ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ซึ่งได้กล่าวถึงขั้นตอนและวิธีการหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ และยกตัวอย่างประกอบ อธิบายอย่างละเอียด ซึ่งก่อนจะเรียนเรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์น้องๆสามารถทบทวน การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ได้ที่  ⇒⇒ การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ⇐⇐

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ (probability) คือ  อัตราส่วนระหว่างจำนวนเหตุการณ์ที่สนใจ (n(E)) กับจำนวนแซมเปิลสเปซ (n(S)) ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้พร้อม ๆ กัน ใช้สัญลักษณ์ “P(E)”  แทนความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์ที่สนใจ

โดยที่  n(E)  แทน  จำนวนผลลัพธ์ทั้งหมดของเหตุการณ์ที่เราสนใจ

                       n(S)  แทน  จำนวนผลลัพธ์ทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นได้

  P(E)  แทน ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์

ดังนั้น   P(E)   =  \frac{n(E)}{n(S)}

ข้อควรจำ

  1. 0 ≤ P(E) ≤ 1
  2. ถ้า P(E) = 0  เหตุการณ์นั้นๆ จะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลย
  3. ถ้า P(E) = 1  เหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นแน่นอน

ตัวอย่างที่ 1

ตัวอย่างที่ 1 จากการโยนลูกเต๋า 2 ลูก  1 ครั้ง  จงหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ต่อไปนี้

1) เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มมากกว่าหรือเท่ากับ 11

2) เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มเป็นจำนวนคู่

3) เหตุการณ์ที่ลูกเต๋าขึ้นแต้ม 1  อย่างน้อยหนึ่งลูก

วิธีทำ  หา S จากการทอดลูกเต๋า 2  ลูก 1 ครั้ง ได้ดังนี้

S  =  { (1,1), (1,2), (1,3), (1,4), (1,5), (1,6), (2, 1), (2, 2), (2, 3), (2, 4), (2, 5), (2, 6),

            (3, 1), (3, 2), (3, 3), (3, 4), (3, 5), (3, 6), (4, 1), (4, 2), (4, 3), (4, 4), (4, 5), (4, 6),

                      (5, 1), (5, 2), (5, 3), (5, 4), (5, 5), (5, 6), (6, 1), (6, 2), (6, 3), (6, 4), (6, 5), (6, 6)}

n(S)  =  36

1) เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มมากกว่าหรือเท่ากับ 11

อธิบายเพิ่มเติม : ผลรวมของแต้มมากกว่าหรือเท่ากับ 11 หมายความว่า เมื่อนำแต้มของลูกเต๋า 2 ลูกมาบวกกัน แล้วได้ผลลัพธ์เท่ากับ 11 และมากกว่า 11

ให้ E1 แทน เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มมากกว่าหรือเท่ากับ 11

E1           =    { (5, 6) , (6, 5 ) , ( 6, 6) }

n (E1)     =    3

P (E1)     =    \frac{n(E_{1})}{n(S)}  = \frac{3}{36} = \frac{1}{12}

ดังนั้น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มมากกว่าหรือเท่ากับ 11 เท่ากับ \frac{1}{12}

2) เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มเป็นจำนวนคู่

อธิบายเพิ่มเติม : ผลรวมของแต้มเป็นจำนวนคู่ จะต้องเกิดจากแต้มคี่ทั้งสองลูกและแต้มคู่ทั้งสองลูก

ให้ E2 แทน เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มเป็นจำนวนคู่

E2  =  { (1,1) , (1,3) , (1,5) , (2,2) , (2,4) , (2,6) , (3,1) , (3,3) , (3,5) , (4,2) , (4,4) , (4,6) ,

                         (5,1) ,(5,3) ,(5,5),(6,2) ,(6,4) ,(6,6) }

n(E2)   =  18

P(E2)   =  \frac{18}{36}  =  \frac{1}{2}

ดังนั้น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มเป็นจำนวนคู่ เท่ากับ \frac{1}{2}

3) เหตุการณ์ที่ลูกเต๋าขึ้นแต้ม 1  อย่างน้อยหนึ่งลูก

อธิบายเพิ่มเติม : ลูกเต๋าขึ้นแต้ม 1  อย่างน้อยหนึ่งลูก หมายความว่า ขึ้นแต้ม 1 หนึ่งลูกหรือสองลูกก็ได้

ให้ E3  แทน เหตุการณ์ที่ลูกเต๋าขึ้นแต้ม 1  อย่างน้อยหนึ่งลูก

E3           =   { (1,1) ,(1,2) ,((1,3) ,(1,4) ,(1,5) ,(1,6) ,(2,1) ,(3,1) ,(4,1) ,(5,1) ,(6,1) }

n(E3)      =   11

P(E3)      =  \frac{11}{36}

ดังนั้น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ลูกเต๋าขึ้นแต้ม 1  อย่างน้อยหนึ่งลูก เท่ากับ \frac{11}{36}

ตัวอย่างที่ 2

ตัวอย่างที่ 2    ครอบครัวครอบครัวหนึ่ง  มีบุตร 2 คน  จงหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ต่อไปนี้

1) เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรคนแรกเป็นชาย บุตรคนที่สองเป็นหญิง

2) เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรเป็นหญิง 1 คน

3) เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรเป็นชาย 3 คน

4) เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรทั้งสองคนเป็นชายหรือหญิงก็ได้

วิธีทำ     ให้         ช  แทน บุตรชาย

       ญ  แทน บุตรหญิง

  S =  {(ช, ช), (ช, ญ), (ญ, ช), (ญ, ญ)}

   n(S) = 4

โดยที่  สมาชิกตัวแรกของคู่อันดับแสดงผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ของการมีบุตรคนแรก และสมาชิกตัวที่สองของคู่อันดับแสดงผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ของการมีบุตรคนที่สอง

1) เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรคนแรกเป็นชาย บุตรคนที่สองเป็นหญิง

ให้ E1 แทน เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรคนแรกเป็นชาย บุตรคนที่สองเป็นหญิง

E1 = {(ช, ญ)}

n (E1)     =    1

P (E1)     =    \frac{n(E_{1})}{n(S)}  = \frac{1}{4}

ดังนั้น  ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรคนแรกเป็นชาย บุตรคนที่สองเป็นหญิง เท่ากับ \frac{1}{4}

2) เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรเป็นหญิง 1 คน

ให้ E2 แทน เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรเป็นหญิง 1 คน

E2  =  { (ช, ญ) , (ญ, ช)) }

n(E2)   =  2

P(E2)   =  \frac{2}{4}  =  \frac{1}{2}

ดังนั้น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรเป็นหญิง 1 คน เท่ากับ \frac{1}{2}

3) เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรเป็นชาย 3 คน

เนื่องจากครอบครัวนี้มีบุตรเพียง 2 คนเท่านั้น เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรเป็นชาย 3 คน จึงเป็น 0

ดังนั้น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรเป็นชาย 3 คน เท่ากับ 0

4) เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรทั้งสองคนเป็นชายหรือหญิงก็ได้

ให้ E3  แทน เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรทั้งสองคนเป็นชายหรือหญิงก็ได้

E3           =  {(ช, ช), (ช, ญ), (ญ, ช), (ญ, ญ)}

n(E3)      =   4

P(E3)      =  \frac{4}{4} = 1

ดังนั้น  ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรทั้งสองคนเป็นชายหรือหญิงก็ได้  เท่ากับ  1

ตัวอย่างที่ 3

ตัวอย่างที่ 3    โยนเหรียญ 1 เหรียญ 3 ครั้ง จงหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ต่อไปนี้

1) เหตุการณ์ที่เหรียญออกหัวมากกว่าออกก้อย

2) เหตุการณ์ที่เหรียญออกก้อยติดต่อกัน

3) เหตุการณ์ที่เหรียญออกหัวอย่างน้อย 1 เหรียญ

วิธีทำ  ผลลัพธ์ทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการทดลองสุ่มนี้มี 8 แบบ ดังนี้

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ 3

  S =  {HHH, HHT, HTH, HTT, THH, THT, TTH , TTT}

  n(S) = 8

1) เหตุการณ์ที่เหรียญออกหัวมากกว่าออกก้อย

ให้ E1 แทน เหตุการณ์ที่เหรียญออกหัวมากกว่าออกก้อย

E1 = {HHH, HHT, HTH , THH}

n (E1)     =    4

P (E1)     =    \frac{n(E_{1})}{n(S)}  = \frac{4}{8}\frac{1}{2}

ดังนั้น  ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เหรียญออกหัวมากกว่าออกก้อย เท่ากับ \frac{1}{2}

2) เหตุการณ์ที่เหรียญออกก้อยติดต่อกัน

ให้ E2 แทน เหตุการณ์ที่เหรียญออกก้อยติดต่อกัน

E2  =  { HTT, TTH , TTT }

n(E2)   =  3

P(E2)   =  \frac{3}{8}

ดังนั้น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เหรียญออกก้อยติดต่อกัน เท่ากับ  \frac{3}{8}

3) เหตุการณ์ที่เหรียญออกหัวอย่างน้อย 1 เหรียญ

อธิบายเพิ่มเติม : เหรียญออกหัวอย่างน้อยหนึ่งเหรียญ  หมายความว่า เหรียญออกหัวหนึ่งเหรียญ สองเหรียญหรือสามเหรียญก็ได้

ให้ E3  แทน เหตุการณ์ที่ออกหัวอย่างน้อย 1 เหรียญ

E3           =  {HHH, HHT, HTH, HTT, THH, THT , TTH}

n(E3)      =   7

P(E3)      =  \frac{7}{8}

ดังนั้น  ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เหรียญออกหัวอย่างน้อย 1 เหรียญ เท่ากับ  \frac{7}{8}

ตัวอย่างที่ 4

ตัวอย่างที่ 4  สุ่มหยิบลูกบอล 1 ลูก  จากกล่องที่มีลูกบอลสีขาว 5 ลูก จงหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ต่อไปนี้

1) เหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกบอลสีขาว

2) เหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกบอลสีน้ำเงิน

วิธีทำ     กำหนดให้  ข₁, ข₂, ข₃, ข₄  และ ข₅  แทนลูกบอลสีขาวทั้ง 5 ลูก

ผลลัพธ์ทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการทดลองสุ่มมี 5 แบบ คือ ข₁, ข₂, ข₃, ข₄  หรือ ข₅ 

นั่นคือ จำนวนผลลัพธ์ทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เท่ากับ 5  หรือ  n(S) = 5

1) เหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกบอลสีขาว

เหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกบอลสีขาว มีผลลัพธ์ คือ ข₁, ข₂, ข₃, ข₄  หรือ ข₅ 

จะได้  จำนวนผลลัพธ์ของเหตุการณ์เป็น 5   หรือ  n(E) = 5

ดังนั้น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกบอลสีขาว เท่ากับ  \frac{5}{5} = 1  หรือ P(E) = 1

2) เหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกบอลสีน้ำเงิน

เนื่องจากไม่มีลูกบอลสีน้ำเงินอยู่ภายในกล่อง

จะได้  จำนวนผลลัพธ์ที่หยิบได้ลูกบอลสีน้ำเงิน เป็น 0

ดังนั้น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกบอลสีน้ำเงิน เท่ากับ 0

จาก ตัวอย่างที่ 4 จะสังเกตเห็นว่าเหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกบอลสีขาวเป็น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแน่นอน มีความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ เท่ากับ 1 และเหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกบอลสีน้ำเงินเป็น เหตุการณ์ที่ไม่เกิดขึ้นแน่นอน มีความน่าจะเป็น เท่ากับ 0

วิดีโอ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์

+3

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ราชาศัพท์

ราชาศัพท์ คำใดบ้างที่เราควรรู้?

น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยได้ยินคำราชาศัพท์มาบ้างเวลาที่เปิดโทรทัศน์ดูข่าวช่วงหัวค่ำ แต่เคยสงสัยกันบ้างไหมคะว่า ราชาศัพท์ ที่นักข่าวในโทรทัศน์พูดกันบ่อย ๆ มีความหมายว่าอะไรบ้าง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับคำราชาศัพท์ เพื่อที่เวลาน้อง ๆ ฟังข่าว จะได้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น เราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ราชาศัพท์     การแบ่งลำดับขั้นของบุคคลในการใช้คำราชาศัพท์ แบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้

0
เสภาขุนช้างขุนแผน

เสภาขุนช้างขุนแผน จากนิทานชาวบ้านสู่วรรณคดีราชสำนัก

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของกลอนเสภาและเป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักวรรณคดีว่าเป็นเลิศทั้งในด้านเนื้อเรื่องและการประพันธ์ มีมากมายหลายตอน หลายสำนวนและหลายผู้แต่ง แต่บทเรียนที่น้อง ๆ จะได้ศึกษากันในวันนี้เป็น เสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา จะมีเนื้อหาและความเป็นมาอย่างไรเราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของ เสภาขุนช้างขุนแผน   ขุนช้างขุนแผนสันนิษฐานว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา จากพงศาวดารทำให้ทราบว่าขุนแผนรับราชการอยู่ในสมัยสมเด็จพระพันวษา หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2034-พ.ศ 2072 ต่อมามีการนำเรื่องขุนช้างขุนแผนมาแต่งเป็นกลอนสุภาพและบทเสภาโดยใช้กรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะ

+1
พระบรมราโชวาท

พระบรมราโชวาท ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่อยู่ในวรรณคดี

พระบรมราโชวาท เป็นวรรณคดีไทยที่ทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่ง ที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากที่ได้เรียนเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อกันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้ก็จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงตัวบทเด่น ๆ ว่ามีใจความอย่างไร รวมถึงศึกษาคุณค่าที่สอดแทรกอยู่ในเรื่องอีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในพระบรมราโชวาท   ถอดความ ความตอนนี้กล่าวถึงพระประสงค์ของรัชกาลที่ 5 ที่ไม่ต้องการให้พระโอรสใช้คำนำหน้าเป็นเจ้า แต่ให้ใช้คำนำหน้าเป็นนายหรืออาจให้ใช้คำลงท้ายแบบขุนนางชั้นสูงได้เท่านั้น เพราะเมื่อประกาศให้คนรู้ว่าเป็นใครสิ่งที่จะตามมาก็คือการต้องรักษายศไว้

0
NokAcademy_ ม5 Passive Modals

Passive Modals

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Passive Modals“ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยเด้อ   Passive Modals คืออะไร   Passive Modals หรือ Modal Verbs in the Passive Voice คือ 

0
ภาษาถิ่นใต้

ภาษาถิ่นใต้ มรดกทางวัฒณธรรมที่ควรค่าแก่การศึกษา

ภาษาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม โดยสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมผ่านภาษามากที่สุด ก็คือ การมีอยู่ของภาษาถิ่น ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้พูดติดต่อสื่อสารตามท้องถิ่นต่าง ๆ เพื่อให้คนในพื้นที่เข้าใจกัน ประเทศไทยมีทั้งหมด 6 ภาค ภาษาถิ่นที่เด่นชัดที่สุดจะแบ่งออกเป็นภาษาถิ่นภาคกลางซึ่งครอบคลุมไปถึงภาคตะวันตะวันตก อาจมีแตกต่างบ้างในเรื่องของคำศัพท์บางคำและสำเนียง ภาษาถิ่นเหนือและภาษาถิ่นอีสาน ที่ได้รับอิทธิพลจากประเทศเพื่อนบ้าน และด้วยภูมิภาคที่อยู่ใกล้กันทำให้บางคำก็ใช้ด้วยกัน และสุดท้าย ภาษาถิ่นใต้ ที่ค่อนข้างจะแตกต่างกับภาษาถิ่นอื่น ๆ แต่จะมีลักษณะ และมีคำศัพท์น่ารู้อะไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ภาษาถิ่นใต้  

0
NokAcademy_ ม6Passive Modals

มารู้จักกับ Passive Modals

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Passive Modals” ที่ใช้บ่อยพร้อม เทคนิคการจำและนำไปใช้ และทำแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน กันค่า Let’s go! ไปลุยกันโลดเด้อ   Passive Modals คืออะไรเอ่ย   Passive Modals คือ กลุ่มของ Modal verbs ที่ใช้ในโครงสร้าง

0
โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1