โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเลขยกกำลัง

โจทย์ปัญหาเลขยกกำลัง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเลขยกกำลัง

         เราสามารถนำความรู้เกี่ยวกับเลขยกกำลังที่เรียนมาไม่ว่าจะเป็น การคูณ การหาร เลขยกกำลัง และการเขียนเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเลขยกกำลัง รวมทั้งไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้มากมาย  ในบทความนี้จะกล่าวถึงการนำความรู้เกี่ยวกับเลขยกกำลังไปใช้แก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ 1 – 3

ตัวอย่างที่ 1  เด็กชายศิระนำแท่งลูกบาศก์ไม้ขนาด 5³ ลูกบาศก์เซนติเมตร  มาจัดวางในลูกบาศก์ใหญ่ที่มีความยาวของแต่ละด้านเป็น 125 เซนติเมตร  จงหาเลขยกกำลังที่แทนปริมาตรของลูกบาศก์ขนาดใหญ่นี้

วิธีทำ   ต้องการวางลูกบาศก์ให้มีความยาวแต่ละด้านเป็น  125 เซนติเมตร

           ใช้แท่งลูกบาศก์ไม้  ¹²⁵⁄₅  = 25  =  5² แท่ง

           ปริมาตรของลูกบาศก์ขนาดใหญ่   =  ปริมาตรของแท่งไม้ x จำนวนแท่งลูกบาศก์ไม้

        =  5³x (5² x 5² x 5²)

        =  5³⁺²⁺²⁺²

        =  5⁹  ลูกบาศก์เซนติเมตร 

ตอบ    ปริมาตรของลูกบาศก์ขนาดใหญ่นี้เท่ากับ   5⁹  ลูกบาศก์เซนติเมตร

ตัวอย่างที่ 2  โลกหนักประมาณ  5 x 10²⁴  กิโลกรัม  ดวงอาทิตย์หนักเป็น  4 x 10  เท่าของโลก จงหาน้ำหนักของดวงอาทิตย์

วิธีทำ  โลกหนักประมาณ  5 x 10²⁴  กิโลกรัม 

          ดวงอาทิตย์หนักเป็น  4 x 10  เท่าของโลก

          ดังนั้น  ดวงอาทิตย์หนักประมาณ  (5 x 10²⁴) x (4 x 10⁵)  กิโลกรัม

                                                       =  (5 x 4) x (10²⁴ x 10⁵)

                                                       =  20 x 10²⁴

                                                       =  20 x 10²⁹

                                                       =   2 x 10 x 10²⁹

                                                       =  2  x 10³⁰  กิโลกรัม

ตอบ   ดวงอาทิตย์หนักประมาณ  2  x 10³⁰  กิโลกรัม

ตัวอย่างที่ 3  ไม้กระดานแผ่นหนึ่งกว้าง  32 เซนติเมตร ยาว 64 เซนติเมตร  หนา 2 เซนติเมตร  จงหาว่าไม้กระดานแผ่นนี้มีปริมาตรกี่ลูกบาศก์เซนติเมตร (ตอบในรูปเลขยกกำลัง)

วิธีทำ    ปริมาตรของไม้กระดานแผ่นนี้   =  ความกว้าง x ความยาว x ความหนา

                                                         =  32 x 64 x 2   ลูกบาศก์เซนติเมตร

                                                         =  (2 x 2 x 2 x 2 x 2) x (2 x 2 x 2 x 2 x 2 x 2) x 2

                                                         =  2⁵ x 2⁶ x 2

                                                         =  2⁵¹

                                                         =  2¹²   ลูกบาศก์เซนติเมตร                      

ตอบ   ไม้กระดานแผ่นนี้มีปริมาตร  2¹²   ลูกบาศก์เซนติเมตร

ตัวอย่างที่ 4 – 6

ตัวอย่างที่ 4     ถ้าโลกของเรามีมวล  6 x 10²⁴  กิโลกรัม  แล้วมวลของดวงอาทิตย์จะมีค่าเท่าใด เมื่อมวลของดวงอาทิตย์เท่ากับ  330,000  เท่าของมวลโลก

 วิธีทำ   มวลของดวงอาทิตย์เท่ากับ  330,000 = 3.3 x 10⁵ เท่าของมวลโลก

            มวลของโลกเท่ากับ  6 x 10²⁴  กิโลกรัม

            ดังนั้น  มวลของดวงอาทิตย์เท่ากับ  3.3 x 10⁵ x 6 x 10²⁴  =  (3.3 x 6) x (10⁵x 10²⁴

=   19.8 x 10²⁹

=  1.98 x 10 x 10²⁹

=  1.98 x 10³⁰  กิโลกรัม

ตอบ  มวลของดวงอาทิตย์มีค่าเท่ากับ  1.98 x 10³⁰  กิโลกรัม

ตัวอย่างที่ 5  วัตถุชิ้นหนึ่งอยู่ห่างจากโลก 1.5 x 10⁹  ปีแสง  ถ้า 1 ปีแสงเท่ากับ  9.4 x 10¹²  กิโลเมตร  แล้ววัตถุนี้จะอยู่ห่างจากโลกกี่กิโลเมตร 

วิธีทำ  ระยะทาง   1  ปีแสงเท่ากับ  9.4 x 10¹²  กิโลเมตร

           ระยะทาง 1.5 x 10⁹  ปีแสง เท่ากับ   9.4 x 10¹² x 1.5 x 10⁹  =  (9.4 x 1.5 ) x (10¹²  x 10⁹)  

   =  14.1 x 10¹²⁺⁹   

   =  14.1 x 10²¹    

   =   1.41 x 10 x 10²¹ 

   =   1.41 x 10²²  กิโลเมตร                 

ตอบ   วัตถุนี้จะอยู่ห่างจากโลก  1.41 x 10²²  กิโลเมตร

ตัวอย่างที่ 6  โรงงานแห่งหนึ่งต้องการผลิตสินค้าจำนวน 2 x 10⁴ ชิ้น แต่ละชิ้นต้องใช้โลหะ 9.1 x 10⁻³ กิโลกรัม  จงหาว่าต้องใช้โลหะทั้งหมดกี่กิโลกรัม

วิธีทำ  ต้องใช้โลหะทั้งหมดเท่ากับ  2 x 10⁴ x 9.1 x 10⁻³ =  (2 x 9.1) (10⁴ x 10⁻³)     

    =  18.2 10    

    =  1.82 10 10   

    =  1.82 10²   กิโลกรัม     

ตอบ   ต้องใช้โลหะทั้งหมด  1.82 10²  กิโลกรัม

ตัวอย่างที่ 7 – 8

ตัวอย่างที่ 7  ประมาณกันว่าในปี ค.ศ. 2060 โลกจะมีประชากรมากกว่า 10,000,000,000  คน ถ้าพื้นโลกส่วนที่เป็นที่อยู่อาศัยได้มีพื้นที่ประมาณ 15 x 10⁷ ตารางกิโลเมตร จงหาความหนาแน่นของประชากรโลกโดยเฉลี่ยต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร  

วิธีทำ  ความหนาแน่นหาได้จาก ความหนาแน่น = ประชากร/พื้นที่โลก

           ปี ค.ศ. 2060 โลกจะมีประชากรมากกว่า  10,000,000,000  คน

           พื้นโลกส่วนที่เป็นที่อยู่อาศัยได้มีพื้นที่ประมาณ  15 x 10⁷ ตารางกิโลเมตร

           จะได้ว่า ความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่โลกเท่ากับ  \frac{10,000,000,000 }{15\times 10^{7}}=\frac{1\times 10^{10}}{15\times 10^{7}}     

     =\frac{1}{15}\times \frac{10^{10}}{10^{7}}   

      =  0.066 x 10³

      =  6.6 x 10  คน/ตร.กม.

ตอบ ในปี ค.ศ. 2060 ความหนาแน่นของประชากรโลกโดยเฉลี่ยเท่ากับ  6.6 x 10  หรือ 66 คน/ตร.กม.

ตัวอย่างที่ 8  เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหวัดแต่ละตัวยาวประมาณ  5 x 10⁻⁷  เมตร ถ้าไวรัสชนิดนี้เรียงต่อกันเป็นสายยาว  6 x 10⁻³ เมตร จงหาว่ามีไวรัสอยู่ประมาณกี่ตัว

วิธีทำ  ไวรัสเรียงต่อกันเป็นสายยาวประมาณ  6 x 10⁻³ เมตร

  ถ้าไวรัสแต่ละตัวยาวประมาณ  5 x 10⁻⁷  เมตร

  จะมีไวรัสที่เรียงต่อกันอยู่ประมาณ  \frac{6\times 10^{-3}}{5\times 10^{-7}}  =  \frac{6\times 10^{7}}{5\times 10^{3}}  ตัว

     =  \frac{60\times 10^{6}}{5\times 10^{3}}

     =  12 x 10⁶⁻³

     =  12 x 10³   

     =  12,000  ตัว

ตอบ  มีไวรัสที่เรียงต่อกันอยู่ประมาณ 12,000 ตัว

สรุป

หลักในการแก้โจทย์ปัญหามีดังนี้

  1. ต้องรู้สิ่งที่โจทย์กำหนด
  2. ต้องรู้สิ่งที่โจทย์ถาม
  3. ดำเนินการเพื่อแก้โจทย์ปัญหา โดยใช้ความรู้เรื่องเลขยกกำลัง
คลิปวิดีโอ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเลขยกกำลัง

        คลิปวิดีโอนี้ได้รวบรวมวิธี การแก้โจทย์ปัญหาเกี่นวกับเลขยกกำลัง  ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แฝงไปด้วยสาระความรู้ และเทคนิค รวมถึงการอธิบาย ตัวอย่าง และสอนวิธีคิดที่จะทำให้วิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ทศนิยมกับการวัด

ความสัมพันธ์ของทศนิยมกับการวัด

บทความนี้จะกล่าวถึงความสัมพันธ์ของทศนิยมกับการวัด ที่จะทำให้น้อง ๆสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสถาณการณ์ที่ต้องเจอในชีวิตประจำวัน จะทำให้เข้าใจหลักการและสามารถบอกค่าของการวัดที่เป็นทศนิยมได้ถูกต้อง

รู้จักอาหารชาววังโบราณผ่านกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน ก่อนที่เราจะเข้าสู่บทเรียนในวันนี้อยากให้น้อง ๆ ทานอาหารกันให้อิ่มก่อน เพราะว่าครั้งนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับอาหารชาววังทั้งของหวานอาหารคาวสารพัดเมนู ในบทเรียนวรรณคดีอันโด่งดังอย่างกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ซึ่งเป็นเรื่องที่น้อง ๆ ชั้นมัธยมศึกษาต้องได้เรียนอย่างแน่นอน รับรองว่าถ้าเรียนเรื่องนี้จบแล้ว น้อง ๆ ทุกคนจะได้รู้จักอาหารโบราณน่าทานอีกหลากหลายเมนูเลย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเข้าสู่เนื้อหากันเลยดีกว่า     ประวัติความเป็นมา ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับอาหารต่าง ๆ ในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน เราจะขอพาน้อง ๆ

หลักการใช้คำราชาศัพท์ รู้ไว้ไม่สับสน

เมื่อได้รู้ความหมาย ที่มาและความสำคัญของคำราชาศัพท์ รวมถึงคำศัพท์หมวดร่างกายไปแล้ว น้อง ๆ ก็คงจะสงสัยใช่ไหมคะ ว่าหลักการใช้คำราชาศัพท์ มีอะไรบ้าง และใช้อย่างไร ต้องใช้แบบไหนถึงจะถูก บทเรียนในวันนี้เราจะมาเรียนรู้หลักการใช้คำราชาศัพท์ที่ถูกต้องกันค่ะ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันแลย   หลักการใช้คำราชาศัพท์ กับราชวงศ์ไทย     ลำดับพระอิสริยศักดิ์ของพระบรมราชวงศ์สามารถลำดับอย่างคร่าว ๆ ได้ดังนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระราชินี,

conjunctions

เรียนรู้การใช้คำสันธาน (Conjunctions) ในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม. 3 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ Conjuctions หรือคำสันธานในภาษาอังกฤษ พร้อมวิธีการใช้คำสันธานในประโยคแบบเข้าใจง่ายๆ กันครับ

ประมาณค่าทศนิยมด้วยการปัดทิ้งและปัดทด

บทความนี้จะพูดถึงเรื่องพื้นฐานของทศนิยมอีก 1 เรื่องก็คือการประมาณค่าใกล้เคียงของทศนิยม น้อง ๆคงอาจจะเคยเรียนการประมาณค่าใกล้เคียงของจำนวนเต็มมาแล้ว การประมาณค่าทศนิยมหลักการคล้ายกับการประมาณค่าจำนวนเต็มแต่อาจจะแตกต่างกันที่คำพูดที่ใช้ เช่นจำนวนเต็มจะใช้คำว่าหลักส่วนทศนิยมจะใช้คำว่าตำแหน่ง บทความนี้จึงจะมาแนะนำหลักการประมาณค่าทศนิยมให้น้อง ๆเข้าใจ และสามารถประมาณค่าทศนิยมได้อย่างถูกต้อง

ไตรภูมิพระร่วง เรียนรู้วรรณคดีเก่าแก่จากสมัยสุโขทัย

ไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณคดีเก่าแก่ที่แต่งขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าทำไมวรรณคดีที่เก่าแก่ขนาดนี้ถึงยังมีให้เห็น ให้เราได้เรียนกันมาจนถึงปัจจุบัน บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปไขข้องใจทั้งประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์ รวมไปถึงเรื่องย่อในตอน มนุสสภูมิ กันด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของเรื่อง   ไตรภูมิพระร่วง เดิมเรียกว่า เตภูมิกถา หรือ ไตรภูมิกถา แต่สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเปลี่ยนชื่อให้เพื่อเป็นเกียรติแก่พญาลิไท กษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงผู้พระราชนิพนธ์เรื่องนี้เมื่อปี

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1