Second Conditional Sentence: ประโยคเงื่อนไขแบบที่ 2

สวัสดีน้องๆ ม. 5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ Conditional Sentence หรือ If Clause รูปแบบที่ 2 กันครับ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย
second conditional

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Second Conditional

โครงสร้างประโยคแบบ Second Conditional หรือที่น้องๆ อาจจะรู้จักในชื่อ If Clause แบบที่ 2 นั้น เป็นโครงสร้างที่ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่ตรงข้ามกับความเป็นจริงในปัจจุบัน หรือมีโอกาสเป็นไปได้น้อยมากๆ หรือเป็นไปไม่ได้เลย ซึ่งโครงสร้างของมันคือ

second conditional structure

 

วิธีการใช้

เราสามารถจำแนกวิธีการใช้ออกเป็น 2 แบบ ดังนี้ครับ

  • ใช้พูดถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้จริง อาจจะเกิดจากการจินตนาการหรือเพ้อฝัน เช่น

If I won the lottery, I would buy a new laptop.
(ถ้าฉันถูกหวย ฉันจะซื้อแล็ปท็อปเครื่องใหม่)

 

If she married Robert Pattinson, she would be happy.
(ถ้าเธอแต่งงานกับโรเบิร์ต แพตตินสัน เธอจะมีความสุข)

example

 

  • ใช้พูดถึงสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในปัจจุบัน เช่น

If I had his number, I would call him.
(ถ้าฉันมีเบอร์เขา ฉันจะโทรหาเขา)
=ความจริงคือฉันไม่มีเบอร์เขา

If I were you, I wouldn’t go out with that guy.
(ถ้าฉันเป็นคุณ ฉันจะไม่ออกไปกับผู้ชายคนนั้น)
=ความจริงคือฉันไม่ใช่เธอ

If she studied hard, she would pass the exam.
(ถ้าเธอเรียนหนัก เธอจะสอบผ่าน)
=ความจริงคือเธอไม่ตั้งใจเรียน และสอบไม่ผ่าน

second conditional

 

ข้อควรจำ

  • น้องๆ สามารถสลับประโยคที่เป็นเหตุและผลกันได้ เช่น

If I had his number, I would call him. = I would call him if I had his number.

โดยหากคำว่า if อยู่กลางประโยคน้องๆ ไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องหมายคอมม่า (,) แต่หาก if ขึ้นต้นประโยคจะต้องใส่คอมม่าคั่นระหว่างประโยคทุกครั้ง

  • นอกจากกริยา would แล้ว น้องๆ สามารถใช้ could หรือ might แทนได้เช่นกัน
  • ประธานไม่ว่าจะเป็นเอกพจน์ หรือพหูพจน์หากอยู่ในโครงสร้างนี้โดยใช้ Verb to be จะใช้ were ตัวเดียวเท่านั้น
  • ประโยคเงื่อนไขรูปแบบที่ 2 นี้ออกข้อสอบบ่อยมากๆ ฉะนั้นน้องๆ ต้องหมั่นใช้ให้คล่องนะครับ

 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับประโยคแบบ Second Conditional หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับน้องๆ ม. 5 ทั้งในชีวิตประจำวันและในการสอบนะครับ หากน้องๆ คนไหนอยากเรียนรู้เพิ่มเติมก็สามารถรับชมวิดีโอจากช่อง Nock Academy ด้านล่างได้เลยครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ลิลิตตะเลงพ่าย

ถอดความหมายตัวบทเด่นใน ลิลิตตะเลงพ่าย

ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นวรรณคดีเรื่องดังที่มีตัวบทเด่น ๆ มากมาย สำหรับการถอดคำประพันธ์ในวันนี้เราได้คัดเลือกบทเด่น ๆ มาให้น้อง ๆ ได้เรียนกันถึง 13 บทเลยทีเดียว แต่เพราะเนื้อหาที่สนุก ภาษาที่สละสลวย รับรองว่าน้อง ๆ จะไม่มีทางเบื่อวรรณคดีเรื่องนี้แน่นอน ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนความหมายของแต่ละบทพร้อมกันเลยนะคะ ตัวบทเด่น ๆ ใน ลิลิตตะเลงพ่าย   บทที่ 1  

หลักการของอัตราส่วนที่เท่ากัน

หลักการของอัตราส่วนที่เท่ากัน

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้วิธีการในการหาค่าตัวแปรในการใช้สัดส่วน สามารถมารถนำไปประยุกต์ใช้กับการแก้โจทย์ปัญหาในชีวิตจริงได้ พิจารณาสิ่งที่ต้องการแสดงการเปรียบเทียบโดยการเขียนเป็นอัตราส่วนสองอัตราส่วนอย่างเป็นลำดับและหาค่าของตัวแปรได้

นิราศภูเขาทอง ประวัติความเป็นมาของวรรณคดีที่แต่งโดยสุนทรภู่

นิราศภูเขาทอง   เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนคงจะเคยได้ยินเรื่องนิราศภูเขาทองผ่านหูกันมาบ้างไม่มากก็น้อย แต่น้อง ๆ ทราบหรือเปล่าคะว่านิราศภูเขาทองคืออะไร และมีที่มาอย่างไร ก่อนอื่นมาดูความหมายของนิราศกันก่อนนะคะ นิราศ คือวรรณคดีที่แต่งขึ้นเพื่อเล่าถึงการเดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง โดยระหว่างการเดินทาง กวีก็จะนำสิ่งต่าง ๆ ที่ได้พบเห็น ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ วิวทิวทัศน์หรือความเป็นอยู่ของผู้คนมาพรรณนา   หลังจากเข้าใจความหมายของนิราศแล้วก็ไปเริ่มเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของนิราศภูเขาทอง หนึ่งในกลอนนิราศที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีที่สุดของสุนทรภู่กันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมา   สุนทรภู่แต่งนิราศภูเขาทองขึ้นมาในสมัยรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่เจ้าหัว

M4 Past Passive

Past Passive in English

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง Past Passive กันค่ะ ก่อนอื่นจะต้องไปรู้ความหมายกันก่อนน๊าว่ามันคืออะไร พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด   ความหมาย Past หมายถึง อดีต ส่วน Passive มาจาก Passive voice หมายถึง ประโยคที่ประธานถูกกระทำ รวมแล้วหมายถึงการใช้ Passive Voice

Suggesting Profile

การใช้ประโยคคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำง่ายๆ

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาเรียนรู้เกี่ยวกับ การใช้ประโยคคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำง่ายๆ “Easy Imperative Sentences” กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย รูปแบบและโครงสร้างประโยคคำสั่ง Imperative sentence     Imperative sentence ในรูปแบบประโยคบอกเล่าจะ ใช้ Verb base form (V.1)

NokAcademy_ProfilePastTense

มารู้จักกับ Past Tenses กันเถอะ

สวัสดีค่ะนักเรียนที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคและวิธีการใช้ Past Tenses ที่ไม่ได้มีแค่ Past Simple Tenses นะคะ   มาทบทวนเรื่อง Past Tenses กันเถอะ     การพูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดในอดีตนั้นสามารถพูดได้หลายรูปแบบ แต่จะพูดอย่างไรให้สอดคล้องกับบริบทนั้นย่อมสำคัญเช่นกัน และก่อนอื่นเราจะต้องรู้จักก่อนว่า การเล่าถึงงเหตุการณ์ในอดีตนั้นเราสามารถเล่าได้หลายแบบ ครูจะขอยกตัวอย่างจากสถาณการณ์การใช้ไปหาโครงสร้างและคำศัพท์ที่จำเป็นเพื่อให้เราเข้าใจความสำคัของ Tense นั้นๆ ร่วมกับเทคนิค “Situational

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1