ความน่าจะเป็น

ความน่าจะเป็น

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทความนี้จะแนะนำให้รู้จักกับ ความน่าจะเป็น ซึ่งได้กล่าวถึงในลักษณะของความหมายและยกตัวอย่างประกอบ รวมถึงคำที่เกี่ยวข้องกับความน่าจะเป็น เช่นการทดลองสุ่ม ปริภูมิตัวอย่าง และเหตุการณ์ ดังต่อไปนี้

ความน่าจะเป็น

ความน่าจะเป็น (Probability)  เป็นจำนวนที่ใช้เพื่อบอกโอกาสที่เหตุการณ์หนึ่ง ๆ จะเกิดขึ้น ซึ่งมี 3 ลักษณะ คือ ไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนจะมีค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 0 อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ จะมีค่าความน่าจะเป็นอยู่ระหว่าง 0 กับ 1 และเกิดขึ้นอย่างแน่นอนจะมีค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 1 ทั้งนี้ ในการบอกค่าความน่าจะเป็นอาจเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนทศนิยมหรือร้อยละเราสามารถใช้ความน่าจะเป็นช่วยในการคาดการณ์ สร้างข้อสรุป และตัดสินใจแก้ปัญหา ซึ่งได้ยกตัวอย่าง ดังต่อไปนี้

1)  ในโหลใบหนึ่งมีลูกแก้วสีแดง 20 ลูก สีเขียว 10 ลูก คนลูกแก้วรวมกันแล้วหยิบลูกแก้ว 1 ลูก ออกมา จากโหลโดยไม่ต้องดู โอกาสที่จะหยิบลูกแก้วสีอะไรได้มากกว่า เพราะเหตุใด

ตอบ สีแดง เพราะลูกแก้สีแดงมีจำนวนมากที่สุด

2)  กล่องใบหนึ่งมีลูกอมรสส้ม 6 เม็ด รสบ๊วย 8 เม็ด และรสช็อกโกแล็ต 3 เม็ด

2.1 หยิบได้ลูกอมรสส้มหรือรสบ๊วยหรือรสช็อกโกแล็ต

ตอบ เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

2.2 หยิบลูกอมรสส้มเป็นเหตุการณ์อย่างไร

ตอบ อาจเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้

2.3 หยิบลูกอมรสใดได้มากที่สุด  เพราะเหตุใด

ตอบ รสบ๊วย เพราะในกล่องมีลูกอมรสบ๊วยมากที่สุด

2.4 หยิบลูกอมรสใดได้น้อยที่สุด  เพราะเหตุใด

ตอบ รสช็อกโกแล็ต เพราะในกล่องมีรสช็อกโกแล็ตน้อยที่สุด

2.5 หยิบได้ลูกอมรสกาแฟเป็นเหตุการณ์อย่างไร

ตอบ ไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

การทดลองสุ่ม

การทดลองสุ่ม (random experiment)  คือ  การทดลองหรือการกระทำใด ๆ ซึ่งทราบว่าผลลัพธ์อาจจะเป็นอะไรได้บ้าง แต่ไม่สามารถบอกได้อย่างถูกต้องแน่นอนว่า ในแต่ละครั้งที่ทดลองผลที่เกิดขึ้นจะเป็นอะไรในบรรดาผลลัพธ์ที่อาจเป็นไปได้เหล่านี้

ตัวอย่างที่ 1  จงพิจารณาว่าการกระทำต่อไปนี้  เป็นการทดลองสุ่มหรือไม่  เพราะเหตุใด

1)  การโยนเหรียญ 1  เหรียญ  หนึ่งครั้ง

ตอบ เป็นการทดลองสุ่ม เพราะว่าในการโยนเหรียญ 1 เหรียญ หนึ่งครั้ง อาจจะออกหัวหรือก้อย แต่ไม่สามารถระบุได้แน่นอนว่าจะออกหัวหรือก้อย

2)  การทอดลูกเต๋า 1 ลูก หนึ่งครั้งลงในถ้วย

ตอบ เป็นการทดลองสุ่ม เพราะว่าในการทอดลูกเต๋า 1 ลูก หนึ่งครั้งลงในถ้วย ลูกเต๋าจะหงายหน้าที่มีแต้ม 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 แต่ไม่สามารถระบุได้แน่นอนว่าลูกเต๋าจะหงายหน้าที่มีแต้มใด

3)  การเดินทางไปโรงเรียน

ตอบ ไม่เป็นการทดลองสุ่ม เพราะว่าในการเดินทางไปโรงเรียน เราไม่สามารถตอบได้เลยว่าผลลัพธ์เป็นอะไรบ้าง

4)  การแข่งขันฟุตบอลในแต่ละนัด

ตอบ เป็นการทดลองสุ่ม เพราะว่าในการแข่งขันฟุตบอลในแต่ละนัด มีผล แพ้ ชนะ หรือ เสมอ แต่ไม่สามารถระบุได้แน่นอนว่าผลการแข่งขันจะเป็นแบบใด

5) การถอนเงินจากธนาคาร

ตอบ ไม่เป็นการทดลองสุ่ม เพราะว่าในการถอนเงินจากธนาคาร เราไม่สามารถตอบได้เลยว่าผลลัพธ์เป็นอะไรบ้าง

จากตัวอย่างข้างต้น สรุปได้ว่า

           ราไม่สามารถบอกล่วงหน้าได้ว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น จากแต่ละการกระทำจะเป็นอะไร  แต่สามารถบอกได้ว่ามีผลลัพธ์อะไรบ้างที่จะเกิดขึ้นได้ เรียกการกระทำเหล่านี้ว่า  การทดลองสุ่ม

ตัวอย่างที่ 2   ให้พิจารณาข้อความต่อไปนี้ว่าข้อใดเป็นการสุ่ม โดยทำเครื่องหมาย ü หรือ û  หน้าข้อความให้ถูกต้อง

          ü       1. สุ่มหยิบลูกบอล 1 ลูก จากกล่องที่มีลูกบอล สีแดง สีขาว สีน้ำเงินอย่างละลูก

          û       2. การทำข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น

           û       3. การถูกอาจารย์สุชาติลงโทษ

          ü       4. นักเรียนที่ชอบเกมส์โชว์

           ü       5. นักเรียนที่เดินออกจากโรงเรียน ทุก ๆ 50 คน

            û       6. เด็กที่ชอบเล่นกีฬาเทนนิสทุกวันศุกร์

            ü       7. ครูสุ่มหยิบหมายเลขให้นักเรียนไปนำเสนอหน้าชั้น

            ü       8. ครูหยิบฉลากเพื่อแลกของขวัญในวันขึ้นปีใหม่

             û       9. นักเรียนเดินกลับบ้านเป็นแถว

           ü       10. การสำรวจเพศของบุตรในครอบครัวหนึ่ง

ปริภูมิตัวอย่าง

ปริภูมิตัวอย่าง หรือแซมเปิลสเปซ (S) คือ เซตของผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งหมดจากการทดลองสุ่ม

ตัวอย่างที่ 3  จงเขียนแซมเปิลสเปซ  และหาจำนวนของผลลัพธ์ทั้งหมดที่เป็นไปได้  จากการทดลองสุ่มต่อไปนี้

1)  การโยนเหรียญเที่ยงตรง 1  เหรียญ  2  ครั้ง

ตอบ  แซมเปิลสเปซที่เป็นไปได้ทั้งหมด ได้แก่ HH, HT, TH, TT

          จำนวนของแซมเปิลสเปซหรือผลลัพธ์ทั้งหมดที่เป็นไปได้ เท่ากับ  4

2)  สุ่มหยิบลูกปิงปอง 2 ลูกพร้อมกัน จากกล่องใบหนึ่ง ที่มีลูกปิงปอง สีม่วง 1 ลูก, สีส้ม 1 ลูก และสีเขียว 1 ลูก

ตอบ  แซมเปิลสเปซที่เป็นไปได้ทั้งหมด ได้แก่ ม่วงส้ม,  ม่วงเขียว  และส้มเขียว

          จำนวนของแซมเปิลสเปซหรือผลลัพธ์ทั้งหมดที่เป็นไปได้ เท่ากับ  3

 ตัวอย่างที่ 4  มีแป้นวงกลมอยู่หนึ่งแป้นได้จาการแบ่งวงกลม ออกเป็น 10 ส่วน มีหมายเลขกำกับ 0,1,2,3,4,5,6,7,8,9 ตามลำดับ หมุนแป้น 1 ครั้ง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

    1. ผลลัพธ์ทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เป็นอย่างไร

ตอบ     มี 10 แบบ คือ 0,1,2,3,4,5,6,7,8,9

    1. ผลลัพธ์ที่เข็มชี้ในช่องจำนวนคู่ เป็นอย่างไร

ตอบ     มี 5 แบบ คือ 0,2,4,6,8

    1. ผลลัพธ์ที่เข็มชี้ในช่องจำนวนคี่ เป็นอย่างไร

ตอบ     มี 5 แบบ คือ 1,3,5,7,9

    1. ผลลัพธ์ที่เข็มชี้ในช่องมากกว่า 7 เป็นอย่างไร

ตอบ     มี 2 แบบ คือ 8,9

    1. ผลลัพธ์ที่เข็มชี้ในช่องเป็นจำนวนเฉพาะ เป็นอย่างไร

ตอบ     มี 4 แบบ คือ 2,3,5,7

ตัวอย่างที่ 5  กล่องทึบแสงใบหนึ่งมีลูกปิงปอง 5 ลูก มีตัวเลขเขียนกำกับลูกละ 1 ตัว คือ 0, 1, 3, 5, 7 หากหยิบลูกปิงปอง ครั้งละ 1 ลูก 2 ครั้ง จงหาผลการทดลองสุ่มจากสถานการณ์นี้

  1. ผลลัพธ์ทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เป็นอย่างไร

ตอบ     มี 15 แบบ คือ (0,0), (0,1), (0,2), (0,3), (0,7), (1,1),(1,3), (1,5), (1,7), (3,3), (3,5), (3,7), (5,5), (5,7), (7,7)

  1. ผลลัพธ์ที่หยิบลูกปิงปองเป็นผลบวกจำนวนคู่ เป็นอย่างไร

ตอบ     มี 12 แบบ คือ (0,0), (0,2), (1,1), (1,3), (1,5), (1,7),

 (3,3), (3,5), (3,7), (5,5), (5,7), (7,7)

  1. ผลลัพธ์ที่ที่หยิบลูกปิงปองเป็นผลบวกจำนวนคี่ เป็นอย่างไร

ตอบ     มี 3 แบบ คือ (0,1), (0,3), (0,7),

  1. ผลลัพธ์ที่หยิบลูกปิงปองได้ผลบวกเท่ากับ 8 เป็นอย่างไร

ตอบ     มี 2 แบบ คือ (1,7),(3,5)

  1. ผลลัพธ์ที่หยิบลูกปิงปองได้ผลบวกน้อยกว่า 5 เป็นอย่างไร

ตอบ     มี 4 แบบ คือ     (0,0), (0,1), (0,2),(0,3),

เหตุการณ์

เหตุการณ์ (Events)  คือ เซตของผลลัพธ์ที่ได้จากการทดลองสุ่มที่เราสนใจพิจารณา ซึ่งเหตุการณ์เป็นสับเซตของปริภูมิตัวอย่าง

ตัวอย่างที่ 6  สุ่มหยิบเหรียญ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 เหรียญ จากกล่องที่มีเหรียญอยู่ โดยมีหมายเลขกำกับ ได้แก่ 1,2,3,4 โดยครั้งที่ 1 หยิบ 1 เหรียญ แล้วนำมาดูว่าได้หมายเลขใด หลังจากนั้นใส่กลับคืน แล้วหยิบครั้งหนึ่ง แล้วนำมาดูหมายเลขใด จงหาผลลัพธ์ต่อไปนี้

1) เหตุการณ์ที่ผลบวกของหมายเลขทั้งสองครั้งเท่ากับ 4

ตอบ เหตุการณ์ที่ผลบวกของหมายเลขทั้งสองครั้งเท่ากับ 4 มี 3 แบบ คือ (1,3),(2,2),(3,1)

2) เหตุการณ์ที่หยิบครั้งที่ 1 ได้หมายเลข 3

ตอบ เหตุการณ์ที่หยิบครั้งที่ 1 ได้หมายเลข 3 มี 4 แบบ คือ (3,1),(3,2),(3,3),(3,4)

3) เหตุการณ์ที่หยิบครั้งที่ 2 ได้หมายเลข 5

ตอบ ไม่มีผลลัพธ์ของเหตุการณ์ที่หยิบครั้งที่ 2 ได้หมายเลข 5

ตัวอย่างที่ 7  ในการทอดลูกเต๋า 1 ลูก 2 ครั้ง พร้อมกัน ผลลัพธ์ทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้เป็นดังนี้

(1, 1), (1, 2), (1, 3), (1, 4), (1, 5), (1, 6),(2, 1), (2, 2), (2, 3), (2, 4), (2, 5), (2, 6),

(3, 1), (3, 2), (3, 3), (3, 4), (3, 5), (3, 6),(4, 1), (4, 2), (4, 3), (4, 4), (4, 5), (4, 6),

(5, 1), (5, 2), (5, 3), (5, 4), (5, 5), (5, 6),(6, 1), (6, 2), (6, 3), (6, 4), (6, 5), (6, 6)

จากข้อมูลที่กำหนดให้  จงเขียนเหตุการณ์ต่อไปนี้

 1) เหตุการณ์ที่ได้แต้มในการทอดลูกเต๋าครั้งแรกเป็น 3

  ตอบ    (3, 1), (3, 2), (3, 3), (3, 4), (3, 5) และ (3, 6)

 2) เหตุการณ์ที่ได้แต้มในการทอดลูกเต๋าครั้งที่สองเป็น 5

 ตอบ    (1, 5), (2, 5), (3, 5), (4, 5), (5, 5) และ (6, 5)

   3) เหตุการณ์ที่ได้แต้มเท่ากัน

   ตอบ    (1, 1), (2, 2), (3, 3), (4, 4), (5, 5) และ (6, 6)

   4) เหตุการณ์ที่ได้แต้มเป็นจำนวนเฉพาะสองครั้ง

  ตอบ    (2, 2), (2, 3), (2, 5), (3, 2), (3, 3), (3, 5), (5, 2), (5, 3) และ (5, 5)

   5) เหตุการณ์ที่ได้แต้มรวมกันเท่ากับ 6

  ตอบ    (1, 5), (2, 4), (3, 3), (4, 2) และ (5, 1)

   6) เหตุการณ์ที่ได้แต้มต่างกันอยู่ 2

  ตอบ   (1, 3), (2, 4), (3, 1), (3, 5), (4, 2), (4, 6), (5, 3) และ (6, 4)

     7) เหตุการณ์ที่ผลคูณของแต้มเท่ากับ 8

  ตอบ   (2, 4) และ (4, 2)

    8) เหตุการณ์ที่ผลหารของแต้มเท่ากับ 0

  ตอบ   ไม่มี

เมื่อน้องๆเรียนรู้เรื่อง ความน่าจะเป็น  จะทำให้น้องๆ สามารถเข้าใจการทดลองสุ่ม การหาแซมเปิลสเปส และเหตุการณ์ เพื่อสามารถนำมาคำนวณหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ได้ในลำดับถัดไป ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประกอบในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ในอนาคตได้

วิดีโอ ความน่าจะเป็น

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

บทพากย์เอราวัณ

บทพากย์เอราวัณ ที่มาของวรรณคดีพากย์โขนอันทรงคุณค่า

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนยินดีต้องรับเข้าสู่เนื้อหาวิชาภาษาไทยที่จะมาให้สาระความรู้ดี ๆ ซึ่งวันนี้เราจะมาเรียนรู้ความเป็นมาของวรรณคดีเรื่องหนึ่งที่มักจะใช้ในการแสดงโขน นั่นก็คือบทพากย์เอราวัณแน่นอนว่าน้อง ๆ ในระดับมัธยมต้นจะต้องได้เรียนเรื่องนี้ เพราะเป็นวรรณคดีอีกเรื่องที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 2 ในด้านกวีนิพนธ์จากการที่เลือกใช้ถ้อยคำภาษาที่สวยงามเพื่อมาบรรยายถึงลักษณะของช้างเอราวัณได้อย่างดี ดังนั้น ถ้าพร้อมแล้วมาดูกันว่าวันนี้เรามีเนื้อหาที่น่าสนใจอะไรมาฝากน้อง ๆ กันบ้างดีกว่า ประวัติความเป็นมา สำหรับวรรณคดี บทพากย์เอราวัณ เป็นอีกหนึ่งผลงานการพระราชนิพนธ์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ซึ่งถือเป็นบทที่นิยมนำไปใช้ในการแสดงโขน โดยได้เค้าโครงเรื่องมาจาก “รามายณะ”

ภาษาเขมรในภาษาไทย เรียนรู้ความเป็นมาและลักษณะภาษา

ภาษาเขมร เป็นภาษาประจำชาติของประเทศกัมพูชา และยังเป็นภาษาที่คนไทยเชื้อสายเขมรใช้พูดกันอีกด้วย แต่นอกจากนั้นแล้ว น้อง ๆ ทราบไหมคะว่ายังมีคำที่มาจากภาษาเขมรปนอยู่ในชีวิตเรามากมายเลยทีเดียว เรียกได้ว่าถ้าหากภาษาบาลีสันสกฤตเป็นภาษาต่างประเทศที่ถูกหยิบยืมมาปรับใช้ในภาษาไทยมากที่สุดแล้ว ภาษาเขมรก็ถือว่าตามมาติด ๆ เลยทีเดียวค่ะ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แล้วคำไหนบ้างที่มาจากภาษาเขมร มีวิธีสังเกตอย่างไร ถ้าน้อง ๆ พร้อมแล้ว ไปเรียนรู้เรื่อง ภาษาเขมรในภาษาไทย พร้อมกันเลยค่ะ   จุดเริ่มต้นของภาษาเขมรในภาษาไทย     เนื่องจากเขตประเทศที่อยู่ติดกัน

ประมาณค่าทศนิยมด้วยการปัดทิ้งและปัดทด

บทความนี้จะพูดถึงเรื่องพื้นฐานของทศนิยมอีก 1 เรื่องก็คือการประมาณค่าใกล้เคียงของทศนิยม น้อง ๆคงอาจจะเคยเรียนการประมาณค่าใกล้เคียงของจำนวนเต็มมาแล้ว การประมาณค่าทศนิยมหลักการคล้ายกับการประมาณค่าจำนวนเต็มแต่อาจจะแตกต่างกันที่คำพูดที่ใช้ เช่นจำนวนเต็มจะใช้คำว่าหลักส่วนทศนิยมจะใช้คำว่าตำแหน่ง บทความนี้จึงจะมาแนะนำหลักการประมาณค่าทศนิยมให้น้อง ๆเข้าใจ และสามารถประมาณค่าทศนิยมได้อย่างถูกต้อง

การใช้คำคุณศัพท์และการเรียงคำคุณศัพท์

การใช้คำคุณศัพท์และการเรียงคำคุณศัพท์ คำคุณศัพท์ (Adjective) คืออะไร? ก่อนเราจะเริ่มเข้าเนื้อหา ทางผู้เขียนก็อยากจะพูดถึงความหมายและความสำคัญของคำคุณศัพท์ (Adjective) กันก่อน คำคุณศัพท์ (Adjectives) มักจะุถูกใช้ในการอธิบายลักษณะรูปร่างทางกายภาพของทั้งสิ่งของและสิ่งมีชีวิตที่รวมถึงตัวของมนุษย์เอง โดยที่เราจะมาเรียนกันวันนี้คือการที่บางครั้ง คำคุณศัพท์ (Adjective) นั้นจะมีลักษณะที่ถูกใช้อธิบายลักษณะทางกายภาพที่มากกว่าหนึ่งอย่าง ในภาษาไทยของเรา ก็มีการเรียกคำคุณศัพท์ หรือที่เรียกว่า order of adjective ด้วยเหมือนกัน จากศึกษาและพูดคุยกับนักศึกษาศาสตร์ พบว่า การใช้ภาษาไทยในปัจจุบันไม่ได้มีการกำหนดการเรียงลำดับคำคุณศัพท์แบบภาษาอังกฤษที่ชัดเจน

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1