Causatives: Have and Get Something Done

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้ไวยากรณ์เรื่อง Causatives หรือการใช้ Have/Get Something Done ที่น้องๆ บางคนอาจจะสงสัยว่าคืออะไร ลองไปดูกันเลยครับ
causatives

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Causatives คืออะไร?

 

ไวยากรณ์ของวันนี้มีชื่อเรียกแบบหรูหราว่า Causatives ครับ ซึ่งเราจะใช้กริยา Causative เมื่อเราต้องการบอกถึง “สิ่งที่คนอื่นทำให้เรา” โดยเราซึ่งเป็นประธานไม่ได้ทำสิ่งนั้นด้วยตัวเอง อาจจะเป็นการที่เราจ่ายเงิน ขอร้อง หรือโน้มน้าวให้คนอื่นมาทำบางสิ่งให้เรานั่นเองครับ

ลองดูประโยคตัวอย่างนี้

I cut my hair. (ฉันตัดผมของฉัน)

ประโยคนี้หมายถึงเราทำเองครับ

 

สมมติว่าเราจ่ายเงินให้ช่างมาตัดให้ เราอาจพูดได้ว่า

A barber cuts my hair.

(ช่างตัดผมตัดผมของฉัน)

 

แต่เราสามารถทำให้ประโยคด้านบนนั้นอยู่ในรูป Causative ได้ โดยพูดว่า

I have my hair cut.

(ฉันตัดผม แปลตามตัวจะได้ว่า “ฉันเอาผมไปตัด”)

โดยการใช้ Causative นั้นคือการที่เราต้องการจะเน้นว่า ผมถูกตัด โดยที่ไม่ได้สนใจว่าใครเป็นคนตัดนั่นเองครับ

 

โครงสร้างของ Causatives

 

causative form

*Past Participle คือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของ กริยาช่องที่ 3 นั่นเองครับ

 

ตัวอย่างการใช้ในชีวิตประจำวัน

 

ในประโยค Causative นั้นเราสามารถใช้ได้ทั้ง Have และ Get โดยที่ความหมายยังเหมือนเดิมทุกประการ แต่ Get จะมีความเป็นทางการน้อยกว่า และกริยาทั้งสองตัวจะผันตาม Tense ของประโยคครับ

ตัวอย่าง

I had my ears checked yesterday. (ฉันไปตรวจหูมาเมื่อวานนี้)

แปลตามตัวคือ ฉันเอาหูไปตรวจเมื่อวาน (ซึ่งไม่ได้ตรวจเอง อาจจะตรวจโดยแพทย์หรือพยาบาล)

ears checked

 

John will get his car fixed tomorrow. (จอนจะเอารถไปซ่อมพรุ่งนี้)

จอนไม่ได้ซ่อมเอง เขาจะเอาไปให้คนอื่นซ่อมให้

car fixed

 

We’re going to have our documents certified. (เรากำลังจะเอาเอกสารไปรับรอง)

เราไม่ได้รับรองเอกสารเอง แต่เอาไปให้คน หน่วยงาน หรือเจ้าหน้าที่รับรองให้

documents certified

 

She got her hair dyed. (เธอย้อมสีผม)

เธอไม่ได้ย้อมเอง แต่ให้คนอื่นย้อมให้

hair dyed

 

I had my house cleaned last week. (ฉันทำความสะอาดบ้านเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว)

เน้นว่าฉันไม่ได้ทำเอง อาจจะจ้างแม่บ้านมาทำให้

house clean

 

เป็นอย่างไรบ้างครับสำหรับไวยากรณ์เรื่อง Causative เป็นเรื่องที่เข้าใจไม่ยาก ซึ่งน้องๆ จะเจอในข้อสอบ Grammar บ่อยมากครับ โดยน้องๆ สามารถดูวิดีโอเพิ่มเติมจากช่องของ NockAcademy ได้ด้านล่างเลยครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การหารเศษส่วนและจำนวนคละ

เทคนิคการหารเศษส่วนและจำนวนคละ

บทความที่แล้วเราได้พูดถึงหลักการคูณเศษส่วนและจำนวนคละไปแล้ว บทความนี้จะเป็นเรื่องต่อยอดจากการคูณก็คือเรื่องการหารเศษส่วนและจำนวนคละ ถ้าใครอ่านบทความการคูณเศษส่วนและจำนวนคละเข้าใจแล้วรับรองว่าเรื่องนี้จะยิ่งง่ายมากกว่าเดิมแน่นอน เพราะต้องใช้เรื่องการคูณเศษส่วนและจำนวนคละในการคำนวณหาคำตอบเช่นกัน สิ่งที่บทความนี้จะมอบให้กับน้อง ๆก็คือขั้นตอนการแสดงวิธีทำที่เห็นภาพและเข้าใจง่ายเหมือนกันบทความที่แล้วมา

การใช้พจนานุกรม เรียนรู้วิธีหาคำให้เจอได้อย่างทันใจ

​พจนานุกรม มาจากคำภาษาบาลีว่า วจน (อ่านว่า วะ-จะ-นะ) ภาษาไทยแผลงเป็น พจน์ แปลว่า คำ คำพูด ถ้อยคำ กับคำว่า อนุกรม แปลว่า ลำดับ เมื่อรวมกันแล้วพจนานุกรมจึงหมายถึงหนังสือที่รวบรวมคำโดยจัดเรียงคำตามลำดับตัวอักษร แต่ด้วยความที่คำในภาษาไทยของเรานั้นมีมากมาย ทำให้น้อง ๆ หลายคนอาจจะมีท้อใจบ้างเมื่อเห็นความหนาของเล่มพจนานุกรม ไม่รู้จะหาคำที่ต้องการได้อย่างไร บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึงวิธี การใช้พจนานุกรม

การอ่านบทร้อยกรอง

การอ่านบทร้อยกรอง กาพย์และโคลงอ่านอย่างไรให้ไพเราะ

น้อง ๆ คงจะรู้การคำประพันธ์อย่างกาพย์และโคลงกันอยู่แล้วใช่ไหมคะ เพราะวรรณคดีไทยหลาย ๆ เรื่องที่เราเรียนกันมา ก็ใช้กาพย์และโคลงแต่งกันเสียส่วนใหญ่ และหลังจากที่ได้เรียนลักษณะการแต่งกาพย์กับโคลงสี่สุภาพ ให้ไพเราะกันไปแล้ว จะแต่งอย่างเดียวโดยไม่อ่านให้ถูกต้องก็ไม่ได้ใช่ไหมล่ะคะ ดังนั้นบทเรียนวันนี้จะพาร้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง การอ่านบทร้อยกรอง กันบ้าง ว่ามีวิธีอ่านอย่างไรให้ถูกต้องและไพเราะ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   การอ่านบทร้อยกรอง     การอ่านบทร้องกรอง ประเภทกาพย์

should have

I Should Have Done It! โครงสร้างประโยค “รู้งี้”

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับหลักไวยากรณ์เล็กๆ น้อยๆ ที่ได้ใช้ประโยชน์มากๆ นั่นคือเรื่องการใช้ should have + past participle นั่นเองครับ จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยครับ

ความน่าเชื่อถือของสื่อที่ฟัง

ฟังอย่างไรให้ได้สาระประโยชน์ดี ๆ ด้วยวิธีวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากสื่อที่ฟัง

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนยินดีต้อนรับเข้าสู่เนื้อหาในบทเรียนภาษาไทยกันอีกครั้ง สำหรับบทเรียนในวันนี้ต้องบอกว่ามีประโยชน์มาก ๆ และเราควรจะต้องศึกษาไว้เพื่อนำไปใช้ในการฟัง หรือคัดกรองสิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่เรารับฟังมาให้มากขึ้น ซึ่งเราจะพาน้อง ๆ มาฝึกฝนการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากสื่อที่ฟังกัน เพราะในปัจจุบันเราสามารถรับสารได้หลากหลายรูปแบบมีทั้งประโยชน์ และโทษ ดังนั้น เราจึงต้องมีทักษะนี้ติดตัวไว้แยกแยะว่าสื่อนั้นมีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ถ้าน้อง ๆ พร้อมแล้วเรามาเริ่มเรียนกันเลย   ความหมายของความน่าเชื่อถือ และสื่อ ความน่าเชื่อถือ หมายถึง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1