เทคนิคอ่านเร็วจับใจความในภาษาอังกฤษ (Skimming and Scanning)

เทคนิคอ่านจับใจความ Skim and Scan

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

เคยเป็นมั้ยว่าเจอบทความภาษาอังกฤษทีไร ปวดหัวทุกที ทั้งเยอะและยาว เมื่อไหร่จะอ่านจบกว่าจะตอบได้หมดเวลากันพอดี
สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ โดยใช้วิธีการที่เรียกว่า อ่านแบบเร็ว (จ๊วด …) หรือ Speed Reading (ภาษาอีสาน จ๊วด แปลว่า เร็วเหมือนเสียงปล่อยจรวด) ถ้าเราสามารถอ่านได้เร็วเหมือนจรวดคงเป็นสิ่งที่ดีมาก ไปจ๊วดกันเลยกับเทคนิคอ่านเร็วทุกคน

ก่อนอื่นจะต้องรู้จักกับประเภทของ Speed Reading กันก่อนค่ะ

การอ่านแบบจับใจความสำคัญส่วนใหญ่แล้วเราจะเจอ ใน 2 รูปแบบค่ะ อันได้แก่ 

การอ่านแบบ Skimming (สะ-กิ๊มมิง) และ Scanning (สะ-แก๊นนิง)
skim scan index

ความหมายของ Skimming 

Skimming เป็นเทคนิคในการอ่านการอ่านแบบข้าม โดยอ่านเนื้อหาทั้งหมดแบบคร่าวๆ ผ่านๆ เพื่อค้นหา Main ideas หรือประเด็นและใจความสำคัญของบทความ (Passage) นั้นๆ ว่าเกี่ยวกับอะไร เราสามารถทำได้ทั้งการอ่านแค่สองสามประโยคแรกแล้วข้ามบรรทัด หรืออ่านเฉพาะประโยคและวลีสำคัญๆ ประกอบกับกวาดสายตาดูบริบทหรือเนื้อหารวมๆ เป็นต้น

Skimming technique

ทำไมต้อง skimming เวลาอ่าน ?

ก็เพราะว่า Skimming เป็นรูปแบบการอ่านแบบหนึ่งจากสองแบบที่จำเป็นมากๆ ถ้าเกิดเราจะต้องอ่านบทความภาษาอังกฤษเยอะมาก จำเป็นต้องอ่านด้วยความไวสูง (Speed reading) เราจะไม่ให้ความสำคัญกับรายละเอียดปลีกย่อยแต่จะกวาดตามองไปอย่างรวดเร็ว และในขณะที่กวาดตานั้น จะต้องมองหาคำหลัก (Keyword) หรือคำสำคัญ (Important word)ให้เจอซึ่งปรกติแล้วหากนำเทคนิคนี้ไปใช้ในการทำข้อสอบ Reading passage แล้วจะทำให้เราเก็บแต้มคะแนนได้อย่างง่ายดายแม้ว่าจะไม่สามารถแปลความหมายคำศัพท์ได้หมดทุกคำ เพราว่าจะช่วยในการหาคำตอบบางชนิดบนบทความที่เรากำลังอ่าน เช่น การหาใจความหลักของเรื่องที่อ่าน(Main idea) และใจความสำคัญของเรื่อง (Key idea) เมื่อต้องการคำตอบที่เกี่ยวกับ วัตถุประสงค์หลักของเนื้อหา (Proposes of the passage) เป็นต้น การอ่านแบบ Skimming จะช่วยประหยัดเวลาในการอ่าน และควรทำเป็นอย่างแรก เพื่อให้เราสามารถมองเห็นภาพรวมคร่าวๆ ว่าเนื้อหาที่เราได้อ่านนั้น เกี่ยวข้องกับอะไร มันคือการมองภาพรวมของเนื้อหาให้เข้าใจก่อนโดยที่เราไม่ต้องเสียเวลาอ่านรายละเอียดตลอดทั้งเรื่องนั่นเองค่ะ

5skimmingtechniques

สรุปความสำคัญของ เทคนิค Skimming Reading 5 ข้อที่จะช่วยให้อ่านเร็วและตรงประเด็นมากขึ้นดังนี้

 

  1. เมื่อเราต้องการหา ประเด็นหลัก (Main idea) ใจความสำคัญของเรื่อง
  2. เมื่อเราต้องการคำตอบแบที่เกี่ยวกับ วัตถุประสงค์หลัก (Main Purposes) ของเนื้อเรื่อง
  3. เมื่อเราต้องการรู้เกี่ยวกับ อารมณ์ (Mood) และ ความรู้สึก(Tone)
  4. เมื่อเราต้องค้นหาการตีความ (Implications) บางอย่างที่ซ่อนอยู่ในเนื้อเรื่องที่อ่านซึ่งจำเป็นจะต้องใช้ประสบการณ์และข้อความรู้ของเราเองด้วย ตรงนี้จะยากกว่าข้อ1, 2, 3 ค่ะ
  5. เมื่อเราต้องการหาการขยายความ เช่น ประโยคที่นำมาเสริมหรือสนับสนุนใจความหลักของเรื่องต่างๆ (Supporting details)

 

Scanning technique

เทคนิคการอ่านแบบ Scanning

เทคนิคของ Scanning คือการกวาดสายตาเพื่อค้นหาข้อมูลที่เจาะจง จะมีประโยชน์ในการหาคำตอบบางชนิด เช่น พวกข้อมูลเฉพาะเจาะจง (Specific details) เช่น ชื่อคน สัตว์ สิ่งของพวกนี้มักเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวเลข วันที่ ชื่อสถานที่ ส่วนเทคนิคอื่นๆ ได้แก่ การอ้างอิง (References) การหาโครงสร้างเชิงเหตุผล ( Reasoning structure) การหาความหมายของคำศัพท์ตามบริบท (Contextual Meaning)  เรียกได้ว่าจะต้องมีพลังสมาธิในการเพ่งเล็งหาข้อมูลหน่วยย่อยให้มากๆนั่นเองค่ะ

 ความต่างของ Skimming และ Scanning

Skimming และ scanning ล้วนเป็นเทคนิคที่ช่วยให้เราอ่านบทความได้เร็วขึ้น
(Speed reading) แต่ย้ำว่า Scanning นั้นจะกวาดสายตาหาเฉพาะสิ่งที่เราต้องการเท่านั้น และเราจะไม่อ่านทุกบรรทัด จุดมุ่งหมายอยู่ที่คำบางคำเท่านั้น โดยคำที่ซ้ำๆ เจอคำที่มีความหมายเหมือนกันส่วนใหญ่แล้วมักเป็นใจความสำคัญหรือ Main idea  ส่วน Skimming นั้นจะกวาดสายตาหาเฉพาะสาระสำคัญที่ต้องการค่ะ

 

7 กลุ่มคำถามที่จะเจอบ่อยในข้อสอบ Reading Passage

1) ชื่อบทความ (Title of the passage)

What is the best title for this passage?
What should be the best topic for this passage?

จะตอบคำถามนี้ได้นั้น ให้นักเรียนทุกคนอ่านบทความแบบคร่าวๆ แล้วหาคำที่ซ้ำเยอะที่สุดในบทความ คำนั้นแหละจะนำเราไปสู่คำตอบค่ะ
 2) การถามถึงใจความสำคัญของเนื้อเรื่อง

What is the main idea of the passage?
What is the key idea of this passage?

เทคนิคคือให้อ่านที่ย่อหน้าแรกและย่อหน้าสุดท้ายค่ะ เพราะใจความสำคัญมักจะอยู่ที่บทนำหรือบทสรุปนั่นเอง

3) การถามจุดประสงค์ของเนื้อเรื่องที่อ่าน (The purpose of the passage)

What is the purpose of the passage?
What is the main purpose of the passage?

4) การอ่านเพื่อ ตัดสินความถูกต้อง (True or False of the passage)

4.1) ข้อใดถูก

According to the passage, which one of the followings is TRUE?

4.2) ข้อใดผิด

All of the following statements are true EXCEPT….

 5) คำถามเฉพาะเจาะจงที่คำในบรรทัด หรือคำที่พิมพ์ตัวหนา

The word…[line….] is closest in meaning to… ?
The word, “that”, line 6 refers to…?

6) คำถามหาอารมณ์และความรู้สึกของผู้แต่ง (Mood and Tone)

What’s the tone of the passage?
What’s the mood of the passage?

7)คำถามเกี่ยวกับการสรุปบทความ

It can be inferred from the passage that …
It can be concluded that…

ตรงนี้เป็นคำถามประเภทตีความซึ่งต้องอ่านให้ดี อย่าได้โดนโจทย์หลอกเชียว ส่วนจะใช้เทคนิค Skimming หรือ Scanning ก็ขึ้นอยู่กับความถนัดของเราแล้ว แต่ส่วนใหญ่แล้ว การตีความเราจะใช้ Skimming เพราะจะเป็นการอ่านเพื่อให้เข้าใจภาพรวมของเรื่องที่เราอ่านนั่นเองค่ะเป็นยังไงกันบ้างคะ

ด้านล่างคือภาพแฮมเบอร์เกอร์บทอ่านทั่วไปที่แบ่งหลักๆได้ 3 องค์ประกอบนะคะ ได้แก่ บทนำ (Introduction) ส่วนเนื้อหา (ฺBody) และส่วนสรุป (Conclusion) เพื่อให้เห็นภาพกว้างๆของการอ่านบทความค่านักเรียนทุกคน

 

Hamburger of passage

สำหรับเทคนิคการอ่านเร็ว Speed Reading เพื่อจับใจความ ครูไม่หวังอะไรมากในการอ่านทบทวนเนื้อหาครั้งนี้…แต่หวังว่าเทคนิคนี้จะจับใจเรานะคะ
อย่าลืมทบทวนบทเรียนกันนะคะทุกคน Have a good day!

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ศึกษาตัวบทโคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน

โคลนติดล้อ เป็นบทความแสดงความคิดเห็นของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมือง การปลุกใจคนไทยให้รักชาติ และมีทั้งฉบับภาษาไทยและฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ แค่นี้ก็น่าสนใจแล้วใช่ไหมคะ แต่ความดีเด่นของหนังสือเล่มนี้ยังมีอีกมาก บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ตัวบทที่สำคัญและคุณค่าของบทความที่ 4 ในเรื่องโคลนติดล้อตอน ความนิยมเป็นเสมียน พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   บทเด่นใน โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน   บทนี้พูดถึงความนิยมในการเป็นเสมียนของหนุ่มสาวในยุคนั้นที่สนใจงานเสมียนมากกว่าการกลับไปช่วยทำการเกษตรที่บ้านเกิดเพราะเห็นว่าเสียเวลา คิดว่าตัวเองเป็นผู้ได้รับการศึกษาสูง จึงไม่สมควรที่จะไปทำงานที่คนไม่รู้หนังสือก็ทำได้  

ข้อสอบO-Net เรื่องจำนวนจริง

ข้อสอบO-Net ข้อสอบO-Net ในบทความนี้จะคัดเฉพาะเรื่องจำนวนจริงมาให้น้องๆทุกคนได้ดูว่าที่ผ่านมาแต่ละปีข้อสอบเรื่องจำนวนจริงออกแนวไหนบ้าง โดยบทความนี้พี่ได้นำข้อสอบย้อนหลังของปี 49 ถึงปี 52 มาให้น้องๆได้ดูพร้อมเฉลยอย่างละเอียด เมื่อน้องๆได้ศึกษาโจทย์ทั้งหมดและลองฝึกทำด้วยตัวเองแล้ว น้องๆจะสามารถทำข้อสอบทั้งของในโรงเรียนและข้อสอบO-Net ได้แน่นอนค่ะ ข้อสอบO-Net เรื่องจำนวนจริง ปี 49   1.   มีค่าเท่ากับข้อในต่อไปนี้     60      

รอบรู้เรื่องคำไทย คำศัพท์คำไหนภาษาไทยยืมมาจากต่างประเทศ

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน กลับมาพบกับบทเรียนภาษาไทยสนุก ๆ พร้อมสาระความรู้ดี ๆ ซึ่งวันก็เช่นเคยเราจะมาเข้าสู่เนื้อหาการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องคำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ เพราะภาษาไทยที่เราใช้กันในปัจจุบันก็มีที่มาจากการยืมคำจากภาษาต่างประเทศมา และไม่ได้มีการยืมแค่ในภาษาบาลีหรือสันสกฤษเท่านั้น แต่ยัลมีภาษาอื่น ๆ อีก เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ทุกคนมาทำความรู้จักกับคำจากภาษาต่างประเทศที่เราใช่ในภาษาไทยกันให้ลึกขึ้นอีกระดับหนึ่ง ถ้าพร้อมแล้วก็ไปเริ่มเรียนกันได้เลย     สาเหตุการยืมของภาษาไทย มาเริ่มกันที่จุดเริ่มต้น หรือสาเหตุที่ทำไมคนไทยจึงต้องหยิบยืมคำจากภาษาต่างประเทศมาใช้

Suggesting Profile

การใช้ประโยคคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำง่ายๆ

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาเรียนรู้เกี่ยวกับ การใช้ประโยคคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำง่ายๆ “Easy Imperative Sentences” กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย รูปแบบและโครงสร้างประโยคคำสั่ง Imperative sentence     Imperative sentence ในรูปแบบประโยคบอกเล่าจะ ใช้ Verb base form (V.1)

วัฒนธรรมกับภาษา

วัฒนธรรมกับภาษา ความสัมพันธ์ของสองสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

มนุษย์ก่อให้เกิดภาษา และภาษาก็ก่อให้เกิดวัฒนธรรม น้อง ๆ สงสัยกันหรือไม่คะว่ามนุษย์ วัฒนธรรมกับภาษา เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันได้อย่างไร บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงเรื่องราวที่ว่านี่กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้กันเลยค่ะ   มนุษย์ วัฒนธรรมกับภาษา   วัฒนธรรม คืออะไร วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น รากศัพท์ในภาษาละตินมีความหมายว่าการเพาะปลูก แต่ไม่ได้ใช้แค่ในเชิงเกษตรกรรม แต่จะรวมไปถึงการปลูกฝังในด้านต่าง ๆ ทั้งให้การศึกษา ความเคารพ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ เรียนรู้บทร้อยกรองจากพุทธศาสนสุภาษิต

สุภาษิต หมายถึงถ้อยคำที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านาน และมีความหมายเป็นคติสอนใจ บางสุภาษิตพูดนำมาแต่งเป็นบทร้อยกรองเพื่อใช้เป็นบทอาขยานให้กับเด็ก ๆ ได้เรียน ได้ฝึกอ่าน รวมไปถึงให้เรียนรู้ข้อคิดจากสุภาษิตได้ง่ายมากขึ้น บทที่เราจะได้เรียนกันในวันนี้คือ ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมา ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ     ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญเป็นบทร้อยกรองที่ถูกประพันธ์ขึ้นโดยพระยาอุปกิตศิลปสาร แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บท และกาพย์ยานี 11

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1