สมบัติของจำนวนเต็ม

สมบัติของจำนวนเต็ม

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ก่อนที่น้องๆจะได้เรียนรู้ในเรื่องสมบัติของจำนวนเต็ม น้องๆจำเป็นต้องเรียนเรื่อง การเปรียบเทียบจำนวนเต็ม และเรื่อง จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์  ซึ่งบทความนี้ได้รวบรวมสมบัติของจำนวนเต็ม ประกอบด้วย สมบัติเกี่ยวกับการบวกและคูณจำนวนเต็ม ได้แก่ สมบัติการสลับที่ สมบัติการเปลี่ยนหมู่ และสมบัติการแจกแจง  รวมไปถึงสมบัติของหนึ่งและศูนย์ เรามาศึกษาสมบัติแรกกันเลย

สมบัติเกี่ยวกับการบวกและคูณจำนวนเต็ม

สมบัติการสลับที่

  1. สมบัติการสลับที่สำหรับการบวก

ถ้า a และ b แทนจำนวนเต็มใดๆ แล้ว a + b = b + a

เช่น 3 + 5 = 5 + 3

จะเห็นว่า 3 + 5 = 8 และ  5 + 3 = 8

ดังนั้น ไม่ว่าสลับที่ของการบวกอย่างไร ผลลัพธ์ที่ได้จะมีค่าเท่ากัน (ไม่มีสมบัติการสลับที่การลบ เพราะเมื่อสลับที่แล้วได้ค่าไม่เท่ากัน)

ตัวอย่างที่ 1  จงหาผลบวกต่อไปนี้
1)  13 + 5 = 5 + 13 = 18
2)  2 + (-8) = (-8) + 2 = -6
3)  (-10) + 3 = 3 + (-10) = -7
4)  (-9) + (-4) = (-4) + (-9) = -13

  1. สมบัติการสลับที่สำหรับการคูณ

ถ้า a และ b แทนจำนวนเต็มใดๆ แล้ว a x b = b x a

เช่น 3 x 5 =  5 x 3

จะเห็นว่า 3 x 5 = 15 และ  5 x 3 = 15

ดังนั้น ไม่ว่าสลับที่ของการคูณอย่างไร ผลที่ได้จะมีค่าเท่ากัน (ไม่มีสมบัติการสลับที่การหาร เพราะเมื่อสลับที่แล้วได้ค่าไม่เท่ากัน)

ตัวอย่างที่ 2  จงหาผลคูณต่อไปนี้
1)  5 x 4 = 4 x 5 = 20
2)  (-10) x 3 = 3 x (-10) = -30 (ลบคูณบวกได้ลบ)
3)  5 x (-8) = (-8) X 5 = -40 (บวกคูณลบได้ลบ)

4)  (-7) x (-5) = (-5) x (-7) = 35 (ลบคูณลบได้บวก)

ในทางคณิตศาสตร์ สมบัติการสลับที่ของจำนวนเต็ม คือ การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของจำนวนเต็ม โดยไม่ทำให้ผลลัพธ์สุดท้ายเปลี่ยนแปลง

สรุป  เครื่องหมายเหมือนกันคูณกันได้บวก  เครื่องหมายต่างกันคูณกันได้ลบ

สมบัติการเปลี่ยนหมู่

  1. สมบัติการเปลี่ยนหมู่สำหรับการบวก

ถ้า a, b และ c แทนจำนวนเต็มใดๆ แล้ว (a + b) + c = a + (b + c)

เช่น (53) + 2 = 5(3 + 2)

จะเห็นว่า (53) + 2 = 10 และ   5 + (3 + 2) = 10

ดังนั้น ไม่ว่าจะเปลี่ยนหมู่ของการบวกอย่างไร ผลที่ได้จะมีค่าเท่ากัน

ตัวอย่างที่ 3  จงหาผลบวกต่อไปนี้
1)  (15 + 5) + 8 = 15 + (5 + 8) = 28
2)  [10 + (-7)] + 9 = 10 + [(-7) + 9] = 12
3)  [(-16) + 6] + 5 = (-16) + (6+5) = -5
4)  [15 + (-3)] + (-8) = 15 + [(-3) + (-8)] = 4
5)  [(-20) + (-10)] + 5 = (-20) + [(-10) + 5] = -25                                                                     

2. สมบัติการเปลี่ยนหมู่สำหรับการคูณ

ถ้า a, b และ c แทนจำนวนเต็มใดๆ แล้ว (a x b) x c = a x (b x c)

เช่น (53) x 2 = 30 = 5(3 x 2)

จะเห็นว่า (53) x 2 = 30  และ  5 x (3 x 2) = 30

ดังนั้น ไม่ว่าจะเปลี่ยนหมู่ของการคูณอย่างไร ผลที่ได้จะมีค่าเท่ากัน

ตัวอย่างที่ 4  จงหาผลคูณต่อไปนี้
1)  (10 x 2) x 3 = 10 x (2 x 3) = 60
2)  [(-8) x 5] x 2 = (-8) x (5 x 2) = -80
3)  [4 x (-5)] x 5 = 4 x [(-5) x 5 = -100
4)  [3 x (-4)] x (-2) = 3 x [(-4) x (-2)] = 24
5)  [(-4) x (-2)] x 5=(-4) x [(-2) x 5] = 40

สมบัติการเปลี่ยนหมู่ของจำนวนสามจำนวนที่นำมาคูณกัน จะคูณจำนวนที่หนึ่งกับจำนวนที่สอง หรือคูณ
จำนวนที่สองกับจำนวนที่สามก่อน แล้วจึงคูณกับจำนวนที่เหลือ ผลคูณย่อมเท่ากัน

สมบัติการแจกแจง

ถ้า a, b และ c แทนจำนวนเต็มใดๆ แล้ว a x (b + c) = (a x b) + (a x c) และ  

( b + c) x a = (b x a) + (c x a

เช่น 2 x (53) = 16 = (2 x 5) + (2 x 3)

จะเห็นว่า 2 x (53) = 16 และ (2 x 5) + (2 x 3) = 16 

ดังนั้น สมบัติการแจกแจงจึงเป็นความสัมพันธ์ระหว่างการบวกและการคูณ

ตัวอย่างที่ 5  จงหาผลคูณต่อไปนี้
1)   2 x (5 + 7)
= (2 x 5) + (2 x 7)
= 10 + 14
= 24
2)  (-3) x (4 + 6)
= [(-3) x 4] + [(-3) × 6]
= (-12) + (-18)
= -30
3)  (-5) x [(-2) + 8)=[(-5) x (-2)] + [(-5) x 8]
= 10 + (-40)
= -30
4)  (7+3) x 5
= (7X5) + (3×5)                                                                                                                                                                           = 35 + 15                                                                                                                                                                                     = 50                                                                                                                             
5)  [(-9) + 3)] x (-3)                                                                                                                                                                    = [(-9) x (-3)] + [3 x (-3)]
= 27 + (-9)
= 18

สมบัติการแจกแจงจะเป็นการคูณแจงแจงจำนวนเข้าไปในวงเล็บ ซึ่งจะต้องคูณจำนวนทุกจำนวนที่อยู่ในวงเล็บ

สมบัติของหนึ่งและศูนย์

สมบัติของหนึ่ง

–  การคูณจำนวนใดๆ ด้วยหนึ่ง หรือหนึ่งคูณจำนวนใดๆ จะได้ผลคูณเท่ากับจำนวนนั้นเสมอ

เช่น 87 x 1 = 87

หรือ 1 x 87 = 87

ตัวอย่างที่ 6 จงหาผลลัพธ์ต่อไปนี้
1)   1 x 14 = 14
2)   (-5) x 1 = -5
3)   (-1) x 1 = -1
4)   1 x (-16) = -16
5)   27x (-1) = -27
6)   (-34) x 1 = -34

–  การหารจำนวนใดๆ ด้วยหนึ่งจะได้ผลหารเท่ากับจำนวนนั้นเสมอ

เช่น 45 ÷ 1 = 45

หรือ  \frac{45}{1}  = 45

สมบัติของศูนย์

–  การบวกจำนวนใดๆ ด้วยศูนย์ หรือการบวกศูนย์ด้วยจำนวนใดๆ จะได้ผลบวก เท่ากับจำนวนนั้นเสมอ

เช่น 87 + 0 = 87

หรือ  0 + 87  = 87

ตัวอย่างที่ 7  จงหาผลบวกต่อไปนี้
1)  12 + 0 = 12
2)  0 + (-23) = -23
3)  (-27) + 0 = -27
4)  0 + 0 = 0

–  การคูณจำนวนใดๆ ด้วยศูนย์ หรือการคูณศูนย์ด้วยจำนวนใดๆ จะได้ผลคูณเท่ากับจำนวนศูนย์ (ศูนย์คูณอะไรก็ได้ศูนย์)

เช่น 235 x 0 = 0

หรือ  0 x 235  = 0

ตัวอย่างที่ 8 จงหาผลคูณต่อไปนี้
1)  12 X 0 = 0
2)  0 x (-23) = 0
3)  (-27) × 0 = 0
4)  0 x 0 = 0

–  การหารศูนย์ด้วยจำนวนใดๆ ที่ไม่ใช่ศูนย์ จะได้ผลหารเท่ากับศูนย์

เช่น 0 ÷ 95 = 0

หรือ \frac{0}{95}  = 45

ตัวอย่างที่ 9 จงหาผลหารต่อไปนี้
1)  0 ÷ 23 = 0
2)  0 ÷ (-23) = 0

–  ถ้าผลคูณของสองจำนวนใดเท่ากับศูนย์ จำนวนใดจำนวนหนึ่งอย่างน้อยหนึ่งจำนวนต้องเท่ากับศูนย์

เช่น a x b = 0

จะได้ว่า a  = 0 หรือ b = 0

ตัวอย่างเพิ่มเติม

ตัวอย่างที่ 10 จงหาผลคูณของ (-5)(6)(-2)
วิธีทำ (-5)(6)(-2) = [(-5)x6] x (-2)
                          =(-30) x (-2)
                          = 60                                                                                                                                                                        ดังนั้น  (-5)(6)(-2) = 60

ตัวอย่างที่ 11 จงหาผลคูณของ 999 X 5
วิธีทำ 999 x 5 = (1000 – 1) x 5
                       = [1000 + (-1)] x 5
                       = (1000 x 5)+[(-1) x 5]
                       = 5000 + (-5)
                        = 4,995
ดังนั้น  999 x 5 = 4,995

จากตัวอย่างทั้งหมด น้องๆจะเห็นว่ามีสมบัติการบวกและการคูณ แต่จะไม่มีสมบัติการลบและการหาร เพราะว่า การลบจำนวนเต็มก็คือ การบวกด้วยจำนวนเต็มลบ ซึ่งเราจะเรียกว่าสมบัติการบวก ส่วนการหารจำนวนเต็มคือ การนำเศษส่วนมาคูณ เราเรียกว่าสมบัติการคูณ

เมื่อน้องได้เรียนรู้เรื่อง สมบัติของจำนวนเต็ม ซึ่งสมบัติเหล่านี้จะนำมาใช้ในการบวก ลบ คูณ และหาร จำนวนเต็ม ซึ่งน้องๆจะต้องฝึกทำโจทย์อย่างสมำ่เสมอ จึงจะทำให้น้องๆสามารถคำนวณค่าต่างๆได้อย่างรวดเร็วและเป็นระบบ

คลิปวิดีโอ สมบัติของจำนวนเต็ม

        คลิปวิดีโอนี้ได้รวบรวมวิธี สมบัติของจำนวนเต็ม  ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แฝงไปด้วยสาระความรู้ และเทคนิค รวมถึงการอธิบาย สมบัติของจำนวนเต็ม และสอนวิธีคิดที่จะทำให้วิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

คุณค่าในเรื่องพระอภัยมณี มีอะไรบ้าง?

หลังจากที่บทเรียนคราวที่แล้วเราได้เรียนเรื่องประวัติความเป็นมาของวรรณคดีเรื่องสุนทรภู่ไปแล้ว วันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึง คุณค่าในเรื่องพระอภัยมณี ว่ามีคุณค่าด้านใดบ้าง เพื่อที่น้อง ๆ จะได้รู้เหตุผลว่าทำไมวรรณคดีเรื่องนี้ถึงเป็นเรื่องที่โด่งที่สุดอีกเรื่องหนึ่งของสุนทรภู่ เป็นวรรณคดีที่ดังข้ามเวลาและอยู่ในแบบเรียนภาษาไทย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   คุณค่าในเรื่องพระอภัยมณี     คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์   พระอภัยมณีเป็นเรื่องมีรสทางวรรณคดีคือเสาวรจนีย์และสัลปังคพิสัย ดังนี้ เสาวรจนีย์ เป็นบทชมโฉมหรือความงาม พบในตอนที่พระอภัยชมความงามของนางเงือก     2.

กลอนบทละคร

กลอนบทละครอ่านอย่างไรให้ถูกต้อง และไพเราะ

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน ยินดีต้อนรับเข้าสู่เนื้อหาการเรียนรู้ภาษาไทยอีกครั้ง สำหรับใครที่กำลังรอคอย  บทเรียนเกี่ยวกับการอ่านบทอาขยานต้องมาทางนี้เลย เพราะว่าเราจะมาเรียนรู้หลักการอ่านอาขยานในประเภทบทละคร ซึ่งแน่นอนว่านอกจากน้อง ๆ จะได้เรียนรู้วิธีการอ่านที่ถูกต้องแล้ว ก็ยังจะได้สนุกไปกับเนื้อเรื่องของบทละครที่เราจะยกมาเป็นตัวอย่างในเนื้อหาวันนี้ด้วย ถ้าหากทุกคนพร้อมแล้วอย่ารอช้า เตรียมตัวไปเข้าสู่บทเรียนกันเลย     บทอาขยาน คืออะไร อาขยาน [อา – ขะ – หยาน] คือ

ศิลาจารึก วรรณคดีเชิงประวัติศาสตร์ที่สำคัญของคนไทย

ศิลาจารึก เป็นวรรณคดีเชิงประวัติศาสตร์ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ย้อนอดีตไปในสมัยสุโขทัยเพื่อเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของศิลาจารึก ที่เป็นการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ บนแผ่นดิน ถ้าอยากรู้แล้วว่าแผ่นหินที่ว่านี่มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ก็ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ศิลาจารึกหลักที่ 1 ประวัติความเป็นมา     ศิลาจารึกหลักที่ 1 จารึกโดยพ่อขุนรามคำแหง ใช้อักษรไทย สุโขทัย หรือ ลายสือไทย

ส่วน 10 หรือ ส่วน 1000 แปลงเป็นทศนิยมกันได้หมดถ้าสดชื่น!

จากบทความที่แล้วเราได้ทราบความสัมพันธ์ของเศษส่วนและทศนิยมไปแล้ว เชื่อว่าน้อง ๆหลายคนคงเกิดคำถามในใจว่า แล้วถ้าเจอเศษส่วนที่ตัวส่วนไม่ใช่ 10, 100 หรือ 1000 ต้องทำอย่างไร บทความนี้จะมาไขข้อสงสัยพร้อมกับแสดงวิธีคิดที่ทำให้น้อง ๆต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ง๊ายง่าย!

หลักการใช้ Simple Present Tense+ Present Continuous Tense

สวัสดีนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง” หลักการใช้ Simple Present Tense+ Present Continuous Tense” พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัว และเทคนิคการจำและนำ Tense ไปใช้กันจร้า ซึ่ง Simple Present Tenseและ Present Continuous Tense นั้นมีสิ่งที่เหมือนกันคือ อยู่ในรูปปัจจุบัน (Present) เหมือนกัน

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1