การสร้างตารางค่าความจริง

บทความนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างตารางค่าความจริงของประพจน์ เป็นเนื้อหาที่ไม่ยากมากหลังจากน้องๆได้อ่านบทความนี้แล้ว น้องๆจะสามารถสร้างตารางค่าความจริงได้ สามารถบอกได้ว่าประพจน์แต่ละประพจน์เป็นจริงได้กี่กรณีและเป็นเท็จได้กี่กรณี และจะทำให้น้องเรียนเนื้อหาเรื่องต่อไปได้ง่ายยิ่งขึ้น

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การสร้างตารางค่าความจริงเป็นการทำความเข้าใจว่าประพจน์จะสามารถเป็นจริงหรือเท็จได้กี่กรณี ถ้าเป็นการบรรยายว่าตัวเชื่อมแต่ละตัวเป็นจริงกรณีไหนและเท็จกรณีไหนอาจจะทำให้น้องๆมองภาพไม่ค่อยออก การทำตารางจะทำให้เห็นภาพง่ายขึ้น เราไปดูเนื้อหาการสร้างตารางค่าความจริงกันเลยค่ะ

การสร้างตารางค่าความจริง

กรณีที่มีประพจน์ 1 ประพจน์ จะมีค่าความจริงที่เป็นไปได้ 2 กรณี ดังนี้

กรณีที่มีประพจน์ 2 ประพจน์ จะมีค่าความจริงที่เป็นไปได้ 4 กรณี ดังนี้

กรณีที่มีประพจน์ 3 ประพจน์ จะมีค่าความจริงที่เป็นไปได้ 8 กรณี ดังนี้

จากทั้ง 3 กรณีแรก เราจะได้ว่า

กรณีที่มีประพจน์ a ประพจน์ จะมีค่าความจริงที่เป็นไปได้ 2ª กรณี

การสร้างตารางค่าความจริงของประพจน์ที่เชื่อมด้วย “หรือ”

กรณี “หรือ” ถ้ามีตัวใดตัวหนึ่งเป็นจริง ประพจน์ p∨q จะเป็นจริงทันที

เช่น  ก. 3+2 = 5 หรือ 3>7

สร้างตารางค่าความจริงได้ดังนี้

ดังนั้น ประพจน์ 3+2 =5 หรือ 3>7 มีค่าความจริงเป็นจริง (T)

ข. หินเป็นสิ่งมีชีวิต หรือ เชียงใหม่อยู่ภาคใต้ของประเทศไทย

สร้างตารางค่าความจริงได้ ดังนี้

ดังนั้น ประพจน์ หินเป็นสิ่งมีชีวิตหรือเชียงใหม่อยู่ภาคใต้ของประเทศไทย มีค่าความจริงเป็นเท็จ(F)

การสร้างตารางค่าความจริงของประพจน์ที่เชื่อมด้วย “และ”

เช่น  ก. จำนวนนับมีค่ามากกว่า 0 และ 1>0

สร้างตารางค่าความจริงได้ ดังนี้

ดังนั้น ประพจน์จำนวนนับมีค่ามากกว่า0 และ 1>0 มีค่าความจริงเป็นจริง

ข.) 2 หาร 20 ลงตัว และ 2 เป็นจำนวนคี่

สร้างตารางค่าความจริงได้ ดังนี้

ดังนั้น ประพจน์ 2 หาร 20ลงตัว และ 2 เป็นจำนวนคี่ มีค่าความจริงเป็นเท็จ

การสร้างตารางค่าความจริงของประพจน์ที่เชื่อมด้วย “ถ้า…แล้ว…”

เช่น ก. ถ้า 2 เป็นจำนวนคี่ แล้ว ½ = 0.5

สามารถสร้างตารางค่าความจริงได้ ดังนี้

ดังนั้น ประพจน์ ถ้า 2 เป็นจำนวนคี่ แล้ว ½ = 0.5 มีค่าความจริงเป็นจริง

ข. 1<2 แล้ว -1>2

สามารถสร้างตารางค่าความจริงได้ ดังนี้

ดังนั้น ประพจน์ 1<2 แล้ว -1>2 มีค่าความจริงเป็นเท็จ

การสร้างตารางค่าความจริงของประพจน์ที่เชื่อมด้วย “ก็ต่อเมื่อ”

ตัวอย่างการสร้างตารางค่าความจริง

 

1.) สร้างตารางค่าความจริงของประพจน์ (p→q)∨r

วิธีทำ

  •  ทำในวงเล็บก่อน จะได้ค่าความจริง p→q ตามตาราง
  • จากนั้นนำค่าความจริงที่ได้ใน ช่อง p→q ไปเชื่อมกับ r จะได้ค่าความจริงตามตารางช่อง (p→q)∨r

 

2.) สร้างตารางค่าความจริงของประพจน์ (p∧q)∨∼p

วิธีทำ

  • ทำจากข้างในวงเล็บ คือพิจารณา (p∧q) 
  • พอได้ค่าความจริงมาแล้วก็มาพิจารณา (p∧q)∨∼p ได้ค่าความจริงดังตาราง

3.) จงสร้างตารางค่าความจริงของประพจน์ (p→q)↔(p∨q)

วิธีทำ

  • อาจจะเริ่มพิจารณาจาก (p→q) แล้วไปพิจารณา (p∨q)
  • พอได้ค่าความจริงของทั้งสองประพจน์แล้ว เราจะพิจารณา (p→q)↔(p∨q) แล้วจะได้ตารางค่าความจริง ดังตาราง

 

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

อสมการค่าสัมบูรณ์

จากบทความที่ผ่านมา น้องๆได้ศึกษาเรื่องค่าสัมบูรณ์และการแก้อสมการไปแล้ว บทความนี้จะเป็นการเอาเนื้อหาของอสมการและค่าสัมบูรณ์มาปรับใช้ นั่นก็คือ เราจะแก้อสมการของค่าสัมบูรณ์นั่นเองค่ะ เรื่องอสมการค่าสัมบูรณ์น้องๆจะได้เจอในข้อสอบ O-Net แต่น้องๆไม่ต้องกังวลค่ะ ถ้าน้องๆเข้าใจหลักการและสมบัติของค่าสัมบูรณ์และอสมการน้องๆจะสามารถทำข้อสอบได้แน่นอน

ระยะห่างของเส้นตรง

ระยะห่างของเส้นตรง

ระยะห่างของเส้นตรง ระยะห่างของเส้นตรง มีทั้งระยะห่างระหว่างจุดกับเส้นตรง และระหว่างเส้นตรงสองเส้นที่ขนานกัน ซึ่งจากบทความเรื่องเส้นตรง น้องๆพอจะทราบแล้วว่าเส้นตรงสองเส้นที่ขนานกันความชันจะเท่ากัน ในบทความนี้น้องๆจะทราบวิธีการหาระยะห่างของเส้นตรงที่ขนานกันด้วยซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการหาสมการเส้นตรงได้ด้วย ระยะห่างระหว่างเส้นตรงกับจุด จากรูปจะได้ว่า  โดยที่ A, B และ C เป็นค่าคงที่ และ A, B ไม่เป็นศูนย์พร้อมกัน ตัวอย่าง1  หาระยะห่างระหว่างจุด (1, 5) และเส้นตรง 2x

like love enjoy ving

การแนะนำตัวเองและให้ข้อมูลโดยใช้ “Like”, “Love”, และ “Enjoy”

สวัสดีน้องๆ ม. 1 ทุกคนนะครับ คราวที่แล้วเราได้อ่านเรื่องการใช้ประโยคคำสั่ง ขอร้อง และคำแนะนำกันไปแล้ว วันนี้เราจะมาดูวิธีการแนะนำตัวเอง และให้ข้อมูลคร่าวๆ เกี่ยวกับตัวเราแบบง่ายๆ กันครับ

สถิติ (เส้นโค้งความถี่)

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง สถิติ (เส้นโค้งความถี่)  ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆจะต้องมีความรู้ในเรื่อง    ค่ากลางของข้อมูล และการวัดการกระจายของข้อมูล สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ สถิติ (ค่ากลางของข้อมูล/การกระจายของข้อมูล) ⇐⇐ เส้นโค้งของความถี่ จะมีอยู่ 3 แบบ คือ เส้นโค้งปกติ เส้นโค้งเบ้ขวา และเส้นโค้งเบ้ซ้าย ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับค่ากลางของข้อมูล  ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (μ)   มัธยฐาน (Med) และฐานนิยม

ความน่าจะเป็น

ความน่าจะเป็น

บทความนี้จะแนะนำให้รู้จักกับ ความน่าจะเป็น ซึ่งได้กล่าวถึงในลักษณะของความหมายและยกตัวอย่างประกอบ รวมถึงคำที่เกี่ยวข้องกับความน่าจะเป็น เช่นการทดลองสุ่ม ปริภูมิตัวอย่าง และเหตุการณ์ ดังต่อไปนี้ ความน่าจะเป็น ความน่าจะเป็น (Probability)  เป็นจำนวนที่ใช้เพื่อบอกโอกาสที่เหตุการณ์หนึ่ง ๆ จะเกิดขึ้น ซึ่งมี 3 ลักษณะ คือ ไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนจะมีค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 0 อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ จะมีค่าความน่าจะเป็นอยู่ระหว่าง 0 กับ 1

คำสมาสแบบสมาส คำสมาสแบบสนธิ

เรียนรู้หลักการสร้างคำสมาสแบบสมาส และคำสมาสแบบสนธิ

บทนำ คำสมาส และคำสนธิ ถือว่าเป็นหนึ่งบทเรียนในหลักภาษาไทยของระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่หลายคนมักมองว่าเป็นเรื่องยาก และปราบเซียนในการสอบสุด ๆ เนื่องจากว่าเราจะต้องมีพื้นฐานความเข้าใจเรื่อง คำบาลี สันสกฤตเพื่อให้สามารถแยกแยะคำ หรือสร้างคำใหม่ได้ รวมไปถึงต้องจำหลักการอ่านเชื่อมเสียงแบบต่าง ๆ จึงทำให้ใครหลายคนรู้สึกว่ามันยากมาก แต่จริง ๆ แล้วน้อง ๆ หลายคนอาจเคยได้ยินหลักการจำที่ว่า “คำสมาสนำมาชน สนธินำมาเชื่อม” ซึ่งเป็นวิธีที่น้อง ๆ ควรจะใช้เป็นแนวทางในการจำอย่างเข้าใจ ดังนั้น เพื่อเป็นการเรียนรู้เรื่องคำสมาสแบบสมาส และคำสมาสแบบสนธิให้เข้าใจมากขึ้น

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1