บวกเศษส่วนและจำนวนคละให้ถูกต้องตามหลักการ

การบวกคือพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ต้องเจอมาตั้งแต่ระดับอนุบาล แต่นั่นคือการบวกจำนวนเต็มโดยหลักการคือการนับรวมกัน แต่การบวกเศษส่วนและจำนวนคละนั้นเราไม่สามารถนับได้เพราะเศษส่วนไม่ใช่จำนวนนับ บทความนี้จึงจะพาน้อง ๆมาทำความเข้าใจกับหลักการบวกเศษส่วนและจำนวนคละ อ่านบทความนี้จบรับรองว่าน้อง ๆจะเข้าใจและสามารถบวกเศษส่วนจำนวนคละได้เหมือนกับที่เราสามารถหาคำตอบของ 1+1 ได้เลยทีเดียว

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

หลายๆคนคงเคยตัดแบ่งเค้กให้เป็นชิ้นๆ และตั้งใจตัดแบ่งให้เท่าๆกันเหมือนกับในร้านคาเฟ่ที่มีขนมเค้กตัดแบ่งเป็นชิ้นเท่าๆกันอย่างสวยงาม การบวกเศษส่วนและจำนวนคละก็ต้องอาศัยการตัดแบ่งลส่วนให้เท่าๆกันเหมือนกันตัดแบ่งชิ้นเค้กเพราะถ้าส่วนเท่ากันแล้วเราก็จะสามารถนำเศษมารวมกันได้อย่างพอดี

หลักการบวกเศษส่วนมี 3 ประการ

1.หา ค.ร.น. ของตัวส่วน หรือหาตัวเลขที่จะต้องคูณเพื่อทำให้ตัวส่วนเท่ากับตัวเลขนั้นการหาค.ร.น.ของตัวส่วน

2.ทำตัวส่วนของเศษส่วนที่จะนำมาบวกกันให้เท่ากัน

จากรูปข้างบนจะเห็นว่า ค.ร.น.ของ 3 กับ 9 เท่ากับ 9 

ทำตัวส่วนให้เท่ากัน

 

3.บวกเศษส่วนโดยการบวกแค่ตัวเศษ ตัวส่วนยังคงเหมือนเดิมการบวกเศษส่วน

 

ประเภทของการบวกเศษส่วนและจำนวนคละ

1.การบวกเศษส่วนและจำนวนคละที่ตัวส่วนเท่ากัน

การบวกเศษส่วนและจำนวนคละที่ตัวส่วนเท่ากันสามารถนำจำนวนนับบวกกับจำนวนนับและเศษส่วนบวกกันเศษส่วนได้เลย

การบวกจำนวนคละ

 

2.การบวกเศษส่วนและจำนวนคละที่ตัวส่วนไม่เท่ากัน

การบวกเศษส่วนและจำนวนคละที่ตัวส่วนไม่เท่ากัน ต้องทำตัวส่วนให้เท่ากันก่อนจึงจะสามารถนำตัวเศษมาบวกกันได้ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นเรื่องหลักการบวกเศษส่วน 3 ประการ

บวกเศษส่วนและจำนวนคละ

 

3.การบวกจำนวนคละและเศษเกิน

การบวกจำนวนคละและเศษเกินสามารถทำได้ 2 วิธี คือเปลี่ยนเศษเกินให้เป็นจำนวนคละแล้วใช้หลักการบวกจำนวนคละกับจำนวนคละ หรือเปลี่ยนจำนวนคละให้เป็นเศษเกินแล้วใช้หลักการบวกเศษส่วนแต่วิธีนี้ลักจากบวกเศษส่วนเสร็จแล้วก็ต้องทำผลลัพธ์มาแปลงเป็นจำนวนคละอีกครั้งเพื่อให้ได้คำตอบที่สมบูรณ์

ตัวอย่างการบวกเศษส่วนและจำนวนคละ

วิธีที่ 1 แปลงเศษเกินให้เป็นจำนวนคละ

บวกเศษส่วนเกิน

วิธีที่ 2 แปลงจำนวนคละให้เป็นเศษเกิน


             สรุปเรื่องการบวกเศษส่วนและจำนวนคละ หลักการมี 3 ขั้นตอนและรูปแบบการบวกเศษส่วนและจำนวนคละนั้นมี 3 รูปแบบ ดังที่อธิบายและยกตัวอย่างวิธีคิดในบทความข้างบน หากน้อง ๆ เข้าใจขั้นตอนของการบวกเศษส่วนไม่ว่าโจทย์จะเป็นการบวกในรูปแบบไหนก็จะสามารถทำโจทย์การบวกเศษส่วนและจำนวนคละได้ถูกต้องอย่างแน่นอน และบทความหน้าเราจะพูดกันต่อในเรื่องการลบเศษส่วนและจำนวนคละ หวังว่าน้อง ๆจะได้รับประโยชน์และติดตามกันต่อในบทความหน้านะคะ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Modal Auxiliaries ที่สำคัญ

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Modal Auxiliaries หรือ Modal verbs “ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยจร้า รู้จักกับ Modal Auxiliaries Modal Auxiliaries คือ กริยาช่วยกลุ่ม  Modal verbs หรือ  บางครั้งเรียกว่า

สัดส่วน

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง สัดส่วน รวมทั้งโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสัดส่วน ซึ่งได้รวบรวมเนื้อหาและเขียนอธิบายไว้อย่างชัดเจน รวมถึงมีคลิปวิดีโอการสอน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับน้องๆ สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา แต่ก่อนจะเรียนรู้เรื่องสัดส่วนนั้น น้องๆจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน ⇐⇐ สัดส่วน สัดส่วน คือ ประโยคที่แสดงการเท่ากันของอัตราส่วนสองอัตราส่วน อัตราส่วนทั้งสองมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันหรือในทิศทางตรงกันข้ามก็ได้ ชนิดของสัดส่วน สัดส่วนมี 2 ชนิด คือ สัดส่วนตรง และ สัดส่วนผกผัน  

ม.1 หลักการใช้ Past Simple

หลักการใช้ Past Simple Tense

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง หลักการใช้ Past Simple   ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด Past Simple Tense     หลักการใช้ง่ายๆ ใช้กับเหตุการณ์ หรือการกระทำที่เกิดขึ้นและจบลงในอดีต มักมีคำหรือกลุ่มคำของอดีตมากำกับ ตัวอย่างประโยคทั่วไปที่มักเจอบ่อยๆ   บอกเล่า I saw Jack yesterday.

ฟังก์ชันและกราฟของฟังก์ชัน

ฟังก์ชันและกราฟของฟังก์ชัน ฟังก์ชันและกราฟของฟังก์ชัน มีความเกี่ยวข้องกันเนื่องจากฟังก์ชันที่เราเขียนในรูป y = f(x) สามารถนำไปเขียนกราฟในระบบพิกัดฉากได้ ซึ่งกราฟในระบบพิกัดฉากก็คือ กราฟที่ประกอบไปด้วยแกน x และ แกน y   ก่อนที่เราจะเริ่มบทเรียนของฟังก์ชัน อยากให้น้องๆได้ศึกษารูปต่อไปนี้ก่อนนะคะ จากรูป คือการส่งสมาชิกในเซต A ไปยังสมาชิกในเซต B เซต A จะถูกเรียกว่า โดเมน

Present Perfect

Present Perfect ในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม.​ 4 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง Present Perfect ในภาษาอังกฤษ จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยดีกว่าครับ

เส้นตรง

เส้นตรง

เส้นตรง เส้นตรง มีสมการรูปแบบทั่วไปคือ Ax + By + C = 0 และสมการรูปแบบมาตรฐานของเส้นตรงจะเขียนอยู่ในรูป y = mx + C ซึ่งจะอยู่ในหัวข้อ “สมการเส้นตรง” เส้นตรงหนึ่งเส้นประกอบไปด้วยจุดหลายจุด ซึ่งจุดเหล่านี้จะทำให้เราสามารถหาความชันได้ และเมื่อเราทราบความชันก็จะสามารถหาสมการเส้นตรงได้นั่นเอง ความชันของเส้นตรง ความชันของเส้นตรง ส่วนใหญ่นิยมใช้ m

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1