Would และ Used to แตกต่างกันอย่างไร?

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง Would และ Used to กันครับ จะเป็นอย่างไรเราไปดูกันเลย
would used

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Used to ใช้อย่างไร?

ในภาษาไทยนั้นกริยา ‘used to’ + infinitive นั้นแปลว่า “เคย” ซึ่งเราจะใช้คำนี้เวลาที่พูดถึง “สถานะ” ในอดีตที่จบลงไปแล้ว มีโครงสร้างดังนี้

used to

ตัวอย่างเช่น

I used to live in Chonburi when I was a kid.
ฉันเคยอาศัยอยู่ที่ชลบุรีตอนที่ฉันเป็นเด็ก

We used to be friends but not anymore.
พวกเราเคยเป็นเพื่อนกันแต่ตอนนี้ไม่แล้ว

 

หรือ เราสามารถใช้กับนิสัยที่เคยทำเป็นประจำในอดีต (ปัจจุบันไม่ทำแล้ว) ก็ได้เช่นกัน เช่น

Mike used to play basketball every Friday when he was in college.
ไมค์เคยเล่นบาสเกตบอลทุกวันศุกร์เมื่อตอนที่เขาอยู่มหาวิทยาลัย

 

ข้อควรระวัง
น้องๆ ไม่ควรสับสนระหว่าง ‘used to + infinitive’ และ ‘be + used to + V.ing’ ที่มีความหมายที่แตกต่างจากอย่างสิ้นเชิง ซึ่งจะอธิบายเพิ่มเติมในโอกาสต่อไป

 

Would ใช้อย่างไร?

สำหรับคำนี้นั้นเราจะใช้เหมือนกันกับ used to ในการพูดถึงนิสัยที่ “เคย” ทำเป็นประจำในอดีต ซึ่งไม่ทำแล้วในปัจจุบัน มีโครงสร้างดังนี้

would

ตัวอย่างเช่น

Every Monday I would go for a walk at the park.
ทุกวันจันทร์ฉันจะออกไปเดินที่สวนสาธารณะ (นิสัยในอดีต)

My mom would read me bedtime stories every night.
แม่ของฉันจะเล่านิทานก่อนนอนให้ฉันฟังทุกคืน (นิสัยในอดีต)

 

ข้อควรจำ
การใช้ would ในการอธิบายนิสัยในอดีตนั้นจะมีความเป็นทางการกว่าการใช้ used to เล็กน้อย และเราจะไม่ใช้ would ในการบอกถึง “สถานะ” ที่จบลงไปแล้วในอดีต เพราะคำว่า “เคย” ของ would นั้น ต่างจากคำว่า “เคย” ของ used to ตรงที่จะใช้ would บอกนิสัยที่เคยทำเท่านั้น (I would live in Chonburi จึงจะแปลว่า “ฉันเคยอาศัยอยู่ที่ชลบุรี” เหมือน I used to live in Chonburi ไม่ได้)

 

ความแตกต่างของ ‘Would’ ‘Used to’ และ ‘Past Simple’

เราสามารถใช้ Past Simple ในการพูดถึงสถานะหรือนิสัยในอดีตได้เช่นกัน ต่างกันที่ว่าเหตุการณ์ที่เป็น Past Simple นั้นอาจจริงหรือไม่จริงในปัจจุบันก็ได้ ลองสังเกตความแตกต่างดังนี้

 

We celebrated Christmas at home every winter.
พวกเราฉลองคริสต์มาสที่บ้านทุกฤดูหนาว (ในอดีต)

“ปัจจุบันอาจจะยังฉลองอยู่หรือไม่ก็ได้”

We used to celebrate Christmas at home every winter.
We would celebrate Christmas at home every winter.
พวกเรา “เคยฉลอง/จะฉลอง” คริสต์มาสที่บ้านทุกฤดูหนาว (ในอดีต)

ทั้งสองประโยคนี้บอกได้ว่า “ปัจจุบันเราไม่ฉลองคริสต์มาสที่บ้านอีกต่อไปแล้ว”

 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับน้องๆ สำหรับการใช้ would และ used to ในภาษาอังกฤษ หวังว่าจะทำให้น้องๆ เข้าใจนำไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง สำหรับน้องๆ ที่ยังอยากเรียนเรื่องนี้เพิ่มเติมสามารถรับชมวิดีโอจากช่อง Nock Academy ได้ด้านล่างเลยครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

พระบรมราโชวาท จดหมายของร.5ที่เขียนถึงพระโอรส

พระบรมราโชวาท เป็นจดหมายร้อยแก้วที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เขียนให้พระโอรสทั้ง 4 พระองค์ก่อนจะไปศึกษาต่างประเทศ เหตุใดเนื้อความในจดหมายถึงกลายเป็นวรรณคดีอันทรงคุณค่าให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา บทเรียนในวันนี้จะพาไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเนื้อหาโดยรวมของเนื้อความเพื่อให้เข้าใจถึงคำสอนและข้อคิดจากพระบรมราโชวาทของพระมหากษัตริย์ในแง่มุมของพ่อสอนลูก จะเป็นอย่างไรไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมา     วรรณคดีเรื่องพระบรมราโชวาท เป็นคำสั่งสอนของรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีต่อพระราชโอรสทั้ง 4 พระองค์ที่กำลังจะเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ พระองค์จึงมีพระบรมราโชวาทเพื่อสั่งสอนและตักเตือนพระราชโอรส ซึ่งในการส่งไปศึกษาต่อในครั้งนี้ พระองค์ทรงเล็งเห็นว่า การศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาประชาชนและประเทศชาติ    

เรียนรู้กลวิธีการสรรคำ ความสวยงามทางภาษา

ในการแต่งบทประพันธ์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะบทร้อยกรอง การสรรคำ จะช่วยทำให้บทประพันธ์นั้น ๆ มีความไพเราะมากขึ้น บทเรียนเรื่องการเสริมสร้างความรู้ทางภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปศึกษาเกี่ยวกับการสรรคำ ว่ามีความหมายและวิธีการเลือกคำมาใช้อย่างได้บ้าง ไปดูกันเลยค่ะ   การสรรคำ ความหมายและความสำคัญ     การสรรคำ คือ การเลือกใช้คำให้สื่อความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึก และอารมณ์ได้อย่างงดงาม โดยคำนึงถึงความงามด้านเสียง โวหาร

Profile Linking Verbs

มาทำความรู้จักกับ Linking Verbs ให้มากขึ้น

สวัสดีค่ะนักเรียนม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปรู้จักกับ Linking Verbs ให้มากขึ้น แต่ก่อนอื่นไปดูความหมายของ Linking Verbs กันก่อนนะคะ ไปลุยกันเลย มาทำความรู้จักกับ Linking Verbs     Linking verbs คืออะไรกันนะ Linking แปลว่า การเชื่อม มาจากรากศัพท์ link ที่เป็นกริยาเติมด้วย

เสภาขุนช้างขุนแผน

เสภาขุนช้างขุนแผน จากนิทานชาวบ้านสู่วรรณคดีราชสำนัก

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของกลอนเสภาและเป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักวรรณคดีว่าเป็นเลิศทั้งในด้านเนื้อเรื่องและการประพันธ์ มีมากมายหลายตอน หลายสำนวนและหลายผู้แต่ง แต่บทเรียนที่น้อง ๆ จะได้ศึกษากันในวันนี้เป็น เสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา จะมีเนื้อหาและความเป็นมาอย่างไรเราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของ เสภาขุนช้างขุนแผน   ขุนช้างขุนแผนสันนิษฐานว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา จากพงศาวดารทำให้ทราบว่าขุนแผนรับราชการอยู่ในสมัยสมเด็จพระพันวษา หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2034-พ.ศ 2072 ต่อมามีการนำเรื่องขุนช้างขุนแผนมาแต่งเป็นกลอนสุภาพและบทเสภาโดยใช้กรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะ

M2 V. to be + ร่วมกับ Who WhatWhere + -Like + infinitive

การใช้ V. to be ร่วมกับ Who/ What/Where และ Like +V. infinitive

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้ V. to be + ร่วมกับ Who/ What/Where + -Like + infinitive ซึ่งเป็นโครงสร้างที่สับสนบ่อย แต่ที่จริงแล้วง่ายมากๆ ไปลุยกันเลยจ้า Let’s go ความหมาย    Verb to be

ลิลิตตะเลงพ่าย

ลิลิตตะเลงพ่าย ความเป็นมาของลิลิตชั้นยอดของเมืองไทย

ลิลิตตะเลงพ่าย ขึ้นชื่อว่าเป็นยอดของลิลิต ที่แต่งดีที่สุด โดยบุคคลที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบุคคลดีเด่นทางด้านวัฒนTรรมของโลก เกริ่นมาเพียงเท่านี้น้อง ๆ ก็คงจะอยากรู้ที่มาและเรื่องของลิลิตตะเลงพ่ายมากขึ้นกว่าเดิมใช่ไหมคะ ถ้าอย่างนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องสำคัญของไทยเรื่องนี้กันเลยค่ะ   ลิลิตตะเลงพ่าย ความเป็นมา   ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส รัตนกวีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระนามเดิมของพระองค์คือ พระองค์เจ้าวาสุกรี เป็นพระเจ้าลูกยาเธอองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช     สมเด็จพระมหาสมณเจ้า

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1