เปรียบเทียบเศษส่วนและจำนวนคละฉบับเข้าใจง่ายและเห็นภาพ

บทความนี้จะพาน้องๆ มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการเปรียบเทียบเศษส่วนและจำนวนคละ  เนื่องจากหลักการที่ใช้ในการเปรียบเทียบเศษส่วนนี้จะนำไปต่อยอดกับเรื่องต่อไปเช่นเรื่องการบวกและการลบเศษส่วน หลังจากอ่านบทความนี้จบสิ่งที่จะได้รับก็คือ หลักการเปรียบเทียบเศษส่วน วิธีเปรียบเทียบที่เห็นภาพและเข้าใจง่ายร่วมถึงเทคนิคที่จะช่วยให้น้อง ๆ สามารถเปรียบเทียบเศษส่วนได้เร็วยิ่งขึ้น

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สาระสำคัญของการเปรียบเทียบเศษส่วนและจำนวนคละนั้นอยู่ที่การทำตัวส่วนให้เท่ากัน หากเศษส่วนที่นำมาเปรียบเทียบมีตัวส่วนที่เท่ากันอยู่แล้วก็จะง่ายต่อการบอกได้ว่าเศษส่วนไหนมีค่ามากกว่าหรือเศษส่วนไหนมีค่าน้อยกว่า บทความนี้จึงจะแยกประเภทของการเปรียบเทียบเศษส่วนให้ดังนี้

การเปรียบเทียบเศษส่วนและจำนวนคละ

ประเภทของการเปรียบเทียบเศษส่วน

1.การเปรียบเทียบเศษส่วนที่ตัวส่วนเท่ากันและจำนวนคละ

“ส่วนเท่ากัน เศษมากจะมีค่ามากกว่า” ความหมายก็คือ กรณีที่เปรียบเทียบเศษส่วนที่มีตัวส่วนเท่ากัน ถ้าเศษมากกว่า เศษส่วนนั้นก็จะมีค่ามากกว่ายกตัวอย่างภาพข้างล่าง

เปรียบเทียบเศษส่วนป.5

เปรียบเทียบเศษส่วนจำนวนคละกับเศษส่วนจำนวนคละที่ตัวส่วนเท่ากัน “จำนวนเต็มมาก่อนเศษส่วนมาหลัง” ความหมายก็คือ เมื่อเปรียบเทียบจำนวนคละสองจำนวน จำนวนคละที่มีจำนวนเต็มมากกว่าจะมีค่ามากกว่าเสมอ แต่ถ้าจำนวนเต็มมีค่าเท่ากันเราจึงพิจารณาเศษส่วนเป็นลำดับถัดไปตัวอย่างภาพข้างล่าง

เปรียบเทียบจำนวนนอนคละ

จำนวนเต็มไม่เท่ากัน

เปรียบเทียบเศษส่วน

จำนวนเต็มเท่ากัน

2.การเปรียบเทียบเศษส่วนที่ตัวเศษเท่ากันและจำนวนคละ

“เศษเท่ากัน ส่วนจะมีค่าสวนทาง” ความหมายก็คือ กรณีที่เปรียบเทียบเศษส่วนที่มีตัวเศษเท่ากัน ตัวส่วนจะมีค่าสวนทางก็คือยิ่งส่วนมากเศษส่วนนั้นก็จะมีค่าน้อยยกตัวอย่างภาพข้างล่าง

เปรียบเทียบเศษส่วนที่ตัวส่วนไม่เท่ากัน

เปรียบเทียบเศษส่วนจำนวนคละกับเศษส่วนจำนวนคละที่ตัวเศษเท่ากัน ทำเช่นเดียวกับกรณีที่เปรียบเทียบจำนวนคละที่มีตัวส่วนเท่ากัน ก็คือให้พิจารณาจำนวนเต็มก่อนแล้วจึงพิจารณาเศษส่วน

เปรียบเทียบจำนวนคละสองจำนวน

จำนวนเต็มเท่ากัน

เปรียบเทียบจำนวนคละที่จำนวนเต็มไม่เท่ากัน

จำนวนเต็มไม่เท่ากัน

3.การเปรียบเทียบเศษส่วนที่ไม่เท่ากันและจำนวนคละ

“ตัวส่วนเท่ากันถึงจะเปรียบเทียบกันได้” ความหมายก็คือ กรณีที่เปรียบเทียบเศษส่วนที่ไม่เท่ากัน ต้องทำให้ตัวส่วนของเศษส่วนทั้งสองจำนวนเท่ากันก่อนเหมือนกับหัวข้อที่ 1 ข้างต้น

การหาค.ร.น.ของตัวส่วน

เปรียบเทียบเศษส่วนจำนวนคละกับเศษส่วนจำนวนคละที่เศษส่วนไม่เท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น

รูปการเปรียบเทียบเศษส่วน

4.การเปรียบเทียบเศษเกินกับจำนวนคละ

ทำได้สองวิธีคือ “เปลี่ยนเศษเกินเป็นจำนวนคละ” แล้วใช้หลักการเปรียบเทียบจำนวนคละกับจำนวนคละ และ “เปลี่ยนจำนวนคละเป็นเศษเกิน” แล้วใช้หลักการเปรียบเทียบเศษส่วนกับเศษส่วน ยกตัวอย่างทั้งสองวิธีตามภาพข้างล่าง

ตัวอย่างการเปรียบเทียบเศษส่วน

วิธีที่ 1 “เปลี่ยนเศษเกินเป็นจำนวนคละ”

การเปรียบเทียบเศษเกิน

วิธีที่ 2 ”เปลี่ยนจำนวนคละเป็นเศษเกิน”

สรุปเนื้อหาการเปรียบเทียบเศษส่วนมีทั้งหมด 4 ประเภทตามบทความข้างต้น และตัวอย่างที่ได้ยกมาสามารถนำไปแก้โจทย์ในเรื่องการเปรียบเทียบเศษส่วนได้อย่างเข้าใจและทำแบบฝึกหัดได้อย่างถูกต้อง ครั้งหน้ามีบทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่จะพาน้อง ๆ เข้าใจหลักการต่าง ๆได้ดียิ่งขึ้น หวังว่าจะชอบและติดตามกันต่อไปนะคะ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ารบวก-ลบ-คูณ-หารจำนวนเต็ม

การบวก ลบ คูณ หารจำนวนเต็ม

บทความนี้จะทำให้น้องๆ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การบวก ลบ คูณ หารจำนวนเต็ม มากยิ่งขึ้น ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างไว้อย่างหลากหลายและอธิบายไว้อย่างละเอียด โดยก่อนที่น้องๆจะเรียนเรื่องนี้จะต้องเรียนรู้เรื่อง จำนวนตรงข้าม และ ค่าสัมบูรณ์ เพื่อใช้ในการบวก ลบ จำนวนเต็ม ซึ่งมีวิธีการดังตัวอย่างต่อไปนี้ การบวกจำนวนเต็ม การบวกจำนวนเต็มบวก โดยใช้ค่าสัมบูรณ์ ให้น้องๆทบทวนการหาค่าสัมบูรณ์ ดังนี้ |-12|=   12 |4|=   4

some any

การใช้ Some และ Any ตามด้วยคำนาม

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้การใช้ some และ any กันแบบเข้าใจง่ายๆ ถ้าพร้อมแล้วลองไปดูกันเลยครับ

โดเมนของความสัมพันธ์

โดเมนของความสัมพันธ์ โดเมนของความสัมพันธ์ r คือ สมาชิกตัวหน้าของคู่อันดับในความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย กรณีที่ r เขียนแบบแจกแจงสมาชิก เราสามารถหาโดเมนได้เลยโดย คือสมาชิกตัวหน้า เช่น = {(2, 2), (3, 4), (8, 9)} จะได้ว่า  = {2, 3, 8}

ปก short answer questions

Short question and Short answer

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุยตัวอย่างและวิธีการแต่งประโยคคำถาม ของเรื่อง “Short question and Short answer“ การถามตอบคำถามแบบสั้น หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า   ความหมาย Short question and Sho rt answer คือการถามตอบแบบสั้นหรือส่วนใหญ่แล้วมักขึ้นต้นคำถามด้วยกริยาช่วย และได้คำตอบขนาดสั้น เช่น Yes, I

NokAcademy_Profile ม2 มารู้จักกับ (Connective Words)

 การใช้ตัวเชื่อม (Connective words)

Getting Started! มาเริ่มกันเลย   สวัสดีค่ะนักเรียน ม.3 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไป ทบทวนงานเรื่อง  การใช้ตัวเชื่อม (Connective words) ที่จะทำให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานเขียนด้วย  การใช้ตัวเชื่อมในภาษาอังกฤษกันค่ะ โดยปรกติแล้วงานเขียนแบ่งออกออกเป็นสองรูปแบบหลักๆคือ เรียงความ (Essay Writing) กับ พารากราฟ (Paragraph Writing) ขอสรุปสั้นๆง่ายๆ ให้ทุกคนเข้าใจว่า Essay

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1