Third Conditional Sentences ประโยคเงื่อนไขแบบที่ 3 ในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม.5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ Conditional Sentence รูปแบบที่ 3 กันครับ ถ้าพร้อมแล้วไปเริ่มกันเลยครับ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Third Conditional Sentences คืออะไร?

พี่คิดว่าน้องๆ คงจะเคยได้เรียนประโยคเงื่อนไงรูปแบบต่างๆ กันมาอยู่บ้างแล้วใช่มั้ยครับ? ซึ่งหัวข้อวันนี้เป็นรูปแบบสุดท้ายของโครงสร้างประโยคเงื่อนไข เราจะใช้ Third Conditional Sentences ในการพูดถึงสิ่งที่ตรงข้ามกับความจริงในอดีต หรือง่ายๆ เลยมักจะใช้กับสิ่งที่เรา “เสียดาย” หรือเป็นอารมณ์ประมาณว่า “รู้อย่างนี้ฉันน่าจะ…” ลองมาดูตัวอย่างประโยคที่ใช้โครงสร้างแบบนี้กันครับ

 

If I had studied harder, I would have passed the exam.
ถ้าฉันตั้งใจเรียนให้มากกว่านี้ ฉันก็คงจะสอบผ่าน

 

ประโยคตัวอย่างดังกล่าวแสดงให้เห็นถึง “อดีตที่ตรงข้ามกับความจริงขณะที่พูด” ซึ่งก็คือในอดีตนั้น “ฉันไม่ตั้งใจเรียน” และ “ฉันสอบไม่ผ่าน” ประโยคเงื่อนไขแบบนี้จึงถูกใช้เพื่อแสดงความ “เสียดาย” หรือ “รู้อย่างนี้ฉันน่าจะตั้งใจเรียน” นั่นเองครับ

 

โครงสร้างของประโยค

จากตัวอย่างด้านบน เราสามารถเขียนโครงสร้างของประโยคเงื่อนไขรูปแบบที่ 3 ได้ดังนี้ครับ

third conditional sentences

 

ข้อควรจำ

  1. เราสามารถสลับที่ประโยคที่อยู่หลังคอมม่าขึ้นมาไว้ข้างหน้าได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีคอมม่าอีก และยังให้ความหมายเหมือนเดิม เช่น

If I had studied harder, I would have passed the exam.
สามารถเปลี่ยนเป็น
I would have passed the exam if I had studied harder.

 

ตัวอย่างการใช้

 

If I had left my house at 9, I would have arrived here on time.
ถ้าฉันออกจากบ้านตั้งแต่ 9 โมง ฉันก็คงมาถึงที่นี้ตรงเวลา

(ความจริงคือ ฉันออกจากบ้านสาย และฉันมาถึงสาย)

She wouldn’t have missed the flight if she had taken a taxi to the airport.
เธอคงจะไม่พลาดเที่ยวบิน ถ้าเธอนั่งรถแท็กซี่มาสนามบิน

(ความจริงคือ เธอพลาดเที่ยวบิน เพราะเธอไม่ได้นั่งแท็กซี่มาที่สนามบิน)

They would have had 2 children if they had married.
พวกเขาคงจะมีลูก 2 คนแล้วถ้าพวกเขาแต่งงานกัน

(ความจริงคือ พวกเขาไม่ได้แต่งงานกัน และไม่มีลูก)

example

 

เป็นยังไงกันบ้างครับน้องๆ สำหรับเรื่อง Third Conditional Sentences ไม่ยากอย่างที่คิดเลยใช่มั้ยล่ะครับ? หลังจากนี้น้องๆ อย่าลืมทบทวนกันด้วยนะครับ หรือจะรับชมวิดีโอจาก Nock Academy ของเราเพื่อเป็นการทบทวนอีกครั้งนึงก็ได้ครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การใช้คำ

เรียนรู้และทำความเข้าใจการใช้คำในภาษาไทยอย่างง่ายๆ

การใช้คำในภาษาไทย มีความสำคัญมาก แม้ว่าน้อง ๆ จะคุ้นเคยกับภาษาไทยดีในระดับหนึ่งแล้ว แต่แน่ใจหรือเปล่าคะว่าใช้คำกันได้อย่างถูกต้องแล้ว เพราะการใช้คำให้ถูกก็ถือเป็นเรื่องสำคัญค่ะ ดังนั้นบทเรียนหลักภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องการใช้คำต่าง ๆ ได้ถูกต้องกันค่ะ จะมีอะไรบ้างไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   การใช้คำ     การใช้คำกำกวม   คำกำกวม คือ การใช้คำหรือภาษาที่มีความหมายไม่ชัดเจน เป็นเหตุให้การสื่อสารผิดพลาด

ระดับภาษา เรียนรู้วิธีใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม

ระดับภาษา มีความสำคัญอย่างมากในภาษาไทย น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าภาษาที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ ก็มีระดับของมันที่จะเป็นตัวบ่งบอกความเหมาะสม ให้เราได้เลือกใช้กันอย่างถูกกาลเทศะ อยากรู้ไหมคะว่ามีกี่ระดับ แต่ละระดับเป็นอย่างไร ต้องใช้แบบไหน ใช้กับใครจึงจะถูก ถ้าพร้อมแล้ว ไปเรียนรู้บทเรียนภาษาไทยในวันนี้กันเลยค่ะ   ความหมายของ ระดับภาษา     ระดับภาษา หมายถึง ความลดหลั่นของถ้อยคำและการเรียบเรียงถ้อยคำที่ใช้โดยพิจารณาตามโอกาสหรือกาลเทศะ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เป็นผู้สื่อสาร ผู้รับสาร และเนื้อหาที่สื่อสาร  

ตัวประกอบของจำนวนนับ

ตัวประกอบของจำนวนนับ ป.6

บทความนี้จะให้ความรู้เกี่ยวกับตัวประกอบของจำนวนนับ น้องๆชั้นป.6 จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับความหมายของตัวประกอบ รวมไปถึงวิธีหาตัวประกอบของจำนวนนับนั่นเอง

ภาษาถิ่นใต้

ภาษาถิ่นใต้ มรดกทางวัฒณธรรมที่ควรค่าแก่การศึกษา

ภาษาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม โดยสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมผ่านภาษามากที่สุด ก็คือ การมีอยู่ของภาษาถิ่น ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้พูดติดต่อสื่อสารตามท้องถิ่นต่าง ๆ เพื่อให้คนในพื้นที่เข้าใจกัน ประเทศไทยมีทั้งหมด 6 ภาค ภาษาถิ่นที่เด่นชัดที่สุดจะแบ่งออกเป็นภาษาถิ่นภาคกลางซึ่งครอบคลุมไปถึงภาคตะวันตะวันตก อาจมีแตกต่างบ้างในเรื่องของคำศัพท์บางคำและสำเนียง ภาษาถิ่นเหนือและภาษาถิ่นอีสาน ที่ได้รับอิทธิพลจากประเทศเพื่อนบ้าน และด้วยภูมิภาคที่อยู่ใกล้กันทำให้บางคำก็ใช้ด้วยกัน และสุดท้าย ภาษาถิ่นใต้ ที่ค่อนข้างจะแตกต่างกับภาษาถิ่นอื่น ๆ แต่จะมีลักษณะ และมีคำศัพท์น่ารู้อะไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ภาษาถิ่นใต้  

Like & Dislike ในการพูดถึงความชอบ และการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง

สวัสดีน้องๆ ป. 5 ทุกคนนะครับผม วันนี้เราจะมาลองฝึกใช้ประโยคที่เอาไว้บอกความชอบของเรากัน พร้อมกับการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองเบื้องต้นครับ ถ้าพร้อมแล้วไปลุยกันเลย

การพูดอภิปราย

การพูดอภิปรายอย่างง่าย ทำได้ไม่ยาก

การพูดอภิปราย เป็นแบบการพูดซึ่งมีลักษณะคล้ายการสนทนาทั่วไป แต่ก็มีจุดที่แตกต่างกันอยู่ น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าคืออะไร แล้วสรุปว่าการพูดอภิปรายคืออะไร มีหลักในการพูดอย่างไรได้บ้าง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและฝึกพูดให้คล่อง เพื่อที่เมื่อถึงเวลาอภิปราย จะได้ผ่านกันแบบฉลุยไร้กังวล ถ้าอยากเรียนรู้แล้วล่ะก็ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความหมายของการพูดอภิปราย   การพูดอภิปราย หมายถึง การพูดเพื่อแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1