มีปลายทั้งสองข้างอยู่บนเส้นรอบวง โดยเส้นคอร์ดที่ยาวที่สุดของวงกลม ได้แก่ เส้นผ่านศูนย์กลาง
  • เซกเมนต์ (Segment) คือ ชิ้นส่วนของวงกลมเกิดจากการปิดล้อมด้วยส่วนโค้งของวงกลมและคอร์ด

ตัวอย่างของส่วนต่างๆ ของวงกลม

ตัวอย่าง จงบอกชื่อของวงกลม พร้อมระบุความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางเเละรัศมีของวงกลม

ตอบ วงกลม A มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 3 เซนติเมตร เเละรัศมียาว 1.5 เซนติเมตร

 

 

 

 

หลังจากที่เราได้รู้จักส่วนต่างๆ ของวงกลมกันเเล้ว จริงๆ เเล้วยังมีส่วนประกอบอีกหลายอย่างของวงกลมที่น้องๆ ยังไม่ค่อยได้ยินกัน เเต่มีความสำคัญทางคณิตศาสตร์ซึ่งต้องนำไปต่อยอดในอนาคตทั้งการ หาความยาวรอบรูปวงกลม, พื้นที่ของวงกลม, รวมไปถึงทฤษฎีบทของวงกลม ซึ่งน้องๆ สามารถศึกษา ส่วนต่างๆ ของวงกลม เพิ่มเติมได้จากวิดีโอด้านล่าง


คลิปวิดีโอ ส่วนต่างๆ ของวงกลม

คลิปวิดีโอนี้ได้รวบรวมวิธีหา ส่วนต่างๆ ของวงกลม ไว้อย่างละเอียด ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แฝงไปด้วยความรู้ เเละเทคนิครวมถึงการอธิบาย ตัวอย่าง เเละสอนวิธีคิดที่จะทำให้วิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ไตรภูมิพระร่วง เรียนรู้วรรณคดีเก่าแก่จากสมัยสุโขทัย

ไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณคดีเก่าแก่ที่แต่งขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าทำไมวรรณคดีที่เก่าแก่ขนาดนี้ถึงยังมีให้เห็น ให้เราได้เรียนกันมาจนถึงปัจจุบัน บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปไขข้องใจทั้งประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์ รวมไปถึงเรื่องย่อในตอน มนุสสภูมิ กันด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของเรื่อง   ไตรภูมิพระร่วง เดิมเรียกว่า เตภูมิกถา หรือ ไตรภูมิกถา แต่สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเปลี่ยนชื่อให้เพื่อเป็นเกียรติแก่พญาลิไท กษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงผู้พระราชนิพนธ์เรื่องนี้เมื่อปี

ระบบสมการเชิงเส้น

ระบบสมการเชิงเส้น

ระบบสมการเชิงเส้น ระบบสมการเชิงเส้น คือระบบสมการที่มีดีกรีเป็นหนึ่ง ซึ่งก็คือเลขชี้กำลังของตัวแปรเป็นหนึ่งนั่นเอง ซึ่งในตอนมัธยมต้นน้องๆได้เรียนระบบสมการเชิงเส้น 2 ตัวแปรไปแล้ว ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร เช่น แล้วเราก็แก้สมการหาค่า x, y  (ซึ่งอาจจะมีคำตอบหรือไม่มีก็ได้) แต่ในบทความนี้น้องๆจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบสมการเชิงเส้น n ตัวแปร นั่นก็คือน้องๆจะต้องหาคำตอบของตัวแปร n ตัวตัว ซึ่งการหาคำตอบนั้นมีหลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการใช้เมทริกซ์ (ซึ่งน้องๆจะได้เรียนในบทความถัดๆไป) หรือการแก้สมการธรรมดาและในข้อสอบส่วนใหญ่จะเน้นให้น้องๆหาคำตอบในระบบสมการเชิงเส้นที่ไม่เกิน 3 ตัวแปร เพราะถ้าเกินกว่านั้นอาจจะใช้เวลาในการหาคำตอบมาก

การอ้างเหตุผล

บทความนี้จะทำให้น้องๆเข้าใจหลักการอ้างเหตุผลมากขึ้นและสามารถตรวจสอบได้ว่า การอ้างเหตุผล สมเหตุสมผลหรือไม่

เรียนรู้และทำความเข้าใจเรื่องประโยคซับซ้อนอย่างง่าย

น้อง ๆ หลายคนคงจะรู้โครงสร้างของประโยคกันอยู่แล้ว คือจะมีประธาน กริยา กรรม เป็นส่วนประกอบ แต่ในชีวิตจริงเราไม่ได้พูดกันตามโครงสร้างเสมอไป เพราะจะมีส่วนขยายมาเพิ่มความมากขึ้นเพื่อให้ผู้พูดและผู้รับฟังสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจมากขึ้นจนบางครั้งก็อาจทำให้ดูซับซ้อนจนไม่รู้ว่าเป็นประโยคแบบไหนและอะไรคือใจความสำคัญของประโยค บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับเรื่อง ประโยคซับซ้อน ทั้งประโยคความเดียวซับซ้อน ประโยคความรวมซับซ้อน และประโยคความซ้อนซับซ้อน ประโยคแต่ละชนิดจะเป็นอย่างไร ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ ประโยคเอย จงซับซ้อนยิ่งขึ้น !   ประโยคซับซ้อน

หลักการใช้ Simple Present Tense+ Present Continuous Tense

สวัสดีนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง” หลักการใช้ Simple Present Tense+ Present Continuous Tense” พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัว และเทคนิคการจำและนำ Tense ไปใช้กันจร้า ซึ่ง Simple Present Tenseและ Present Continuous Tense นั้นมีสิ่งที่เหมือนกันคือ อยู่ในรูปปัจจุบัน (Present) เหมือนกัน

การใช้ Past Simple Tense เน้น Verb to be

การใช้ Past Simple Tense เน้น Verb to be เกริ่นนำ เกริ่นใจ เรื่องอดีตนั้นไม่ง่ายที่จะลืม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องราวชีวิตของใครคนหนึ่งที่เราเอาใจใส่ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราควรที่จะให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจเรื่องง่าย ๆ อย่าง Past simple tense ซึ่งเป็นโครงสร้างประโยคที่เราใช้ในการเล่าเรื่องราวในอดีตที่เคยเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่เมื่อกี้ ไปจนถึงเรื่องของเมื่อวาน  ภาษาไทยของเราเองก็ใช้โครงสร้างประโยคนี้บ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่เราอยากจะเล่าเรื่องของเรา ของใครคนอื่นที่เราอยากจะเม้ามอยกับคนรอบข้างอ่ะ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1