หลักการใช้ Simple Present Tense+ Present Continuous Tense

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สวัสดีนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง” หลักการใช้ Simple Present Tense+ Present Continuous Tenseพร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัว และเทคนิคการจำและนำ Tense ไปใช้กันจร้า ซึ่ง Simple Present Tenseและ Present Continuous Tense นั้นมีสิ่งที่เหมือนกันคือ อยู่ในรูปปัจจุบัน (Present) เหมือนกัน แต่ก็มีบางกรณีที่ใช้บอกอนาคตได้ จะเป็น Tense อะไรนั้น ต้องไปดูกันอีกทีน๊า หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ

ความหมายของ Present Simple Tense 

 

Present SimpleTense+ Present Continuous Tense (2)

Present แปลว่า ปัจจุบัน  ส่วน Simple แปลว่า ธรรมดา ดังนั้น Present Simple Tense จึงเป็นประโยคที่มี โครงสร้างแบบง่าย ๆ ธรรมดา ที่พูดถึงเหตุการณ์ในปัจจุบัน (Present), ลักษณะนิสัย Habits, ความจริง (Truth) อื่นๆ นั่นเองจร้า

 

 ใช้เพื่อพูดถึงเหตุการณ์ ลักษณะนิสัย (Habits) เช่น

Present SimpleTense+ Present Continuous Tense (3)

I always get up at 6 o’clock.
ผม/ฉันตื่นนอน เวลา 6 โมง เสมอ

We watch a movie every weekend.
พวกเราดูหนังทุกๆวันหยุดสุดสัปดาห์

Jimmy likes walking to school everyday.

แปล จิมมี่ชอบการเดินไปโรงเรียนทุกวัน
***ระวังด้วยนะ แม้จะมี walking ในประโยค แต่ประโยคนี้ มีโครงสร้างของ Present simple tense นะจ้ะ ไม่ใช่ Present continuous tense ดูได้จากหน้า walking มีกริยาหลัก (like)อยู่  จุดนี้ผิดบ่อยมากๆ

ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็น ความจริง เป็นนิรันดร ข้อเท็จจริง (Truth) เช่น


The sun rises in the east.
แปล ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิตย์ตะวันออก

Bangkok is the capital city of Thailand.
แปล  กรุงเทพ เป็นเมืองหลวง ของประเทศไทย

หรือ ในคำคมต่างๆ ที่มักใช้บ่อยๆ เช่น

Time waits for no man.
เวลาไม่เคยคอยใคร

Time flies.
เวลาผ่านแล้วผ่านไป

รูปประโยคของ Present Simple Tense

 

Present SimpleTense+ Present Continuous Tense (4)

 

  1. ประโยคบอกเล่า

โครงสร้างของประโยคบอกเล่า :  Subject + Verb.1 + Object + (คำบอกเวลา)

ทั้งนี้คำกริยาช่องที่ 1 นั้นจะมีการเติม s หรือ es ถ้าหากประธานของประโยคเป็นเอกพจน์ (He, She, It) แต่ถ้าประธานเป็น I, You หรือประธานพหูพจน์ (You (หลายคน), We, They) ให้คงรูปคำกริยานั้น ๆ ไว้เช่นเดิม เช่น

 

My auntie gives a red envelope to me every Chinese New Year.

แปล คุณป้าของฉันให้ซองอั่งเปาในทุกๆเทศกาลตรุษจีน

 

They sit in the front of the row often.
แปล พวกเขานั่งแถวหน้าบ่อยๆ

**ประโยคนี้ประธานคือ They เป็นพหูพจน์ กริยาคือ enjoy จึงไม่ต้องเติม -s หรือ -es ที่ท้ายกริยา

ข้อสังเกต :

หลักการเติม s,es นั้นง่ายนิดเดียว คือ คำกริยาที่ลงท้ายด้วย sh, ch, o, s, ss, x, z ให้เติม es เมื่อประธานของประโยคเป็นเอกพจน์ (He, She, It, A dog, John) เช่น

ตัวอย่าง:

Johnny fixes a printer at work.
จอนนี่ซ่อมเครื่องปริ้นในที่ทำงาน

 

  1. ประโยคคำถาม

โครงสร้างของประโยคคำถามใน Present Simple Tense มีสองรูปแบบคือ

 

  • แบบที่ 1 : Verb to be + Subject + Object/Complement + (คำบอกเวลา) ?  เช่น

 

ประโยคบอกเล่า: Tina is Danniel’s twin sister.
แปล ตีน่าเป็นน้องสาวฝาแฝดของแดนเนียล

ประโยคคำถาม: Is Tina Danniel’s twin sister?
แปล ตีน่าเป็นน้องสาวฝาแฝดของแดนเนียลเหรอ

  • แบบที่2: การใช้ Wh-question กับ do/does เช่น
    What do you like? หรือ What do you dislike? คุณชอบ หรือ ไม่ชอบอะไร
    What does he/she like ? จะแปลว่า เขา หรือ เธอชอบอะไร 


    นักเรียนสามารถแต่งประโยคตามโครงสร้างง่ายๆได้ดังนี้ค่ะ Subject + like or dislike + V.ing. จะแปลว่า ฉัน หรือ ผม ชอบ หรือ ไม่ชอบ การ… อาจจะมีคนสงสัยว่า “V.ing” นี้หมายถึงอะไร ขอตอบเลยละกันว่า มันก็คือ Gerund นั่นเองค่ะ

    เช่น

     

    Baifern likes drawing a picture.
    แปล ใบเฟิร์นชอบการวาดรูป

การใช้ Present Continuous Tense

 

Present SimpleTense+ Present Continuous Tense (5)

 

โครงสร้างประโยค Present Continuous Tense:

 

Subject + is, am, are + V.ing

 

Present SimpleTense+ Present Continuous Tense (6)

 

ตัวอย่างการแต่งประโยค Present Continuous Tense:

  • อธิบายสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนั้น เช่น

    My brother is playing a football right now.
    น้องชายของผมกำลังเล่นฟุตบอลอยู่ตอนนี้

  • บอกสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในระหว่างช่วงเวลานี้ ความฮิตของเหตุการณ์ปัจจุบัน บนโลกโซเซียลต่างๆ
    เช่น


    Is she having a Tiktok account?
    หล่อนมีบัญชี Tiktok มั้ยนะ

  • อธิบายสิ่งหรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ที่มีการวางแผน ล่วงหน้าไว้แล้ว
    เช่น

    They are leaving for a shift soon.
    พวกเขาจะไปเข้ากะเร็วๆนี้

คำบอกเวลาของ Present Continuous Tense เช่น

 

Present SimpleTense+ Present Continuous Tense (7)


right now = ตอนนี้
now= ตอนนี้
at the moment =ขณะนี้
at this moment = ขณะนี้

 

หลักการเติม ” –ing”

 

Present SimpleTense+ Present Continuous Tense (8)

 

  1. คำกริยานั้นมีสระเสียงสั้น a, e, i, o, u อยู่หน้าพยัญชนะท้าย หรือคำกริยานั้น ๆ มีตัวสะกดเพียงตัวเดียว ก่อนเติม -ing ให้เพิ่มตัวสะกด แล้วจึงเติม –ing นะจ้ะ เช่น

cut   จะได้  cutting

shop  จะได้  shopping

 

 

  1. หากคำกริยานั้นลงท้ายด้วย -e ให้ตัด -e ทิ้งแล้วเติม -ing เช่น

 

make   จะได้    making

smoke  จะได้  smoking

 

 

  1. ถ้าเจอคำกริยาที่มีสระ 2 ตัว (a, e, i, o, u) ให้เติม -ing ได้เลยเด้อ เช่น

 

cook   จะได้     cooking

read   จะได้     reading

 

  1. หากว่าคำกริยาที่ลงท้ายด้วย -ie ให้เปลี่ยน -ie เป็น y แล้วจึงเติม –ing ได้เลยจร้า เช่น

lie   จะได้     lying

die   จะได้     dying

 

 กริยาที่ไม่ใช้ใน Continuous Tenses

 

Present SimpleTense+ Present Continuous Tense (9)

ได้แก่ กริยาที่แสดงการรับรู้ (verbs of perception) แสดงภาวะของจิตใจ (state of mind) ความรู้สึก (feeling) หรือความสัมพันธ์ (relationship)

ได้แก่

matter = มีความสำคัญ

fit = เหมาะ

taste =ได้รส, รู้รส

belive = เชื่อ

feel = รู้สึก

know =รู้

contain =บรรจุ

smell= ได้กลิ่น

กริยาบางตัวไม่สามารถนำมาใช้ใน Present Continuous Tense ได้ ต้องใช้ในรูปของ Present Simple Tense เท่านั้น กริยาพวกนี้ ส่วนใหญ่เป็นกริยาที่เป็นนามธรรม แสดงความเป็นเจ้าของ หรือ กริยาที่เกี่ยวกับความรู้สึก นอกจากนั้นก็จะมี “คำกริยาที่เป็นนามธรรม” ด้านล่างเลยจร้า

 

  • คำกริยาที่เป็นนามธรรม (Abstract Verbs)
    to be, to want, to cost, to seem, to need, to care, to contain, to owe, to exist…

 

ผิด: I am seeming worried.
แปลว่า ฉันกำลังดูรู้สึกกังวล ซึ่งผิดแกรมม่าน๊า

ถูกต้อง: I seem worried.

แปลว่า ฉันดูกังวล  ( ต้องเปลี่ยนเป็น Present Simple Tense ทันทีเลย จร้า)

 

สรุป

Present SimpleTense+ Present Continuous Tense (10)

สรุปคือ ในบางกรณีของ Present Continuous Tense นั้นสามารถบอกอนาคตได้ เน้นเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น แต่ Present Simple Tense นั้นจะเน้นเหตุการณ์ที่เป็นปัจจุบัน เป็นลักษณะนิสัยทั่วไป เป็นความจริง ทั้ง Simple Present Tense และ Present Continuous Tense อยู่ในตระกูล Present Tense หรือ Tense ที่ใช้ในปัจจุบัน แต่ก็มีข้อแตกต่างคือ ในบางกรณีของ Present Continuous Tense นั้นสามารถบอกอนาคตได้ เช่น

ตัวอย่างสรุป:

John goes to Europe often.
(จอห์นไปเที่ยวยุโรปบ่อยๆ)

John is going to Europe next week.
(จอห์นจะไปยุโรปบ่สับดาห์หน้า)
***แม้ว่ารูปประโยคนี้จะอยู่ในปัจจุบันกำลังทำ แต่ความหมายนั้นเป็นอนาคต ขอให้นักเรียนทุกคนอย่าลืมดูที่บริบทการใช้ด้วยน๊า

อย่าลืมดูวีดีโอทบทวนบทเรียนในหัวข้อ หลักการใช้  Simple Present Tense+ Present Continuous Tense กันด้วยเด้อ เลิฟๆ

คลิกที่ปุ่มเพลย์แล้วไปเรียนให้สนุกกันจร้า 

Sit back, relax, and enjoy your lesson!

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Comparison of Adjectives

การใช้ประโยค Comparative Adjectives

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ที่น่ารักทุกคน ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่บทเรียนเรื่องคำคุณศัพท์กันนะคะ วันนี้ครูได้ สรุปเรื่อง การใช้ ประโยค ประโยค Comparative Adjectives หรือ อีกชื่อหนึ่งคือ Comparison of Adjectives: การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ในภาษาอังกฤษ มาฝาก ไปลุยกันเลยจร้า   คำศัพท์สำคัญ: Comparative VS Comparison comparative (Adj.)

กัณฑ์มัทรี

กัณฑ์มัทรี ศึกษาตัวบทและข้อคิดของกัณฑ์ที่ 9 ในมหาชาติชาดก

กัณฑ์ หมายถึง คำเทศน์ หรือตอนหนึ่ง ๆ ของเทศน์เรื่องยาว นับเป็นลักษณนามของเทศน์ ในมหาชาติชาดก เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นมากันไปแล้วว่ามีทั้งหมด 13 กัณฑ์ รวมถึงเรื่องย่อของกัณฑ์มัทรี ซึ่งเป็นกัณฑ์ที่ 9 มีความเชื่อว่าถ้าใครได้ฟังเทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์ของมหาชาติชาดก ก็จะทำให้ขึ้นสวรรค์ นอกจากนี้หากบูชากัณฑ์ต่าง ๆ ก็จะได้ผลที่ดีแก่ตัวเอง ผู้ที่บูชากัณฑ์มัทรี จะทำให้เป็นผู้มั่งคั่ง สมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์สมบัติ เป็นผู้มีอายุยืนยาว

การใช้คำคุณศัพท์และการเรียงคำคุณศัพท์

การใช้คำคุณศัพท์และการเรียงคำคุณศัพท์ คำคุณศัพท์ (Adjective) คืออะไร? ก่อนเราจะเริ่มเข้าเนื้อหา ทางผู้เขียนก็อยากจะพูดถึงความหมายและความสำคัญของคำคุณศัพท์ (Adjective) กันก่อน คำคุณศัพท์ (Adjectives) มักจะุถูกใช้ในการอธิบายลักษณะรูปร่างทางกายภาพของทั้งสิ่งของและสิ่งมีชีวิตที่รวมถึงตัวของมนุษย์เอง โดยที่เราจะมาเรียนกันวันนี้คือการที่บางครั้ง คำคุณศัพท์ (Adjective) นั้นจะมีลักษณะที่ถูกใช้อธิบายลักษณะทางกายภาพที่มากกว่าหนึ่งอย่าง ในภาษาไทยของเรา ก็มีการเรียกคำคุณศัพท์ หรือที่เรียกว่า order of adjective ด้วยเหมือนกัน จากศึกษาและพูดคุยกับนักศึกษาศาสตร์ พบว่า การใช้ภาษาไทยในปัจจุบันไม่ได้มีการกำหนดการเรียงลำดับคำคุณศัพท์แบบภาษาอังกฤษที่ชัดเจน

ค่าสัมบูรณ์

ค่าสัมบูรณ์

ค่าสัมบูรณ์ ค่าสัมบูรณ์  หรือ Absolute คือค่าของระยะทางจากศูนย์ไปยังจุดที่เราสนใจ เช่น ระยะทางจากจุด 0 ถึง -5 มีระยะห่างเท่ากับ 5 เนื่องจากค่าสัมบูรณ์เอาไว้บอกระยะห่าง ดังนั้นค่าสัมบูรณ์จะมีค่าเป็นบวกหรือศูนย์เท่านั้น ไม่สามารถเป็นลบได้ นิยามของค่าสัมบูรณ์ ให้ a เป็นจำนวนจริงใดๆ จะได้ว่า และ   น้องๆอาจจะงงๆใช่ไหมคะ ลองมาดูตัวอย่างสักนิดนึงดีกว่าค่ะ เช่น เพราะ

สำนวนไทยที่เราควรรู้ และตัวอย่างการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

น้อง ๆ เคยเป็นกันหรือเปล่าคะ เวลาที่อยากจะพูดอะไรสักอย่างแต่มันช่างยาวเหลือเกิน กว่าจะพูดออกมาหมดนอกจากคนฟังจะเบื่อแล้วยังอาจทำให้เขาไม่สนใจคำพูดของเราเลยก็เป็นไปได้ เพราะอย่างนั้นแหละค่ะในภาษาไทยของเราจึงต้องมีสิ่งที่เรียกว่าสำนวนขึ้นมาเพื่อใช้บอกเล่าเรื่องราวที่ถูกกลั่นกรองออกมาจนได้คำที่สละสลวย รวมใจความยาว ๆ ให้สั้นลง ทำให้เราไม่ต้องพูดอะไรให้ยืดยาวอีกต่อไป บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทบทวนความรู้เรื่อง สำนวนไทย รวมถึงตัวอย่างสำนวนน่ารู้ในชีวิตประจำวันเพิ่มเติมด้วยค่ะ จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย   ความหมายและลักษณะของ สำนวนไทย   สำนวน หมายถึง ถ้อยคำหรือสำนวนพูดหรือเขียนที่มีความหมายไม่ตรงกับรากศัพท์หรือตรงไปตรงมาตามพจนานุกรม แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมายเป็นอย่างอื่น

จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์

จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์

       บทความนี้ ได้รวบรวมเนื้อหาเรื่อง จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการบวกลบจำนวนเต็ม โดยก่อนหน้านี้น้องๆได้เรียนเรื่องการเปรียบเทียบจำนวนเต็มมาแล้ว ต่อไปจะพูดถึงค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มใดๆ จะหาได้จากระยะที่จำนวนเต็มนั้นอยู่ห่างจาก 0 บนเส้นจำนวน แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับจำนวนตรงข้ามกันก่อนนะคะ จำนวนตรงข้าม       “หากค่าของจำนวนที่อยู่ห่างจาก 0 เท่ากัน แต่อยู่ต่างทิศทางกันมีค่าเท่ากันหรือไม่” (ค่าไม่เท่ากัน)           

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1