การให้เหตุผลแบบอุปนัย
การให้เหตุผลแบบอุปนัย คือ การนำประสบการณ์มาสรุปผล เช่น เราไปซื้อผลไม้แล้วเราชิมผลไม้ 2-3 ลูก ปรากฏว่า มีรสหวาน เราเลยสรุปว่าผลไม้ทั้งกองนั้นหวาน เป็นต้น ซึ่งการสรุปผลอาจจะเป็นจริงหรือเท็จก็ได้ อาจจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้สรุป ดังนั้น ผลสรุปไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน
ตัวอย่างเช่น
เหตุ
- เมื่อวานแป้งตั้งใจเรียน
- วันนี้แป้งตั้วใจเรียน
ผลสรุป พรุ่งนี้แป้งจะตั้งใจเรียน
การให้เหตุผลแบบนี้ เหมือนเป็นการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป ซึ่งการคาดคะเนนี้อาจจะจริงหรือเท็จก็ได้
ตัวอย่าง การให้เหตุผลแบบอุปนัย
1.) หาค่า n โดยใช้การให้เหตุผลแบบอุปนัย
1.1) 1, 3, 5, 7, 9, n
วิธีคิด จากโจทย์จะเห็นว่า ตัวเลขแต่ละตัวเพิ่มขึ้นทีละ 2 เราก็พอจะรู้แล้วว่าตัวเลขที่ถัดจาก 9 คือ 9 + 2 = 11
ดังนั้น n = 11
1.2)
(9 × 9) + 7 = 88
(98 × 9) + 6 = 888
(987 × 9) + 5 = 8,888
(n × 9) + 4 = 88,888
วิธีคิด จากโจทย์ลองสังเกต ตัวเลขที่คูณกับ 9 จะเห็นว่าค่อยๆเพิ่มตัวเลข โดยตัวเลขที่เพิ่มขึ้นมานั้นมีค่าน้อยกว่าตัวข้างหน้าอยู่ 1 เช่น 9 เพิ่ม 8 ขึ้นมาเป็น 98 และเพิ่ม 7 ขึ้นมา 987 ดังนั้น ตัวเลขต่อไปก็ควรจะเป็น 9876 ซึ่งเมื่อลองคำนวณ (9876 × 9) + 4 เท่ากับ 88,888
ดังนั้น n = 9,876
2.) พิจารณารูปแบบที่กำหนดให้ และหารูปแบบลำดับถัดไป
11 × 11 = 121
111 × 111 = 12321
1111 × 1111 = 1234321
___×____=__________
แนวคำตอบ ลำดับถัดไปคือ 11111 × 11111 = 123454321
สรุป
- การให้เหตุผลแบบอุปนัย คือ การสรุปแบบย่อย ไปหา ใหญ่
- อาจจะเป็นจริงหรือเท็จก็ได้ เนื่องจากเป็นการสรุปจากเล็กไปหาใหญ่ ทำให้ไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน
- ผลสรุปของเรา จะน่าเชื่อถือหรือไม่ ขึ้นอยู่กับจำนวนประสบการณ์ ซึ่งไม่ควรน้อยเกินไป เพราะอาจจะทำให้สรุปผิดพลาดได้
วีดีโอเพิ่มเติม